พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย - กัมพูชา แนวไหล่ทวีปมันอยู่ตรงไหนครับ

ผมสงสัยมากว่า ทำไมกัมพูชาถึงลากเส้น200ไมล์ทะเลผ่านเกาะกูดที่เป็นของไทยได้ แล้วตามกม.สากลมันลากออกไปได้200ไมล์ทะเลนับจากไหล่ทวีป  

แล้วไหล่ทวีปมันอยู่ตรงไหนครับ  กัมพูชาลากตัดเกาะของไทยแบบนั้นได้ยังไง    ถึงที่สุดแล้วถ้าเจรจาหาข้อยุติไม่ได้ จะมีการใช้กำลังสู้รบกันไหมครับ ถ้าเกิดถึงขั้นนั้นจริง จะมีผลอะไรกับไทยในการเมืองระดับนาาชาติบ้างครับ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ที่มาที่ไปคือเขมรนั้นเหมือนมีกรรมครับ   ชายฝั่งทะเลของเขมรนี่ถูกปิดไว้ทั้งซ้ายขวา   ซ้ายคือเกาะกูดและขวาคือเกาะฟูกว๊อก   ซึ่งถ้าว่ากันตามหลักกฎหมายทะเลแล้วเกาะก็มีอาณาเขตทะเลของตน   การที่มีเกาะมาบังไว้แบบนี้จะทำให้เขมรเสียอาณาเขตทางทะเลไปเพียบเพราะถูกเกาะบังเอาไว้   เขมรจึงเล่นลูกมั่วเอาสนธิสัญญาพรมแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศสมา   ซึ่งสนธิสัญญานั้นกล่าวไว้ว่า “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลที่ตรงข้ามยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแล”   ซึ่งความจริงมันเป็นสนธิสัญญาอาณาเขตทางบก   แต่เขมรตีลูกมั่วเอามารวมว่าใช้บังคับถึงอาณาเขตทางทะเลด้วย   แล้วก็ขีดเส้นอาณาเขตทางทะเลตามเส้นตรงจากเกาะกูดมาแผ่นดินและตัดเลาะที่ฝั่งตะวันออกของเกาะกูดไปว่าเป็นของเขมร   จากนั้นก็ประกาศอาณาเขตทะเลของตนออกมาในปี 1972   ส่วนไทยเราไม่เห็นด้วยจึงลากเส้นอาณาเขตทะเลตามหลักกฎหมายทะเล   และประกาศพื้นที่ทะเลของไทยในปี 1973

ซึ่งความเป็นจริงแล้วจะกำหนดแบบนั้นไม่ได้   เพราะตามหลักกฎหมายทะเลแล้วถึงเป็นเกาะก็มีอาณาเขตทะเลของตน   ดังนั้นมีเกาะกูดอยู่ก็ต้องให้สิทธิ์ในพื้นที่ทะเลของเกาะกูดก่อน   เขมรจะมาลากเลาะตามเกาะกูดไปไม่ได้   พื้นที่ตอนใต้ของเกาะกูดไปจนถึงละติจูดที่ 11 ต้องเป็นของไทยอย่างถูกต้อง   ส่วนใต้เส้นละติจูดที่ 11 นั้นก็ต้องเจรจาเขตแดนกันต่อไป   เรื่องนี้เขมรไม่มีทางสู้ได้เลยเพราะอาณาเขตทะเลว่ากันด้วยกฎหมายเท่านั้น   ไปขึ้นศาลทะเลเขมรก็แพ้ลูกเดียว



สรุปว่า   ถ้าการเจรจาครั้งนี้พื้นที่ตั้งแต่ละติจูด 11 องศามาจนถึงเกาะกูดกลายเป็นพื้นที่ที่ไทยต้องแบ่งปันทรัพยากรกับเขมร   แบบนี้คือขายชาติ


ความคิดเห็นที่ 5
เรื่องนี้มันซับซ้อน ต้องใช้เวลาศึกษาค่อนข้างมากในการทำความเข้าใจ ไม่อาจจะสื่อได้ง่ายๆ เพียงแค่ภาพอินโฟกราฟฟิกเพียงภาพเดียว แล้วตีความไปต่างๆ นาๆ

ส่วนเรื่องจะมีการใช้กำลังสู้รบกันทางทะเลหรือไม่ ถ้าจะมีก็มีนานแล้ว
ตอนนี้พื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่ ทั้งสองรัฐชายฝั่งก็ยังไม่มีการเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในทะเลใดๆ
และถ้าจะมี ก็คงจะเกิดจากการปลุกกระแสชาตินิยมแบบผิดๆ ในทั้งสองประเทศนี้แหละ

ตอนนี้ผมจะแปะลิงค์ไว้ให้ไปดาวน์โหลดเอกสารมาอ่านดูทีละเรื่อง เริ่มตั้งแต่

กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทะเล
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (United Nations Convention on the Law of the Sea 1982)

https://www.judge.navy.mi.th/upload/pdf/internationai%20law/UNCLOS%20%201982.pdf

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

อนุสัญญาฯ ได้มีการรับรอง ณ การประชุมสหประชาชาติด้านกฎหมายทะเล ครั้งที่ 3 (Third United Nations Conference on the Law of the Sea) และเปิดให้รัฐต่าง ๆ เข้าเป็นภาคี อนุสัญญาฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ สิทธิหน้าที่ของรัฐในเขตทางทะเลต่าง ๆ สิทธิการเดินเรือ การแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล กลไกการระงับข้อพิพาท โดยไทยได้ลงนามในอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2525 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ

การกำหนดเขตทางทะเลต่าง ๆ สถานะทางกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของรัฐชายฝั่งและรัฐอื่น ๆ ในแต่ละเขตทางทะเล ได้แก่

1. น่านน้ำภายใน (internal waters) หมายถึง น่านน้ำที่อยู่ถัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตเข้ามาทางผืนแผ่นดินของรัฐชายฝั่ง ซึ่งรัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตยใน (หรือเหนือ) น่านน้ำภายใน

2.ทะเลอาณาเขต (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต

3.เขตต่อเนื่อง (contiguous zone) โดยได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้างไม่เกิน 24 ไมล์ทะเล วัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต โดยในเขตต่อเนื่อง รัฐชายฝั่งมีอำนาจในการกำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อป้องกันหรือลงโทษการละเมิดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร การคลัง การเข้าเมือง และการสาธารณสุข

4.เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone - EEZ) ได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้างไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต
ในเขต EEZ รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตย (sovereign rights) ซึ่งเป็นสิทธิที่จำกัดกว่าอำนาจอธิปไตย แต่ครอบคลุมเรื่องการสำรวจ การแสวงประโยชน์ การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเหนือพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของพื้นดินท้องทะเล และในห้วงน้ำเหนือขึ้นไป รวมถึงการสร้างเกาะเทียม สิ่งก่อสร้าง และสิ่งติดตั้งในทะเล เป็นต้น

5.ไหล่ทวีป (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต และในบางกรณี ไหล่ทวีปสามารถขยายได้จนถึง 350 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน
ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป

6.ทะเลหลวง (high seas) หมายถึง ทะเลที่ไม่ใช่น่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐใด ทั้งนี้ ในทะเลหลวง รัฐทั้งปวงมีเสรีภาพในการเดินเรือ การบินผ่าน การวางสายเคเบิล และท่อใต้ทะเล รวมทั้งเสรีภาพในการทำประมง เสรีภาพในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

อ่าวไทยมีขนาดไม่ใหญ่มาก ดังนั้น เขตเศรษฐกิจจำเพาะ และ ไหล่ทวีป จึงเป็นเขตเดียวกัน จะเรียกแบบไหนก็ได้

คำพิพากษาคดีการแบ่งเขตทางทะเลในมหาสมุทรอินเดียระหว่างโซมาเลียกับเคนยา  (Maritime Delimitation in the Indian Ocean (Somalia v. Kenya)

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เส้นฐานตรงของประเทศไทย

https://www.state.gov/wp-content/uploads/2020/01/LIS-122.pdf







เอกสารฉบับนี้ ใช้ google ค้นหาเจอในเว็บไซท์ของสหประชาชาติ เป็นงานวิจัยวิเคราะห์ปัญหากรณีนี้ระหว่างไทย-กัมพูชา และศึกษาแนวทางแก้ปัญหา

DO SOLUTIONS TO INTERNATIONAL SECURITY ISSUES
OF
POORLY DEFINED MARITIME BOUNDARIES
REQUIRE
LEGAL, POLITICAL, AND TECHNICAL TOOLS


https://www.un.org/oceancapacity/sites/www.un.org.oceancapacity/files/sam_31dec_correction_pic24.pdf

Cambodian Claims in the Gulf of Thailand:
More Trouble Brewing


https://www.cia.gov/readingroom/docs/CIA-RDP86T00608R000600140009-3.pdf

อาณาเขตทางทะเลของไทย

https://www.hydro.navy.mi.th/webkm62/pdf/km_hydro_62_r.pdf







แนวเส้นไหล่ทวีปของ ไทย กัมพูชา เวียดนาม



อย่างที่เห็นตามรูปข้างบน กัมพูชามีลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลที่เสียเปรียบอย่างมาก มีเกาะฟูกว๊อกของเวียดนามบังเต็มๆ
เลยจำเป็นต้องประกาศเส้นไหล่ทวีปในรูปแบบนี้ คือประกาศไปก่อน แล้วค่อยมาเจรจาแบ่งเขตกันทีหลัง

ซึ่งก่อนที่จะประกาศแบบนี้ ปี คศ 1972 มีการร่างเขตไหล่ทวีปถึง 4 ครั้ง และประกาศเส้นฐานตรง 2 ครั้ง ปี คศ 1957 และ ขยายเส้นฐานตรงออกจากชายฝั่งมามากกว่าเดิม ปี คศ 1972

















สังเกตได้ว่า เส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศออกมา ครอบเกาะฟูกว๊อกของเวียดนามทั้งเกาะ ยิ่งกว่าที่ลากทับเกาะกูดของไทยเสียอีก
แต่สุดท้ายก็เจรจากันได้ ระหว่าง กัมพูชา-เวียดนาม ปี คศ 1991 และ ไทย-เวียดนาม ปี คศ 1997





แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่