(๑๐) อานาปานสติ ขั้นเวทนานุปัสสนา
โดยสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
SYS0010
เวทนานุปัสสนา ๔ ชั้น
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมนั้นก็ต้องอาศัยศีลเป็นภาคพื้น อาศัยสมาธิเป็นบาท เป็นอันว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือปัญญาศีลสมาธิ หรือปัญญาสมาธิและศีล ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อันผู้ปฏิบัติธรรมะจะพึงปฏิบัติให้มีทั้งสาม ดังจะพึงเห็นได้ว่าปัญญานั้นต้องมีเป็นภาคพื้นมาก่อนเหมือนกัน คือปัญญาที่เป็นพื้น จึงทำให้รู้จักพุทธศาสนา รู้จักศีล รู้จักสมาธิ รู้จักปัญญา รู้จักปฏิบัติศีลสมาธิปัญญา นี้ต้องอาศัยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาเป็นพื้นอยู่เพียงพอก็จะไม่รู้จัก ไม่สามารถปฏิบัติได้
ภัพพบุคคล
ดังจะพึงเห็นได้ถึงสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ไม่มีปัญญาเพียงพอที่จะรู้จักธรรมะ ที่จะรู้จักปฏิบัติธรรมะ
แต่มนุษย์นั้นมีปัญญาเพียงพอที่จะรู้จัก ที่จะปฏิบัติได้ แต่แม้เช่นนั้นก็มีระดับของปัญญาแตกต่างกัน ถ้าหากว่ามีปัญญาน้อยมากเกินไปก็ยากที่จะรู้จัก ยากที่จะปฏิบัติได้เหมือนกัน ต้องมีปัญญาพอสมควรที่เรียกว่า ภัพพบุคคล เป็นบุคคลผู้สมควร ก็คือมีปัญญาพอสมควร และนอกจากนี้ยังจะต้องมีกิเลสเบาบางพอสมควร ไม่ใช่กิเลสหนานัก ถ้าหากว่ามีกิเลสหนานัก ก็ยากที่จะรู้จักธรรมะ รู้จักปฏิบัติธรรมะได้ ดังเช่นที่มีโลภโกรธหลงจัดเกินไป หรือว่ามีทิฏฐิมานะที่รุนแรงเกินไป มีมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดที่ดิ่งลงไปมากที่เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิที่ดิ่งลงไป ก็ยากที่จะรู้จักธรรมะ ปฏิบัติธรรมะได้ ทำให้ไม่เป็น ภัพพบุคคล คือบุคคลผู้ที่สมควร เรียกว่าเป็นคนอาภัพหรือ อภัพ ไม่สมควร คือไม่อาจที่จะรู้จักที่จะปฏิบัติธรรมะให้บรรลุผลได้
หรือว่ามีกรรมที่ประกอบไว้หนักมากเกินไป ดังที่ยกขึ้นแสดงก็คือ อนันตริยกรรม กรรมที่หนักมาก กรรมนี้เองก็ทำให้ไม่สามารถบรรลุผลของธรรมะที่เป็นมรรคเป็นผลได้ แม้ว่าจะรู้จักธรรมะ และปฏิบัติธรรมะได้ตามสมควร ก็ได้บรรลุผลตามสมควร แต่ที่จะให้ได้มรรคให้ผลให้ได้นิพพานนั้นท่านว่าไม่ได้ ก็เป็นอาภัพหรือ อภัพพบุคคล
ส่วนบุคคลนอกจากนี้ไม่โง่เง่าทึบมืดเกินไป มีปัญญาที่เป็นพื้นอยู่ตามสมควร และก็มีกิเลสที่ไม่หนามากนัก ไม่มีทิฏฐิมานะจัดนัก ไม่มีความเห็นผิดที่ดิ่งลงไป และมิได้ประกอบกรรมที่หนักมากเป็นขั้น อนันตริยกรรม เป็นภัพพบุคคล บุคคลผู้ที่สมควรสามารถที่จะรู้จักธรรมะ ที่จะปฏิบัติธรรมะ จนถึงบรรลุมรรคผลนิพพานได้ด้วยกัน เพราะฉะนั้นบุคคลส่วนใหญ่จึงกล่าวได้ว่าอยู่ในจำพวกภัพพบุคคล
เวไนยนิกร
และภัพพบุคคลนี้เองก็รวมอยู่ในจำพวกที่เรียกว่า เวไนยนิกร หรือ เวเนยนิกร แปลว่าหมู่ของคนที่จะพึงแนะนำดัดอบรมได้ และก็อยู่ในจำพวกที่เรียกว่า ทัมมะปุริ-สะ หรือธรรมปุริสะบุรุษที่ฝึกได้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเป็น ปุริสทัมสาระถิ แปลว่าฝึกบุรุษที่พึงฝึกได้ คือฝึกคนที่พึงฝึกได้ ก็หมายถึงที่เป็นเวไนยนิกร หรือที่เป็นภัพพบุคคลดังกล่าวมานี้นั่นเอง และบุคคลที่เป็นภัพพบุคคล เป็นเวไนยนิกร หรือเวเนยยะ หรือเป็นธรรมะบุรุษสตรีดั่งนี้ กล่าวได้ว่าย่อมเป็นผู้ที่มีศีลบารมี สมาธิบารมี ปัญญาบารมี ที่ได้อบรมกันมาตามสมควรแล้ว เพราะฉะนั้น จึงได้มีปัญญาที่รู้จักพุทธศาสนา รู้จักที่จะฟังธรรม เข้าใจธรรม ทรงจำธรรม ปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะเพิ่มเติมศีลสมาธิปัญญา อันเป็นพื้นนี้ให้มากขึ้นไปได้
อานาปานสติ ขั้นเวทนานุปัสสนา by สมเด็จพระสังฆราช
(๑๐) อานาปานสติ ขั้นเวทนานุปัสสนา
โดยสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
SYS0010
เวทนานุปัสสนา ๔ ชั้น
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมนั้นก็ต้องอาศัยศีลเป็นภาคพื้น อาศัยสมาธิเป็นบาท เป็นอันว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือปัญญาศีลสมาธิ หรือปัญญาสมาธิและศีล ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อันผู้ปฏิบัติธรรมะจะพึงปฏิบัติให้มีทั้งสาม ดังจะพึงเห็นได้ว่าปัญญานั้นต้องมีเป็นภาคพื้นมาก่อนเหมือนกัน คือปัญญาที่เป็นพื้น จึงทำให้รู้จักพุทธศาสนา รู้จักศีล รู้จักสมาธิ รู้จักปัญญา รู้จักปฏิบัติศีลสมาธิปัญญา นี้ต้องอาศัยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาเป็นพื้นอยู่เพียงพอก็จะไม่รู้จัก ไม่สามารถปฏิบัติได้
ภัพพบุคคล
ดังจะพึงเห็นได้ถึงสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ไม่มีปัญญาเพียงพอที่จะรู้จักธรรมะ ที่จะรู้จักปฏิบัติธรรมะ
แต่มนุษย์นั้นมีปัญญาเพียงพอที่จะรู้จัก ที่จะปฏิบัติได้ แต่แม้เช่นนั้นก็มีระดับของปัญญาแตกต่างกัน ถ้าหากว่ามีปัญญาน้อยมากเกินไปก็ยากที่จะรู้จัก ยากที่จะปฏิบัติได้เหมือนกัน ต้องมีปัญญาพอสมควรที่เรียกว่า ภัพพบุคคล เป็นบุคคลผู้สมควร ก็คือมีปัญญาพอสมควร และนอกจากนี้ยังจะต้องมีกิเลสเบาบางพอสมควร ไม่ใช่กิเลสหนานัก ถ้าหากว่ามีกิเลสหนานัก ก็ยากที่จะรู้จักธรรมะ รู้จักปฏิบัติธรรมะได้ ดังเช่นที่มีโลภโกรธหลงจัดเกินไป หรือว่ามีทิฏฐิมานะที่รุนแรงเกินไป มีมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดที่ดิ่งลงไปมากที่เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิที่ดิ่งลงไป ก็ยากที่จะรู้จักธรรมะ ปฏิบัติธรรมะได้ ทำให้ไม่เป็น ภัพพบุคคล คือบุคคลผู้ที่สมควร เรียกว่าเป็นคนอาภัพหรือ อภัพ ไม่สมควร คือไม่อาจที่จะรู้จักที่จะปฏิบัติธรรมะให้บรรลุผลได้
หรือว่ามีกรรมที่ประกอบไว้หนักมากเกินไป ดังที่ยกขึ้นแสดงก็คือ อนันตริยกรรม กรรมที่หนักมาก กรรมนี้เองก็ทำให้ไม่สามารถบรรลุผลของธรรมะที่เป็นมรรคเป็นผลได้ แม้ว่าจะรู้จักธรรมะ และปฏิบัติธรรมะได้ตามสมควร ก็ได้บรรลุผลตามสมควร แต่ที่จะให้ได้มรรคให้ผลให้ได้นิพพานนั้นท่านว่าไม่ได้ ก็เป็นอาภัพหรือ อภัพพบุคคล
ส่วนบุคคลนอกจากนี้ไม่โง่เง่าทึบมืดเกินไป มีปัญญาที่เป็นพื้นอยู่ตามสมควร และก็มีกิเลสที่ไม่หนามากนัก ไม่มีทิฏฐิมานะจัดนัก ไม่มีความเห็นผิดที่ดิ่งลงไป และมิได้ประกอบกรรมที่หนักมากเป็นขั้น อนันตริยกรรม เป็นภัพพบุคคล บุคคลผู้ที่สมควรสามารถที่จะรู้จักธรรมะ ที่จะปฏิบัติธรรมะ จนถึงบรรลุมรรคผลนิพพานได้ด้วยกัน เพราะฉะนั้นบุคคลส่วนใหญ่จึงกล่าวได้ว่าอยู่ในจำพวกภัพพบุคคล
เวไนยนิกร
และภัพพบุคคลนี้เองก็รวมอยู่ในจำพวกที่เรียกว่า เวไนยนิกร หรือ เวเนยนิกร แปลว่าหมู่ของคนที่จะพึงแนะนำดัดอบรมได้ และก็อยู่ในจำพวกที่เรียกว่า ทัมมะปุริ-สะ หรือธรรมปุริสะบุรุษที่ฝึกได้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเป็น ปุริสทัมสาระถิ แปลว่าฝึกบุรุษที่พึงฝึกได้ คือฝึกคนที่พึงฝึกได้ ก็หมายถึงที่เป็นเวไนยนิกร หรือที่เป็นภัพพบุคคลดังกล่าวมานี้นั่นเอง และบุคคลที่เป็นภัพพบุคคล เป็นเวไนยนิกร หรือเวเนยยะ หรือเป็นธรรมะบุรุษสตรีดั่งนี้ กล่าวได้ว่าย่อมเป็นผู้ที่มีศีลบารมี สมาธิบารมี ปัญญาบารมี ที่ได้อบรมกันมาตามสมควรแล้ว เพราะฉะนั้น จึงได้มีปัญญาที่รู้จักพุทธศาสนา รู้จักที่จะฟังธรรม เข้าใจธรรม ทรงจำธรรม ปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะเพิ่มเติมศีลสมาธิปัญญา อันเป็นพื้นนี้ให้มากขึ้นไปได้