มรรค คือ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

มรรคมีองค์ 8 แยกออกเป็นโพธิปักขิยธรรม 37ประการ
โพธิปักขิยธรรม 37ประการ มีมรรค8
มรรค มีศีล สมาธิ ปัญญา
สัมมาสติคือสติปัฎฐาน4 ที่อยู่ใน โพธิปักขิยธรรม 37ประการ
มีมรรค คือมีสติปัฎฐาน4 รู้โพธิปักขิยธรรม 37ประการ
การปฏิบัติธรรมคิด ที่จะเห็นโพธิปักขิยธรรม 37ประการ เป็นการ มโนปรุงแต่ง
การเข้าถึง สัมมาสติคือสติปัฎฐาน4
โพธิปักขิยธรรม จะรู้เอง
ถ้าคิดไปรู้ที่ละตัว เป็นการปรุงแต่ง
การรู้ โพธิปักขิยธรรม ต้องอาศัยโพชฌงค์
รู้เป็นมัคคสมังคีย

โพธิปักขิยธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม 37
เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ
เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี 37 ประการคือ
สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5
พละ 5
โพชฌงค์ 7
มรรคมีองค์ 8

มรรค คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ
ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง
คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น
ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้

1.สัมมาทิฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
2.สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกามความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
3.สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
4.สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่าโจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
5.สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ
6.สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ

ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
7.สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
8.สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4

เมื่อเทียบกับหลักไตรสิกขา องค์มรรคข้อ 1-2 เป็นปัญญา ข้อ 3-4-5 เป็นศีลและข้อ 6-7-8 เป็นสมาธิ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่