เมื่อพูดถึง "ดูจิต" บุคคลทั่วไปมักคิดถึง "วิปัสสนากรรมฐาน" เป็นกรรมฐานขั้นสูง ที่คิดกันไปเองว่า เป็นการปฏิบัติธรรมกรรมฐานที่ไม่ต้องเสียเวลา ทำ "สมถะกรรมฐานภาวนา" ให้เหนื่อยเปล่า ให้เกิดความเนิ่นช้ากับผู้ปฏิบัติธรรม เป็นวิธีปฏิบัติธรรมแบบสบายๆ ง่ายๆ และลัดสั้น ไม่ทำให้เวลาที่มีประโยชน์ต้องสูญเปล่าไปกับการ "นั่งหลับตาปฏิบัติสมาธิภาวนา" เลย
ด้วยคิดเองเออเองไปว่า "การนั่งหลับตาปฏิบัติสมาธิภาวนา" นั้น เป็นการเสียเวลา ทรมานตนเองให้เหนื่อยเปล่าบ้างล่ะ เป็นการกดข่มอารมณ์กิเลสไว้บ้างล่ะ เป็นการหลีกหนีปัญหาบ้างล่ะ เป็นของพวกฤาษีชีไพรที่ไร้การศึกษาบ้างล่ะ ฯลฯ
ยังมีอีกมากมายในข้อกล่าวหาว่าร้ายไว้ก่อน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงอุบายในการหลีกเลี่ยงที่จะปรารภความพียรเพ่ง เพราะความเกียจคร้านในการ "ภาวนา" อย่างจงใจ ที่ไม่เห็นความสำคัญของการ "ภาวนามยปัญญา" นั่นเอง
โดยขาดการนมสิการ น้อมนำเอาความรู้ความเข้าใจเหล่านั้น มาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียง กับพระพุทธวจนะ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ใน "มหาประเทศ ๔"
พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ในพระสูตรต่างๆนั้น โดยมากแล้ว ล้วนทรงสั่งสอนไปในทาง ให้ปรารภเรื่องความเพียร "เพ่งฌาน" อย่าเป็นผู้ประมาท จะได้ไม่เป็นผู้ที่เดือดร้อนในภายหลัง นี่เป็นคำพร่ำสอนของเรา (พระพุทธเจ้า) แก่เธอ (ภิกษุสงฆ์สาวก) ทั้งหลาย
ส่วนพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้วในมหาประเทศ ๔ มีดังนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย
ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูกต้องแล้ว"
ส่วนพระบาลีที่พระองค์ทรงตรัสกับท่านพระอาจารย์อานนท์ ดังนี้
"โยโว อานนฺท ธมฺโม จ เทสิโต วินโย จ ปญฺญตฺโต โส มม อจฺจเยน สตฺถา" แปลว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแทนเรา ปกครองท่านแทน เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"
เมื่อได้พิจารณาตามพุทธโอวาทแล้ว จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงให้สอบสวนกับพระธรรมและพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ เมื่อมีใครนำเอาคำสั่งสอนมาแอบอ้าง ว่านั่นคือพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ว่านั่นคือพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักไว้ดีแล้ว อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ฟังและศึกษาด้วยดีแล้วนำมาสอบสวนกับพระธรรมและพระวินัยก่อน ว่าลงกันได้หรือไม่
เมื่อลงกันได้ ควรสมาทานน้อมนำมาปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์สัจธรรมความจริงนั้น ให้ประจักษ์แก่ตน แต่กาลกลับเปลี่ยนไปแบบคาดไม่ถึง เพราะอนุชนคนรุ่นใหม่ มักเชื่อโดยเชื่อตามๆกันมา ตามกระแสความศรัทธา ที่เชื่อไปตามนั้น โดยขาดความเฉลียวใจว่า สิ่งที่ศึกษาเรียนรู้หรือได้ยินได้ฟังมานั้น เป็นสิ่งที่ขาดหลักเหตุผล ที่จะให้ตริตรองตามความเป็นจริงได้ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา
เรื่อง "ศีล สมาธิ ปัญญา" หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกว่า "อริยมรรคมีองค์ ๘" ชัดเจนว่า เป็น "ทางเดินอันเอกของจิต สู่ความเป็นอริยบุคคล"
ในครั้งกระนั้น ที่พระพุทธองค์ทรงมีพระสาวกครบ ๖๐ รูป ทรงรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์สาวก ให้ออกไปเผยแผ่ในทิศละรูป อย่าได้ซ้อนทางกัน ทรงให้สอน
ศีล งามในเบื้องต้น
สมาธิ งามในท่ามกลาง
ปัญญา งามในบั้นปลาย
ให้ผู้รับฟังได้เรียนรู้ ศึกษา ลงมือปฏิบัติตาม เพื่อความงดงามใน ศีล สมาธิ ปัญญา อันมีพระพุทธพจน์ได้ทรงรับรองไว้ว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา...ฯลฯ... และ ปัญญาเกิดเพราะความประกอบ...ฯลฯ... ปัญญาไม่อาจมีขึ้นโดยการนึกคิดเอาเองเลย หรือมีขึ้นโดยฉับพลัน
"สีล ปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสงฺโส
สมาธิ ปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสงฺสา
ปญฺญา ปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ"
"สมาธิที่มีศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ปัญญาที่มีสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
จิตที่มีปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมองเสียได้ ดังนี้"
จากพระบาลีข้างต้น จะเห็นว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย ที่หนุนเนื่องกันให้เจริญ ตามขั้นตอนของการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ที่ควรประกอบ กระทำ โดยอาราธนาศีล เป็นเบื้องต้น เพื่อเกิดความอาจหาญในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา ให้เกิดขึ้นในท่ามกลาง เพื่อให้จิตมีสติ สงบตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริง เป็นปัญญาที่งดงามในบั้นปลาย
แต่ในปัจจุบันพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ถูกพวกนักตำรานิยม ที่มักแอบอ้างนำมาใช้ในทางที่ต้องถือว่า "ผิด" ไปจากความเป็นจริง โดยสอนให้ปฏิบัติ "วิปัสสนากรรมฐาน" ที่ได้เรียนรู้ศึกษาจากตำรา และอัตโนมัติอาจารย์ได้เลย โดยไม่ต้องลงมือปฏิบัติสมถกรรมฐานภาวนา เป็นการขาดความรอบคอบ ไม่นำมาตรวจสอบ สอบสวน เทียงเคียงกับพระธรรมและพระวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว
โดยสอนให้ผู้ศึกษาธรรมรุ่นใหม่ "ปฏิบัติธรรมกรรมฐานวิปัสสนา" ได้เลยโดยตรง ด้วยคิดไปเองว่า ที่ตนเองได้ศึกษา สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา เท่าที่ผ่านมาเพียงแค่นี้ ตนเองก็ได้ชื่อว่ามี "สัมมาทิฐิ" เสียแล้ว ...ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง
ได้มองข้ามขั้นตอนของ "ภาวนามยปัญญา" ที่เป็นขั้นตอนสำคัญ ในการทำให้เกิด "สัมมาทิฐิ" โดยตรง เพราะ "ภาวนามยปัญญา" นั้น เป็นขั้นตอนในการพิสูจน์ว่า สุตะและจินตะที่ตนเรียนรู้ศึกษามานั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ เพราะปัญญาไม่อาจเกิดขึ้นเอง จากความรู้สึกนึกคิด (สุตะ-จินตะ)
มีพระบาลีรับรองไว้ ดังนี้
"โยคา เว ชายเต ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย เอตํ เทฺวตปถํ ญตฺวา ภวาย วิภาวย จ ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา พูริ ปวทฺฒติ"
"ปัญญาเกิดขึ้นเพราะความประกอบ ไม่ประกอบ ปัญญาก็หมดสิ้นไป บุคคลรู้ทางแห่งความเจริญ และความเสื่อม ทั้ง ๒ ทางนี้ แล้ว พึงตั้งตนไว้ในทางที่ปัญญาจะเจริญ"
เมื่อพิจารณาจากพระบาลี บุคคลควรรู้ทางแห่งความเจริญ อะไรล่ะที่ควรต้องเจริญ ก็คือ สติ สมาธิ ปัญญา อันเป็นองค์ธรรมสำคัญใน "อริยมรรค" เป็นสิ่งที่ต้องเจริญให้ยิ่งๆขึ้นไปนั่นเอง มรรคเป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญให้เกิดขึ้น เกิดขึ้นเองไม่ได้
สรุปสุดท้าย ศีลที่งามในเบื้องต้นนั้น ในตอนแรกที่สมาทานนำมาปฏิบัติ ยังเป็นแค่ "ข้อห้าม ข้อควรระมัดระวัง" ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจัง (ปรารภความเพียรเพ่ง) จนจิตของตนมีกำลัง จาก "ข้อห้าม ข้อควรระมัดระวัง" กลับกลายเป็นงานที่ผู้ปฏิบัติธรรมภาวนา "วิรัติ" งดเว้นได้ ถึงจะยังไม่คงที่ มีเผลอบ้าง แต่จะน้อยลงไปเรื่อยๆ ในการพลั้งเผลอนั้นๆ
ถ้าจิตมีกำลังมากพอ จนจิตของตนมีสติสงบตั้งมั่น เมื่อนั้นจิตจะรู้เห็นตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ "สัมมาทิฐิ" ได้เกิดขึ้นแล้ว
สาระสำคัญของศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ที่ธรรมอันเป็นท่ามกลาง ที่ได้ชื่อว่า "สมาธิ" เป็นตัวเชื่อม ที่เชื่อมให้ ศีลและปัญญา เข้าหากัน จนเกิด "มรรคสมังคคี" ขึ้นมาได้ในที่สุด
เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต
ดูจิตต้องรู้จักจิตด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
ด้วยคิดเองเออเองไปว่า "การนั่งหลับตาปฏิบัติสมาธิภาวนา" นั้น เป็นการเสียเวลา ทรมานตนเองให้เหนื่อยเปล่าบ้างล่ะ เป็นการกดข่มอารมณ์กิเลสไว้บ้างล่ะ เป็นการหลีกหนีปัญหาบ้างล่ะ เป็นของพวกฤาษีชีไพรที่ไร้การศึกษาบ้างล่ะ ฯลฯ
ยังมีอีกมากมายในข้อกล่าวหาว่าร้ายไว้ก่อน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงอุบายในการหลีกเลี่ยงที่จะปรารภความพียรเพ่ง เพราะความเกียจคร้านในการ "ภาวนา" อย่างจงใจ ที่ไม่เห็นความสำคัญของการ "ภาวนามยปัญญา" นั่นเอง
โดยขาดการนมสิการ น้อมนำเอาความรู้ความเข้าใจเหล่านั้น มาตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียง กับพระพุทธวจนะ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ใน "มหาประเทศ ๔"
พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ในพระสูตรต่างๆนั้น โดยมากแล้ว ล้วนทรงสั่งสอนไปในทาง ให้ปรารภเรื่องความเพียร "เพ่งฌาน" อย่าเป็นผู้ประมาท จะได้ไม่เป็นผู้ที่เดือดร้อนในภายหลัง นี่เป็นคำพร่ำสอนของเรา (พระพุทธเจ้า) แก่เธอ (ภิกษุสงฆ์สาวก) ทั้งหลาย
ส่วนพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้วในมหาประเทศ ๔ มีดังนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย
ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูกต้องแล้ว"
ส่วนพระบาลีที่พระองค์ทรงตรัสกับท่านพระอาจารย์อานนท์ ดังนี้
"โยโว อานนฺท ธมฺโม จ เทสิโต วินโย จ ปญฺญตฺโต โส มม อจฺจเยน สตฺถา" แปลว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแทนเรา ปกครองท่านแทน เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"
เมื่อได้พิจารณาตามพุทธโอวาทแล้ว จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงให้สอบสวนกับพระธรรมและพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ เมื่อมีใครนำเอาคำสั่งสอนมาแอบอ้าง ว่านั่นคือพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ว่านั่นคือพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักไว้ดีแล้ว อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ฟังและศึกษาด้วยดีแล้วนำมาสอบสวนกับพระธรรมและพระวินัยก่อน ว่าลงกันได้หรือไม่
เมื่อลงกันได้ ควรสมาทานน้อมนำมาปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์สัจธรรมความจริงนั้น ให้ประจักษ์แก่ตน แต่กาลกลับเปลี่ยนไปแบบคาดไม่ถึง เพราะอนุชนคนรุ่นใหม่ มักเชื่อโดยเชื่อตามๆกันมา ตามกระแสความศรัทธา ที่เชื่อไปตามนั้น โดยขาดความเฉลียวใจว่า สิ่งที่ศึกษาเรียนรู้หรือได้ยินได้ฟังมานั้น เป็นสิ่งที่ขาดหลักเหตุผล ที่จะให้ตริตรองตามความเป็นจริงได้ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา
เรื่อง "ศีล สมาธิ ปัญญา" หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกว่า "อริยมรรคมีองค์ ๘" ชัดเจนว่า เป็น "ทางเดินอันเอกของจิต สู่ความเป็นอริยบุคคล"
ในครั้งกระนั้น ที่พระพุทธองค์ทรงมีพระสาวกครบ ๖๐ รูป ทรงรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์สาวก ให้ออกไปเผยแผ่ในทิศละรูป อย่าได้ซ้อนทางกัน ทรงให้สอน
ศีล งามในเบื้องต้น
สมาธิ งามในท่ามกลาง
ปัญญา งามในบั้นปลาย
ให้ผู้รับฟังได้เรียนรู้ ศึกษา ลงมือปฏิบัติตาม เพื่อความงดงามใน ศีล สมาธิ ปัญญา อันมีพระพุทธพจน์ได้ทรงรับรองไว้ว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา...ฯลฯ... และ ปัญญาเกิดเพราะความประกอบ...ฯลฯ... ปัญญาไม่อาจมีขึ้นโดยการนึกคิดเอาเองเลย หรือมีขึ้นโดยฉับพลัน
"สีล ปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสงฺโส
สมาธิ ปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสงฺสา
ปญฺญา ปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ"
"สมาธิที่มีศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ปัญญาที่มีสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
จิตที่มีปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมองเสียได้ ดังนี้"
จากพระบาลีข้างต้น จะเห็นว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย ที่หนุนเนื่องกันให้เจริญ ตามขั้นตอนของการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ที่ควรประกอบ กระทำ โดยอาราธนาศีล เป็นเบื้องต้น เพื่อเกิดความอาจหาญในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา ให้เกิดขึ้นในท่ามกลาง เพื่อให้จิตมีสติ สงบตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริง เป็นปัญญาที่งดงามในบั้นปลาย
แต่ในปัจจุบันพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ถูกพวกนักตำรานิยม ที่มักแอบอ้างนำมาใช้ในทางที่ต้องถือว่า "ผิด" ไปจากความเป็นจริง โดยสอนให้ปฏิบัติ "วิปัสสนากรรมฐาน" ที่ได้เรียนรู้ศึกษาจากตำรา และอัตโนมัติอาจารย์ได้เลย โดยไม่ต้องลงมือปฏิบัติสมถกรรมฐานภาวนา เป็นการขาดความรอบคอบ ไม่นำมาตรวจสอบ สอบสวน เทียงเคียงกับพระธรรมและพระวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว
โดยสอนให้ผู้ศึกษาธรรมรุ่นใหม่ "ปฏิบัติธรรมกรรมฐานวิปัสสนา" ได้เลยโดยตรง ด้วยคิดไปเองว่า ที่ตนเองได้ศึกษา สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา เท่าที่ผ่านมาเพียงแค่นี้ ตนเองก็ได้ชื่อว่ามี "สัมมาทิฐิ" เสียแล้ว ...ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง
ได้มองข้ามขั้นตอนของ "ภาวนามยปัญญา" ที่เป็นขั้นตอนสำคัญ ในการทำให้เกิด "สัมมาทิฐิ" โดยตรง เพราะ "ภาวนามยปัญญา" นั้น เป็นขั้นตอนในการพิสูจน์ว่า สุตะและจินตะที่ตนเรียนรู้ศึกษามานั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ เพราะปัญญาไม่อาจเกิดขึ้นเอง จากความรู้สึกนึกคิด (สุตะ-จินตะ)
มีพระบาลีรับรองไว้ ดังนี้
"โยคา เว ชายเต ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย เอตํ เทฺวตปถํ ญตฺวา ภวาย วิภาวย จ ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา พูริ ปวทฺฒติ"
"ปัญญาเกิดขึ้นเพราะความประกอบ ไม่ประกอบ ปัญญาก็หมดสิ้นไป บุคคลรู้ทางแห่งความเจริญ และความเสื่อม ทั้ง ๒ ทางนี้ แล้ว พึงตั้งตนไว้ในทางที่ปัญญาจะเจริญ"
เมื่อพิจารณาจากพระบาลี บุคคลควรรู้ทางแห่งความเจริญ อะไรล่ะที่ควรต้องเจริญ ก็คือ สติ สมาธิ ปัญญา อันเป็นองค์ธรรมสำคัญใน "อริยมรรค" เป็นสิ่งที่ต้องเจริญให้ยิ่งๆขึ้นไปนั่นเอง มรรคเป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญให้เกิดขึ้น เกิดขึ้นเองไม่ได้
สรุปสุดท้าย ศีลที่งามในเบื้องต้นนั้น ในตอนแรกที่สมาทานนำมาปฏิบัติ ยังเป็นแค่ "ข้อห้าม ข้อควรระมัดระวัง" ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจัง (ปรารภความเพียรเพ่ง) จนจิตของตนมีกำลัง จาก "ข้อห้าม ข้อควรระมัดระวัง" กลับกลายเป็นงานที่ผู้ปฏิบัติธรรมภาวนา "วิรัติ" งดเว้นได้ ถึงจะยังไม่คงที่ มีเผลอบ้าง แต่จะน้อยลงไปเรื่อยๆ ในการพลั้งเผลอนั้นๆ
ถ้าจิตมีกำลังมากพอ จนจิตของตนมีสติสงบตั้งมั่น เมื่อนั้นจิตจะรู้เห็นตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ "สัมมาทิฐิ" ได้เกิดขึ้นแล้ว
สาระสำคัญของศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ที่ธรรมอันเป็นท่ามกลาง ที่ได้ชื่อว่า "สมาธิ" เป็นตัวเชื่อม ที่เชื่อมให้ ศีลและปัญญา เข้าหากัน จนเกิด "มรรคสมังคคี" ขึ้นมาได้ในที่สุด
เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต