ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! เรากล่าวแม้ สัมมาทิฏฐิว่ามี
อยู่โดยสอง คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (สาสว)@๑ เป็นส่วนแห่งบุญ
(ปุญญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก(อุปธิเวกฺก) ก็มีอยู่,สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่
มีอาสวะ (อนาสว)@๑ เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร)เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.
[๑ -อาสวะ....ขยะปรุงแต่งจิต ที่เป็นอุปสรรค์พัฒนา ภูมิจิตภูมิปัญญา ต้องฝึก ลด ละ เลิก
ล้างให้หมดจากใจ ไม่หลงเอา อุจเฉททิฐิ (วัตถุนิยม)มาเป็นเครื่องนำทางชีวิต
-สาสวะ...ขยะปรุงแต่จิต ฝ่ายกุศล ที่ต้องยึดในเบื้องต้น เพื่อ ให้จิต
ยินดีในการ ละอกุศล เจริญกุศล จนเคารพความดีตนเองได้
-อนาสวะ...ขยะปรุงแต่งจิต ที่เป็นกุศล ก็ต้องละทิ้ง เพื่อพ้น ความยึดติด
ในอุปาทานในตัณหา อุปาทานในขันธุ์ห้า
อันเป็นเหตุ แห่งเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ที่ทุกคนต้องดับ
จนชีวิตไม่เป็นทาสทุกข์ ไม่เป็นทาส สุข อาลัยในอกุศล และกุศล แต่เย็น สาธุละ
สัมมาทิฎฐิ ที่ เพื่อ"ทำอาสวะให้สิ้น" จึงต้องอยู่ท่ามกลาง จิตนิยม(สัสสตทิฐิ) และวัตถุนิยม(อุจเฉททิฐิ)
ด้วยสติปัญญา กุมสภาพจิต เบิกบาน มั่นคงในอริยธรรม มนุษย์ธรรม นั่นเอง]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีอุปธิเป็น
วิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือสัมมาทิฏฐิที่ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี(ผล). ยัญที่บูชาแล้ว
มี(ผล) การบูชาแล้วมี(ผล). ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี. โลกนี้ มี. โลกอื่น
มี. มารดา มี. บิดามี. โอปปาติกะสัตว์ มี. สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ
ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง และประกาศให้ผู้อื่นรู้
ก็มีอยู่” ดังนี้.ภิกษุ ท.! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
มีอุปธิเป็นวิบาก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่ง
มรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือสัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ และสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค ของผู้มีอริยจิต ของผู้มี
อริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค.
ภิกษุ ท.!นี้คือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.
- อุปริ. ม. ๑๔/๒๕๖ - ๒๕๗/๑๘๑
(ปล: สัมมาทิฏฐิ ๆ คำเดียวกันนี้ แยกออกไปได้ อย่างตรงกันข้าม คือพวก
หนึ่งมีอาสวะ เป็นไปเพื่ออาสวะ มีส่วนแห่งบุญอันเป็นอุปธิ มีลักษณะเป็นตัวตน หรือเนื่องด้วยตัวตน ส่วน
สัมมาทิฏฐิอีกชนิดหนึ่งนั้นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะแห่งตัวตน ไม่เกี่ยวข้องกับบุญ แถมยัง
นำไปสู่โลกุตระด้วย จึงแบ่งแยกเป็นโลกิยสัมมาทิฏฐิและโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ไม่พึงนำไปปนกัน หรือใช้
แทนกันอย่างที่พูดกันอย่างสะเพร่าหรือหละหลวมจนเข้าใจธรรมะในพระพุทธศาสนาไม่ได้ ขอให้ช่วยกัน
ระวังให้มากที่สุด).
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว แม้
สัมมากัมมันตะว่ามีโดยส่วนสอง คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ
(สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่;
สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ(อนาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร)เป็น
องค์แห่งมรรค(มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิ
เป็นวิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท ! เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิต
ให้ตกล่วงไป เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เจตนาเป็น
เครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีอยู่ ภิกษุ ท ! นี้คือ สัมมากัมมันตะที่
ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีอุปธิเป็นวิบาก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์แห่ง
มรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเครื่องเว้น
จากกายทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้
เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท ! นี้คือ สัมมากัมมันตะอันเป็น
อริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.
-อุปริ.ม.๑๔/๒๗๑-๒๗๓/๑๘๔
ว่าด้วย(โลกิยะ - โลกุตตระ)
อยู่โดยสอง คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (สาสว)@๑ เป็นส่วนแห่งบุญ
(ปุญญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก(อุปธิเวกฺก) ก็มีอยู่,สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่
มีอาสวะ (อนาสว)@๑ เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร)เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.
[๑ -อาสวะ....ขยะปรุงแต่งจิต ที่เป็นอุปสรรค์พัฒนา ภูมิจิตภูมิปัญญา ต้องฝึก ลด ละ เลิก
ล้างให้หมดจากใจ ไม่หลงเอา อุจเฉททิฐิ (วัตถุนิยม)มาเป็นเครื่องนำทางชีวิต
-สาสวะ...ขยะปรุงแต่จิต ฝ่ายกุศล ที่ต้องยึดในเบื้องต้น เพื่อ ให้จิต
ยินดีในการ ละอกุศล เจริญกุศล จนเคารพความดีตนเองได้
-อนาสวะ...ขยะปรุงแต่งจิต ที่เป็นกุศล ก็ต้องละทิ้ง เพื่อพ้น ความยึดติด
ในอุปาทานในตัณหา อุปาทานในขันธุ์ห้า
อันเป็นเหตุ แห่งเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ที่ทุกคนต้องดับ
จนชีวิตไม่เป็นทาสทุกข์ ไม่เป็นทาส สุข อาลัยในอกุศล และกุศล แต่เย็น สาธุละ
สัมมาทิฎฐิ ที่ เพื่อ"ทำอาสวะให้สิ้น" จึงต้องอยู่ท่ามกลาง จิตนิยม(สัสสตทิฐิ) และวัตถุนิยม(อุจเฉททิฐิ)
ด้วยสติปัญญา กุมสภาพจิต เบิกบาน มั่นคงในอริยธรรม มนุษย์ธรรม นั่นเอง]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีอุปธิเป็น
วิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือสัมมาทิฏฐิที่ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี(ผล). ยัญที่บูชาแล้ว
มี(ผล) การบูชาแล้วมี(ผล). ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี. โลกนี้ มี. โลกอื่น
มี. มารดา มี. บิดามี. โอปปาติกะสัตว์ มี. สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ
ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง และประกาศให้ผู้อื่นรู้
ก็มีอยู่” ดังนี้.ภิกษุ ท.! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
มีอุปธิเป็นวิบาก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่ง
มรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือสัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ และสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค ของผู้มีอริยจิต ของผู้มี
อริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค.
ภิกษุ ท.!นี้คือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.
- อุปริ. ม. ๑๔/๒๕๖ - ๒๕๗/๑๘๑
(ปล: สัมมาทิฏฐิ ๆ คำเดียวกันนี้ แยกออกไปได้ อย่างตรงกันข้าม คือพวก
หนึ่งมีอาสวะ เป็นไปเพื่ออาสวะ มีส่วนแห่งบุญอันเป็นอุปธิ มีลักษณะเป็นตัวตน หรือเนื่องด้วยตัวตน ส่วน
สัมมาทิฏฐิอีกชนิดหนึ่งนั้นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะแห่งตัวตน ไม่เกี่ยวข้องกับบุญ แถมยัง
นำไปสู่โลกุตระด้วย จึงแบ่งแยกเป็นโลกิยสัมมาทิฏฐิและโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ไม่พึงนำไปปนกัน หรือใช้
แทนกันอย่างที่พูดกันอย่างสะเพร่าหรือหละหลวมจนเข้าใจธรรมะในพระพุทธศาสนาไม่ได้ ขอให้ช่วยกัน
ระวังให้มากที่สุด).
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว แม้
สัมมากัมมันตะว่ามีโดยส่วนสอง คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ
(สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่;
สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ(อนาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร)เป็น
องค์แห่งมรรค(มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิ
เป็นวิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท ! เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิต
ให้ตกล่วงไป เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เจตนาเป็น
เครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีอยู่ ภิกษุ ท ! นี้คือ สัมมากัมมันตะที่
ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีอุปธิเป็นวิบาก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์แห่ง
มรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเครื่องเว้น
จากกายทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้
เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท ! นี้คือ สัมมากัมมันตะอันเป็น
อริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.
-อุปริ.ม.๑๔/๒๗๑-๒๗๓/๑๘๔