ศิริกัญญา สงสัย แจกเงินหมื่นสูงวัย แก้ปัญหาศก.ได้จริงหรือ ชี้เฟส 2 ก็ยังไม่ใช่ดิจิทัลวอลเล็ต
https://www.matichon.co.th/politics/news_4907555
‘ศิริกัญญา’ ถามแจกเงินหมื่นคนสูงวัย 60 ปี แก้ปัญหาได้จริงหรือ บอกยังงงๆ 2 เดือนที่รอคอยกับรัฐบาลนี้ ไล่ทุบ ไม่มีอะไรชัดเจนสักอย่าง เย้ยเหมือนก่อนหน้านี้ไม่เคยกระตุ้น ศก. มองไม่แย่เสมอไป ปรับโครงสร้างหนี้ NPL แล้วแบงก์จะปล่อยกู้เพิ่ม
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ภายหลังคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจประชุมนัดแรกว่า
อุตส่าห์รอมา 2 เดือนเต็ม! วันนี้คณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประชุมนัดแรก เราได้ความชัดเจนอะไรกันบ้าง ลองมาดูกันนะคะ
1.แจกเงินหมื่นรอบที่ 2 (ยังไม่เป็น Digital Wallet) กับคนอายุ 60 ปีขึ้นไป 3-4 ล้านคน โดยจะแจกประมาณต้นปีหน้า ช่วงตรุษจีน ยังไม่ชัดว่าแจกวันที่เท่าไหร่ ลงทะเบียนเพิ่มเมื่อไหร่
2.ปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบ้าน กลุ่มรถยนต์ และกลุ่มหนี้บริโภค ที่เป็น NPL ไม่เกิน 1 ปี วงเงินหนี้ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท จะได้รับพักชำระดอกเบี้ยค้างจ่าย รายละเอียดยังไม่ชัดต้องรอหลังวันที่ 20 พ.ย.
3.โครงการไร่ละพันก็มา (ปกติต้องเป็นคณะกรรมการนโยบายข้าว หรือ นบข.ต้องเป็นคนเคาะ) แต่จะมีการปรับรายละเอียดอีกเพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาว ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะปรับอะไร ได้ข่าวว่าน่าจะปรับจากแจกไม่เกิน 20 ไร่ เหลือไม่เกิน 12 ไร่ เท่ากับจะได้บ้านละไม่เกิน 12,000 บาท จากเดิม 20,000 บาท
สรุปว่ายังไม่มีอะไรชัดเจนซักอย่าง จริงๆ นะ… แค่เปลี่ยนนายกคนเดียวนี่เหมือนอย่างกับตั้งรัฐบาลใหม่ เหมือนไม่เคยคิดเรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจกันมาก่อนหน้านี้เลยต้องเริ่มต้นใหม่ต้องใช้เวลาถึง 2 เดือน
หรือว่า… เศรษฐกิจไตรมาส 3 ที่สภาพัฒน์เพิ่งออกมาประกาศว่าโต 3% ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ อาจจะทำให้รัฐบาลรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วก็ได้หรือไม่ ถึงได้ดูลังเล ไม่รีบร้อน
แต่ถ้าเราเจาะไส้ในของ GDP จะพบว่า ที่เศรษฐกิจโตดีมาจากงบปี 67 ที่ออกมาไตรมาส 2 และเร่งเบิกจ่ายกันในไตรมาส 3 ทั้งส่วนของรายจ่ายลงทุน และรายจ่ายประจำ บวกกับการส่งออกที่กลับมาดี และแน่นอนการท่องเที่ยวยังคงเติบโตได้ดี
แต่ส่วนที่ยังเป็นปัญหาคือการลงทุนภาคเอกชนที่ยังหดตัวมา 2 ไตรมาสติดแล้วจากหมวดยานยนต์ และหมวดก่อสร้าง สอดคล้องกับยอดขายรถกระบะที่หดตัวลง (ใช่ค่ะรถกระบะเชิงพาณิชย์นับเป็นการลงทุน) และยอดขายบ้านที่ลดลง ที่ทั้ง 2 เรื่องเป็นเรื่องของการไม่ปล่อยสินเชื่อของแบงก์
แน่นอนว่าทั้ง 2 เรื่องโยงกลับไปที่ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งรัฐบาลเองก็มีมาตรการแก้ปัญหาเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน คือการปรับโครงสร้างหนี้ให้คนที่เป็น NPL ก็ดูเหมือนจะมาถูกทาง? รึเปล่า?
มาดูกันว่าการปรับโครงสร้างหนี้รอบนี้จะช่วยอะไรบ้าง? ช่วยให้ยอด NPL ลดลง ทำให้แบงก์ตั้งทุนสำรองลดลง แบงก์มีกำไรเพิ่ม แต่แบงก์จะปล่อยกู้เพิ่มมั้ย อันนี้บอกเลยว่าไม่แน่เสมอไป
เพราะสาเหตุที่แบงก์ไม่ปล่อยกู้ คือความเสี่ยงของลูกหนี้เอง ที่มีรายได้ไม่พอจ่ายหนี้ (credit risk) แปลว่าถึงแบงก์มีเงินเพิ่มก็ไม่ได้หมายความว่าจะปล่อยกู้บ้าน กู้รถเพิ่มในปริมาณเท่ากัน เหตุการณ์คล้ายๆ กันกับการที่แม้ดอกเบี้ยลด ก็ไม่ได้หมายความว่าแบงก์จะปล่อยกู้เพิ่ม
วิธีที่จะแก้ปัญหานี้ คือต้องทำให้รายได้ประชาชน รายได้ผู้ประกอบการดีขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงฝั่งลูกหนี้ จะหวังแค่ว่าให้ GDP โตอย่างเดียวไม่ได้ ประชาชนต้องมีเงินมากขึ้นด้วย
วิธีแก้ => รัฐบาลก็เลยแจกเงินหมื่นให้คนอายุเกิน 60 3 ล้านคน? แบบนี้หรอ? มันจะช่วยอะไรได้จริงๆ หรอ
2 เดือนที่รอคอย ยิ่งตามก็ยิ่งงงกับรัฐบาลนี้จริงๆ.
https://www.facebook.com/SirikanyaOfficial/posts/pfbid0E7ZmXyoLMmyhCCg2yStMd9ETbA9GPHSGm2dJb5Mi7kM6RmwTFvHbyavRWrbBZeaMl
ล้อมวงถกนิรโทษกรรม ‘ทนายด่าง’ ขอ 2 หมื่นลงชื่อร่วมไอลอว์ ยื่นสภาฯแก้ ม.112 ภาคปชช.นัดรวมตัว 11 ธ.ค.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4907546
ล้อมวงถกนิรโทษกรรม ‘ทนายด่าง’ ขอ 2 หมื่นลงชื่อร่วมไอลอว์ ยื่นสภาฯแก้ ม.112 ภาคปชช.นัดรวมตัว 11 ธ.ค.
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ห้องประชุม 102 ชั้น 1 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ร่วมกับ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดงานเสวนา ‘4 ปี ใต้เงา ม.112 (Under Section 112)’
บรรยากาศเวลา 16.00 น. มีการเสวนาในหัวข้อ Human Library – 112 Close Up ฟัง ใกล้ เข้าใจให้มากกว่าที่เคย
จากนั้นเวลา 17.00 น. เข้าสู่ช่วงพูดคุย ‘
Exclusive Talk’ สรุปสถานการณ์ 3 ประเด็น โดย 3 บุคคลผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยในตอนหนึ่ง นาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการ iLaw กล่าวว่า เราไม่อยากจัดงานครบรอบ วันที่ 19 พฤศจิกายน เป็นปีที่ 5 อีก ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาเกิด มีคำพิพากษาถึง 164 คดี มีทั้งที่ดีมากอย่างน่าทึ่ง จนต้องขอชื่นชมผู้พิพากษาที่ยกฟ้อง มีทั้งที่ให้รอลงอาญา และคดีที่เรารู้สึกว่าต้องยกฟ้องแต่ไม่เป็นเช่นนั้น
จากนั้น นาย
ยิ่งชีพ เปิดภาพบุคคลและเหตุการณ์ ต่างๆ ได้แก่ ภาพ ‘
ดา ตอร์ปิโด’ ซึ่งเป็นบุคคลแรกๆ ที่ถูกคุมขังด้วย ม.112 จากการปราศรัย 3 ครั้ง 3 ข้อความ
ถูกจำคุก 18 ปี ต่อมาลดเหลือ 15 ปี ไม่เคยได้รับการประกันตัว, ภาพ ‘
คณะนิติราษฎร์’ จัดงานเสวนาเรื่องแก้ไข ม.112 เป็นครั้งแรกที่หอประชุมเล็ก ม.ธรรมศาสตร์ ปี 2555, ภาพ ‘
ทอม ดันดี’ ซึ่งมีคดี ม.112 จำนวน 4 คดี จากการปราศรัยบนเวทีเสื้อแดง ศาลลทหารพิพากษา 10 ปี 10 เดือน อีก 2 คดี ยกฟ้อง
นายยื่งชีพกล่าวว่า บรรยากาศในปี 2567 ตนดีใจที่ได้เห็นที่อาเล็ก หรือ นาย
โชคดี ร่มพฤกษ์ ในวันนี้ ดีใจที่ได้เห็น
ณัฐชนน ไพโรจน์ ได้ยกฟ้องไป 1 คดี ดีใจที่นาย
สมยศ พฤกษาเกษมสุข ยังอยู่ด้วยกันในวันนี้
นาย
ยิ่งชีพกล่าวต่อไปว่า แม้ว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะมีการพิจารณานิรโทษกรรมในสภาฯ แล้วดูเหมือนว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่มีทางยอม เขาลืม คุณดา ลืมคุณ
ทอม ลืม ครก.112 ไปแล้ว ไม่เป็นไร ผมเชื่อว่าเขาได้ยิน ไม่ว่าทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เราจะพูดเรื่องนี้ หยดน้ำลงมหาสมุทรไปเรื่อยๆ ถ้ามีกำหนดนำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เข้าสภาเมื่อไหร่ เราไปเจอกันหน้าสภาฯ
ต่อมาในเวลา 17.30 น. มีการเสวนาหัวข้อ ‘นิรโทษกรรม 112 เอายังไงต่อ?’ โดย น.ส.
พูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, น.ส.
ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.), นาย
กฤษฎางค์ นุตจรัส หรือ ทนายด่าง จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, น.ส.
นิราภร อ่อนขาว ผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ดำเนินรายการโดย นายนัสรี พุ่มเกื้อ
ในตอนหนึ่ง น.ส.
ลัดดาวัลย์ จาก ครป.กล่าวว่า เราจะทำอย่างไรให้ คดี ม.112 มีทางออก ส่วนตัวอยากตั้งเป็นข้อสังเกตว่าถ้าเคลื่อนเรื่อง ม.112 ให้คิดถึงเงื่อนไขประกอบอื่นๆ ด้วย อีก 2 ปีจะมีการเลือกตั้ง การเลือกตั้งท้องถิ่น, เทศบาล, อบจ. กำลังมีการเลือกตั้งขึ้นเรื่อยๆ ถ้าประชามติออกมา ว่าให้มีการเลือก สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็อยากฝากไว้ให้คิด ว่าจะใช้วิธีการอย่างไร เช่น ต่อรองให้มีการประกันตัวผู้ต้องหาการเมือง เป็นต้น หรือตั้งคณะกรรมการพูดคุยกัน
ด้าน นาย
กฤษฎางค์ หรือ ทนายด่าง กล่าวว่า สำหรับการนิรโทษกรรมคดี ม.112 ตนไม่ได้อยู่กระบวนการขอนิรโทษกรรม เพราะเป็นทนายของจำเลยในคดี ม.112 แต่เชื่อว่านิรโทษกรรม ม.112 ในรัฐบาลชุดนี้ไม่มีวันสำเร็จ เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะนิรโทษกรรมให้ หลายคนลี้ภัย เสียชีวิต อยู่ในเรือนจำ
“
ผมเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เห็นด้วยให้นิรโทษกรรม เพราะคือการอภัยให้กัน แต่ถ้ามีนิรโทษกรรมแล้วผมต้องตกงาน ผมก็ยินดีตกงาน
พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการนิรโทษกรรม ม.112 การที่มีการเคลื่อนไหวเรื่องให้นิรโทษกรรม ม.112 ผมเห็นด้วย แต่ถ้าหัวชนฝาจะไม่มีทางชนะ ไปคุยกับพรรคการเมืองไม่มีทางสำเร็จ แต่ทำไมนิรโทษกรรมให้คนเดือนตุลาฯ ยังทำได้เลย ดังนั้น ทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในคุก ได้ออกมาบ้าง ถ้าอยากให้นิรโทษกรรมเกิดขึ้น อยู่ที่การเคลื่อนไหว ไม่ใช่การดีล เราต้องให้อำนาจการต่อรองอยู่ในมือเรา” นาย
กฤษฎางค์กล่าว
นาย
กฤษฎางค์กล่าวต่อไปว่า เรื่องการที่ไทย เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ตนมองว่า ทำอย่างไรให้ประเทศไทยต้องคิดมากขึ้น ในเวทีนานาชาติ โดยที่ไม่ต้องเดินถนน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฤษฎางค์ ยังเสนอให้มีการพูดถึง ม.112 ได้ในสภา โดยจะนำเรื่องนี้ รวบรวมรายชื่อประชาชน ไปเสนอที่สภาฯ เพื่อแก้ไขกฎหมายด้วยตัวเอง
“ผมเสนอ และจะเซ็นชื่อด้วย จะอยู่ในคณะผู้เสนอชื่อด้วย เพราะผมเชื่อว่า 20,000 คน (ที่ลงรายชื่อสนับสนุน) ไอลอว์หาได้เพียงไม่กี่วันแน่ สำหรับคนที่ไม่เห็นด้วย ก็สามารถคุยกันได้ด้วยความเมตตา ไปอธิบายกับทุกพรรค โอกาสที่จะชัดเจนที่สุดคือ เสนอกฎหมายเข้าสู่สภา แล้วเราจะตอบเองทุกปัญหา ตอบที่มาที่ไปได้หมด” นายกฤษฎางค์กล่าว
ด้าน น.ส.
นิราภร ผู้ต้องหา ม.112 กล่าวว่า ตนค่อนข้างหมดหวัง แต่ถ้าได้นิรโทษกรรมจะเหมือนได้ปลดชนวน ได้โบยบิน
“
ตอนนี้เหมือนเรากำลังเดินอยู่ในอุโมงค์ที่ยาว และมืดมากๆ ขณะเดียวกันมันก็ยังเห็นแสงริบหรี่ปลายอุโมงค์ แต่กว่าจะถึงจุดนั้นต้องใช้แรงกาย แรงใจค่อนข้างสูง
แรงผลักดันของเรา รวมถึงหลายคนที่อยู่ในคุก ยังมีความหวังและเดินต่อไป ก็คือทุกๆ คนที่อยู่ในห้องนี้ อยู่ทางบ้าน คนที่ยังเชื่อ ยังฝันถึงสังคมแบบเดียวกัน ออกมาให้กำลังใจ และช่วยเหลือกัน มันทำให้กระบวนการประชาธิปไตยในไทยยังไปได้
อยากให้พูดกันตรงๆ แต่ละพรรคแต่ละฝ่าย อะไรทำได้ ไม่ได้อย่างไร เราอยู่ในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ไทยก็ควรมีการรับรองเสรีภาพการแสดงออก” น.ส.
นิราภรกล่าว
ขณะที่ น.ส.
พูนสุข หรือ ทนายเมย์ กล่าวว่า หากมองในแง่การเลือกตั้งปี 2566 ถือว่าเราชนะ แต่จะด้วยกลใดก็แล้วแต่ ทำให้ตอนนี้เราอยู่ในสภาพติดหล่ม แต่ถ้าเราเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนนับของคนที่ใฝ่ฝันถึงสังคมที่ดีกว่า กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากที่ก่อนหน้าปี 2553 แทบจะไม่มีใครตระหนักถึงปัญหา คดี 112
“
ในปี 2563 มีการดำเนินคดีกว่า 300 คดีก็แล้ว ปัญหามันยังอยู่ไม่ได้ลดหายไป ต่อให้ครั้งนี้จะนิรโทษกรรมโดยไม่รวม ม.112 แต่ปัญหายังคงอยู่ เรามีโอกาสแก้ ค่อยๆ แกะที่ละปม แล้วมาคุยกัน ไม่ควรกดอีกฝั่งหนึ่งไว้
ถ้าไม่แก้โดยรัฐสภา อนาคตจะคุยกันยากขึ้น และอาจจะเกิดความรุนแรงได้ ถ้าธันวาคมนี้ ยังคุยไม่เสร็จเราก็ยังมีเวลาคุยต่อเรื่อยๆ เรายังมีปัญหาที่ใหญ่กว่า นิรโทษกรรมรออยู่” น.ส.
พูนสุข กล่าว
JJNY : ศิริกัญญาชี้เฟส 2 ก็ยังไม่ใช่ดิจิทัลวอลเล็ต│ล้อมวงถกนิรโทษกรรม│แบงก์แห่เทกระจาดหนี้เสีย│สหรัฐฯเตรียมรับมือไซโคลน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4907555
‘ศิริกัญญา’ ถามแจกเงินหมื่นคนสูงวัย 60 ปี แก้ปัญหาได้จริงหรือ บอกยังงงๆ 2 เดือนที่รอคอยกับรัฐบาลนี้ ไล่ทุบ ไม่มีอะไรชัดเจนสักอย่าง เย้ยเหมือนก่อนหน้านี้ไม่เคยกระตุ้น ศก. มองไม่แย่เสมอไป ปรับโครงสร้างหนี้ NPL แล้วแบงก์จะปล่อยกู้เพิ่ม
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ภายหลังคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจประชุมนัดแรกว่า
อุตส่าห์รอมา 2 เดือนเต็ม! วันนี้คณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประชุมนัดแรก เราได้ความชัดเจนอะไรกันบ้าง ลองมาดูกันนะคะ
1.แจกเงินหมื่นรอบที่ 2 (ยังไม่เป็น Digital Wallet) กับคนอายุ 60 ปีขึ้นไป 3-4 ล้านคน โดยจะแจกประมาณต้นปีหน้า ช่วงตรุษจีน ยังไม่ชัดว่าแจกวันที่เท่าไหร่ ลงทะเบียนเพิ่มเมื่อไหร่
2.ปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบ้าน กลุ่มรถยนต์ และกลุ่มหนี้บริโภค ที่เป็น NPL ไม่เกิน 1 ปี วงเงินหนี้ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท จะได้รับพักชำระดอกเบี้ยค้างจ่าย รายละเอียดยังไม่ชัดต้องรอหลังวันที่ 20 พ.ย.
3.โครงการไร่ละพันก็มา (ปกติต้องเป็นคณะกรรมการนโยบายข้าว หรือ นบข.ต้องเป็นคนเคาะ) แต่จะมีการปรับรายละเอียดอีกเพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณในระยะยาว ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะปรับอะไร ได้ข่าวว่าน่าจะปรับจากแจกไม่เกิน 20 ไร่ เหลือไม่เกิน 12 ไร่ เท่ากับจะได้บ้านละไม่เกิน 12,000 บาท จากเดิม 20,000 บาท
สรุปว่ายังไม่มีอะไรชัดเจนซักอย่าง จริงๆ นะ… แค่เปลี่ยนนายกคนเดียวนี่เหมือนอย่างกับตั้งรัฐบาลใหม่ เหมือนไม่เคยคิดเรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจกันมาก่อนหน้านี้เลยต้องเริ่มต้นใหม่ต้องใช้เวลาถึง 2 เดือน
หรือว่า… เศรษฐกิจไตรมาส 3 ที่สภาพัฒน์เพิ่งออกมาประกาศว่าโต 3% ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ อาจจะทำให้รัฐบาลรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วก็ได้หรือไม่ ถึงได้ดูลังเล ไม่รีบร้อน
แต่ถ้าเราเจาะไส้ในของ GDP จะพบว่า ที่เศรษฐกิจโตดีมาจากงบปี 67 ที่ออกมาไตรมาส 2 และเร่งเบิกจ่ายกันในไตรมาส 3 ทั้งส่วนของรายจ่ายลงทุน และรายจ่ายประจำ บวกกับการส่งออกที่กลับมาดี และแน่นอนการท่องเที่ยวยังคงเติบโตได้ดี
แต่ส่วนที่ยังเป็นปัญหาคือการลงทุนภาคเอกชนที่ยังหดตัวมา 2 ไตรมาสติดแล้วจากหมวดยานยนต์ และหมวดก่อสร้าง สอดคล้องกับยอดขายรถกระบะที่หดตัวลง (ใช่ค่ะรถกระบะเชิงพาณิชย์นับเป็นการลงทุน) และยอดขายบ้านที่ลดลง ที่ทั้ง 2 เรื่องเป็นเรื่องของการไม่ปล่อยสินเชื่อของแบงก์
แน่นอนว่าทั้ง 2 เรื่องโยงกลับไปที่ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งรัฐบาลเองก็มีมาตรการแก้ปัญหาเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน คือการปรับโครงสร้างหนี้ให้คนที่เป็น NPL ก็ดูเหมือนจะมาถูกทาง? รึเปล่า?
มาดูกันว่าการปรับโครงสร้างหนี้รอบนี้จะช่วยอะไรบ้าง? ช่วยให้ยอด NPL ลดลง ทำให้แบงก์ตั้งทุนสำรองลดลง แบงก์มีกำไรเพิ่ม แต่แบงก์จะปล่อยกู้เพิ่มมั้ย อันนี้บอกเลยว่าไม่แน่เสมอไป
เพราะสาเหตุที่แบงก์ไม่ปล่อยกู้ คือความเสี่ยงของลูกหนี้เอง ที่มีรายได้ไม่พอจ่ายหนี้ (credit risk) แปลว่าถึงแบงก์มีเงินเพิ่มก็ไม่ได้หมายความว่าจะปล่อยกู้บ้าน กู้รถเพิ่มในปริมาณเท่ากัน เหตุการณ์คล้ายๆ กันกับการที่แม้ดอกเบี้ยลด ก็ไม่ได้หมายความว่าแบงก์จะปล่อยกู้เพิ่ม
วิธีที่จะแก้ปัญหานี้ คือต้องทำให้รายได้ประชาชน รายได้ผู้ประกอบการดีขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงฝั่งลูกหนี้ จะหวังแค่ว่าให้ GDP โตอย่างเดียวไม่ได้ ประชาชนต้องมีเงินมากขึ้นด้วย
วิธีแก้ => รัฐบาลก็เลยแจกเงินหมื่นให้คนอายุเกิน 60 3 ล้านคน? แบบนี้หรอ? มันจะช่วยอะไรได้จริงๆ หรอ
2 เดือนที่รอคอย ยิ่งตามก็ยิ่งงงกับรัฐบาลนี้จริงๆ.
https://www.facebook.com/SirikanyaOfficial/posts/pfbid0E7ZmXyoLMmyhCCg2yStMd9ETbA9GPHSGm2dJb5Mi7kM6RmwTFvHbyavRWrbBZeaMl
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ห้องประชุม 102 ชั้น 1 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ร่วมกับ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดงานเสวนา ‘4 ปี ใต้เงา ม.112 (Under Section 112)’
บรรยากาศเวลา 16.00 น. มีการเสวนาในหัวข้อ Human Library – 112 Close Up ฟัง ใกล้ เข้าใจให้มากกว่าที่เคย
จากนั้นเวลา 17.00 น. เข้าสู่ช่วงพูดคุย ‘ Exclusive Talk’ สรุปสถานการณ์ 3 ประเด็น โดย 3 บุคคลผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยในตอนหนึ่ง นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการ iLaw กล่าวว่า เราไม่อยากจัดงานครบรอบ วันที่ 19 พฤศจิกายน เป็นปีที่ 5 อีก ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาเกิด มีคำพิพากษาถึง 164 คดี มีทั้งที่ดีมากอย่างน่าทึ่ง จนต้องขอชื่นชมผู้พิพากษาที่ยกฟ้อง มีทั้งที่ให้รอลงอาญา และคดีที่เรารู้สึกว่าต้องยกฟ้องแต่ไม่เป็นเช่นนั้น
จากนั้น นายยิ่งชีพ เปิดภาพบุคคลและเหตุการณ์ ต่างๆ ได้แก่ ภาพ ‘ดา ตอร์ปิโด’ ซึ่งเป็นบุคคลแรกๆ ที่ถูกคุมขังด้วย ม.112 จากการปราศรัย 3 ครั้ง 3 ข้อความ
ถูกจำคุก 18 ปี ต่อมาลดเหลือ 15 ปี ไม่เคยได้รับการประกันตัว, ภาพ ‘คณะนิติราษฎร์’ จัดงานเสวนาเรื่องแก้ไข ม.112 เป็นครั้งแรกที่หอประชุมเล็ก ม.ธรรมศาสตร์ ปี 2555, ภาพ ‘ทอม ดันดี’ ซึ่งมีคดี ม.112 จำนวน 4 คดี จากการปราศรัยบนเวทีเสื้อแดง ศาลลทหารพิพากษา 10 ปี 10 เดือน อีก 2 คดี ยกฟ้อง
นายยื่งชีพกล่าวว่า บรรยากาศในปี 2567 ตนดีใจที่ได้เห็นที่อาเล็ก หรือ นายโชคดี ร่มพฤกษ์ ในวันนี้ ดีใจที่ได้เห็นณัฐชนน ไพโรจน์ ได้ยกฟ้องไป 1 คดี ดีใจที่นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ยังอยู่ด้วยกันในวันนี้
นายยิ่งชีพกล่าวต่อไปว่า แม้ว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะมีการพิจารณานิรโทษกรรมในสภาฯ แล้วดูเหมือนว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่มีทางยอม เขาลืม คุณดา ลืมคุณทอม ลืม ครก.112 ไปแล้ว ไม่เป็นไร ผมเชื่อว่าเขาได้ยิน ไม่ว่าทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เราจะพูดเรื่องนี้ หยดน้ำลงมหาสมุทรไปเรื่อยๆ ถ้ามีกำหนดนำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เข้าสภาเมื่อไหร่ เราไปเจอกันหน้าสภาฯ
ต่อมาในเวลา 17.30 น. มีการเสวนาหัวข้อ ‘นิรโทษกรรม 112 เอายังไงต่อ?’ โดย น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, น.ส.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.), นายกฤษฎางค์ นุตจรัส หรือ ทนายด่าง จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, น.ส.นิราภร อ่อนขาว ผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ดำเนินรายการโดย นายนัสรี พุ่มเกื้อ
ในตอนหนึ่ง น.ส.ลัดดาวัลย์ จาก ครป.กล่าวว่า เราจะทำอย่างไรให้ คดี ม.112 มีทางออก ส่วนตัวอยากตั้งเป็นข้อสังเกตว่าถ้าเคลื่อนเรื่อง ม.112 ให้คิดถึงเงื่อนไขประกอบอื่นๆ ด้วย อีก 2 ปีจะมีการเลือกตั้ง การเลือกตั้งท้องถิ่น, เทศบาล, อบจ. กำลังมีการเลือกตั้งขึ้นเรื่อยๆ ถ้าประชามติออกมา ว่าให้มีการเลือก สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็อยากฝากไว้ให้คิด ว่าจะใช้วิธีการอย่างไร เช่น ต่อรองให้มีการประกันตัวผู้ต้องหาการเมือง เป็นต้น หรือตั้งคณะกรรมการพูดคุยกัน
ด้าน นายกฤษฎางค์ หรือ ทนายด่าง กล่าวว่า สำหรับการนิรโทษกรรมคดี ม.112 ตนไม่ได้อยู่กระบวนการขอนิรโทษกรรม เพราะเป็นทนายของจำเลยในคดี ม.112 แต่เชื่อว่านิรโทษกรรม ม.112 ในรัฐบาลชุดนี้ไม่มีวันสำเร็จ เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะนิรโทษกรรมให้ หลายคนลี้ภัย เสียชีวิต อยู่ในเรือนจำ
“ผมเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เห็นด้วยให้นิรโทษกรรม เพราะคือการอภัยให้กัน แต่ถ้ามีนิรโทษกรรมแล้วผมต้องตกงาน ผมก็ยินดีตกงาน
พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการนิรโทษกรรม ม.112 การที่มีการเคลื่อนไหวเรื่องให้นิรโทษกรรม ม.112 ผมเห็นด้วย แต่ถ้าหัวชนฝาจะไม่มีทางชนะ ไปคุยกับพรรคการเมืองไม่มีทางสำเร็จ แต่ทำไมนิรโทษกรรมให้คนเดือนตุลาฯ ยังทำได้เลย ดังนั้น ทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในคุก ได้ออกมาบ้าง ถ้าอยากให้นิรโทษกรรมเกิดขึ้น อยู่ที่การเคลื่อนไหว ไม่ใช่การดีล เราต้องให้อำนาจการต่อรองอยู่ในมือเรา” นายกฤษฎางค์กล่าว
นายกฤษฎางค์กล่าวต่อไปว่า เรื่องการที่ไทย เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ตนมองว่า ทำอย่างไรให้ประเทศไทยต้องคิดมากขึ้น ในเวทีนานาชาติ โดยที่ไม่ต้องเดินถนน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฤษฎางค์ ยังเสนอให้มีการพูดถึง ม.112 ได้ในสภา โดยจะนำเรื่องนี้ รวบรวมรายชื่อประชาชน ไปเสนอที่สภาฯ เพื่อแก้ไขกฎหมายด้วยตัวเอง
“ผมเสนอ และจะเซ็นชื่อด้วย จะอยู่ในคณะผู้เสนอชื่อด้วย เพราะผมเชื่อว่า 20,000 คน (ที่ลงรายชื่อสนับสนุน) ไอลอว์หาได้เพียงไม่กี่วันแน่ สำหรับคนที่ไม่เห็นด้วย ก็สามารถคุยกันได้ด้วยความเมตตา ไปอธิบายกับทุกพรรค โอกาสที่จะชัดเจนที่สุดคือ เสนอกฎหมายเข้าสู่สภา แล้วเราจะตอบเองทุกปัญหา ตอบที่มาที่ไปได้หมด” นายกฤษฎางค์กล่าว
ด้าน น.ส.นิราภร ผู้ต้องหา ม.112 กล่าวว่า ตนค่อนข้างหมดหวัง แต่ถ้าได้นิรโทษกรรมจะเหมือนได้ปลดชนวน ได้โบยบิน
“ตอนนี้เหมือนเรากำลังเดินอยู่ในอุโมงค์ที่ยาว และมืดมากๆ ขณะเดียวกันมันก็ยังเห็นแสงริบหรี่ปลายอุโมงค์ แต่กว่าจะถึงจุดนั้นต้องใช้แรงกาย แรงใจค่อนข้างสูง
แรงผลักดันของเรา รวมถึงหลายคนที่อยู่ในคุก ยังมีความหวังและเดินต่อไป ก็คือทุกๆ คนที่อยู่ในห้องนี้ อยู่ทางบ้าน คนที่ยังเชื่อ ยังฝันถึงสังคมแบบเดียวกัน ออกมาให้กำลังใจ และช่วยเหลือกัน มันทำให้กระบวนการประชาธิปไตยในไทยยังไปได้
อยากให้พูดกันตรงๆ แต่ละพรรคแต่ละฝ่าย อะไรทำได้ ไม่ได้อย่างไร เราอยู่ในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ไทยก็ควรมีการรับรองเสรีภาพการแสดงออก” น.ส.นิราภรกล่าว
ขณะที่ น.ส.พูนสุข หรือ ทนายเมย์ กล่าวว่า หากมองในแง่การเลือกตั้งปี 2566 ถือว่าเราชนะ แต่จะด้วยกลใดก็แล้วแต่ ทำให้ตอนนี้เราอยู่ในสภาพติดหล่ม แต่ถ้าเราเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนนับของคนที่ใฝ่ฝันถึงสังคมที่ดีกว่า กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากที่ก่อนหน้าปี 2553 แทบจะไม่มีใครตระหนักถึงปัญหา คดี 112
“ในปี 2563 มีการดำเนินคดีกว่า 300 คดีก็แล้ว ปัญหามันยังอยู่ไม่ได้ลดหายไป ต่อให้ครั้งนี้จะนิรโทษกรรมโดยไม่รวม ม.112 แต่ปัญหายังคงอยู่ เรามีโอกาสแก้ ค่อยๆ แกะที่ละปม แล้วมาคุยกัน ไม่ควรกดอีกฝั่งหนึ่งไว้
ถ้าไม่แก้โดยรัฐสภา อนาคตจะคุยกันยากขึ้น และอาจจะเกิดความรุนแรงได้ ถ้าธันวาคมนี้ ยังคุยไม่เสร็จเราก็ยังมีเวลาคุยต่อเรื่อยๆ เรายังมีปัญหาที่ใหญ่กว่า นิรโทษกรรมรออยู่” น.ส.พูนสุข กล่าว