ปีแต่งรำพันพิลาป

กระทู้สนทนา
รำพันพิลาประบุปีขาลไว้ ๓ ครั้ง
"๏ โอ้ปีนี้ปีขาลบันดาลฝัน" 
"จะมรณาในปีนี้เป็นปีขาล"
"๏ โอ้ยามนี้ปีขาลสงสารวัด"
เทียบศักราชแล้ว ตรงกับพ.ศ.๒๓๘๕ ในรัชกาลที่สาม

ท่านเล่าว่า เมื่อกลับจากธุระ (อาจจะไปวัดเจ้าฟ้าอากาศ) พบผึ้งจับทำรังที่ริมประตูเป็นลางร้าย
เพื่อทำนายผันท่านตั้งใจนอน และกังวลว่าจะตายในปีนี้ จึงแต่งเพลงยาวเล่าเรื่องราวขี้นมา
ผู้รู้เห็นพ้องกันว่า ปีขาล ๒๓๘๕ นี้เอง เป็นปีแต่งรำพันพิลาป

จริงอยู่ท่านเล่าเรื่องราวที่เกิดในปีขาล แต่ท่านอาจแต่งเรื่องจากความทรงจำในภายหลัง ก็ได้
มีองค์ประกอบหลายประการในเนื้อเรื่องที่บอกอายุสมัย ที่สำคัญก็คือมันบ่งชี้เวลาไว้หลัง ๒๓๘๕

๑ จิ้งเหลนไฟ
"กำปั่นไฟใหญ่น้อยออกลอยเที่ยว ตลบเลี้ยวแลวิ่งดั่งจิ้งเหลน"
ในความฝัน ท่านพานางท่องทะเลตะวันออกด้วยเรือกำปั่นไฟ บรรยายลักษณะว่าเป็นเรือกลพยนต์ผยอง
เรือเบาแคล่วคล่องใช้ใบเมื่อลมดี เรือชนิดนี้คนไทยในปี ๒๓๘๕ ยังไม่รู้จัก อย่างน้อยต้องรอถึงปี ๒๓๘๗*
เมื่อหันแตรนำเรือเอ็กเพรส เข้ามาในบางกอก (๑๑ มกราคม) เป็นเรือกลไฟลำแรกที่ชาวไทยเคยเห็น
*บางแห่ง นับเป็นพ.ศ.๒๓๘๖ เพราะเดือนมกราคม นับไทยยังเป็นเดือนยี่ ยังไม่เปลี่ยนศก

๒ อ่าวเบงกอลและเมืองสุหรัต
"แล้วจะใช้ใบไปดูเมืองสุหรัด ท่าคลื่นซัดซึ้งวนชลสาย"
"ได้แย้มสรวลชวนใช้ใบลีลา ไปมังกล่าฝาหรั่งระวังตระเวน"
เส้นทางที่พรรณาในความฝัน ตรงกับนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย แต่ตัดจบเพียงเมืองเบงกอลอ้างว่าจบเล่มสมุด
มีประเด็นให้พิจารณาว่า คณะฑูตไปลอนดอน (๒๔๐๐) นี้ จะเป็นตนไทยกลุ่มแรกที่ใช้เส้นทางนี้โดยเรือกลไฟ 
ก่อนหน้านี้ในปี ๒๓๘๕ เมื่อทรงพระกรุณาจัดส่งพระภิกษุชาวลังกากลับประเทศ ได้ใช้เรือกำปั่นชื่อว่า จินดาดวงแก้ว (เรือบาร์ก 
เรือใบชนิดสามเสา) ต่อโดยหลวงนายสิทธิ (ช่วง บุนนาค) ตั้งแต่พ.ศ.๒๓๗๙ จากนั้นเมื่อเปลี่ยนรัชกาล จึงโปรดให้ต่อเรือกลไฟเพิ่ม
ลำแรกในปี ๒๓๙๘ เป็นเรือไม้มีขนาดเล็ก ออกทะเลลึกมิได้ เคยนำส่งคณะฑูตไปลอนดอนถึงสิงค์โปร์
ดูรูปและรายละเอียดใน https://www.facebook.com/photo.php?fbid=892759540736664&id=546940131985275&set=a.892743304071621

หมายความว่า ประสบการณ์ที่สุนทรภู่กล่าวไว้ในความฝันของท่าน ต้องเกิดหลังนิราศลอนดอนเป็นอย่างเร็ว
หริอกล่าวอีกอย่างได้ว่า รำพันพิลาป แต่งหลังปี ๒๔๐๐ ลงมานั่นเอง

๓ หัศเกน
"ถ้วนเดือนหนึ่งจึงจะผลัดพวกหัศเกน เวียนตระเวนไปมาทั้งตาปี ฯ"
ศรีสุรางต์ พูลทรัพย์เดาพุ่งว่า หัศเกน มาจาก hansken ภาษาดัชท์ซึ่งไม่น่าจะใช่ เพราะคำนี้ใช้เรียกช้างที่นำมาแสดงในช่วง 1637
ปรากฏในรูปร่างดินสอของเร็มบรันด์ http://legacy.orst.go.th/wp-content/uploads/royin-ebook/336/FileUpload/1328_6720.pdf
ผู้ใช้นามแฝง "Hotacunus" ในเว็บเรือนไทยเสนอว่า มาจาก LASCAR มีอธิบายในอภิธานศัพท์แองโกล-อินเดีย Hobson-Jobson
https://www.gutenberg.org/cache/epub/58529/pg58529-images.html ว่า หมายถึงกลาสี 
ปัจจุบัน มีผู้จัดทำเว็บ https://lascars.co.uk/ ให้ข้อมูล"ลูกเรือชาวเอเชีย แอฟริกา และ 'ชาวต่างชาติ' ที่ถูกลืม ที่ให้บริการบนเรืออังกฤษ"

การกลายเสียงจาก "อั๊ศกริน" หรือ "ลั๊ศกริน" มาเป็นหัศเกนนั้นมีความน่าจะเป็นอยู่มาก เมื่อรวมกับอาชีวะของบุคคลเหล่านั้น
ก็ยิ่งสอดคล้องกัน ลูกเรือเหล่านี้ เข้ามาสู่สังคมไทยผ่านการค้าที่เฟื่องฟู นั่นคือหลังสนธิสัญญาเบาริงถูกบังคับใช้
ยิ่งยืนยันปีแต่งรำพันพิลาปว่า อยู่ในรัชกาลที่สี่แน่นอน

๔ พระอภัยพระทัยจืด
"พอพวกพระอภัยมณีศรีสุวรรณ เธอช่วยกันแก้ร้อนค่อยหย่อนเย็น"
"เห็นแต่พระอภัยพระทัยดี"
"พระสิงหะพระอภัยพระทัยจืด ไม่ยาวยืดยกยอชะลอเฉลิม"
เราพบแล้วว่า พระจอมเกล้าฯ โปรดให้แต่งพระอภัยมณีขึ้น และพบอีกว่า ต้องแต่งหลังมีกิจการโรงสีหลวง
เมื่อกวีเอ่ยถึงตัวละคอนเหล่านี้ วันเวลาแต่งก็เป็นไปตามสมมุติฐาน ๑-๒-๓ ข้างบนดังได้แสดงไว้

เป็นอันสรุปได้ว่า 
รำพันพิลาป แต่งเมื่อปีท้ายๆ ของรัชกาลที่สี่ มีนิราศลอนดอนเป็นแรงกระตุ้นไม่มากก็น้อย
เวลานั้น ท่านสุนทรมีความสุขสบาย มีลูกศิษย์มิตรสหายอยู่แวดล้อม จัดว่าเป็นบุคคลมีชื่อในสังคนโขอยู่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่