VG-10 สุดยอดสแตนเลสตัวแทนแห่งยุคสมัย
V金10号 ,V Gold No. 10 , VG10 , Takefu - V-Kin-10 ไม่ว่าจะเขียนแบบไหนหรือรหัสไหน สแตนเลสตัวนี้ก็หมายถึง โลหะวีโกลด์หมายเลขสิบของบริษัททาเคฟุ วันนี้ผมจะพามารู้จักสแตนเลสทำใบมีดยอดนิยมที่เราพบเห็นหรือให้ความสำคัญกับมันเป็นอันดับสูง แต่ทำความรู้จักกับมันจริงๆจังๆน้อยมาก
ดื่มน้ำให้มากๆ ถ้าพร้อมจะงงแล้วก็ตามมาชมกันได้เลย
เรื่องนี้จริงๆต้องแบ่งเป็นหลายเรื่องหลายตอน หลายรายละเอียด ถึงมันมาจากคนละที่ละทางแต่จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องเดียวกัน ก่อนอื่นต้องเริ่มจากพระเอกนางเอกของเราในวันนี้ เป็นมีดครัวในแบบกิวโตะ หรือซานโตกุก็ได้ ยี่ห้อโทจิโร่ ในซีรี่ย์เดียวกันคือ Tojiro DP
มีดเล่มนี้เป็นแบบลามิเนทสามชั้นหรือทรีเลเยอร์ สองเล่มที่ผมนี่ผมหาเส้นผ่าหลังไม่เจอ เลยคาดว่ามันจะเป็นลามิเนทแบบสอดไส้หรือวาริโกมิ ยี่ห้อนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Tojiro ส่วนภาษาญี่ปุ่นเขียนว่า 藤次郎 หรือ 藤次郎作 ซึ่งจะอ่านได้ทั้งโทจิโร่ , โทจิโร่ซากุ หรือจริงๆจะต้องอ่านว่า ฟูจิจิโร่ เพราะตราสัญลักษณ์ของโทจิโร่ที่เรามองคล้ายขนมเปียกปูน มาจากยอดเขาของภูเขาไฟฟูจิ สี่ยอดมารวมกัน
ผมไม่ค่อยเชี่ยวชาญเรื่องมีดยี่ห้อนี้นัก แต่ก็เห็นมีใช้กันหลายท่าน รุ่นนี้เป็นรุ่น DP ที่ย่อมาจาก Dual-phase หรือ Dual-phase steel หมายถึงเหล็กสองเฟส สองสภาพ คือมีทั้งแข็งและเหนียว โดยพื้นฐานคือการชุบแข็งเหล็กหรือคาร์บอนให้อยู่ในสภาพมาร์เทนไซต์ แต่เป็นมาร์เทนไซต์ที่ต้านทานแรงดึง จริงๆแล้วผมไม่เข้าใจเรื่อง DP เพราะความรู้น้อย คาถาไม่เพียงพอ แต่รู้ว่ามันทำเพื่อให้มาร์เทนไซต์ต้านทานแรงดึงคือยึดเกาะกันแน่นขึ้น โดยปรกติแล้วการชุบเหล็กให้แข็งคือการเปลี่ยนสภาพเกรนเหล็กที่รวมตัวกับคาร์บอนให้บิดตัวอยู่ในสภาพมาร์เทนไซต์ เมื่อมันบิดตัวมากเท่าไหร่ค่าความแข็งก็จะสูงขึ้นแต่ค่าความเหนียวจะลดลง เราต้องมาเพิ่มค่าความเหนียวด้วยการลดการบิดตัวของมาร์เทนไซต์ให้ลดระดับลงมา คือจะเหนียวขึ้น กระบวนการนี้คือการให้ความร้อนเล็กน้อยหลังการชุบแข็งที่เราเรียกว่าการเทมเปอริ่งหรือคืนไฟคลายเครียด
เมื่อเหล็กเหนียวขึ้น ก็แน่นอนว่าค่าความแข็งของมันจะลดลงมา เช่นค่าความแข็งหลังการชุบแข็งที่ 60 - 61 ร็อกเวลส์ หลังการเทมเปอริ่ง เราอาจจะได้ค่าความแข็งที่ 57 -59 ร็อกเวลส์ แต่ได้ค่าความเหนียวที่เหมาะสม แลกกัน รักแท้ย่อมใช้รักแท้ไปแลกมา อยากได้บางสิ่งบางอย่างบางทีเราก็ต้องเสียบางสิ่งบางอย่างไป แต่การชุบแข็งแบบ DP ช่วยให้เหล็กหรือมาเทนไซต์มันมีค่าความแข็งที่สูงและมีค่าความเหนียวที่สูงกว่าการชุบแข็งแบบปรกติ ซึ่งไอ้การทำ DP ที่ว่านี่ทำยังไงก็ไม่รู้แหละ จริงๆแล้วผมไม่อยากเขียนถึงมันเท่าไหร่นัก เพราะถึงหนังหน้าผมจะหนา แต่ก็รู้สึกเหมือนมันจะเริ่มแดงด้วยความละอายเวลาโม้เรื่องอะไรที่ไม่รู้หรือไม่เข้าใจจริงๆ
ที่ต้องชักแม่น้ำทั้งห้าสาธยายขึ้นไปถึงยอดเขาฟูจิ คือจะบอกว่าไอ้มีดโทจิโร่เนี่ย บางร้านก็ลงข้อมูลว่าเป็น VG-10 บางร้านก็ลงว่า VG-10 cobalt ทำให้ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นเหล็กอะไรกันแน่ ถ้าเป็น VG-10 เราก็มากันถูกทาง และส่วนใหญ่ของผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนี้ก็ใช้ VG-10 แต่ถ้าเป็น VG-10 Co หรือวีจีสิบโคบอลท์ เราจะหลงทางถึงขั้นตกทะเล เพราะเหล็กสูตรนี้ไม่ใช่เหล็กทาเคฟุแต่เป็นเหล็กเมืองจีน
หรือพูดให้ฟังง่ายๆก็คือเป็นเหล็กสูตร VG-10 ที่ผลิตในเมืองจีน ไม่ใช่สแตนเลสของทาเคฟุ
เรื่องเหล็กนี่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะครับ ไม่ใช่ว่าใช้เหล็กเบอร์เดียวกันแล้วจะได้ส่วนผสมเหมือนกัน หรือใส่ส่วนผสมสูตรเดียวกันแล้วมันจะดีเหมือนกัน มันยังมีเรื่องความบริสุทธิ์ของธาตุ ปริมาณ วิธีการและอุณหภูมิในการผสม ดูอย่างเหล็กของยาสึกิที่แยกระหว่างเหล็กกระดาษขาว2กับเหล็กกระดาษเหลือง2 ซึ่งส่วนผสมและปริมาณคาร์บอนเท่าๆกัน แต่ต่างกันตรงวิธีการผลิต
ส่วนผสมทางเคมีของ VG-10 ก็มีตามนี้นะครับ
- Carbon (C) 0.95-1.05 %
- Chromium (Cr) 14.5-15.5 %
- Molybdenum (Mo) 0.9-1.2 %
- Vanadium (V) 0.1-0.3 %
- Cobalt (Co) 1.3-1.5 %
- Maganese (Mn) 0.5 %
- Phosphorus (P) 0.03 %
ถ้าเทียบกับเหล็กต้นแบบอย่าง VG-1 จะเห็นว่าตัวหลักๆที่ VG-1 ไม่มีคือ วานาเดียมกับโคบอลท์ สองตัวนี้คงเพิ่มความแข็งนิดหน่อยและลดขนาดเกรนเหล็ก
ส่วนผสมระหว่างนี้มีด้วยกันหลายเบอร์นะครับ ถ้านับเฉพาะปริมาณคาร์บอน ที่ 0.95 - 1.05 และปริมาณโครเมียมที่ 14.5 - 15.5 % แม้แต่ 440C บางสูตรก็เข้าข่ายนี้เหมือนกัน AUS-10 ก็ใช่ N695 ก็ผสมไม่ต่างจากนี้เท่าไหร่
มีดสองเล่มนี้เป็นสแตนเลสลามิเนททั้งคู่ คือใช้แกนกลางเป็น VG-10 และเปลือกเป็นสแตนเลสซึ่งต้านสนิมและการกัดกร่อนได้ดีกว่า VG-10 ซึ่งก็เป็นสแตนเลสที่โครเมียมสูงและคาร์บอนไม่สูงนัก เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติของใบมีดและลดต้นทุนการผลิต เล่มนึงใบมีดค่อนข้างสภาพดี เห็นแนวเหล็กกล้าโผล่ออกมามาก มีดแบบนี้องศาของแนวคมจะบาง และตัดเฉือนได้ดี ส่วนเล่มที่เป็นอินทรีกัล แนวคมจะชันมากๆ และแนวเหล็กกล้าโผล่ออกมาจากเปลือกเพียงนิดเดียว
ในยุคนี้คือสมัยของเรานี่ มีดครัวญี่ปุ่นที่ทำด้วยเหล็กกล้าไฮคาร์บอนก็นิยมใช้เหล็กของยาสึกิสเปเชียลสตีล อย่างบลูสตีล , ไวท์สตีล ที่เราเห็นกันบ่อยๆ ส่วนในฝั่งของมีดสแตนเลส ซึ่งส่วนมากมักจะอยู่ในหมวดมีดแบบตะวันตกหรือมีดกิวโตะ มีดเพตตี้ มักจะใช้สแตนเลส และนิยมที่จะใช้สแตนเลสของทาเคฟุ ที่เห็นมากๆก็มีในสาย VG นี่แหละ ระวังอย่าให้สับสนนะครับ เหล็กของทาเคฟุมีชื่อว่า V เกือบทั้งนั้น แต่ก็มีเนื้อหาหรือส่วนผสมแตกต่างกันไป บางชนิดถึงกับเป็นสูตรลับของทาเคฟุ อย่างเหล็กขาวหรือชิโรกาเนะ ของทาเคฟุเองก็มี ไม่ใช่มีเฉพาะของยาสึกิ
ได้รับความนิยมหรือเชื่อถือมากกว่าเบอร์อื่นๆ คือถ้าเห็นเบอร์ VG-10 ก็ถือเป็นของดี เอาได้ ว่ากันอย่างนั้น สแตนเลสที่ใช้มากจริงๆน่าจะเป็นสแตนเลสพื้นๆอย่างที่ใส่คาร์บอน 05.-0.6 และโครเมียม 12 - 13 % บางทีเค้าก็ไม่ได้บอกเบอร์ หรือบางทีก็ใส่โครวา หรือโมวา โมลิบดีนัมวานาเดียม แถวๆนี้ มีดที่เป็นมาตรฐานหรือเริ่มเป็นมาตรฐานผมขอแนะนำให้ดู KAI ครับ รุ่นปรกติเค้าใช้เหล็กไม่เลิศหรูอะไร แต่ก็ใช้งานได้ดี ต้านสนิมได้ดีและรักษาคมได้ตามสมควรแก่เหตุ ยี่ห้อที่เหล็กดีกว่านี้ก็มี เหล็กด้อยกว่านี้ก็มี
ถ้าเทียบกับเบอร์ VG-1 ที่ผมใช้มาหลายครั้ง VG-1 จะลับง่ายกว่า ตั้งเกสรได้ง่ายกว่า VG-10 จะออกลื่นๆนิดนึง แต่การรักษาคมจะพอๆกันครับ และดูแล้วมีรอยผุกร่อนเหมือนกัน คือเป็นสแตนเลสที่ยังผุกร่อนหรือเป็นตามดได้ง่าย ใช้ได้นานเหมือนๆกันเรียกว่าอยู่รอดสัปดาห์นึงสบายๆ
สรุปแล้วเหล็กหรือสแตนเลสเบอร์ VG-10 ไม่ว่าจะเป็น DP หรือไม่ ก็เป็นสแตนเลสที่ดีเหมาะกับมีดทำครัวครับผม อาจจะลับยากซักหน่อย ต้องคอยย้อนหินลับมีด คือเหล็กบางเบอร์เราลับคมสุดท้ายด้วยเบอร์ 3000 - 4000 ถ้ามีดหมดคมบางทีเราเรียกกลับมาได้ด้วยเบอร์ 3000 - 4000 แต่VG-10 ไม่เป็นอย่างนั้น คือมันต้องถอยลงไปจนถึง 1000 หรือจะให้ง่ายก็ต้องตั้งคมใหม่ที่ 240 เป็นอย่างนั้นครับ
คล้ายๆกับเหล็กดีสองอย่างเบอร์ 2379 ของเยอรมัน หรือ DC53 ของญี่ปุ่น , SKD11 กับ AUD11 ของญี่ปุ่นก็เหมือนกัน คือมันออกลื่นๆ ถ้าใช้หมดคมหรือความคมลดลงมันต้องเริ่มกันที่หินหยาบ
VG-10 ว่ากันว่าทาเคฟุพัฒนามาร่วมๆ 60 ปี หกสิบปีนะครับ ไม่ใช่หกปี เรียกว่าผ่านนักโลหะวิทยามาหลายรุ่นกว่าจะมาเป็นสแตนเลสใบขาวๆให้เราใช้กันได้ เป็นเนื้อสแตนเลสที่เชื่อถือได้อย่างนึง









มีด VG-10 สุดยอดสแตนเลสตัวแทนแห่งยุคสมัย
V金10号 ,V Gold No. 10 , VG10 , Takefu - V-Kin-10 ไม่ว่าจะเขียนแบบไหนหรือรหัสไหน สแตนเลสตัวนี้ก็หมายถึง โลหะวีโกลด์หมายเลขสิบของบริษัททาเคฟุ วันนี้ผมจะพามารู้จักสแตนเลสทำใบมีดยอดนิยมที่เราพบเห็นหรือให้ความสำคัญกับมันเป็นอันดับสูง แต่ทำความรู้จักกับมันจริงๆจังๆน้อยมาก
ดื่มน้ำให้มากๆ ถ้าพร้อมจะงงแล้วก็ตามมาชมกันได้เลย
เรื่องนี้จริงๆต้องแบ่งเป็นหลายเรื่องหลายตอน หลายรายละเอียด ถึงมันมาจากคนละที่ละทางแต่จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องเดียวกัน ก่อนอื่นต้องเริ่มจากพระเอกนางเอกของเราในวันนี้ เป็นมีดครัวในแบบกิวโตะ หรือซานโตกุก็ได้ ยี่ห้อโทจิโร่ ในซีรี่ย์เดียวกันคือ Tojiro DP
มีดเล่มนี้เป็นแบบลามิเนทสามชั้นหรือทรีเลเยอร์ สองเล่มที่ผมนี่ผมหาเส้นผ่าหลังไม่เจอ เลยคาดว่ามันจะเป็นลามิเนทแบบสอดไส้หรือวาริโกมิ ยี่ห้อนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Tojiro ส่วนภาษาญี่ปุ่นเขียนว่า 藤次郎 หรือ 藤次郎作 ซึ่งจะอ่านได้ทั้งโทจิโร่ , โทจิโร่ซากุ หรือจริงๆจะต้องอ่านว่า ฟูจิจิโร่ เพราะตราสัญลักษณ์ของโทจิโร่ที่เรามองคล้ายขนมเปียกปูน มาจากยอดเขาของภูเขาไฟฟูจิ สี่ยอดมารวมกัน
ผมไม่ค่อยเชี่ยวชาญเรื่องมีดยี่ห้อนี้นัก แต่ก็เห็นมีใช้กันหลายท่าน รุ่นนี้เป็นรุ่น DP ที่ย่อมาจาก Dual-phase หรือ Dual-phase steel หมายถึงเหล็กสองเฟส สองสภาพ คือมีทั้งแข็งและเหนียว โดยพื้นฐานคือการชุบแข็งเหล็กหรือคาร์บอนให้อยู่ในสภาพมาร์เทนไซต์ แต่เป็นมาร์เทนไซต์ที่ต้านทานแรงดึง จริงๆแล้วผมไม่เข้าใจเรื่อง DP เพราะความรู้น้อย คาถาไม่เพียงพอ แต่รู้ว่ามันทำเพื่อให้มาร์เทนไซต์ต้านทานแรงดึงคือยึดเกาะกันแน่นขึ้น โดยปรกติแล้วการชุบเหล็กให้แข็งคือการเปลี่ยนสภาพเกรนเหล็กที่รวมตัวกับคาร์บอนให้บิดตัวอยู่ในสภาพมาร์เทนไซต์ เมื่อมันบิดตัวมากเท่าไหร่ค่าความแข็งก็จะสูงขึ้นแต่ค่าความเหนียวจะลดลง เราต้องมาเพิ่มค่าความเหนียวด้วยการลดการบิดตัวของมาร์เทนไซต์ให้ลดระดับลงมา คือจะเหนียวขึ้น กระบวนการนี้คือการให้ความร้อนเล็กน้อยหลังการชุบแข็งที่เราเรียกว่าการเทมเปอริ่งหรือคืนไฟคลายเครียด
เมื่อเหล็กเหนียวขึ้น ก็แน่นอนว่าค่าความแข็งของมันจะลดลงมา เช่นค่าความแข็งหลังการชุบแข็งที่ 60 - 61 ร็อกเวลส์ หลังการเทมเปอริ่ง เราอาจจะได้ค่าความแข็งที่ 57 -59 ร็อกเวลส์ แต่ได้ค่าความเหนียวที่เหมาะสม แลกกัน รักแท้ย่อมใช้รักแท้ไปแลกมา อยากได้บางสิ่งบางอย่างบางทีเราก็ต้องเสียบางสิ่งบางอย่างไป แต่การชุบแข็งแบบ DP ช่วยให้เหล็กหรือมาเทนไซต์มันมีค่าความแข็งที่สูงและมีค่าความเหนียวที่สูงกว่าการชุบแข็งแบบปรกติ ซึ่งไอ้การทำ DP ที่ว่านี่ทำยังไงก็ไม่รู้แหละ จริงๆแล้วผมไม่อยากเขียนถึงมันเท่าไหร่นัก เพราะถึงหนังหน้าผมจะหนา แต่ก็รู้สึกเหมือนมันจะเริ่มแดงด้วยความละอายเวลาโม้เรื่องอะไรที่ไม่รู้หรือไม่เข้าใจจริงๆ
ที่ต้องชักแม่น้ำทั้งห้าสาธยายขึ้นไปถึงยอดเขาฟูจิ คือจะบอกว่าไอ้มีดโทจิโร่เนี่ย บางร้านก็ลงข้อมูลว่าเป็น VG-10 บางร้านก็ลงว่า VG-10 cobalt ทำให้ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นเหล็กอะไรกันแน่ ถ้าเป็น VG-10 เราก็มากันถูกทาง และส่วนใหญ่ของผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนี้ก็ใช้ VG-10 แต่ถ้าเป็น VG-10 Co หรือวีจีสิบโคบอลท์ เราจะหลงทางถึงขั้นตกทะเล เพราะเหล็กสูตรนี้ไม่ใช่เหล็กทาเคฟุแต่เป็นเหล็กเมืองจีน
หรือพูดให้ฟังง่ายๆก็คือเป็นเหล็กสูตร VG-10 ที่ผลิตในเมืองจีน ไม่ใช่สแตนเลสของทาเคฟุ
เรื่องเหล็กนี่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะครับ ไม่ใช่ว่าใช้เหล็กเบอร์เดียวกันแล้วจะได้ส่วนผสมเหมือนกัน หรือใส่ส่วนผสมสูตรเดียวกันแล้วมันจะดีเหมือนกัน มันยังมีเรื่องความบริสุทธิ์ของธาตุ ปริมาณ วิธีการและอุณหภูมิในการผสม ดูอย่างเหล็กของยาสึกิที่แยกระหว่างเหล็กกระดาษขาว2กับเหล็กกระดาษเหลือง2 ซึ่งส่วนผสมและปริมาณคาร์บอนเท่าๆกัน แต่ต่างกันตรงวิธีการผลิต
ส่วนผสมทางเคมีของ VG-10 ก็มีตามนี้นะครับ
- Carbon (C) 0.95-1.05 %
- Chromium (Cr) 14.5-15.5 %
- Molybdenum (Mo) 0.9-1.2 %
- Vanadium (V) 0.1-0.3 %
- Cobalt (Co) 1.3-1.5 %
- Maganese (Mn) 0.5 %
- Phosphorus (P) 0.03 %
ถ้าเทียบกับเหล็กต้นแบบอย่าง VG-1 จะเห็นว่าตัวหลักๆที่ VG-1 ไม่มีคือ วานาเดียมกับโคบอลท์ สองตัวนี้คงเพิ่มความแข็งนิดหน่อยและลดขนาดเกรนเหล็ก
ส่วนผสมระหว่างนี้มีด้วยกันหลายเบอร์นะครับ ถ้านับเฉพาะปริมาณคาร์บอน ที่ 0.95 - 1.05 และปริมาณโครเมียมที่ 14.5 - 15.5 % แม้แต่ 440C บางสูตรก็เข้าข่ายนี้เหมือนกัน AUS-10 ก็ใช่ N695 ก็ผสมไม่ต่างจากนี้เท่าไหร่
มีดสองเล่มนี้เป็นสแตนเลสลามิเนททั้งคู่ คือใช้แกนกลางเป็น VG-10 และเปลือกเป็นสแตนเลสซึ่งต้านสนิมและการกัดกร่อนได้ดีกว่า VG-10 ซึ่งก็เป็นสแตนเลสที่โครเมียมสูงและคาร์บอนไม่สูงนัก เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติของใบมีดและลดต้นทุนการผลิต เล่มนึงใบมีดค่อนข้างสภาพดี เห็นแนวเหล็กกล้าโผล่ออกมามาก มีดแบบนี้องศาของแนวคมจะบาง และตัดเฉือนได้ดี ส่วนเล่มที่เป็นอินทรีกัล แนวคมจะชันมากๆ และแนวเหล็กกล้าโผล่ออกมาจากเปลือกเพียงนิดเดียว
ในยุคนี้คือสมัยของเรานี่ มีดครัวญี่ปุ่นที่ทำด้วยเหล็กกล้าไฮคาร์บอนก็นิยมใช้เหล็กของยาสึกิสเปเชียลสตีล อย่างบลูสตีล , ไวท์สตีล ที่เราเห็นกันบ่อยๆ ส่วนในฝั่งของมีดสแตนเลส ซึ่งส่วนมากมักจะอยู่ในหมวดมีดแบบตะวันตกหรือมีดกิวโตะ มีดเพตตี้ มักจะใช้สแตนเลส และนิยมที่จะใช้สแตนเลสของทาเคฟุ ที่เห็นมากๆก็มีในสาย VG นี่แหละ ระวังอย่าให้สับสนนะครับ เหล็กของทาเคฟุมีชื่อว่า V เกือบทั้งนั้น แต่ก็มีเนื้อหาหรือส่วนผสมแตกต่างกันไป บางชนิดถึงกับเป็นสูตรลับของทาเคฟุ อย่างเหล็กขาวหรือชิโรกาเนะ ของทาเคฟุเองก็มี ไม่ใช่มีเฉพาะของยาสึกิ
ได้รับความนิยมหรือเชื่อถือมากกว่าเบอร์อื่นๆ คือถ้าเห็นเบอร์ VG-10 ก็ถือเป็นของดี เอาได้ ว่ากันอย่างนั้น สแตนเลสที่ใช้มากจริงๆน่าจะเป็นสแตนเลสพื้นๆอย่างที่ใส่คาร์บอน 05.-0.6 และโครเมียม 12 - 13 % บางทีเค้าก็ไม่ได้บอกเบอร์ หรือบางทีก็ใส่โครวา หรือโมวา โมลิบดีนัมวานาเดียม แถวๆนี้ มีดที่เป็นมาตรฐานหรือเริ่มเป็นมาตรฐานผมขอแนะนำให้ดู KAI ครับ รุ่นปรกติเค้าใช้เหล็กไม่เลิศหรูอะไร แต่ก็ใช้งานได้ดี ต้านสนิมได้ดีและรักษาคมได้ตามสมควรแก่เหตุ ยี่ห้อที่เหล็กดีกว่านี้ก็มี เหล็กด้อยกว่านี้ก็มี
ถ้าเทียบกับเบอร์ VG-1 ที่ผมใช้มาหลายครั้ง VG-1 จะลับง่ายกว่า ตั้งเกสรได้ง่ายกว่า VG-10 จะออกลื่นๆนิดนึง แต่การรักษาคมจะพอๆกันครับ และดูแล้วมีรอยผุกร่อนเหมือนกัน คือเป็นสแตนเลสที่ยังผุกร่อนหรือเป็นตามดได้ง่าย ใช้ได้นานเหมือนๆกันเรียกว่าอยู่รอดสัปดาห์นึงสบายๆ
สรุปแล้วเหล็กหรือสแตนเลสเบอร์ VG-10 ไม่ว่าจะเป็น DP หรือไม่ ก็เป็นสแตนเลสที่ดีเหมาะกับมีดทำครัวครับผม อาจจะลับยากซักหน่อย ต้องคอยย้อนหินลับมีด คือเหล็กบางเบอร์เราลับคมสุดท้ายด้วยเบอร์ 3000 - 4000 ถ้ามีดหมดคมบางทีเราเรียกกลับมาได้ด้วยเบอร์ 3000 - 4000 แต่VG-10 ไม่เป็นอย่างนั้น คือมันต้องถอยลงไปจนถึง 1000 หรือจะให้ง่ายก็ต้องตั้งคมใหม่ที่ 240 เป็นอย่างนั้นครับ
คล้ายๆกับเหล็กดีสองอย่างเบอร์ 2379 ของเยอรมัน หรือ DC53 ของญี่ปุ่น , SKD11 กับ AUD11 ของญี่ปุ่นก็เหมือนกัน คือมันออกลื่นๆ ถ้าใช้หมดคมหรือความคมลดลงมันต้องเริ่มกันที่หินหยาบ
VG-10 ว่ากันว่าทาเคฟุพัฒนามาร่วมๆ 60 ปี หกสิบปีนะครับ ไม่ใช่หกปี เรียกว่าผ่านนักโลหะวิทยามาหลายรุ่นกว่าจะมาเป็นสแตนเลสใบขาวๆให้เราใช้กันได้ เป็นเนื้อสแตนเลสที่เชื่อถือได้อย่างนึง