กสม. เข้าพบ ผบ.ทบ. หาทางออก 'ซ้อมทหารเกณฑ์' เกิดซ้ำๆ
https://prachatai.com/journal/2024/11/111313
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าพบพลเอกพนา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) คุ้มครองสิทธิและปรับปรุงหลักเกณฑ์ทหารใหม่ หลังมีข่าวทหารเกฑณ์เสียชีวิตในค่ายจากการฝึก วอนกองทัพให้ความสำคัญกับชีวิตและความปลอดภัยของทหารเกณฑ์
7 พ.ย. 2567 เวลา 09.00 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
บุญเกื้อ สมนึก ที่ปรึกษาประจำ กสม.
ภาณุวัฒน์ ทองสุข ที่ปรึกษาสำนักงาน กสม. รักษาราชการแทนรองเลขาธิการ กสม. พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. เข้าพบพลเอกพนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) และคณะ เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ณ กองบัญชาการกองทัพบก เขตพระนคร กรุงเทพฯ
วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า กสม. มีภารกิจในการส่งเสริม คุ้มครอง และเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และองค์การระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน ขณะที่กองทัพบกเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะช่วยกันส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับกำลังพลและประชาชนโดยทั่วไป จึงได้เข้าพบหารือถึงแนวทางในการทำงานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักในหลักสิทธิมนุษยชน และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธุ์ 2566
จากการหารือ กสม. ได้รับทราบถึงนโยบายและความพยายามในการคุ้มครองสิทธิของกำลังพล เช่น การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการฝึกกำลังพล การปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางในการฝึกทหารใหม่ ตลอดจนการปรับปรุงการดำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ กสม. การจัดฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่เจ้าหน้าที่ทหารระดับต่าง ๆ และการยกระดับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น ซึ่ง กสม. เห็นว่าเป็นพัฒนาการเชิงบวก และเป็นการทำงานเชิงป้องกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ กสม.
กสม. พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของกองทัพบก โดยเฉพาะการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของกำลังพลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ รวมถึงการเสริมสร้างแนวปฏิบัติที่ดีทางด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับกำลังพลต่อไป โดยจะได้ทำแผนการฝึกอบรมและการตรวจเยี่ยมพื้นที่ รวมถึงศูนย์ฝึกทหารใหม่ด้วยกัน
ด้านพลเอก
พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผบ.ทบ. ระบุว่า ตั้งแต่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ มีผลใช้บังคับ กองทัพบกได้เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยได้ศึกษาข้อกฎหมายและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่กำลังพลอย่างต่อเนื่อง กองทัพบกมีความยินดีที่ กสม. ได้ประสานความร่วมมือเพื่อหนุนเสริมการทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนร่วมกับกองทัพบก และเห็นว่าการที่ กสม. จะให้การสนับสนุนด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนแก่กำลังพลจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นอกจากนี้ กองทัพบกพร้อมสนับสนุนการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด เช่น ศูนย์ฝึกทหารใหม่ อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
ประเมิน 11 ผลกระทบ ลงทุนโลก-ไทย หลัง ‘ทรัมป์’ ชนะเลือกตั้ง
https://www.prachachat.net/finance/news-1690282
“บล.ทรีนีตี้” ประเมิน 11 ผลกระทบเกิดขึ้นต่อตลาดทุนโลก หลัง “โดนัลด์ ทรัมป์” ชนะเลือกตั้งเบ็ดเสร็จ เสี่ยงเงินเฟ้อสูงขึ้นจากราคาสินค้าพุ่ง และจากการขึ้นภาษีนำเข้า โอกาสเฟดลดดอกเบี้ยน้อยลง ส่วนหุ้นไทยหลังเลือกตั้งอาจไม่แรงเท่าตลาดหุ้นสหรัฐ แต่จะแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นเกิดใหม่ แรงซื้อจากสถาบันหนุน พร้อมแนะธีมลงทุนอิง U.S. election play “กลุ่ม Oil & Gas-กลุ่มนิคม-กลุ่มหุ้นปลอดภัยอิงเศรษฐกิจในประเทศ”
นาย
ณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนในตลาดหุ้นภายหลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ คว้าชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พร้อมครองเสียงข้างมากในสภา Congress แบบเบ็ดเสร็จ (Red Sweep) ว่าตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวสอดคล้องกับตลาดหุ้นเกิดใหม่ในภาพรวม
แต่ดัชนีหุ้นไทยจะมีความแข็งแกร่งมากกว่าตลาดหุ้นเกิดใหม่ เนื่องจากบอนด์ยีลด์ในประเทศไม่ได้ปรับขึ้นในรอบนี้ ทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นไทยในมิติส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Yield Gap) ยังคงดูน่าสนใจในสายตาของนักลงทุนในประเทศ ซึ่งข้อโชคดีก็คือว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงพอมีสภาพคล่องเหลืออยู่ จากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นตลาดทุนทั้งกองทุนวายุภักษ์ และกองทุน Thai ESG ดังนั้น ประเมินดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสทรงตัวได้ไปจนถึงสิ้นปีนี้
กลุ่มหุ้นไทยที่น่าสนใจบนธีม U.S. Election Play ได้แก่ กลุ่ม Oil & Gas จากนโยบายสนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไปของทรัมป์ และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม บนความคาดหวังการโยกย้ายฐานการผลิตจากประเด็นสงครามการค้า ส่วนกลุ่มหุ้นที่ปลอดภัยยังคงมองไปยังกลุ่มหุ้น Domestic ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ค้าปลีก, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร, ไฟแนนซ์, ท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่ม Bond-liked อย่าง IFF/REIT/Utilities ที่ยังคงมี Dividend yield Gap อยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ ผลการเลือกตั้งสหรัฐในครั้งนี้ที่ทรัมป์คว้าชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พร้อมครองเสียงข้างมากในสภา Congress แบบเบ็ดเสร็จ (Red Sweep) ซึ่งถือเป็นกรณีที่คล้ายกันกับเมื่อปี 2016 ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวแปรสินทรัพย์ทั่วโลกต่าง ๆ ใน 11 ด้านดังนี้
1. คาดการณ์การใช้จ่ายภาครัฐเร่งตัวมากขึ้นในช่วงถัดไป เช่น ด้านกลาโหม ประกันสังคม ประกันสุขภาพ ฯลฯ ส่งผลให้แนวโน้มซัพพลายพันธบัตรเร่งตัวขึ้น เป็นแรงผลักดันทำให้ยีลด์มีแนวโน้มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้แนะหลีกเลี่ยงการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐและกลุ่ม Bond-Liked ในระดับโลกไปก่อน เช่น กลุ่ม Global REIT เป็นต้น
2. ความน่าจะเป็นที่รัฐบาลชุดใหม่จะเก็บภาษีนำเข้า (Tariff) มีสูงขึ้น และอาจอยู่ในระดับรุนแรงและรวดเร็ว จากการที่พรรครีพับลิกันมีเสียงข้างมากทั้งในสภาสูงและสภาล่าง มองภาษีที่สูงขึ้นนี้ย่อมทำให้แรงกดดันทางด้านราคาสินค้าในระดับโลก โดยเฉพาะสินค้าที่ถูกเก็บภาษีเพิ่มมีโอกาสส่งผลผลักดันต่อแรงกดดันเงินเฟ้อในระดับโลกได้
3. คาดการณ์เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น จากทั้งมาตรการการใช้จ่ายภาครัฐ และการเก็บภาษีที่สูงขึ้น มีโอกาสทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ชะลอการลดดอกเบี้ยในช่วงถัดไป ล่าสุดแม้นักลงทุนในตลาดคาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยนโยบายลงในสัปดาห์นี้อีก 0.25% แต่การประชุมครั้งสุดท้ายที่รออยู่ในเดือนธันวาคมนั้น เริ่มมีบางส่วน (30%) คิดว่าเฟดอาจไม่ลดดอกเบี้ยต่ออีกแล้ว
4. เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งต่อเนื่อง เพราะการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐที่สูงขึ้น มีโอกาสทำให้แนวโน้มดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย (Trade Flow) นอกจากนั้น ในฝั่งของ Capital Flow มีโอกาสที่จะเห็นนักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนในตราสารประเทศอื่นเข้าสู่ตราสารเงินฝากและตลาดหุ้นสหรัฐมากขึ้น ไม่นับรวมกับโอกาสที่เฟดจะชะลอการลดดอกเบี้ยออกไปอีก
5. นโยบายการลดภาษีที่เคยเกิดขึ้นในสมัยทรัมป์ 1 มีแนวโน้มสูงมากที่จะถูกต่ออายุออกไปหลังจากเริ่มทยอยหมดอายุลงในปีหน้า อาทิ การลดภาษีนิติบุคคล ปัจจัยดังกล่าวส่งผลบวกต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐโดยตรง
6. จากผลการเลือกตั้งกรณี Red Sweep ในปี 2016 ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัว Outperform ตลาดหุ้นเกิดใหม่อย่างเห็นได้ชัดในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังจากการเลือกตั้ง ซึ่งคาดว่าครั้งนี้ก็จะเป็นภาพแบบเดียวกัน ดังนั้น มองว่ามีความจำเป็นที่นักลงทุนต้องโยกย้ายเงินลงทุนบางส่วนไปเพิ่ม Exposure กับตลาดหุ้นสหรัฐมากขึ้น
7. ขณะที่ภายในตลาดหุ้นสหรัฐเองมีโอกาสที่จะเห็นภาพการปรับตัวที่แตกต่างระหว่างกลุ่มหุ้นในช่วง 1 เดือนแรก คล้ายกับปี 2016 อาทิ การปรับตัว Outperform ของกลุ่มหุ้น Cyclical เมื่อเทียบกับ Defensive การปรับตัว Outperform ของกลุ่มหุ้น Value เมื่อเทียบกับ Growth การปรับตัว Outperform ของดัชนี Dow Jones เมื่อเทียบกับ NASDAQ และการปรับตัว Outperform ของหุ้นขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับหุ้นขนาดใหญ่
8. ฝั่งของหุ้นไทย คาดว่าคงแปรผันไปตามตลาดหุ้นเกิดใหม่ในภาพรวม แต่ดัชนี SET น่าจะมีความแข็งแกร่งกว่าไม่มากก็น้อย จากการที่บอนด์ยีลด์ในประเทศไม่ได้ปรับขึ้นในรอบนี้ ทำให้มาตรวัด Valuation ของตลาดหุ้นจำพวก Yield Gap ยังคงดูน่าสนใจในสายตานักลงทุนในประเทศ ซึ่งข้อโชคดีก็คือ นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงพอมีสภาพคล่องเหลืออยู่
ประเมิน SET มีโอกาสยากมากที่จะหลุดระดับ 1,400 จุด ภายในสิ้นปีนี้ มองกลุ่มหุ้นไทยที่น่าสนใจบนธีม U.S. Election Play ได้แก่ กลุ่ม Oil & Gas และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ส่วนกลุ่มหุ้นที่ปลอดภัยยังคงมองไปยังกลุ่มหุ้น Domestic ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ค้าปลีก อสังหาฯ สื่อสาร ไฟแนนซ์ ท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่ม Bond-Liked อย่าง IFF/REIT/Utilities เป็นต้น
9. ประเมินตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้อานิสงส์ช่วงสั้นจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ ส่วนหุ้นอินเดียได้ประโยชน์จากการ Relocate เม็ดเงินออกจากตลาดหุ้นจีนจากความกังวลสงครามการค้า และหุ้นเวียดนามได้อานิสงส์จากความคาดหวังการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนมากขึ้น
10. มองธีมการลงทุน Reflation Trade ในระดับโลกมีความน่าสนใจ เช่น กลุ่ม Commodity กลุ่มน้ำมัน เป็นต้น ตามนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลของทรัมป์ เพียงแต่ว่าในระยะสั้นแนะรอให้ราคาสินทรัพย์เหล่านี้ย่อลงรับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ให้เรียบร้อยเสียก่อน
11. ประเมินราคาทองคำมีโอกาสทรงตัวออกด้านข้างต่อจากนี้ โดยในฝั่งปัจจัยหนุน เช่น การเป็นสินทรัพย์ที่ปกป้องเงินเฟ้อ (Inflation Hedged) อาจถูกกลบด้วยปัจจัยกดดันอย่าง Nominal Bond Yield ที่สูงขึ้น เงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยเฟดที่ชะลอออกไป.
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ1 จับตาพายุไต้ฝุ่น "หยินซิ่ง" เตือนฝนตกหนักมาก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9495526
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 1 จับตา พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง” เตือน 8-11 พ.ย.นี้ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ฝนตกหนักถึงหนักมาก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
วันที่ 8 พ.ย.2567 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่อง พายุ “
หยินซิ่ง” ฉบับที่ 1 (262/2567) ระบุว่า เมื่อเวลา 01.00 น. ของวันนี้ (8 พ.ย. 2567) พายุไต้ฝุ่น “
หยินซิ่ง” บริเวณเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนแล้ว และเมื่อเวลา 04.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 120.1 องศาตะวันออกมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน และชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 10-12 พ.ย. 2567
และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย
JJNY : หาทางออก 'ซ้อมทหารเกณฑ์'│ประเมิน 11ผลกระทบ│กรมอุตุฯ จับตาไต้ฝุ่น"หยินซิ่ง"│ส่องทิศทางแห่งอำนาจ “รัฐบาลทรัมป์ 2.0”
https://prachatai.com/journal/2024/11/111313
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าพบพลเอกพนา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) คุ้มครองสิทธิและปรับปรุงหลักเกณฑ์ทหารใหม่ หลังมีข่าวทหารเกฑณ์เสียชีวิตในค่ายจากการฝึก วอนกองทัพให้ความสำคัญกับชีวิตและความปลอดภัยของทหารเกณฑ์
7 พ.ย. 2567 เวลา 09.00 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ บุญเกื้อ สมนึก ที่ปรึกษาประจำ กสม. ภาณุวัฒน์ ทองสุข ที่ปรึกษาสำนักงาน กสม. รักษาราชการแทนรองเลขาธิการ กสม. พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม. เข้าพบพลเอกพนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) และคณะ เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ณ กองบัญชาการกองทัพบก เขตพระนคร กรุงเทพฯ
วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า กสม. มีภารกิจในการส่งเสริม คุ้มครอง และเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และองค์การระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน ขณะที่กองทัพบกเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะช่วยกันส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับกำลังพลและประชาชนโดยทั่วไป จึงได้เข้าพบหารือถึงแนวทางในการทำงานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักในหลักสิทธิมนุษยชน และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธุ์ 2566
จากการหารือ กสม. ได้รับทราบถึงนโยบายและความพยายามในการคุ้มครองสิทธิของกำลังพล เช่น การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการฝึกกำลังพล การปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางในการฝึกทหารใหม่ ตลอดจนการปรับปรุงการดำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ กสม. การจัดฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่เจ้าหน้าที่ทหารระดับต่าง ๆ และการยกระดับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น ซึ่ง กสม. เห็นว่าเป็นพัฒนาการเชิงบวก และเป็นการทำงานเชิงป้องกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ กสม.
กสม. พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของกองทัพบก โดยเฉพาะการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของกำลังพลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ รวมถึงการเสริมสร้างแนวปฏิบัติที่ดีทางด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับกำลังพลต่อไป โดยจะได้ทำแผนการฝึกอบรมและการตรวจเยี่ยมพื้นที่ รวมถึงศูนย์ฝึกทหารใหม่ด้วยกัน
ด้านพลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผบ.ทบ. ระบุว่า ตั้งแต่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ มีผลใช้บังคับ กองทัพบกได้เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยได้ศึกษาข้อกฎหมายและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่กำลังพลอย่างต่อเนื่อง กองทัพบกมีความยินดีที่ กสม. ได้ประสานความร่วมมือเพื่อหนุนเสริมการทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนร่วมกับกองทัพบก และเห็นว่าการที่ กสม. จะให้การสนับสนุนด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนแก่กำลังพลจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นอกจากนี้ กองทัพบกพร้อมสนับสนุนการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด เช่น ศูนย์ฝึกทหารใหม่ อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
ประเมิน 11 ผลกระทบ ลงทุนโลก-ไทย หลัง ‘ทรัมป์’ ชนะเลือกตั้ง
https://www.prachachat.net/finance/news-1690282
“บล.ทรีนีตี้” ประเมิน 11 ผลกระทบเกิดขึ้นต่อตลาดทุนโลก หลัง “โดนัลด์ ทรัมป์” ชนะเลือกตั้งเบ็ดเสร็จ เสี่ยงเงินเฟ้อสูงขึ้นจากราคาสินค้าพุ่ง และจากการขึ้นภาษีนำเข้า โอกาสเฟดลดดอกเบี้ยน้อยลง ส่วนหุ้นไทยหลังเลือกตั้งอาจไม่แรงเท่าตลาดหุ้นสหรัฐ แต่จะแข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นเกิดใหม่ แรงซื้อจากสถาบันหนุน พร้อมแนะธีมลงทุนอิง U.S. election play “กลุ่ม Oil & Gas-กลุ่มนิคม-กลุ่มหุ้นปลอดภัยอิงเศรษฐกิจในประเทศ”
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนในตลาดหุ้นภายหลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ คว้าชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พร้อมครองเสียงข้างมากในสภา Congress แบบเบ็ดเสร็จ (Red Sweep) ว่าตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวสอดคล้องกับตลาดหุ้นเกิดใหม่ในภาพรวม
แต่ดัชนีหุ้นไทยจะมีความแข็งแกร่งมากกว่าตลาดหุ้นเกิดใหม่ เนื่องจากบอนด์ยีลด์ในประเทศไม่ได้ปรับขึ้นในรอบนี้ ทำให้ Valuation ของตลาดหุ้นไทยในมิติส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Yield Gap) ยังคงดูน่าสนใจในสายตาของนักลงทุนในประเทศ ซึ่งข้อโชคดีก็คือว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงพอมีสภาพคล่องเหลืออยู่ จากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นตลาดทุนทั้งกองทุนวายุภักษ์ และกองทุน Thai ESG ดังนั้น ประเมินดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสทรงตัวได้ไปจนถึงสิ้นปีนี้
กลุ่มหุ้นไทยที่น่าสนใจบนธีม U.S. Election Play ได้แก่ กลุ่ม Oil & Gas จากนโยบายสนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไปของทรัมป์ และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม บนความคาดหวังการโยกย้ายฐานการผลิตจากประเด็นสงครามการค้า ส่วนกลุ่มหุ้นที่ปลอดภัยยังคงมองไปยังกลุ่มหุ้น Domestic ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ค้าปลีก, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร, ไฟแนนซ์, ท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่ม Bond-liked อย่าง IFF/REIT/Utilities ที่ยังคงมี Dividend yield Gap อยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ ผลการเลือกตั้งสหรัฐในครั้งนี้ที่ทรัมป์คว้าชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พร้อมครองเสียงข้างมากในสภา Congress แบบเบ็ดเสร็จ (Red Sweep) ซึ่งถือเป็นกรณีที่คล้ายกันกับเมื่อปี 2016 ประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวแปรสินทรัพย์ทั่วโลกต่าง ๆ ใน 11 ด้านดังนี้
1. คาดการณ์การใช้จ่ายภาครัฐเร่งตัวมากขึ้นในช่วงถัดไป เช่น ด้านกลาโหม ประกันสังคม ประกันสุขภาพ ฯลฯ ส่งผลให้แนวโน้มซัพพลายพันธบัตรเร่งตัวขึ้น เป็นแรงผลักดันทำให้ยีลด์มีแนวโน้มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้แนะหลีกเลี่ยงการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐและกลุ่ม Bond-Liked ในระดับโลกไปก่อน เช่น กลุ่ม Global REIT เป็นต้น
2. ความน่าจะเป็นที่รัฐบาลชุดใหม่จะเก็บภาษีนำเข้า (Tariff) มีสูงขึ้น และอาจอยู่ในระดับรุนแรงและรวดเร็ว จากการที่พรรครีพับลิกันมีเสียงข้างมากทั้งในสภาสูงและสภาล่าง มองภาษีที่สูงขึ้นนี้ย่อมทำให้แรงกดดันทางด้านราคาสินค้าในระดับโลก โดยเฉพาะสินค้าที่ถูกเก็บภาษีเพิ่มมีโอกาสส่งผลผลักดันต่อแรงกดดันเงินเฟ้อในระดับโลกได้
3. คาดการณ์เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น จากทั้งมาตรการการใช้จ่ายภาครัฐ และการเก็บภาษีที่สูงขึ้น มีโอกาสทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ชะลอการลดดอกเบี้ยในช่วงถัดไป ล่าสุดแม้นักลงทุนในตลาดคาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยนโยบายลงในสัปดาห์นี้อีก 0.25% แต่การประชุมครั้งสุดท้ายที่รออยู่ในเดือนธันวาคมนั้น เริ่มมีบางส่วน (30%) คิดว่าเฟดอาจไม่ลดดอกเบี้ยต่ออีกแล้ว
4. เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งต่อเนื่อง เพราะการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐที่สูงขึ้น มีโอกาสทำให้แนวโน้มดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย (Trade Flow) นอกจากนั้น ในฝั่งของ Capital Flow มีโอกาสที่จะเห็นนักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนในตราสารประเทศอื่นเข้าสู่ตราสารเงินฝากและตลาดหุ้นสหรัฐมากขึ้น ไม่นับรวมกับโอกาสที่เฟดจะชะลอการลดดอกเบี้ยออกไปอีก
5. นโยบายการลดภาษีที่เคยเกิดขึ้นในสมัยทรัมป์ 1 มีแนวโน้มสูงมากที่จะถูกต่ออายุออกไปหลังจากเริ่มทยอยหมดอายุลงในปีหน้า อาทิ การลดภาษีนิติบุคคล ปัจจัยดังกล่าวส่งผลบวกต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐโดยตรง
6. จากผลการเลือกตั้งกรณี Red Sweep ในปี 2016 ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัว Outperform ตลาดหุ้นเกิดใหม่อย่างเห็นได้ชัดในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังจากการเลือกตั้ง ซึ่งคาดว่าครั้งนี้ก็จะเป็นภาพแบบเดียวกัน ดังนั้น มองว่ามีความจำเป็นที่นักลงทุนต้องโยกย้ายเงินลงทุนบางส่วนไปเพิ่ม Exposure กับตลาดหุ้นสหรัฐมากขึ้น
7. ขณะที่ภายในตลาดหุ้นสหรัฐเองมีโอกาสที่จะเห็นภาพการปรับตัวที่แตกต่างระหว่างกลุ่มหุ้นในช่วง 1 เดือนแรก คล้ายกับปี 2016 อาทิ การปรับตัว Outperform ของกลุ่มหุ้น Cyclical เมื่อเทียบกับ Defensive การปรับตัว Outperform ของกลุ่มหุ้น Value เมื่อเทียบกับ Growth การปรับตัว Outperform ของดัชนี Dow Jones เมื่อเทียบกับ NASDAQ และการปรับตัว Outperform ของหุ้นขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับหุ้นขนาดใหญ่
8. ฝั่งของหุ้นไทย คาดว่าคงแปรผันไปตามตลาดหุ้นเกิดใหม่ในภาพรวม แต่ดัชนี SET น่าจะมีความแข็งแกร่งกว่าไม่มากก็น้อย จากการที่บอนด์ยีลด์ในประเทศไม่ได้ปรับขึ้นในรอบนี้ ทำให้มาตรวัด Valuation ของตลาดหุ้นจำพวก Yield Gap ยังคงดูน่าสนใจในสายตานักลงทุนในประเทศ ซึ่งข้อโชคดีก็คือ นักลงทุนสถาบันในประเทศยังคงพอมีสภาพคล่องเหลืออยู่
ประเมิน SET มีโอกาสยากมากที่จะหลุดระดับ 1,400 จุด ภายในสิ้นปีนี้ มองกลุ่มหุ้นไทยที่น่าสนใจบนธีม U.S. Election Play ได้แก่ กลุ่ม Oil & Gas และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ส่วนกลุ่มหุ้นที่ปลอดภัยยังคงมองไปยังกลุ่มหุ้น Domestic ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ค้าปลีก อสังหาฯ สื่อสาร ไฟแนนซ์ ท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่ม Bond-Liked อย่าง IFF/REIT/Utilities เป็นต้น
9. ประเมินตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้อานิสงส์ช่วงสั้นจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ ส่วนหุ้นอินเดียได้ประโยชน์จากการ Relocate เม็ดเงินออกจากตลาดหุ้นจีนจากความกังวลสงครามการค้า และหุ้นเวียดนามได้อานิสงส์จากความคาดหวังการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนมากขึ้น
10. มองธีมการลงทุน Reflation Trade ในระดับโลกมีความน่าสนใจ เช่น กลุ่ม Commodity กลุ่มน้ำมัน เป็นต้น ตามนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลของทรัมป์ เพียงแต่ว่าในระยะสั้นแนะรอให้ราคาสินทรัพย์เหล่านี้ย่อลงรับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ให้เรียบร้อยเสียก่อน
11. ประเมินราคาทองคำมีโอกาสทรงตัวออกด้านข้างต่อจากนี้ โดยในฝั่งปัจจัยหนุน เช่น การเป็นสินทรัพย์ที่ปกป้องเงินเฟ้อ (Inflation Hedged) อาจถูกกลบด้วยปัจจัยกดดันอย่าง Nominal Bond Yield ที่สูงขึ้น เงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยเฟดที่ชะลอออกไป.
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ1 จับตาพายุไต้ฝุ่น "หยินซิ่ง" เตือนฝนตกหนักมาก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9495526
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 1 จับตา พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง” เตือน 8-11 พ.ย.นี้ ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ฝนตกหนักถึงหนักมาก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
วันที่ 8 พ.ย.2567 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่อง พายุ “หยินซิ่ง” ฉบับที่ 1 (262/2567) ระบุว่า เมื่อเวลา 01.00 น. ของวันนี้ (8 พ.ย. 2567) พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง” บริเวณเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนแล้ว และเมื่อเวลา 04.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 120.1 องศาตะวันออกมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน และชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 10-12 พ.ย. 2567
และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย