กมธ.มั่นคง ได้ฤกษ์ 7 พ.ย. สอบ ‘ทักษิณ’ ปมรักษาตัว ชั้น 14 เชิญ ‘เสรีพิศุทธิ์-สุรเชชษฐ์’ ให้ข้อมูล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4879716
กมธ.มั่นคง ได้ฤกษ์ 7 พ.ย. สอบ ‘ทักษิณ’ ปมรักษาตัว ชั้น 14 รพ.ตำรวจ เชิญ ‘เสรีพิศุทธิ์-สุรเชชษฐ์’ ให้ข้อมูล พร้อมแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ-ราชทัณฑ์
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากรัฐสภา ว่า คณะกรรมาธิการ(กมธ.)ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เป็นประธานกมธ. ได้มีมตินัดประชุม วันที่ 7 พฤศจิกายน เวลา 09.30 น.
โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ คือ พิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางในการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม กรณีกรมราชทัณฑ์ให้ นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจกับการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
โดยได้เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูลต่อกมธ. ได้แก่ พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย พล.ต.อ.
สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.
โสภณรัชต์ สิงหจารุ ผช.ผบ.ตร. พล.ต.ท.
ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ พล.ต.ต.
สรวุฒิ เหล่ารรัตนวรพงษ์ อดีต รองนายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ นาย
วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผบ.รพ.ราชทัณฑ์ นส.
รวมทิพย์ สุภานนท์ นพ.รพ.ราชทัณฑ์ นพ.
วิชัย วงศ์ชนะภัย ผช.เลขาแพทยสภา และนาย
วาโย อัศวรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธาน กมธ.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมประชุมด้วย
“ศักดิ์ณรงค์” จี้รบ.ยกเลิก MOU 44 เร่งเจรจาเขตแดนเกาะกูด
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_797498/
“ศักดิ์ณรงค์” จี้ รัฐบาลยกเลิก MOU 44 โดยเร็ว พร้อมเร่งเจรจาอาณาเขตอธิปไตยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกว่า 26,400 ตร.กม.ก่อนที่ไทยจะเสียดินแดนซ้ำรอยประวัติศาสตร์เขาพระวิหาร
นาย
ศักดิ์ณรงค์ ศิริพร ณ ราชสีมา รองเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย ให้ความเห็นด้วยความห่วงใยหลังได้ฟังนาย
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พูดถึงกรณี MOU 2544 และ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (OCA) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่า
“ขออย่าให้ขยายเรื่องนี้ เป็นเรื่องของการยึดดินแดนหรือเสียดินแดน เพราะนั่นเท่ากับเป็นการคลั่งชาติ ที่มาทำลายผลประโยชน์ที่ประเทศควรจะได้รับ ว่าการที่นาย
ภูมิธรรม ได้ออกมาแสดงความเห็นด้วยถ้อยคำเช่นนี้ ไม่ได้ช่วยให้เกิดผลดีต่อ สังคมไทยที่กำลังให้ความสนใจกับเรื่องของเกาะกูด และแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ เชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาเป็นคนไทย อยู่บนผืนแผ่นดินไทย
โดยพื้นฐานก็ย่อมมีความรักและห่วงใยประเทศชาติด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่าแต่ละคนอาจจะมีช่องทางและโอกาสในการแสดงความเห็นที่แตกต่างกัน จึงเป็นความห่วงใยชาติบ้านเมือง ที่ไม่อยากเห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนเขาพระวิหาร ไม่ใช่เป็นการคลั่งชาติอย่างที่นาย
ภูมิธรรมกล่าว
จึงอยากให้นายกรัฐมนตรี และนาย
ภูมิธรรม กลับไปทบทวนให้ดี ก่อนที่จะเดินหน้าเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์กับกัมพูชาว่าการทำ MOU เมื่อปี 2544 โดยยอมให้นำทรัพยากรในเขตพื้นที่ที่อ้างว่าทับซ้อน ยังไม่ได้มีข้อตกลงให้แล้วเสร็จ มาแบ่งปันกับกัมพูชานั้น เท่ากับว่าไทยได้ยอมรับความมีอยู่จริงของเส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดของไทยโดยไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายสากล
ซึ่งนั่นเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับกัมพูชาโดยแท้ และเห็นว่า ทั้งพื้นที่ที่อ้างว่าทับซ้อน (OCA) และ MOU 2544 เปรียบเสมือนกับดักที่นำไปสู่การเสียดินแดนของไทยในอนาคต พร้อมขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างถึงที่สุด เพื่อไม่ให้มีการเจรจายอมตกลงแบ่งปันทรัพยากรใดๆ กับกัมพูชาในพื้นที่ที่อ้างว่าทับซ้อนจำนวน 26,400 ตารางกิโลเมตรนี้ และจะต้องตั้งทีมเจรจาให้แล้วเสร็จเสียก่อน
หากไทยยอมตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ที่อ้างว่าทับซ้อนตาม MOU นี้ ก่อนการเจรจาแบ่งเขตแดนจะแล้วเสร็จ ก็เท่ากับว่า รัฐบาลกำลังจะนำพาประเทศไปสู่ความหายนะ
เป็นภาระอันใหญ่หลวงให้กับลูกหลานไทยในอนาคต และเป็นการฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการที่ได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทยด้านอ่าวไทยไว้แล้วเมื่อปี พ.ศ.2516 โดยยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา เมื่อปี ค.ศ.1958 (พ.ศ.2501) และไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2511
นอกจากนั้น จะต้องประกาศยกเลิก MOU 2544 นี้โดยเร็วที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว หากปล่อยให้เนิ่นนานไป ไทยก็จะยิ่งเสียเปรียบ เนื่องจากในข้อความตาม MOU 2544 นั้น ได้สื่อความหมายไว้อย่างชัดเจนว่า ไทยยอมรับการประกาศเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515
ทั้งที่เป็นการกระทำที่กัมพูชาได้กำหนดแนวเขตของตนเองตามใจชอบ ไม่ได้ขีดเส้นเขตแดนตามหลักกฎหมายสากล คืออนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1958 (พ.ศ. 2501) และอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (พ.ศ.2525)
ผ่าปัญหาคนจนไทย 2 ปี รายได้เพิ่ม 36 บาท สวนทางรายจ่ายพุ่ง
https://www.thansettakij.com/business/economy/611001
ผ่าปัญหาคนจนไทย และสถานการณ์ความยากจนล่าสุด ในปี 2566 สศช.รายงานด้านรายได้ของครัวเรือนยากจน พบในช่วง 2 ปีที่ทำการสำรวจ รายได้เพิ่มขึ้นแค่ 36 บาท น่าห่วง 1 ใน 4 ครัวเรือนรายจ่ายพุ่ง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้ รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ประจำปี 2566 โดยเมื่อตรวจสอบเรื่องสถานภาพทางเศรษฐกิจและการทำงานของ "
คนจนไทย" ในด้านรายได้และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนยากจน พบว่า แม้รายได้จะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ครัวเรือนไทยที่ยากจนส่วนหนึ่งยังคงประสบปัญหาด้านรายได้ไม่เพียงต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
สศช. รายงานข้อมูลว่า จากข้อมูลในปี 2566 ครัวเรือนยากจนมีรายได้ประจำเฉลี่ยต่อเดือนสูงขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 11,123 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีรายได้ 11,087 บาท หรือเพิ่มขึ้น 36 บาท คิดเป็นสัดส่วนการเพิ่มขึ้นที่ 0.32% สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ
โดยรายได้ที่เป็นตัวเงินมีมูลค่า 8,365 บาท ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจาก 8,293 บาทต่อเดือน ในปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและเงินเดือน (Wages and Salaries) เฉลี่ยต่อครัวเรือนของภาคเกษตรกรรมที่มีคนจนส่วนใหญ่ทำงานอยู่
ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะรายได้ที่เป็นตัวเงิน พบว่า โครงสร้างรายได้ของครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่ไม่ยากจนมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ครัวเรือนยากจนพึ่งพารายได้จากค่าจ้าง/เงินเดือน กำไรจาก การเกษตร และเงินช่วยเหลือจากภาครัฐเป็นหลัก ในขณะที่ครัวเรือนที่ไม่ยากจนมีรายได้หลักจากค่าจ้าง/ เงินเดือน กำไรจากธุรกิจนอกภาคเกษตร และกำไรจากการเกษตร
สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนยากจนมีแนวโน้มเผชิญกับความไม่แน่นอนของรายได้มากกว่า เนื่องจากรายได้ถึง 43.70% มาจากกำไรจากการเกษตร ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกที่คาดเดาได้ยาก และเงินช่วยเหลือจากภาครัฐและเงินโอนจากบุคคลอื่นที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย พบว่า ครัวเรือนยากจนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 8,287 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนที่ 2,379 บาท โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้จ่ายในด้านอาหารและเครื่องดื่ม 54.27% ตามมาด้วย ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย 16.78% และค่าเดินทางและการสื่อสาร 11.40%
สำหรับการที่ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมีสัดส่วนสูงมากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนยากจนมีข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายไปยังด้านอื่น ๆ ทำให้มีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสะสมเงินออมได้น้อย
อีกทั้งบ่งชี้ถึงความเปราะบางของครัวเรือนยากจนต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาอาหาร หากราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของครัวเรือนยากจนอย่างมาก และอาจทำให้สภาพความยากจนรุนแรงขึ้นได้
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างรายได้ประจำกับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ยากจน 12 พบว่า เกือบ 1 ใน 4 ของครัวเรือนยากจนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
โดยในปี 2566 มีครัวเรือนยากจน จำนวน 1.58 แสนครัวเรือน ที่มีรายได้ประจำไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือ คิดเป็น 23.08% ของครัวเรือนยากจนทั้งหมด ซึ่งปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2564 อยู่ที่ 18.77% โดยมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ประมาณ 1,456 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน หรือคิดเป็น 1.22 เท่าของรายได้ประจำ
สรุปปัญหาความยากจนคนไทย ปี 2566
• จำนวน "คนจนไทย" ลดลง จาก 3.79 ล้านคน ในปี 2565 มาอยู่ที่ 2.39 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนคนจน 3.41% ลดลงจากปีที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ 5.43%
• ดัชนีความยากจน หลายมิติมีค่าเท่ากับ 0.032 โดยสัดส่วนคนจนหลายมิติต่อประชากรทั้งหมดอยู่ที่ 8.76% คิดเป็นจำนวนคนจนหลายมิติประมาณ 6.14 ล้านคน และระดับความรุนแรงของความยากจนอยู่ที่ 37.06%
• ประชากรที่ไม่ได้เรียนหนังสือมีสัดส่วนคนจนมากที่สุดอยู่ที่ 9.51%
• คนจน 97.53% ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลจากภาครัฐในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
• ผู้สูงอายุยากจนที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุลดลงเล็กน้อย จาก 96.16% ในปี 2565 เป็น 94.19% ในปี 2566
• สัดส่วนคนพิการยากจนที่ได้รับเบี้ยความพิการลดลงอย่างมาก จาก 81.34% ในปี 2565 เป็น 73.85% ในปี 2566
JJNY : กมธ.มั่นคงได้ฤกษ์ 7 พ.ย. สอบ ‘ทักษิณ’│จี้รบ.ยกเลิก MOU 44 │ผ่าปัญหาคนจนไทย 2 ปี│อิสราเอลยิงสกัดโดรนจากเลบานอน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4879716
กมธ.มั่นคง ได้ฤกษ์ 7 พ.ย. สอบ ‘ทักษิณ’ ปมรักษาตัว ชั้น 14 รพ.ตำรวจ เชิญ ‘เสรีพิศุทธิ์-สุรเชชษฐ์’ ให้ข้อมูล พร้อมแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ-ราชทัณฑ์
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากรัฐสภา ว่า คณะกรรมาธิการ(กมธ.)ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เป็นประธานกมธ. ได้มีมตินัดประชุม วันที่ 7 พฤศจิกายน เวลา 09.30 น.
โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญ คือ พิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางในการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม กรณีกรมราชทัณฑ์ให้ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจกับการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
โดยได้เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูลต่อกมธ. ได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหจารุ ผช.ผบ.ตร. พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ พล.ต.ต.สรวุฒิ เหล่ารรัตนวรพงษ์ อดีต รองนายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ นายวัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข ผบ.รพ.ราชทัณฑ์ นส.รวมทิพย์ สุภานนท์ นพ.รพ.ราชทัณฑ์ นพ.วิชัย วงศ์ชนะภัย ผช.เลขาแพทยสภา และนายวาโย อัศวรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธาน กมธ.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมประชุมด้วย
“ศักดิ์ณรงค์” จี้รบ.ยกเลิก MOU 44 เร่งเจรจาเขตแดนเกาะกูด
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_797498/
“ศักดิ์ณรงค์” จี้ รัฐบาลยกเลิก MOU 44 โดยเร็ว พร้อมเร่งเจรจาอาณาเขตอธิปไตยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกว่า 26,400 ตร.กม.ก่อนที่ไทยจะเสียดินแดนซ้ำรอยประวัติศาสตร์เขาพระวิหาร
นายศักดิ์ณรงค์ ศิริพร ณ ราชสีมา รองเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย ให้ความเห็นด้วยความห่วงใยหลังได้ฟังนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พูดถึงกรณี MOU 2544 และ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (OCA) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่า
“ขออย่าให้ขยายเรื่องนี้ เป็นเรื่องของการยึดดินแดนหรือเสียดินแดน เพราะนั่นเท่ากับเป็นการคลั่งชาติ ที่มาทำลายผลประโยชน์ที่ประเทศควรจะได้รับ ว่าการที่นายภูมิธรรม ได้ออกมาแสดงความเห็นด้วยถ้อยคำเช่นนี้ ไม่ได้ช่วยให้เกิดผลดีต่อ สังคมไทยที่กำลังให้ความสนใจกับเรื่องของเกาะกูด และแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ เชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาเป็นคนไทย อยู่บนผืนแผ่นดินไทย
โดยพื้นฐานก็ย่อมมีความรักและห่วงใยประเทศชาติด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่าแต่ละคนอาจจะมีช่องทางและโอกาสในการแสดงความเห็นที่แตกต่างกัน จึงเป็นความห่วงใยชาติบ้านเมือง ที่ไม่อยากเห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนเขาพระวิหาร ไม่ใช่เป็นการคลั่งชาติอย่างที่นายภูมิธรรมกล่าว
จึงอยากให้นายกรัฐมนตรี และนายภูมิธรรม กลับไปทบทวนให้ดี ก่อนที่จะเดินหน้าเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์กับกัมพูชาว่าการทำ MOU เมื่อปี 2544 โดยยอมให้นำทรัพยากรในเขตพื้นที่ที่อ้างว่าทับซ้อน ยังไม่ได้มีข้อตกลงให้แล้วเสร็จ มาแบ่งปันกับกัมพูชานั้น เท่ากับว่าไทยได้ยอมรับความมีอยู่จริงของเส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดของไทยโดยไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายสากล
ซึ่งนั่นเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับกัมพูชาโดยแท้ และเห็นว่า ทั้งพื้นที่ที่อ้างว่าทับซ้อน (OCA) และ MOU 2544 เปรียบเสมือนกับดักที่นำไปสู่การเสียดินแดนของไทยในอนาคต พร้อมขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างถึงที่สุด เพื่อไม่ให้มีการเจรจายอมตกลงแบ่งปันทรัพยากรใดๆ กับกัมพูชาในพื้นที่ที่อ้างว่าทับซ้อนจำนวน 26,400 ตารางกิโลเมตรนี้ และจะต้องตั้งทีมเจรจาให้แล้วเสร็จเสียก่อน
หากไทยยอมตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ที่อ้างว่าทับซ้อนตาม MOU นี้ ก่อนการเจรจาแบ่งเขตแดนจะแล้วเสร็จ ก็เท่ากับว่า รัฐบาลกำลังจะนำพาประเทศไปสู่ความหายนะ
เป็นภาระอันใหญ่หลวงให้กับลูกหลานไทยในอนาคต และเป็นการฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการที่ได้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทยด้านอ่าวไทยไว้แล้วเมื่อปี พ.ศ.2516 โดยยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา เมื่อปี ค.ศ.1958 (พ.ศ.2501) และไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2511
นอกจากนั้น จะต้องประกาศยกเลิก MOU 2544 นี้โดยเร็วที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว หากปล่อยให้เนิ่นนานไป ไทยก็จะยิ่งเสียเปรียบ เนื่องจากในข้อความตาม MOU 2544 นั้น ได้สื่อความหมายไว้อย่างชัดเจนว่า ไทยยอมรับการประกาศเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515
ทั้งที่เป็นการกระทำที่กัมพูชาได้กำหนดแนวเขตของตนเองตามใจชอบ ไม่ได้ขีดเส้นเขตแดนตามหลักกฎหมายสากล คืออนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1958 (พ.ศ. 2501) และอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (พ.ศ.2525)
ผ่าปัญหาคนจนไทย 2 ปี รายได้เพิ่ม 36 บาท สวนทางรายจ่ายพุ่ง
https://www.thansettakij.com/business/economy/611001
ผ่าปัญหาคนจนไทย และสถานการณ์ความยากจนล่าสุด ในปี 2566 สศช.รายงานด้านรายได้ของครัวเรือนยากจน พบในช่วง 2 ปีที่ทำการสำรวจ รายได้เพิ่มขึ้นแค่ 36 บาท น่าห่วง 1 ใน 4 ครัวเรือนรายจ่ายพุ่ง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้ รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ประจำปี 2566 โดยเมื่อตรวจสอบเรื่องสถานภาพทางเศรษฐกิจและการทำงานของ "คนจนไทย" ในด้านรายได้และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนยากจน พบว่า แม้รายได้จะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ครัวเรือนไทยที่ยากจนส่วนหนึ่งยังคงประสบปัญหาด้านรายได้ไม่เพียงต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
สศช. รายงานข้อมูลว่า จากข้อมูลในปี 2566 ครัวเรือนยากจนมีรายได้ประจำเฉลี่ยต่อเดือนสูงขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 11,123 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีรายได้ 11,087 บาท หรือเพิ่มขึ้น 36 บาท คิดเป็นสัดส่วนการเพิ่มขึ้นที่ 0.32% สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ
โดยรายได้ที่เป็นตัวเงินมีมูลค่า 8,365 บาท ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจาก 8,293 บาทต่อเดือน ในปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและเงินเดือน (Wages and Salaries) เฉลี่ยต่อครัวเรือนของภาคเกษตรกรรมที่มีคนจนส่วนใหญ่ทำงานอยู่
ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะรายได้ที่เป็นตัวเงิน พบว่า โครงสร้างรายได้ของครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่ไม่ยากจนมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ครัวเรือนยากจนพึ่งพารายได้จากค่าจ้าง/เงินเดือน กำไรจาก การเกษตร และเงินช่วยเหลือจากภาครัฐเป็นหลัก ในขณะที่ครัวเรือนที่ไม่ยากจนมีรายได้หลักจากค่าจ้าง/ เงินเดือน กำไรจากธุรกิจนอกภาคเกษตร และกำไรจากการเกษตร
สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนยากจนมีแนวโน้มเผชิญกับความไม่แน่นอนของรายได้มากกว่า เนื่องจากรายได้ถึง 43.70% มาจากกำไรจากการเกษตร ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกที่คาดเดาได้ยาก และเงินช่วยเหลือจากภาครัฐและเงินโอนจากบุคคลอื่นที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย พบว่า ครัวเรือนยากจนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 8,287 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนที่ 2,379 บาท โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้จ่ายในด้านอาหารและเครื่องดื่ม 54.27% ตามมาด้วย ค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย 16.78% และค่าเดินทางและการสื่อสาร 11.40%
สำหรับการที่ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมีสัดส่วนสูงมากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนยากจนมีข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายไปยังด้านอื่น ๆ ทำให้มีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสะสมเงินออมได้น้อย
อีกทั้งบ่งชี้ถึงความเปราะบางของครัวเรือนยากจนต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาอาหาร หากราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของครัวเรือนยากจนอย่างมาก และอาจทำให้สภาพความยากจนรุนแรงขึ้นได้
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างรายได้ประจำกับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ยากจน 12 พบว่า เกือบ 1 ใน 4 ของครัวเรือนยากจนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
โดยในปี 2566 มีครัวเรือนยากจน จำนวน 1.58 แสนครัวเรือน ที่มีรายได้ประจำไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือ คิดเป็น 23.08% ของครัวเรือนยากจนทั้งหมด ซึ่งปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2564 อยู่ที่ 18.77% โดยมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ประมาณ 1,456 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน หรือคิดเป็น 1.22 เท่าของรายได้ประจำ
สรุปปัญหาความยากจนคนไทย ปี 2566
• จำนวน "คนจนไทย" ลดลง จาก 3.79 ล้านคน ในปี 2565 มาอยู่ที่ 2.39 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนคนจน 3.41% ลดลงจากปีที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ 5.43%
• ดัชนีความยากจน หลายมิติมีค่าเท่ากับ 0.032 โดยสัดส่วนคนจนหลายมิติต่อประชากรทั้งหมดอยู่ที่ 8.76% คิดเป็นจำนวนคนจนหลายมิติประมาณ 6.14 ล้านคน และระดับความรุนแรงของความยากจนอยู่ที่ 37.06%
• ประชากรที่ไม่ได้เรียนหนังสือมีสัดส่วนคนจนมากที่สุดอยู่ที่ 9.51%
• คนจน 97.53% ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลจากภาครัฐในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
• ผู้สูงอายุยากจนที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุลดลงเล็กน้อย จาก 96.16% ในปี 2565 เป็น 94.19% ในปี 2566
• สัดส่วนคนพิการยากจนที่ได้รับเบี้ยความพิการลดลงอย่างมาก จาก 81.34% ในปี 2565 เป็น 73.85% ในปี 2566