สรุปข่าว
-HYBE เผชิญข้อกล่าวหาเรื่องการไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
-HYBE ออกมายืนยันว่า “นี่ไม่ใช่ธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง” ขณะที่สำนักงานกำกับดูแลด้านการเงินของเกาหลีใต้ (FSS) กำลังตรวจสอบข้อร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว
จอน ดา-ฮยอน ผู้สื่อข่าวจาก BizKorea รายงานว่า HYBE ถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ ธุรกรรมภายในที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยเฉพาะบริษัทในเครืออย่าง HYBE IM ที่ได้รับเงินจำนวน 4 พันล้านวอนจากบริษัทลูกในเครืออย่าง ADOR ซึ่งเป็นค่ายเพลงต้นสังกัดของวง NewJeans โดย ADOR ได้ร่วมมือกับ Krafton ผู้พัฒนาเกม PUBG ในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ของ NewJeans แต่อย่างไรก็ตาม รายได้จากการอนุญาตใช้สิทธิ์ในความร่วมมือนี้กลับตกเป็นของ HYBE IM ที่เป็นบริษัทซอฟต์แวร์เกมในเครือของ HYBE ซึ่งสร้างข้อกังขาให้แก่สาธารณชนเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับความโปร่งใสของการทำธุรกรรมนี้ โดยตั้งคำถามว่าเหตุใด ADOR ซึ่งเป็นผู้ใช้ IP ของตัวเอง จึงต้องจ่ายเงินให้กับ HYBE IM
นอกจากนี้ ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับ บังชีฮยอก ประธานของ HYBE เกี่ยวกับการให้บริการผลิตเพลงแก่บริษัทในเครือของเขา แม้ว่าเขาจะมีส่วนร่วมในฐานะโปรดิวเซอร์ให้กับค่ายเพลงหลายค่ายในเครือของ HYBE แต่กิจกรรมเหล่านี้กลับไม่ได้รับการเปิดเผยในรายงานสาธารณะของทางบริษัทแต่อย่างใด
***ผลงานโปรดิวซ์ของบังชีฮยอกจำเป็นต้องเปิดเผยหรือไม่?***
HYBE ได้รับการจัดให้เป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบว่าด้วยการห้ามแสวงหากำไรโดยไม่เป็นธรรมของเกาหลีใต้ ซึ่งกฎระเบียบนี้มีผลบังคับใช้กับบริษัทที่ประธานกรรมการหรือสมาชิกในครอบครัวถือหุ้นในบริษัทย่อยอย่างน้อย 20% หรือในกรณีที่บริษัทแม่มีการถือหุ้นของบริษัทลูกในสัดส่วนที่มากกว่า 50% ซึ่งจากรายงานของคณะกรรมการการค้าที่เป็นธรรมแห่งเกาหลี (FTC) ในเดือนสิงหาคม พบว่า HYBE มีสัดส่วนบริษัทลูกที่สูงที่สุดในบรรดาบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบนี้ โดยอยู่ที่ 93.3%
โดยโครงสร้างบริษัทของ HYBE มีลักษณะที่แตกต่างไปจากบริษัทในวงการบันเทิงอื่นๆ โดย HYBE ดำเนินงานภายใต้ระบบหลายค่าย (multi-label) และมีบริษัทย่อยในหลากหลายสายงาน เช่น การจัดการศิลปิน, การพัฒนาเกม, และการพัฒนาแพลตฟอร์ม ถึงแม้ว่าโครงสร้างบริษัทลักษณะนี้จะพบเห็นได้ทั่วไปในบริษัทขนาดใหญ่ แต่สำหรับในวงการบันเทิงแล้วนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก แม้ HYBE จะกล่าวว่าบริษัทย่อยมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว บังชีฮยอกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด (ถือหุ้น 31.6% ของ HYBE) ยังคงมีอำนาจควบคุมอยู่มาก โดยบริษัทย่อยหลักๆ ของ HYBE ล้วนเป็นบริษัทย่อยที่ถูกถือหุ้นทั้งหมด (wholly-owned subsidiaries)
บัง ชี-ฮยอก ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะโปรดิวเซอร์ที่สร้างวง BTS ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นประธานของ HYBE ถือเป็นบุคคลสำคัญในวงการบันเทิง เนื่องจากการโปรดิวซ์ของเขานั้นมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จของวงไอดอลและรายได้ของบริษัท โดยตัวของบังชีฮยอกเองก็เคยโปรดิวซ์ให้กับศิลปินในค่ายลูกของ HYBE มาแล้วหลายวง เช่น LE SSERAFIM (จาก Source Music), ILLIT (จาก Belift Lab), &TEAM (จาก HYBE Labels Japan) และ Katseye (จาก HYBE America) โดยตัวเขาเองก็เคยทำหน้าที่เป็น "โปรดิวเซอร์หลัก" ให้กับวง LE SSERAFIM และ ILLIT อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม บังชีฮยอกไม่ได้รับการว่าจ้างอย่างเป็นทางการให้เป็นโปรดิวเซอร์ของ HYBE หรือบริษัทลูกในเครือใดๆ เลย แต่เขาให้บริการด้านโปรดักชั่นตามการร้องขอ ทั้งนี้ ในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เช่น งบการเงินหรือรายงานธุรกิจ กลับไม่ได้ระบุถึงกิจกรรมเหล่านี้ โดยถึงแม้ว่า HYBE จะยอมรับบทบาทดังกล่าวของบังชีฮยอกผ่านข่าวประชาสัมพันธ์ แต่การทำธุรกรรมนี้ก็ไม่ได้ถูกเปิดเผยว่าเป็น ธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (related party transactions)
***มาตรฐานการกำกับดูแลและการชี้แจงของ HYBE***
ตามมาตรฐานการบัญชีของเกาหลีใต้นั้น การทำธุรกรรมกับบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกัน (Related Party Transactions) จะถูกกำหนดให้หมายถึง “การถ่ายโอนทรัพยากร บริการ หรือภาระผูกพันระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่คำนึงถึงการชำระเงิน” ซึ่งบริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดเผยลักษณะของธุรกรรมดังกล่าว รวมถึงผลกระทบที่มีต่อรายงานทางการเงินในหมายเหตุประกอบรายงานงบการเงินด้วย
HYBE ได้ชี้แจงว่า บริษัทไม่ได้ทำสัญญาพิเศษกับบังชีฮยอก สำหรับบริการด้านการโปรดักชั่น แต่บังชีฮยอกจะให้บริการเหล่านี้เมื่อมีการร้องขอ โดยทางตัวแทนจาก HYBE ได้อธิบายว่า “เมื่อบังชีฮยอกทำผลงานด้านโปรดักชั่น เขาจะได้รับค่าลิขสิทธิ์ตามสัดส่วนจากผลงานของเขา ดังนั้น ธุรกรรมนี้จึงไม่จัดเป็นธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องเปิดเผยข้อมูล”
โดยสรุปแล้ว HYBE อ้างว่าการที่บังชีฮยอกไม่ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของค่าธรรมเนียมคงที่ ทำให้ธุรกรรมนี้ไม่เข้าข่ายที่จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูล อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า การมีหรือไม่มีการชำระเงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะกำหนดว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือไม่
***การสอบสวนของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินอยู่ระหว่างดำเนินการ***
โน จง-ออน ทนายความจากสำนักงานกฎหมายจอนแจ แสดงความคิดเห็นว่า “กรณีนี้เป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ประธานของบริษัท Samsung Electronics ก็คงจะไม่ไปโรงงานของบริษัทในเครือเพื่อให้บริการด้านการออกแบบ การรับบริการผลิตแบบฟรีๆ จากผู้ผลิตที่ทรงอิทธิพลแบบบังชีฮยอก ซึ่งอาจถือเป็นการทำธุรกรรมที่มีเงื่อนไขพิเศษที่มากเกินไป และอาจต้องมีการเปิดเผยข้อมูลด้วย”
เขายังกล่าวเพิ่มเติมว่า กฎระเบียบเกี่ยวกับการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องมักมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ได้รับประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ ดูเหมือนจะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
ในขณะที่ตัวแทนจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงิน (FSS) ระบุว่า “การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งการพิจารณาว่าการทำงานด้านการผลิตของบังชีฮยอกควรที่จะต้องเปิดเผยหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีผลกระทบต่อรายงานทางการเงินและการตัดสินใจของนักลงทุนหรือไม่ โดยถึงแม้ว่าจะมีข้อร้องเรียนหลายเรื่องๆ เกี่ยวกับ HYBE แต่ในขณะนี้เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เรายังไม่ได้เริ่มการสอบสวนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบัญชีนี้แต่อย่างใด”
โพสต์ภาษาอังกฤษที่นำมาแปล:
https://x.com/juantokki/status/1861713373723046328?t=gsyohw8JcMNE8kyDo7Nezw&s=19
แหล่งข่าวอ้างอิงฉบับภาษาเกาหลี:
https://www.bizhankook.com/bk/article/28655
อักษรย่อในกระทู้นี้:
IP ย่อมาจาก Intellectual Property
FSS ย่อมาจาก South Korea
Financial Supervisory Service
FTC ย่อมาจาก South Korea
Fair Trade Commission
---------------
สำหรับที่มาที่ไปของข่าวเกี่ยวกับ HYBE IM ได้รับเงินค่าใช้ IP จำนวน 4 พันล้านวอนจาก ADOR นั้น สามารถอ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่กระทู้นี้ได้เลย: https://ppantip.com/topic/43036490?sc=Ts9n2bh
FSS เตรียมตรวจสอบ HYBE หลังพบความผิดปกติในการทำธุรกรรม
-HYBE เผชิญข้อกล่าวหาเรื่องการไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
-HYBE ออกมายืนยันว่า “นี่ไม่ใช่ธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง” ขณะที่สำนักงานกำกับดูแลด้านการเงินของเกาหลีใต้ (FSS) กำลังตรวจสอบข้อร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว
จอน ดา-ฮยอน ผู้สื่อข่าวจาก BizKorea รายงานว่า HYBE ถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ ธุรกรรมภายในที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยเฉพาะบริษัทในเครืออย่าง HYBE IM ที่ได้รับเงินจำนวน 4 พันล้านวอนจากบริษัทลูกในเครืออย่าง ADOR ซึ่งเป็นค่ายเพลงต้นสังกัดของวง NewJeans โดย ADOR ได้ร่วมมือกับ Krafton ผู้พัฒนาเกม PUBG ในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ของ NewJeans แต่อย่างไรก็ตาม รายได้จากการอนุญาตใช้สิทธิ์ในความร่วมมือนี้กลับตกเป็นของ HYBE IM ที่เป็นบริษัทซอฟต์แวร์เกมในเครือของ HYBE ซึ่งสร้างข้อกังขาให้แก่สาธารณชนเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับความโปร่งใสของการทำธุรกรรมนี้ โดยตั้งคำถามว่าเหตุใด ADOR ซึ่งเป็นผู้ใช้ IP ของตัวเอง จึงต้องจ่ายเงินให้กับ HYBE IM
นอกจากนี้ ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับ บังชีฮยอก ประธานของ HYBE เกี่ยวกับการให้บริการผลิตเพลงแก่บริษัทในเครือของเขา แม้ว่าเขาจะมีส่วนร่วมในฐานะโปรดิวเซอร์ให้กับค่ายเพลงหลายค่ายในเครือของ HYBE แต่กิจกรรมเหล่านี้กลับไม่ได้รับการเปิดเผยในรายงานสาธารณะของทางบริษัทแต่อย่างใด
***ผลงานโปรดิวซ์ของบังชีฮยอกจำเป็นต้องเปิดเผยหรือไม่?***
HYBE ได้รับการจัดให้เป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบว่าด้วยการห้ามแสวงหากำไรโดยไม่เป็นธรรมของเกาหลีใต้ ซึ่งกฎระเบียบนี้มีผลบังคับใช้กับบริษัทที่ประธานกรรมการหรือสมาชิกในครอบครัวถือหุ้นในบริษัทย่อยอย่างน้อย 20% หรือในกรณีที่บริษัทแม่มีการถือหุ้นของบริษัทลูกในสัดส่วนที่มากกว่า 50% ซึ่งจากรายงานของคณะกรรมการการค้าที่เป็นธรรมแห่งเกาหลี (FTC) ในเดือนสิงหาคม พบว่า HYBE มีสัดส่วนบริษัทลูกที่สูงที่สุดในบรรดาบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบนี้ โดยอยู่ที่ 93.3%
โดยโครงสร้างบริษัทของ HYBE มีลักษณะที่แตกต่างไปจากบริษัทในวงการบันเทิงอื่นๆ โดย HYBE ดำเนินงานภายใต้ระบบหลายค่าย (multi-label) และมีบริษัทย่อยในหลากหลายสายงาน เช่น การจัดการศิลปิน, การพัฒนาเกม, และการพัฒนาแพลตฟอร์ม ถึงแม้ว่าโครงสร้างบริษัทลักษณะนี้จะพบเห็นได้ทั่วไปในบริษัทขนาดใหญ่ แต่สำหรับในวงการบันเทิงแล้วนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก แม้ HYBE จะกล่าวว่าบริษัทย่อยมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว บังชีฮยอกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด (ถือหุ้น 31.6% ของ HYBE) ยังคงมีอำนาจควบคุมอยู่มาก โดยบริษัทย่อยหลักๆ ของ HYBE ล้วนเป็นบริษัทย่อยที่ถูกถือหุ้นทั้งหมด (wholly-owned subsidiaries)
บัง ชี-ฮยอก ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะโปรดิวเซอร์ที่สร้างวง BTS ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นประธานของ HYBE ถือเป็นบุคคลสำคัญในวงการบันเทิง เนื่องจากการโปรดิวซ์ของเขานั้นมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จของวงไอดอลและรายได้ของบริษัท โดยตัวของบังชีฮยอกเองก็เคยโปรดิวซ์ให้กับศิลปินในค่ายลูกของ HYBE มาแล้วหลายวง เช่น LE SSERAFIM (จาก Source Music), ILLIT (จาก Belift Lab), &TEAM (จาก HYBE Labels Japan) และ Katseye (จาก HYBE America) โดยตัวเขาเองก็เคยทำหน้าที่เป็น "โปรดิวเซอร์หลัก" ให้กับวง LE SSERAFIM และ ILLIT อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม บังชีฮยอกไม่ได้รับการว่าจ้างอย่างเป็นทางการให้เป็นโปรดิวเซอร์ของ HYBE หรือบริษัทลูกในเครือใดๆ เลย แต่เขาให้บริการด้านโปรดักชั่นตามการร้องขอ ทั้งนี้ ในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เช่น งบการเงินหรือรายงานธุรกิจ กลับไม่ได้ระบุถึงกิจกรรมเหล่านี้ โดยถึงแม้ว่า HYBE จะยอมรับบทบาทดังกล่าวของบังชีฮยอกผ่านข่าวประชาสัมพันธ์ แต่การทำธุรกรรมนี้ก็ไม่ได้ถูกเปิดเผยว่าเป็น ธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (related party transactions)
***มาตรฐานการกำกับดูแลและการชี้แจงของ HYBE***
ตามมาตรฐานการบัญชีของเกาหลีใต้นั้น การทำธุรกรรมกับบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกัน (Related Party Transactions) จะถูกกำหนดให้หมายถึง “การถ่ายโอนทรัพยากร บริการ หรือภาระผูกพันระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่คำนึงถึงการชำระเงิน” ซึ่งบริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดเผยลักษณะของธุรกรรมดังกล่าว รวมถึงผลกระทบที่มีต่อรายงานทางการเงินในหมายเหตุประกอบรายงานงบการเงินด้วย
HYBE ได้ชี้แจงว่า บริษัทไม่ได้ทำสัญญาพิเศษกับบังชีฮยอก สำหรับบริการด้านการโปรดักชั่น แต่บังชีฮยอกจะให้บริการเหล่านี้เมื่อมีการร้องขอ โดยทางตัวแทนจาก HYBE ได้อธิบายว่า “เมื่อบังชีฮยอกทำผลงานด้านโปรดักชั่น เขาจะได้รับค่าลิขสิทธิ์ตามสัดส่วนจากผลงานของเขา ดังนั้น ธุรกรรมนี้จึงไม่จัดเป็นธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องเปิดเผยข้อมูล”
โดยสรุปแล้ว HYBE อ้างว่าการที่บังชีฮยอกไม่ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของค่าธรรมเนียมคงที่ ทำให้ธุรกรรมนี้ไม่เข้าข่ายที่จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูล อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า การมีหรือไม่มีการชำระเงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะกำหนดว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือไม่
***การสอบสวนของหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินอยู่ระหว่างดำเนินการ***
โน จง-ออน ทนายความจากสำนักงานกฎหมายจอนแจ แสดงความคิดเห็นว่า “กรณีนี้เป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ประธานของบริษัท Samsung Electronics ก็คงจะไม่ไปโรงงานของบริษัทในเครือเพื่อให้บริการด้านการออกแบบ การรับบริการผลิตแบบฟรีๆ จากผู้ผลิตที่ทรงอิทธิพลแบบบังชีฮยอก ซึ่งอาจถือเป็นการทำธุรกรรมที่มีเงื่อนไขพิเศษที่มากเกินไป และอาจต้องมีการเปิดเผยข้อมูลด้วย”
เขายังกล่าวเพิ่มเติมว่า กฎระเบียบเกี่ยวกับการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องมักมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ได้รับประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ ดูเหมือนจะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
ในขณะที่ตัวแทนจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงิน (FSS) ระบุว่า “การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งการพิจารณาว่าการทำงานด้านการผลิตของบังชีฮยอกควรที่จะต้องเปิดเผยหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีผลกระทบต่อรายงานทางการเงินและการตัดสินใจของนักลงทุนหรือไม่ โดยถึงแม้ว่าจะมีข้อร้องเรียนหลายเรื่องๆ เกี่ยวกับ HYBE แต่ในขณะนี้เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เรายังไม่ได้เริ่มการสอบสวนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบัญชีนี้แต่อย่างใด”
โพสต์ภาษาอังกฤษที่นำมาแปล: https://x.com/juantokki/status/1861713373723046328?t=gsyohw8JcMNE8kyDo7Nezw&s=19
แหล่งข่าวอ้างอิงฉบับภาษาเกาหลี: https://www.bizhankook.com/bk/article/28655
อักษรย่อในกระทู้นี้:
IP ย่อมาจาก Intellectual Property
FSS ย่อมาจาก South Korea Financial Supervisory Service
FTC ย่อมาจาก South Korea Fair Trade Commission
---------------
สำหรับที่มาที่ไปของข่าวเกี่ยวกับ HYBE IM ได้รับเงินค่าใช้ IP จำนวน 4 พันล้านวอนจาก ADOR นั้น สามารถอ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่กระทู้นี้ได้เลย: https://ppantip.com/topic/43036490?sc=Ts9n2bh