ปีสำคัญในชีวิตสุนทรภู่
หลังตรวจสอบคำประพันธ์ของสุนทรภู่โดยตรง ตัดความสันนิษฐานที่ขาดหลักฐานรับรองทิ้งไป
พบศักราชที่เกี่ยวพันกับชีวิตของท่าน ดังนี้
๒๓๖๑ ปีขาล รัชกาลที่สอง
พัด บุตรคนโตเกิด ก.ศ.ร. กุหลาบ อ้างว่า เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ ได้พบกับ “นายพัด” บุตรชายของสุนทรภู่ เวลานั้นอายุ ๘๖ ปี
https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_189437 เทียบแล้วตรงกับปีนี้ อนึ่ง พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด) ให้การไว้ต่างออกไป ในที่นี้ใช้ตามนายกุหลาบ
๒๓๖๖-๒๓๖๗ ยังเป็นรัชกาลที่สอง
แต่งสวัสดิ์รักษา ถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ (พระชนม์ขณะนั้น ๖-๗ พรรษา)
๒๓๖๗ วอก
"แต่ปีวอกออกขาดราชกิจ" (รำพันพิลาป) สุนทรภู่ลาราชการ ออกบวช
ปีเดียวกันนี้ เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ก็ทรงผนวชด้วย น่าจะปีเดียวกัน ลำดับกาลเป็นดังนี้
วันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เวียนเทียนสมโภช
วันพุฒ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ทรงผนวช
วันพุฒ เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ (๗ วันต่อมา) พระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร ตรัสไม่ได้
วันพุฒ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ เวลาย่ำค่ำแล้ว ๕ บาท รัชกาลที่สอง สวรรคต
นับจากประชวรมาเพียง ๑๔ วันก็สิ้นพระชนม์ เป็นเหตุไม่คาดคิด ไม่มีผู้ใดเตรียมการใดได้ทัน
๒๓๖๘ ระกา รัชกาลที่สาม
"เดือนสี่ปีระกานิราร้าง" (รำพันพิลาป) น่าจะมีคนไกล้ชิตประสบเหตุ ตาย?
๒๓๗๒ ปีฉลู รัชกาลที่สาม
"วันนั้นวันอังคารพยานอยู่ ปีฉลูเอกศกแรมหกค่ำ" (เพลงยาวถวายโอวาท)
เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พาเจ้าฟ้ากลาง เจ้าฟ้าปิ๋ว มาถึงกุฎีมอบตัวเป็นศิษย์ เชื่อว่าสุนทรภู่อยู่วัดโพธิ์
ในช่วงเวลานี้เจ้าฟ้ากุณฑล เกล้าจุกให้หนูตาบน้องหนูพัดทุกวัน (นิราศวัดเจ้าฟ้า) หนูพัดอายุ ๑๑ ปี
๒๓๗๓ ปีขาล รัชกาลที่สาม
แต่งเพลงยาวถวายโอวาท เตรียมลาออกหัวเมือง
๒๓๗๔ ปีเถาะ รัชกาลที่สาม
เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ เจ้าฟ้ากลางและพระมารดาเสด็จพระบาท ร่วมขบวนพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ (นิราศพระบาทและจิตรกรรมฝาผนังวัดมหาสมณาราม)
๒๓๗๖ ปีมะเส็ง รัชกาลที่สาม
"เดือนสี่ปีมะเส็งเพ็งวันอังคาร" (นิราศพระแท่นดงรัง สามเณรกลั่น) สุนทรภู่ สามเณรพัด หนูตาบ สามเณรกลั่น จัน มาก และบุนนาก คนแจวเรือ ตามา และตาแก้ว ไปพระแท่นดงรัง
๒๓๗๙ ปีวอก รัชกาลที่สาม
เริ่มสร้างวัดเทพธิดาราม (พงศ.ร๓)
พระนายไวย เริ่มต่อเรือที่จันทบุรี เป็นกำปั่นไม้ ลำใหญ่ถึง ๔-๕๐๐ ตัน ออกทะเลไปได้ถึงลังกาและกวางตุ้ง
๒๓๘๐ ปีจอ รัชกาลที่สาม
"๏ คิดถึงคราวเจ้านิพพานสงสารโศก ไปพิศีโลกลายแทงแสวงหา" (รำพันพิลาป)
ตงจะหมายถึงเจ้าฟ้ากุณฑลสิ้นพระชนม์ พระชันษา ๔๐ (พงศ.ร๓)
๒๓๘๒ ปีกุน รัชกาลที่สาม
สร้างวัดเทพธิดาราม แล้วเสร็จ (พงศ.ร๓) สุนทรภู่มาอยู่วัดเทพธิดาราม (รำพันพิลาป)
๒๓๘๔ ปีฉลู รัชกาลที่สาม
"ปีฉลูมีธุระ" (รำพันพิลาป) อาจจะไปวัดเจ้าฟ้าอากาศ
ตั้งแต่ปี ๒๓๗๓ ถึงปีนี้ สุมทรภู่ออกหัวเมือง เริ่มที่ พริบพรี ราชพรี กาญจนบุรี สองพี่น้อง เขากาเพน สุพรรณ พิศืโลก เขาม้าวิ่ง รวม ๑๑ ปี
๒๓๘๕ ปีขาล รัชกาลที่สาม
"โอ้ปีนี้ปีขาลสงสารวัด เคยโสมนัสในอารามสามวษา" (รำพันพิลาป) เตรียมสีก
วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ คณะสงฆ์ไทยออกจากกรุงเทพฯ ไปลังกาโดยเรือกำปั่น จินดาดวงแก้ว (เรือบาร์ก เรือใบชนิดสามเสา)
๒๓๘๗ ปีมะโรง รัชกาลที่สาม
เรือกำปั่นไฟ เอ็กสเปรส เข้ามา (ปชพ.๓๑ จดหมายเหตุของหมอบรัดเล)
๒๓๙๔ ปีกุน รัชกาลที่สี่
วันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎ จากวัดบวรนิเวศน์ ขี้นตรองราชสมบัติ
๒๓๙๘ ปีเถาะ รัชกาลที่สี่
วันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำเซอร์จอห์น เบาริงก์ เป็นฑูตเข้ามา
๒๔๐๐ ปีมเส็ง รัชกาลที่สี่
วันศุกร เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ คณะฑูตไทยไปลอนดอน
๒๔๐๙ ปีขาล
"๒๒ ตุลาคม ๒๔๐๑ โรงสีข้าวแห่งแรกของไทยเปิดทำการ ต่อมาเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๐๙ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
ได้ซื้อโรงสีจากบริษัทสก๊อตแอนด์กำปะนี นับเป็นคนไทยคนแรกที่ตั้งโรงสีไฟในไทย"
https://www.baanjomyut.com/library_4/in_the_past/10.html
๒๔๑๑ ปีมโรง
วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต
๒๔๑๒ ปีมเส็ง
เดือน ๔ พระราชพิธีพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครูสมิธ พิมพ์พระอภัยมณี ๒๐๐ ชุด ถวายในงานพระเมรุ
๒๔๑๓ ปีมเมีย
อาจจะแต่งนิราศภูเขาทอง เป็นนิราศเรื่องสุดท้าย
------------
ลำดับเหตุการณ์นี้ ได้ตัดนิราศ ๓ เรื่องทิ้งไป เพราะสุนทรภู่ไม่ได้แต่ง คือ นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองเพชร และนืราศพระบาท
ข้อมูลจากสมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ละทิ้งทั้งหมด เพราะมีข้อบกพร่องนับร้อยแห่ง
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เชื่อคำของสุนทรภู่เป็นหลักเท่านั้น เชื่อคำกวีอิ่นๆ รองลงมา
เชื่อนักเขียนร่วมสมัย น้อยที่สุด เพราะเชื่อสมเด็จฯ จนละเลยประวัติศาสตร์วิธีไปโดยลืมตัว
ปีสำคัญในชีวิตสุนทรภู่
หลังตรวจสอบคำประพันธ์ของสุนทรภู่โดยตรง ตัดความสันนิษฐานที่ขาดหลักฐานรับรองทิ้งไป
พบศักราชที่เกี่ยวพันกับชีวิตของท่าน ดังนี้
๒๓๖๑ ปีขาล รัชกาลที่สอง
พัด บุตรคนโตเกิด ก.ศ.ร. กุหลาบ อ้างว่า เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ ได้พบกับ “นายพัด” บุตรชายของสุนทรภู่ เวลานั้นอายุ ๘๖ ปี
https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_189437 เทียบแล้วตรงกับปีนี้ อนึ่ง พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด) ให้การไว้ต่างออกไป ในที่นี้ใช้ตามนายกุหลาบ
๒๓๖๖-๒๓๖๗ ยังเป็นรัชกาลที่สอง
แต่งสวัสดิ์รักษา ถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ (พระชนม์ขณะนั้น ๖-๗ พรรษา)
๒๓๖๗ วอก
"แต่ปีวอกออกขาดราชกิจ" (รำพันพิลาป) สุนทรภู่ลาราชการ ออกบวช
ปีเดียวกันนี้ เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ก็ทรงผนวชด้วย น่าจะปีเดียวกัน ลำดับกาลเป็นดังนี้
วันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เวียนเทียนสมโภช
วันพุฒ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ทรงผนวช
วันพุฒ เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ (๗ วันต่อมา) พระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร ตรัสไม่ได้
วันพุฒ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ เวลาย่ำค่ำแล้ว ๕ บาท รัชกาลที่สอง สวรรคต
นับจากประชวรมาเพียง ๑๔ วันก็สิ้นพระชนม์ เป็นเหตุไม่คาดคิด ไม่มีผู้ใดเตรียมการใดได้ทัน
๒๓๖๘ ระกา รัชกาลที่สาม
"เดือนสี่ปีระกานิราร้าง" (รำพันพิลาป) น่าจะมีคนไกล้ชิตประสบเหตุ ตาย?
๒๓๗๒ ปีฉลู รัชกาลที่สาม
"วันนั้นวันอังคารพยานอยู่ ปีฉลูเอกศกแรมหกค่ำ" (เพลงยาวถวายโอวาท)
เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พาเจ้าฟ้ากลาง เจ้าฟ้าปิ๋ว มาถึงกุฎีมอบตัวเป็นศิษย์ เชื่อว่าสุนทรภู่อยู่วัดโพธิ์
ในช่วงเวลานี้เจ้าฟ้ากุณฑล เกล้าจุกให้หนูตาบน้องหนูพัดทุกวัน (นิราศวัดเจ้าฟ้า) หนูพัดอายุ ๑๑ ปี
๒๓๗๓ ปีขาล รัชกาลที่สาม
แต่งเพลงยาวถวายโอวาท เตรียมลาออกหัวเมือง
๒๓๗๔ ปีเถาะ รัชกาลที่สาม
เดือน ๓ แรม ๓ ค่ำ เจ้าฟ้ากลางและพระมารดาเสด็จพระบาท ร่วมขบวนพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ (นิราศพระบาทและจิตรกรรมฝาผนังวัดมหาสมณาราม)
๒๓๗๖ ปีมะเส็ง รัชกาลที่สาม
"เดือนสี่ปีมะเส็งเพ็งวันอังคาร" (นิราศพระแท่นดงรัง สามเณรกลั่น) สุนทรภู่ สามเณรพัด หนูตาบ สามเณรกลั่น จัน มาก และบุนนาก คนแจวเรือ ตามา และตาแก้ว ไปพระแท่นดงรัง
๒๓๗๙ ปีวอก รัชกาลที่สาม
เริ่มสร้างวัดเทพธิดาราม (พงศ.ร๓)
พระนายไวย เริ่มต่อเรือที่จันทบุรี เป็นกำปั่นไม้ ลำใหญ่ถึง ๔-๕๐๐ ตัน ออกทะเลไปได้ถึงลังกาและกวางตุ้ง
๒๓๘๐ ปีจอ รัชกาลที่สาม
"๏ คิดถึงคราวเจ้านิพพานสงสารโศก ไปพิศีโลกลายแทงแสวงหา" (รำพันพิลาป)
ตงจะหมายถึงเจ้าฟ้ากุณฑลสิ้นพระชนม์ พระชันษา ๔๐ (พงศ.ร๓)
๒๓๘๒ ปีกุน รัชกาลที่สาม
สร้างวัดเทพธิดาราม แล้วเสร็จ (พงศ.ร๓) สุนทรภู่มาอยู่วัดเทพธิดาราม (รำพันพิลาป)
๒๓๘๔ ปีฉลู รัชกาลที่สาม
"ปีฉลูมีธุระ" (รำพันพิลาป) อาจจะไปวัดเจ้าฟ้าอากาศ
ตั้งแต่ปี ๒๓๗๓ ถึงปีนี้ สุมทรภู่ออกหัวเมือง เริ่มที่ พริบพรี ราชพรี กาญจนบุรี สองพี่น้อง เขากาเพน สุพรรณ พิศืโลก เขาม้าวิ่ง รวม ๑๑ ปี
๒๓๘๕ ปีขาล รัชกาลที่สาม
"โอ้ปีนี้ปีขาลสงสารวัด เคยโสมนัสในอารามสามวษา" (รำพันพิลาป) เตรียมสีก
วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ คณะสงฆ์ไทยออกจากกรุงเทพฯ ไปลังกาโดยเรือกำปั่น จินดาดวงแก้ว (เรือบาร์ก เรือใบชนิดสามเสา)
๒๓๘๗ ปีมะโรง รัชกาลที่สาม
เรือกำปั่นไฟ เอ็กสเปรส เข้ามา (ปชพ.๓๑ จดหมายเหตุของหมอบรัดเล)
๒๓๙๔ ปีกุน รัชกาลที่สี่
วันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎ จากวัดบวรนิเวศน์ ขี้นตรองราชสมบัติ
๒๓๙๘ ปีเถาะ รัชกาลที่สี่
วันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำเซอร์จอห์น เบาริงก์ เป็นฑูตเข้ามา
๒๔๐๐ ปีมเส็ง รัชกาลที่สี่
วันศุกร เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ คณะฑูตไทยไปลอนดอน
๒๔๐๙ ปีขาล
"๒๒ ตุลาคม ๒๔๐๑ โรงสีข้าวแห่งแรกของไทยเปิดทำการ ต่อมาเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๐๙ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
ได้ซื้อโรงสีจากบริษัทสก๊อตแอนด์กำปะนี นับเป็นคนไทยคนแรกที่ตั้งโรงสีไฟในไทย"
https://www.baanjomyut.com/library_4/in_the_past/10.html
๒๔๑๑ ปีมโรง
วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต
๒๔๑๒ ปีมเส็ง
เดือน ๔ พระราชพิธีพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครูสมิธ พิมพ์พระอภัยมณี ๒๐๐ ชุด ถวายในงานพระเมรุ
๒๔๑๓ ปีมเมีย
อาจจะแต่งนิราศภูเขาทอง เป็นนิราศเรื่องสุดท้าย
------------
ลำดับเหตุการณ์นี้ ได้ตัดนิราศ ๓ เรื่องทิ้งไป เพราะสุนทรภู่ไม่ได้แต่ง คือ นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองเพชร และนืราศพระบาท
ข้อมูลจากสมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ละทิ้งทั้งหมด เพราะมีข้อบกพร่องนับร้อยแห่ง
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เชื่อคำของสุนทรภู่เป็นหลักเท่านั้น เชื่อคำกวีอิ่นๆ รองลงมา
เชื่อนักเขียนร่วมสมัย น้อยที่สุด เพราะเชื่อสมเด็จฯ จนละเลยประวัติศาสตร์วิธีไปโดยลืมตัว