อัตตทีปสูตร ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม
[๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด. ดูกรภิกษุทั้ง หลาย เมื่อเธอทั้งหลายจะมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็น ที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ จะต้องพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร? ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ก็โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็น ตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูปนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่าง อื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะรูปแปรไปและ เป็นอื่นไป. ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อม เห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อม เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะ วิญญาณแปรไปและเป็นอย่างอื่นไป.
-อัตตทีปสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ขอที่ ๘๗
จะต้องพิจารณาโดยแยบคาย
*
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
ปุถุชนผู้ไม่รู้ ไม่ฉลาดในธรรมะ
๑. ย่อมเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นตน
๒. ย่อมเห็นตนมีขันธ์ ๕
๓. ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ในตน
๔. ย่อมเห็นตนในขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ นั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่าง อื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะรูปแปรไปและ เป็นอื่นไป.
ดังนั้นประโยคว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ คำว่าตนในที่นี้ไม่ใช่ขันธ์ ๕ และ ตนไปหลงยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน ด้วยความไม่รู้ ก็ไม่เข้าใน ๔ ข้อหลักนี้
“อานนท์ อนึ่ง เราถูกวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า ‘อัตตาไม่มีหรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตาไม่มี’ คำตอบนั้นก็จักมีเพื่อความงมงายยิ่งขึ้นแก่วัจฉโคตรปริพาชกผู้งมงาย อยู่แล้วว่า ‘เมื่อก่อนอัตตาของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้อัตตานั้นไม่มี”
*ถ้าอัตตาที่แท้จริงไม่มีอยู่ พระองค์คงตรัสชมวัจฉโคตรปริพาชกไปแล้วใช่ไหมครับ
พระองค์สอนความจริงตรงนี้ว่าธรรมชาติที่ทำให้ทุกข์นั้นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อให้เรามองเห็น นิจจัง สุขขัง อัตตา ไงครับ ชีวิตจึงประเสริฐและมีความหมายใช่ไหมครับ
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
[๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด. ดูกรภิกษุทั้ง หลาย เมื่อเธอทั้งหลายจะมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็น ที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ จะต้องพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร? ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ก็โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็น ตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูปนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่าง อื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะรูปแปรไปและ เป็นอื่นไป. ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อม เห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อม เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะ วิญญาณแปรไปและเป็นอย่างอื่นไป.
-อัตตทีปสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ขอที่ ๘๗
จะต้องพิจารณาโดยแยบคาย
*เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
ปุถุชนผู้ไม่รู้ ไม่ฉลาดในธรรมะ
๑. ย่อมเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นตน
๒. ย่อมเห็นตนมีขันธ์ ๕
๓. ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ในตน
๔. ย่อมเห็นตนในขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ นั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่าง อื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะรูปแปรไปและ เป็นอื่นไป.
ดังนั้นประโยคว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ คำว่าตนในที่นี้ไม่ใช่ขันธ์ ๕ และ ตนไปหลงยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน ด้วยความไม่รู้ ก็ไม่เข้าใน ๔ ข้อหลักนี้
“อานนท์ อนึ่ง เราถูกวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า ‘อัตตาไม่มีหรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตาไม่มี’ คำตอบนั้นก็จักมีเพื่อความงมงายยิ่งขึ้นแก่วัจฉโคตรปริพาชกผู้งมงาย อยู่แล้วว่า ‘เมื่อก่อนอัตตาของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้อัตตานั้นไม่มี”
*ถ้าอัตตาที่แท้จริงไม่มีอยู่ พระองค์คงตรัสชมวัจฉโคตรปริพาชกไปแล้วใช่ไหมครับ
พระองค์สอนความจริงตรงนี้ว่าธรรมชาติที่ทำให้ทุกข์นั้นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อให้เรามองเห็น นิจจัง สุขขัง อัตตา ไงครับ ชีวิตจึงประเสริฐและมีความหมายใช่ไหมครับ