Correlation พระสุตตันตปิฎก\มหาจัตตารีสกสูตร and พระอภิธรรมปิฎก\กถาวัตถุ\ทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา

http://ppantip.com/topic/30973880/comment57

โดยเนื้อหาในกถาวัตถุคือการวินิจฉัยธรรมและวินัยที่ถูกตีความผิดเพี้ยนออกจากแนวทางของเถรวาท ... สาธุครับ
Credit: cantona_z
http://ppantip.com/topic/30973880/comment56
____________

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
     ๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
...
             [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
             [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ...
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
             [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
...
____________

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=37&A=14025&Z=14113

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุปกรณ์


ทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา
            [๑๔๐๐] สกวาที บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ๒
อย่าง หรือ?
            ปรวาที ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยผัสสะ ๒ อย่าง
ด้วยเวทนา ๒ อย่าง ด้วยสัญญา ๒ อย่าง ด้วยเจตนา ๒ อย่าง ด้วย
จิต ๒ อย่าง ด้วยศรัทธา ๒ อย่าง ด้วยวิริยะ ๒ อย่าง ด้วยสติ ๒
อย่าง ด้วยสมาธิ ๒ อย่าง ด้วยปัญญา ๒ อย่าง หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            [๑๔๐๑] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยศีลอันเป็นโลกิยะ
หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยผัสสะอันเป็น
โลกิยะ ด้วยเวทนาอันเป็นโลกิยะ ด้วยสัญญาอันเป็นโลกิยะ ด้วย
เจตนาอันเป็นโลกิยะ ด้วยจิตอันเป็นโลกิยะ ด้วยศรัทธาอันเป็นโลกิยะ
ด้วยวิริยะอันเป็นโลกิยะ ด้วยสติอันเป็นโลกิยะ ด้วยสมาธิอันเป็น
โลกิยะ ด้วยปัญญาอันเป็นโลกิยะ หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            [๑๔๐๒] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยศีล ทั้งที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยผัสสะทั้งที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ทั้งที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระ หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค ประกอบด้วยศีลอันเป็นโลกิยะ
หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นปุถุชน หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            [๑๔๐๓] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจา
อันเป็นโลกิยะ หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ
อันเป็นโลกิยะ หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจา
อันเป็นโลกิยะ หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ
อันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาวายามะอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วย
สัมมาสติอันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นโลกิยะ หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะ
อันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็นโลกิยะ หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ
อันเป็นโลกิยะ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นโลกิยะ หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            [๑๔๐๔] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาทั้งที่
เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิทั้งที่
เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาทั้งที่
เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ
ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาวายามะทั้งที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาสติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ
ด้วยสัมมาสมาธิทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะ
ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ? ฯลฯ

[๑๔๐๕] ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ
ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิทั้งที่
เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ
ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ หรือ?
            ป. ถูกแล้ว
            ส. บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ
ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ ด้วยสัมมาสมาธิทั้งที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตตระ หรือ?
            ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            [๑๔๐๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วย
ศีล ๒ อย่าง หรือ?
            ส. ถูกแล้ว
            ป. เมื่อศีลอันเป็นโลกิยะดับไปแล้ว มรรคจึงเกิดขึ้นหรือ?
            ส. ถูกแล้ว
            ป. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลขาด มีศีลทะลุ ยังมรรคให้เกิดได้หรือ?
            ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
            ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นผู้ประกอบด้วย
ศีล ๒ อย่าง นะสิ
ทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา จบ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่