ด็อก​เตอร์​เจษจาก​ มหาวิทยาลัย​จุฬาลงกรณ์​กล้าเถียง​ ​สนทิ​ลิ้มทอง​กุล​

"สรุปที่มาที่ไป เรื่อง MOU44 : ไทยไม่ได้เสีย เกาะกูด แต่อย่างไร"

ช่วงนี้ คุณสนธิ ออกมาเป็นแกนนำประท้วงจะให้ยกเลิก "บันทึกความเข้าใจพื้นที่ทับซ้อนของไหล่ทวีป" หรือ MOU44 หลังจากที่พรรคพลังประชารัฐ  เคลื่อนไหวเปิดประเด็น ว่าไทยจะเสียดินแดนเกาะกูด จ.ตราด และเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก MOU 44 ที่ไทยลงนามร่วมกับกัมพูชาไว้เมื่อปี พ.ศ. 2544 
และต่อมา นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ได้ออกแถลงยืนยันว่า เกาะกูดยังเป็นของไทย และ MOU นี้ ไม่ได้มีผลทำให้ไทยเสีย
ดินแดน เสียเกาะกูด

สรุปย่อ : ไทยและกัมพูชา เจรจาเรื่อง "ไหล่ทวีปทับซ้อน" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513  / ต่อมาปี พ.ศ. 2515 และ 2516 ไทยและ

กัมพูชา ลากเส้นแนวเขตไหล่ทวีป

 ออกจากหลักเขตที่ 73 เป็นคนละเส้น จึงเกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนกัน / แต่ "เกาะกูด" ซึ่งอยู่ด้านบนของพื้นที่ทับซ้อน เป็นของไทย ! ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 (ดูรูปประกอบ) 

"ที่มาที่ไปเรื่อง MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา"

1. บันทึกความเข้าใจ ( MOU) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทย

 และกัมพูชาอ้างสิทธิ ในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ลงนามร่วมโดย สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ

 และ ซก อัน อดีตรัฐมนตรีอาวุโส และอดีตประธานการปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544
 
2. ไทยและกัมพูชา มีข้อพิพาทนี้อยู่ก่อนแล้ว เป็นเวลาถึง 30 ปี ก่อนที่จะมี MOU ดังกล่าว โดยได้เปิดการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ เมื่อ 2-5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 แต่ยังไม่ได้มีอะไรมาก

ฝ3. จนในปี พ.ศ. 2515 และ 2516 ประเทศไทยและกัมพูชา ลากเส้นแนวเขตไหล่ทวีปออกจากหลักเขตที่ 73 เป็นคนละเส้น จึงเกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันขนาด 26,000 ตารางกิโลเมตร

4. หลังสถานการณ์สงครามในประเทศกัมพูชาสงบลง ในปี พ.ศ. 2534 จึงได้เปิดการเจรจาเรื่องข้อพิพาททางทะเลกับไทยอีกครั้ง

 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2535 
- ฝ่ายไทยแสดงจุดยืน ว่า การกำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา โดยอ้างอิงสัญญาการแบ่งเขตในภาคผนวกของสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ไม่น่าจะถูกต้อง เนื่องจากสนธิสัญญากำหนดว่าเกาะกูดเป็นของไทย
 
- ฝ่ายกัมพูชา เห็นว่าเรื่องเขตแดนทางทะเลนั้น เป็นประเด็นที่เจรจากันไม่ได้  และเสนอให้กำหนดไหล่ทวีปที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อน

เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint Development Area: JDA) แบบเดียวกับที่ไทยเคยดำเนินการกับมาเลเซีย 

4. มีการประชุมครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2538 แต่ทั้งสองฝ่ายกลับมาพบกันด้วยจุดยืนเดิม มีความเห็นแตกต่างกันมาก จึงได้ตกลงตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค เพื่อหารือในรายละเอียดและความเป็นไปได้ 

- มีการประชุมกันในเดือนกรกฎาคม 2538 แต่ไม่สามารถหาทางออกที่ยอมรับกันได้ 

- หลังจากนั้นก็มีการเจรจากันเรื่อยมา จากยุค ชวน หลีกภัย (หนึ่ง) พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และ ชวน (สอง) ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้

5. เข้าสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ในปี  พ.ศ. 2544 มีการจัดการประชุมเรื่องนี้ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ในเดือนเมษายนที่เมืองเสียมเรียบ จนสามารถบรรลุผล จัดแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน โดยอาศัยเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ เป็นเกณฑ์

- พื้นที่ด้านบน (เหนือเส้น 11 องศา) ให้เจรจาเพื่อแบ่งกันให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด และทะเลอาณาเขต

- พื้นที่ด้านล่าง ให้จัดทำระบอบพัฒนาร่วม เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย จากการขุดเจาะและผลิตก๊าซและน้ำมัน เหมือนอย่างที่ไทยและมาเลเซียเคยทำ 

- จัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ลงนามโดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และให้เจรจาเรื่องเขตแดน และการจัดทำระบอบพัฒนาร่วมนี้ ไปพร้อมกัน

- จัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย - กัมพูชา เพื่อทำการเจรจา และกำกับเอาไว้ว่า การดำเนินการใดๆ “จะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเล ของแต่ละภาคี ผู้ทำสัญญา” 

6. เคยมีการเรียกร้องให้ยกเลิก MOU 44 ในสมัยรัฐบาล อภิสิทธิ เวชชาชีวะ เพื่อตอบโต้ที่ ฮุน เซน แต่งตั้ง ทักษิณ เป็นที่ปรึกษา โดยคณะรัฐมนตรีสมัยนั้น มีมติเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 บอกเลิก MOU 44 ดังกล่าว

- แต่ MOU นี้ ไม่ได้ระบุวิธีการบอกเลิกหรือเพิกถอนเอาไว้ คณะรัฐมนตรีจึงต้องนำมตินี้ ไปขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน แล้วค่อยแจ้งไปทางกัมพูชา

 แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้ดำเนินการ

6. ต่อมาสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นว่า MOU ฉบับนี้ ยังมีประโยชน์มากกว่า จึงได้แสดงเจตนาที่จะยึดถือ และใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจากับกัมพูชาต่อไป ดังนั้น MOU 44 จึงอยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงปัจจุบัน  

(สรุปเนื้อหาจากบทความ "ถ้าไทยยกเลิก MOU 44 จะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ทับซ้อนไทย - กัมพูชา" ของคุณสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี บนเพจ Thairath Plus)
ภาพและข้อมูล จาก https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/104916?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR28FZM8BsvFyJzwCR52svd_Qn1yZYTG7abAsFYxebZ_nPlYv2esJl8grWM_aem_Wj7xGK3hSmzGIsbLE3htMQ
ก็อปข้อความ​จากเฟซ​บุ๊ก​ อาจารย์​เจษฎา​

https://www.facebook.com/share/p/XqMR4sqBro721roq/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่