


#ธรรมะคืออะไร?
#ธรรมคืออะไร? #โหนกระแส
คำว่า #ธรรมะ มีความหมาย 19 อย่าง เป็นอาทิดังนี้
อยญฺหิ ธมฺมสทฺโท สภาว - ปริยตฺติ - ปญฺญา - ญาย - สจฺจ - ปกติ - ปุญฺญ - เญยฺย - สมาธิ - คุณ - นิสฺสตฺตนิชฺชีวตา - อาปตฺติ - วิการ - ปจฺจย - ปจฺจยุปฺปนฺน - เหตุ - วิสย - ปญฺญตฺติ - นิพฺพานาทิอเนกตฺถปฺปเภโท.
แท้ที่จริงแล้ว ธมฺมศัพท์ มีความหมายต่างๆ เป็นอเนกประการเป็นต้นว่า สภาวธรรม ปริยัติธรรม ปัญญาธรรม ญายธรรม สัจจธรรม ปกติธรรม ปุญญธรรม เญยยธรรม สมาธิธรรม คุณธรรม นิสสัตตนิชชีวธรรม อาปัตติธรรม วิการธรรม ปัจจยธรรม ปัจจยุปปันนธรรม เหตุธรรม วิสยธรรม ปัญญัตติธรรม นิพพานธรรม
และในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ 784 แสดงความหมายไว้ดังนี้
ธมฺโม สภาเว ปริยตฺติปญฺญา
ญาเยสุ สจฺจปฺปกตีสุ ปุญฺเญ;
เญยฺเย คุณา’จาร สมาธิสูปิ,
นิสฺสตฺตตา’ปตฺติสุ การณาโท.
ความหมาย ธรรม 19 อย่างที่พระพุทธเจ้าใช้
1. สภาวธรรม ธรรมะมีความหมายว่า สภาวะธรรม เช่น ในประโยคบาลีว่า "กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมาตฺยาทีสุ สภาเว.
"สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล"
คำว่า กุศล ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ไม่มีโทษ. กุศลธรรม คือสภาวะที่ให้ผลเป็นความสุข. อกุศลธรรม คือสิ่งที่ให้ผลเป็นความทุกข์.
2. ปริยัตติ หมายถึง คำสอนที่ต้องศึกษาเล่าเรียน เช่น ในประโยคบาลีว่า
"อิธ ภิกฺขู ธมฺมํ ปริยาปุณนฺตีติอาทีสุ ปริยตฺติยํ. ธมฺมศัพท์ที่ปรากฏในอรรถปริยัติธรรม เหมือนในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย ในศาสนานี้ ย่อมเรียนเอาซึ่งปริยัติธรรม"ฯ คำว่า ธรรมในที่นี้ หมายถึง บาฬีธรรมที่ควรศึกษาเล่าเรียน แล้วทรงจำ บอกกล่าว สั่งสอน สอบทานอยู่เป็นนิตย์
(ธมฺมํ ปริยาปุณิตพฺพอุคฺคเหตพฺพปาฬิธมฺมนฺติ อตฺโถ.)
3. ปัญญาธรรม ธรรมหมายถึง ปัญญา ดังบาลีว่า
ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา สทฺธสฺส ฆรเมสิโน, สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค ส เว เปจฺจ น โสจตีติอาทีสุ ปญฺญาย.
ธมฺม ศัพท์ที่ปรากฏในอรรถปัญญา เหมือนในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ธรรมสี่อย่างเหล่านี้คือ สัจจะ ปัญญา ธิติ และจาคะ ย่อมมีแก่ผู้อยู่ครองเรือน ผู้มีศรัทธาใด ผู้นั้นแล ละโลกนี้ ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
คำว่าธรรมที่หมายถึงปัญญา ในที่นี้ คือปัญญาที่มีลักษณะรู้แจ้งตามความเป็นจริง (ธมโฺม ยถาภูตาวโพธนลกฺขณา ปญฺญาติ อตฺโถ)
4. ญายธรรม ธรรมหมายถึง ความสมควร เช่น ในประโยคบาลีว่า
"เนส ธมฺโม มหาราช ยํ ตฺวํ คจฺเฉยฺย เอกโกตฺยาทีสุ ญาเย ยุตฺติยํ.
ธมฺม ศัพท์ที่ปรากฏใช้ในอรรถญายะ ความสมควร เช่นในคำว่า "ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ผู้เดียวพึงถึงสิ่งใด สิ่งนั้น ไม่ใช่ธรรม (ไม่เหมาะสม)"
5. สัจจธรรม คำว่าธรรมหมายถึงสัจจะ ดังเช่น บาลีว่า "ทิฏฺธมฺโม ปตฺตธมฺโมติอาทีสุ สจฺเจ.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่าสัจจะ เหมือนตัวอย่างเป็นต้นว่า "สัจธรรมที่เห็นแล้ว ที่บรรลุแล้ว" อธิบายคำ ทิฏฺสจฺโจ ปตฺตสจฺโจติ อตฺโถ.
บทว่า ทิฏฺธมฺม คือสัจจะที่เห็นแล้ว บทว่า ปตฺตธมฺม คือสัจจะที่ได้บรรลุแล้ว
6. ปกติธรรม ธรรมหมายถึง ปกติ เช่นในประโยคบาลีว่า "ชาติธมฺมานํ ภิกฺขเว สตฺตานนฺติอาทีสุ ปกติยํ.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถปกติ เหมือนในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นปกติ อย่างนี้
ชาติปกติธมฺมานนฺติ อตฺโถ. อธิบายว่า ชาติธมฺมานํ คือผู้มีการเกิดเป็นปกติ
7. บุญธรรม ธรรมหมายถึงบุญ เช่น ในประโยคบาลีว่า "ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารินฺตฺยาทีสุ ปุญฺเญ.
ธมฺม ศัพท์ ย่อมพบเห็นในอรรถว่า บุญ เหมือนในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า "บุญแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม."
ธมฺโม กุสลธมฺโม ปุญฺโญติ อตฺโถ. อธิบายว่า คำว่า ธมฺม คือกุศลธรรม ได้แก่บุญ
8. เญยฺยธรรม ธรรมหมายถึงสิ่งที่ควรรู้ ดังในบาลีว่า
"สพฺเพ ธมฺมา สพฺพากาเรน พุทฺธสฺส ภควโต ญาณมุเข อาปาถมาคจฺฉนฺตีตฺยาทีสุ เญยฺเย.
ธมฺม ศัพท์ ถูกพบเห็นในอรรถเญยยะ เหมือนในบาลีว่า "เญยยธรรม ทั้งปวง ย่อมมาสู่คลอง/ทาง ในปากแห่งญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้โดยอาการทั้งปวง"
อธิบายความ
สพฺเพ สงฺขารวิการลกฺขณนิพฺพานปญฺญตฺติสงฺขาตา ปญฺจวิธเญยฺยธมฺมาติ อตฺโถ. อธิบายว่า ธรรมทั้งปวง คือเญยยธรรมห้าประการ กล่าวคือสังขาร, วิการรูป ๓ ,ลักขณรูป ๔ ,นิพพาน และบัญญัติ
9. สมาธิธรรม ธรรมหมายถึงสมาธิ เช่น ในประโยคว่า
"เอวํธมฺมา เต ภวนฺโต จ อเหสุนฺตฺยาทีสุ สมาธิมฺหิ.
ธมฺม ศัพท์ ถูกพบเห็นในอรรถสมาธิ เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ เหล่านั้น เป็นผู้มีสมาธิธรรมอย่างนี้
เอวํธมฺมา เอวํสมาธิกาติ อตฺโถ.
อธิบายว่า เอวํธมฺมา คือมีสมาธิอย่างนี้
10. คุณธรรม ธรรมหมายถึง คุณความดีงาม เช่นในบาลีว่า
"น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน,
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตินฺตฺยาทีสุ คุเณ.
ธมฺม ศัพท์ที่พบเห็นในอรรถคุณ เช่นว่า "คุณธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คุณ ทั้งสองมีสภาพไม่เหมือนกัน อคุณธรรม ย่อมนำไปสู่นรก คุณธรรมส่งให้ขึ้นสวรรค์
อธิบาย คำว่าคุณ หมายถึงความดีงาม หลายอย่าง
ธมฺโม ทานสีลาทิคุโณ, สทฺธา-สีล-สุต-จาค-ปญฺญา-หิริ-โอตฺตปฺปสงฺขาตสตฺตสปฺปุริสคุโณ วาติ อตฺโถ.
อธิบายว่า ธรรม คือคุณมีทาน ศีลเป็นต้น หรือ คุณธรรมของสัตบุรุษ ๗ ประการ กล่าวคือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ และโอตตัปปะ
11. อาจารธมฺม คือ ความประพฤติ
12. นิสสตฺตนิชฺชีวธมฺม ธรรมคือ สภาพที่ไม่มีสัตว์บุคคล ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ตสฺมึ โข ปน สมเย ธมฺมา โหนฺติ. ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรตีติอาทีสุ นิสฺสตฺตนิชฺชีวตายํ.
ธมฺม ศัพท์ที่ปรากฏในอรรถไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต เช่นในประโยคเป็นต้นว่า "ก็ ในสมัยนั้นแล สภาวธรรมทั้งหลายมีอยู่ ภิกษุมีปกติพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่".
ธมฺเมสุ นิสฺสตฺตนิชฺชีวสภาเวสุ ขนฺธาทิธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสิโน นิสฺสตฺตนิชฺชีวสภาวานุปสฺสิโน, น อิตฺถิปุริสาทิอนุปสฺสิโนติ อตฺโถ.
อธิบายว่า พิจารณาเห็นแจ้งธรรมในสภาวะที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต คือในธรรมทั้งหลาย มีขันธ์เป็นต้น คือพิจารณาเห็นสภาวะที่ปราศจากสัตว์ ปราศจากชีวิต ไม่ใช่พิจารณาเห็นเป็นหญิง เป็นชาย เป็นต้น
13. อาปตฺติธมฺม ธรรมหมายถึง อาบัตติ ในวินัย ดังข้อความบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมาติอาทีสุ อาปตฺติยํ.
ธมฺมศัพท์ ที่ปรากฏในอรรถอาปัตติ เช่นในตัวอย่างเป็นต้นว่า อาบัติปาราชิก ๔ ". อธิบายคำ "ปาราชิกา ธมฺมา ปาราชิกา อาปตฺตีติ อตฺโถ.
อธิบายว่า ปาราชิกกา ธมฺมา ก็คืออาบัติปาราชิก
14. วิการธมฺม ธรรมคือความเปลี่ยนแปลงไป เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"ชาติธมฺมา…ชราธมฺมา… มรณธมฺมาติอาทีสุ วิกาเร.
ธมฺม ศัพท์ พบในอรรถว่าวิการะ เช่นที่ตรัสไว้ว่า
"การเปลี่ยนแปลง โดยชาติ การเปลี่ยนแปลงโดยชรา การเปลี่ยนแปลงโดยมรณะ.
ชาติธมฺมา อุปฺปาทสภาเวน วิการา ปฏิสนฺธิวเสน วิปริณามา วา.
อธิบายว่า ชาติธมฺม คือการเปลี่ยนแปลงโดยสภาวะการเกิดขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลง ด้วยอำนาจปฏิสนธิ
ชราธมฺมาติสภาเวน วิการา ขณฺฑิจฺจ-ปาลิจฺจาทิชราสภาเวน วิปริณามา.
ชราธมฺม คือการเปลี่ยนแปลงโดยสภาวะของการตั้งอยู่ คือการเปลี่ยนแปลงโดยสภาพ ของชรามีฟันหัก หนังเหี่ยวเป็นต้น
มรณธมฺมา สงฺคติสภาเวน วิการา จุติสภาเวน วิปริณามาติ อตฺโถ.
มรณธมฺม คือการเปลี่ยนแปลงด้วยสภาวะของการย้ายภพ คือการเปลี่ยนแปลงโดยสภาวะของการจุติ (ตาย)
15. ปจฺจยธมฺม ธรรมหมายถึงเหตุ เช่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"เหตุมฺหิ ญาณํ ธมฺมปฺปฏิสมฺภิทาติอาทีสุ ปจฺจเย.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถปัจจัย (เหตุ) เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่าธมฺมปฺปฏิสมฺภิทา
เหตุมฺ

ติ อตฺโถ. อธิบายว่า ในเหตุ
16. ปจฺจยุปฺปนฺนธมฺม ธรรมหมายถึง ปัจจยุปันนะธรรม (ธรรมที่เกิดขึ้นอิงอาศัยกันในปัจจุบัน เช่น ที่ตรัสไว้ว่า
ตาว สา ธมฺมธาตุ ธมมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา" ติอาทีสุ ปจฺจยุปฺปนฺเน.
ธมฺม ศัพท์ที่ปรากฏในปัจจยุปปันนะ เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วเทียว เพราะความที่ตั้งอยู่ในปัจจยุปปันนะ เพราะความที่เป็นนิยามของปัจจยุปปันนะ
17. วิสยธมฺม ธรรมคืออารมณ์หรือวิสัย ดังที่ตรัสไว้ในประโยคบาลีว่า
"มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณนฺติอาทีสุ วิสเย.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถวิสยะ (อารมณ์) เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยใจ และอารมณ์ทั้งหลาย
โคจเรติ อตโฺถ. อธิบายว่า ซึ่งโคจรทั้งหลาย (อารมณ์ทั้งหลาย)
18. ปญฺญตฺติธมฺม ธรรมคือบัญญัติ ดังที่ตรัสไว้ในประโยคว่า
"ปญฺญตฺติธมฺมา นิรุตฺติธมฺมา อธิวจนา ธมฺมาติอาทีสุ ปญฺญตฺติยํ.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถบัญญัติธรรม เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า บัญญัติธรรมทั้งหลาย นิรุตติธรรมทั้งหลาย อธิวจนธรรมทั้งหลาย
19. นิพฺพานธมฺม ธรรมคือพระนิพพาน ดังที่ตรัสไว้ในประโยคว่า
"สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปตีติอาทีสุ นิพฺพาเน.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถนิพพาน เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ธรรมคือนิพพานของสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า/ย่อมไม่คร่ำคร่า
คำศัพท์ธมฺม บางศัพท์มีความหมายสองอย่าง เช่น ธมฺมปท
คำว่า ธรรมบท จะมีความหมายสองอย่าง เช่นในบาลีว่า
อิธ ปน เญยเย ปริยตติยํ วา ปวตตตีติ.
ในคำว่า ธมฺมปท นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถเญยยธรรม หรือในอรรถปริยัติธรรม
ตสฺมา ธมฺมา สงฺขารวิการลกฺขณนิพฺพานปญฺญตฺติสงฺขาเต ปญฺจวิธเญยยฺธมฺเม ปชฺชนฺเต ญายนฺติ เอตฺถ เอเตนาติ ธมฺมปทํ.
เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้งหลาย ย่อมถูกรู้ ในเญยยธรรม ๕ ประการ กล่าวคือสังขาร, วิการรูป ๓, ลักขณะรูป ๔, นิพพาน และบัญญัติ ในคัมภีร์นี้ หรือด้วยคัมภีร์นี้ เหตุนั้น ชื่อว่า ธมฺมปท
โดยสรุป ธมฺม ที่พระพุทธเจ้าใช้ จะมีความหมายตามบริบทต่างๆที่ใช้ ไม่ได้มีความหมายอย่างเดียว ดังที่แสดงความหมาย ในพระบาลี
มีการเรียงลำดับ ที่ใช้มากสุดในหัวข้อแรก ถือว่ามีความสำคัญที่สุด ส่วนความหมาย ในสัจจธรรมนั้น เป็นความหมายที่มีใช้รองลงมา
ถ้ากล่าวว่า ธมฺม คือ อริยสัจจะ จึงคำตอบที่ไม่ถูกนัก
นั่นเพราะการศึกษาธรรม ไม่ครอบคลุมเนื้อหาจึงเห็นเพียงแง่มุมเดียว แล้วหยิบแง่มุมเดียวนั้น มาเป็นความหมายสำคัญ
คำตอบที่ถูกต้อง ตอบว่า
ธมฺม ที่พระพุทธเจ้าใช้ มีหลายความหมาย ถึง 19 ประการ มีสภาวธรรม ปริยัติ (การศึกษาธรรม) ปัญญา เป็นต้น
คำตอบแบบนี้ เป็นวิชาการ ตอบอย่างผู้รู้
ธรรมะคืออะไร? ไม่ใช่เหล่าปฎิสัมภิทา ก็ตอบให้ชัดเจนไม่ได้หรอก
#ธรรมะคืออะไร?
#ธรรมคืออะไร? #โหนกระแส
คำว่า #ธรรมะ มีความหมาย 19 อย่าง เป็นอาทิดังนี้
อยญฺหิ ธมฺมสทฺโท สภาว - ปริยตฺติ - ปญฺญา - ญาย - สจฺจ - ปกติ - ปุญฺญ - เญยฺย - สมาธิ - คุณ - นิสฺสตฺตนิชฺชีวตา - อาปตฺติ - วิการ - ปจฺจย - ปจฺจยุปฺปนฺน - เหตุ - วิสย - ปญฺญตฺติ - นิพฺพานาทิอเนกตฺถปฺปเภโท.
แท้ที่จริงแล้ว ธมฺมศัพท์ มีความหมายต่างๆ เป็นอเนกประการเป็นต้นว่า สภาวธรรม ปริยัติธรรม ปัญญาธรรม ญายธรรม สัจจธรรม ปกติธรรม ปุญญธรรม เญยยธรรม สมาธิธรรม คุณธรรม นิสสัตตนิชชีวธรรม อาปัตติธรรม วิการธรรม ปัจจยธรรม ปัจจยุปปันนธรรม เหตุธรรม วิสยธรรม ปัญญัตติธรรม นิพพานธรรม
และในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ 784 แสดงความหมายไว้ดังนี้
ธมฺโม สภาเว ปริยตฺติปญฺญา
ญาเยสุ สจฺจปฺปกตีสุ ปุญฺเญ;
เญยฺเย คุณา’จาร สมาธิสูปิ,
นิสฺสตฺตตา’ปตฺติสุ การณาโท.
ความหมาย ธรรม 19 อย่างที่พระพุทธเจ้าใช้
1. สภาวธรรม ธรรมะมีความหมายว่า สภาวะธรรม เช่น ในประโยคบาลีว่า "กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมาตฺยาทีสุ สภาเว.
"สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล"
คำว่า กุศล ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ไม่มีโทษ. กุศลธรรม คือสภาวะที่ให้ผลเป็นความสุข. อกุศลธรรม คือสิ่งที่ให้ผลเป็นความทุกข์.
2. ปริยัตติ หมายถึง คำสอนที่ต้องศึกษาเล่าเรียน เช่น ในประโยคบาลีว่า
"อิธ ภิกฺขู ธมฺมํ ปริยาปุณนฺตีติอาทีสุ ปริยตฺติยํ. ธมฺมศัพท์ที่ปรากฏในอรรถปริยัติธรรม เหมือนในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย ในศาสนานี้ ย่อมเรียนเอาซึ่งปริยัติธรรม"ฯ คำว่า ธรรมในที่นี้ หมายถึง บาฬีธรรมที่ควรศึกษาเล่าเรียน แล้วทรงจำ บอกกล่าว สั่งสอน สอบทานอยู่เป็นนิตย์
(ธมฺมํ ปริยาปุณิตพฺพอุคฺคเหตพฺพปาฬิธมฺมนฺติ อตฺโถ.)
3. ปัญญาธรรม ธรรมหมายถึง ปัญญา ดังบาลีว่า
ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา สทฺธสฺส ฆรเมสิโน, สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค ส เว เปจฺจ น โสจตีติอาทีสุ ปญฺญาย.
ธมฺม ศัพท์ที่ปรากฏในอรรถปัญญา เหมือนในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ธรรมสี่อย่างเหล่านี้คือ สัจจะ ปัญญา ธิติ และจาคะ ย่อมมีแก่ผู้อยู่ครองเรือน ผู้มีศรัทธาใด ผู้นั้นแล ละโลกนี้ ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
คำว่าธรรมที่หมายถึงปัญญา ในที่นี้ คือปัญญาที่มีลักษณะรู้แจ้งตามความเป็นจริง (ธมโฺม ยถาภูตาวโพธนลกฺขณา ปญฺญาติ อตฺโถ)
4. ญายธรรม ธรรมหมายถึง ความสมควร เช่น ในประโยคบาลีว่า
"เนส ธมฺโม มหาราช ยํ ตฺวํ คจฺเฉยฺย เอกโกตฺยาทีสุ ญาเย ยุตฺติยํ.
ธมฺม ศัพท์ที่ปรากฏใช้ในอรรถญายะ ความสมควร เช่นในคำว่า "ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ผู้เดียวพึงถึงสิ่งใด สิ่งนั้น ไม่ใช่ธรรม (ไม่เหมาะสม)"
5. สัจจธรรม คำว่าธรรมหมายถึงสัจจะ ดังเช่น บาลีว่า "ทิฏฺธมฺโม ปตฺตธมฺโมติอาทีสุ สจฺเจ.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่าสัจจะ เหมือนตัวอย่างเป็นต้นว่า "สัจธรรมที่เห็นแล้ว ที่บรรลุแล้ว" อธิบายคำ ทิฏฺสจฺโจ ปตฺตสจฺโจติ อตฺโถ.
บทว่า ทิฏฺธมฺม คือสัจจะที่เห็นแล้ว บทว่า ปตฺตธมฺม คือสัจจะที่ได้บรรลุแล้ว
6. ปกติธรรม ธรรมหมายถึง ปกติ เช่นในประโยคบาลีว่า "ชาติธมฺมานํ ภิกฺขเว สตฺตานนฺติอาทีสุ ปกติยํ.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถปกติ เหมือนในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นปกติ อย่างนี้
ชาติปกติธมฺมานนฺติ อตฺโถ. อธิบายว่า ชาติธมฺมานํ คือผู้มีการเกิดเป็นปกติ
7. บุญธรรม ธรรมหมายถึงบุญ เช่น ในประโยคบาลีว่า "ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารินฺตฺยาทีสุ ปุญฺเญ.
ธมฺม ศัพท์ ย่อมพบเห็นในอรรถว่า บุญ เหมือนในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า "บุญแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม."
ธมฺโม กุสลธมฺโม ปุญฺโญติ อตฺโถ. อธิบายว่า คำว่า ธมฺม คือกุศลธรรม ได้แก่บุญ
8. เญยฺยธรรม ธรรมหมายถึงสิ่งที่ควรรู้ ดังในบาลีว่า
"สพฺเพ ธมฺมา สพฺพากาเรน พุทฺธสฺส ภควโต ญาณมุเข อาปาถมาคจฺฉนฺตีตฺยาทีสุ เญยฺเย.
ธมฺม ศัพท์ ถูกพบเห็นในอรรถเญยยะ เหมือนในบาลีว่า "เญยยธรรม ทั้งปวง ย่อมมาสู่คลอง/ทาง ในปากแห่งญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้โดยอาการทั้งปวง"
อธิบายความ
สพฺเพ สงฺขารวิการลกฺขณนิพฺพานปญฺญตฺติสงฺขาตา ปญฺจวิธเญยฺยธมฺมาติ อตฺโถ. อธิบายว่า ธรรมทั้งปวง คือเญยยธรรมห้าประการ กล่าวคือสังขาร, วิการรูป ๓ ,ลักขณรูป ๔ ,นิพพาน และบัญญัติ
9. สมาธิธรรม ธรรมหมายถึงสมาธิ เช่น ในประโยคว่า
"เอวํธมฺมา เต ภวนฺโต จ อเหสุนฺตฺยาทีสุ สมาธิมฺหิ.
ธมฺม ศัพท์ ถูกพบเห็นในอรรถสมาธิ เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ เหล่านั้น เป็นผู้มีสมาธิธรรมอย่างนี้
เอวํธมฺมา เอวํสมาธิกาติ อตฺโถ.
อธิบายว่า เอวํธมฺมา คือมีสมาธิอย่างนี้
10. คุณธรรม ธรรมหมายถึง คุณความดีงาม เช่นในบาลีว่า
"น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน,
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตินฺตฺยาทีสุ คุเณ.
ธมฺม ศัพท์ที่พบเห็นในอรรถคุณ เช่นว่า "คุณธรรม และธรรมที่ไม่ใช่คุณ ทั้งสองมีสภาพไม่เหมือนกัน อคุณธรรม ย่อมนำไปสู่นรก คุณธรรมส่งให้ขึ้นสวรรค์
อธิบาย คำว่าคุณ หมายถึงความดีงาม หลายอย่าง
ธมฺโม ทานสีลาทิคุโณ, สทฺธา-สีล-สุต-จาค-ปญฺญา-หิริ-โอตฺตปฺปสงฺขาตสตฺตสปฺปุริสคุโณ วาติ อตฺโถ.
อธิบายว่า ธรรม คือคุณมีทาน ศีลเป็นต้น หรือ คุณธรรมของสัตบุรุษ ๗ ประการ กล่าวคือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ และโอตตัปปะ
11. อาจารธมฺม คือ ความประพฤติ
12. นิสสตฺตนิชฺชีวธมฺม ธรรมคือ สภาพที่ไม่มีสัตว์บุคคล ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ตสฺมึ โข ปน สมเย ธมฺมา โหนฺติ. ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรตีติอาทีสุ นิสฺสตฺตนิชฺชีวตายํ.
ธมฺม ศัพท์ที่ปรากฏในอรรถไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต เช่นในประโยคเป็นต้นว่า "ก็ ในสมัยนั้นแล สภาวธรรมทั้งหลายมีอยู่ ภิกษุมีปกติพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่".
ธมฺเมสุ นิสฺสตฺตนิชฺชีวสภาเวสุ ขนฺธาทิธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสิโน นิสฺสตฺตนิชฺชีวสภาวานุปสฺสิโน, น อิตฺถิปุริสาทิอนุปสฺสิโนติ อตฺโถ.
อธิบายว่า พิจารณาเห็นแจ้งธรรมในสภาวะที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต คือในธรรมทั้งหลาย มีขันธ์เป็นต้น คือพิจารณาเห็นสภาวะที่ปราศจากสัตว์ ปราศจากชีวิต ไม่ใช่พิจารณาเห็นเป็นหญิง เป็นชาย เป็นต้น
13. อาปตฺติธมฺม ธรรมหมายถึง อาบัตติ ในวินัย ดังข้อความบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมาติอาทีสุ อาปตฺติยํ.
ธมฺมศัพท์ ที่ปรากฏในอรรถอาปัตติ เช่นในตัวอย่างเป็นต้นว่า อาบัติปาราชิก ๔ ". อธิบายคำ "ปาราชิกา ธมฺมา ปาราชิกา อาปตฺตีติ อตฺโถ.
อธิบายว่า ปาราชิกกา ธมฺมา ก็คืออาบัติปาราชิก
14. วิการธมฺม ธรรมคือความเปลี่ยนแปลงไป เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"ชาติธมฺมา…ชราธมฺมา… มรณธมฺมาติอาทีสุ วิกาเร.
ธมฺม ศัพท์ พบในอรรถว่าวิการะ เช่นที่ตรัสไว้ว่า
"การเปลี่ยนแปลง โดยชาติ การเปลี่ยนแปลงโดยชรา การเปลี่ยนแปลงโดยมรณะ.
ชาติธมฺมา อุปฺปาทสภาเวน วิการา ปฏิสนฺธิวเสน วิปริณามา วา.
อธิบายว่า ชาติธมฺม คือการเปลี่ยนแปลงโดยสภาวะการเกิดขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลง ด้วยอำนาจปฏิสนธิ
ชราธมฺมาติสภาเวน วิการา ขณฺฑิจฺจ-ปาลิจฺจาทิชราสภาเวน วิปริณามา.
ชราธมฺม คือการเปลี่ยนแปลงโดยสภาวะของการตั้งอยู่ คือการเปลี่ยนแปลงโดยสภาพ ของชรามีฟันหัก หนังเหี่ยวเป็นต้น
มรณธมฺมา สงฺคติสภาเวน วิการา จุติสภาเวน วิปริณามาติ อตฺโถ.
มรณธมฺม คือการเปลี่ยนแปลงด้วยสภาวะของการย้ายภพ คือการเปลี่ยนแปลงโดยสภาวะของการจุติ (ตาย)
15. ปจฺจยธมฺม ธรรมหมายถึงเหตุ เช่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"เหตุมฺหิ ญาณํ ธมฺมปฺปฏิสมฺภิทาติอาทีสุ ปจฺจเย.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถปัจจัย (เหตุ) เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่าธมฺมปฺปฏิสมฺภิทา
เหตุมฺ
16. ปจฺจยุปฺปนฺนธมฺม ธรรมหมายถึง ปัจจยุปันนะธรรม (ธรรมที่เกิดขึ้นอิงอาศัยกันในปัจจุบัน เช่น ที่ตรัสไว้ว่า
ตาว สา ธมฺมธาตุ ธมมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา" ติอาทีสุ ปจฺจยุปฺปนฺเน.
ธมฺม ศัพท์ที่ปรากฏในปัจจยุปปันนะ เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วเทียว เพราะความที่ตั้งอยู่ในปัจจยุปปันนะ เพราะความที่เป็นนิยามของปัจจยุปปันนะ
17. วิสยธมฺม ธรรมคืออารมณ์หรือวิสัย ดังที่ตรัสไว้ในประโยคบาลีว่า
"มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณนฺติอาทีสุ วิสเย.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถวิสยะ (อารมณ์) เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยใจ และอารมณ์ทั้งหลาย
โคจเรติ อตโฺถ. อธิบายว่า ซึ่งโคจรทั้งหลาย (อารมณ์ทั้งหลาย)
18. ปญฺญตฺติธมฺม ธรรมคือบัญญัติ ดังที่ตรัสไว้ในประโยคว่า
"ปญฺญตฺติธมฺมา นิรุตฺติธมฺมา อธิวจนา ธมฺมาติอาทีสุ ปญฺญตฺติยํ.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถบัญญัติธรรม เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า บัญญัติธรรมทั้งหลาย นิรุตติธรรมทั้งหลาย อธิวจนธรรมทั้งหลาย
19. นิพฺพานธมฺม ธรรมคือพระนิพพาน ดังที่ตรัสไว้ในประโยคว่า
"สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปตีติอาทีสุ นิพฺพาเน.
ธมฺม ศัพท์ ปรากฏในอรรถนิพพาน เช่นในอุทาหรณ์ทั้งหลายเป็นต้นว่า ธรรมคือนิพพานของสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า/ย่อมไม่คร่ำคร่า
คำศัพท์ธมฺม บางศัพท์มีความหมายสองอย่าง เช่น ธมฺมปท
คำว่า ธรรมบท จะมีความหมายสองอย่าง เช่นในบาลีว่า
อิธ ปน เญยเย ปริยตติยํ วา ปวตตตีติ.
ในคำว่า ธมฺมปท นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถเญยยธรรม หรือในอรรถปริยัติธรรม
ตสฺมา ธมฺมา สงฺขารวิการลกฺขณนิพฺพานปญฺญตฺติสงฺขาเต ปญฺจวิธเญยยฺธมฺเม ปชฺชนฺเต ญายนฺติ เอตฺถ เอเตนาติ ธมฺมปทํ.
เพราะเหตุนั้น ธรรมทั้งหลาย ย่อมถูกรู้ ในเญยยธรรม ๕ ประการ กล่าวคือสังขาร, วิการรูป ๓, ลักขณะรูป ๔, นิพพาน และบัญญัติ ในคัมภีร์นี้ หรือด้วยคัมภีร์นี้ เหตุนั้น ชื่อว่า ธมฺมปท
โดยสรุป ธมฺม ที่พระพุทธเจ้าใช้ จะมีความหมายตามบริบทต่างๆที่ใช้ ไม่ได้มีความหมายอย่างเดียว ดังที่แสดงความหมาย ในพระบาลี
มีการเรียงลำดับ ที่ใช้มากสุดในหัวข้อแรก ถือว่ามีความสำคัญที่สุด ส่วนความหมาย ในสัจจธรรมนั้น เป็นความหมายที่มีใช้รองลงมา
ถ้ากล่าวว่า ธมฺม คือ อริยสัจจะ จึงคำตอบที่ไม่ถูกนัก
นั่นเพราะการศึกษาธรรม ไม่ครอบคลุมเนื้อหาจึงเห็นเพียงแง่มุมเดียว แล้วหยิบแง่มุมเดียวนั้น มาเป็นความหมายสำคัญ
คำตอบที่ถูกต้อง ตอบว่า
ธมฺม ที่พระพุทธเจ้าใช้ มีหลายความหมาย ถึง 19 ประการ มีสภาวธรรม ปริยัติ (การศึกษาธรรม) ปัญญา เป็นต้น
คำตอบแบบนี้ เป็นวิชาการ ตอบอย่างผู้รู้