พริษฐ์ หวัง รบ.เดินหน้า รธน.ฉบับใหม่ คู่ขนานแก้รายมาตรา ทันบังคับใช้เลือกตั้ง’70
https://www.matichon.co.th/politics/news_4780883
‘พริษฐ์’ หวัง รบ.เดินหน้าจัดทำ รธน.ฉบับใหม่ คู่ขนานแก้รายมาตรา ให้ทันบังคับใช้ ‘เลือกตั้ง 70’ มอง ‘แพทองธาร’ ควรมีความชัดเจน ตั้งคำถามประชามติตามเดิมหรือไม่-วางโรดแมปไว้อย่างไร-ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่
เมื่อเวลา 11.35 น. วันที่ 9 กันยายน ที่รัฐสภา นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในคำแถลงนโยบายของรัฐบาล น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสังเกต หรือข้อติดใจอะไรหรือไม่ว่า เรื่องนโยบายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากดูจากเอกสารคำแถลงเปรียบเทียบกับรัฐบาล นาย
เศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรีรอบที่แล้ว อาจมีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยรวมมีข้อความที่พูดถึงประเด็นในลักษณะที่กว้าง
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ดังนั้น เพื่อความชัดเจนเราจะมีข้อซักถามเพิ่มเติมในที่ประชุมรัฐสภาในวันแถลงนโยบาย หากจะลงในรายละเอียดมากกว่านั้น ขอยืนยันในฐานะพรรคประชาชนว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ต้องทำ 2 ทางคู่ขนานกันไป คือ 1.การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด ซึ่งต้องยอมรับว่าโรดแมปของรัฐบาลที่วางไว้ว่าจะต้องมีการทำประชามติ 3 ครั้งนั้น แต่การจัดทำรอบแรกยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้วอาจมีความสุ่มเสี่ยงที่จะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้พร้อมกับกฎหมายลูกทันการเลือกตั้งปี 70
นาย
พริษฐ์กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตั้งคำถามคือ ประเด็นแรก มีการวางโรดแมปไว้อย่างไร ประเด็นที่สอง หากจะเดินหน้าทำประชามติรอบแรกอย่างไร โดยการถามประชาชนว่า “ควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่” และจะยังยืนยันคำถามตามที่คณะกรรมการที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเสนอมาหรือไม่ ซึ่งเรามองเห็นว่าเป็นการทำสร้างคำถาม 2 คำถามในคำถามเดึยวกัน อาจสร้างความสับสนในการลงคะแนนได้ เพราะก่อนหน้านี้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลของนายเศรษฐามีการทบทวนคำถามดังกล่าวแล้ว และต้องรอดูว่าท่าทีของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร จะยืนยันตามคำถามเดิมหรือจะมีการปรับข้อความที่เปิดกว้างและชัดเจนมากขึ้น
นาย
พริษฐ์กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่สาม ต้องดูว่ารัฐบาลจะเสนอ หรือสนับสนุนให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่ เนื่องจากประเด็นนี้ไม่มีการระบุในเอกสารแถลงนโยบาย แต่หากอ้างอิงกันที่ผ่านมาจะเห็นว่าพรรคเพื่อไทยเคยมีการเสนอในลักษณะนี้ แต่ไม่เคยได้คำยืนยันในนามคณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาลเลย
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า การแก้ไขรายมาตรา เราไม่ได้บอกว่าต้องแก้ไขแทนที่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เห็นว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องใช้เวลา 1-2 ปีขึ้นไป จึงมองว่าหากมีมาตรา หรือประเด็นไหนในรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข ก็ควรมีการเสนอแก้ไขรายมาตรา
“
พรรคประชาชนได้มีการเสนอไปแล้ว 3 ร่าง ล้วนมีวัตถุประสงค์ลบล้างผลพวงรัฐประหาร ทั้งการยกเลิกมาตรา 279 ป้องกันการเกิดรัฐประหาร และยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยจะมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คาดว่าจะเป็นวันที่ 25 ก.ย.นี้ และจากที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายได้มีการหารือกันว่าหากฝ่ายไหนต้องการจะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราในประเด็นอื่นๆ ก็สามารถยื่นเข้ามาได้” นาย
พริษฐ์กล่าว
ส่วนกังวลหรือไม่ที่จะเกิดการประวิงเวลาจนไม่สามารถตั้ง ส.ส.ร.เพื่อนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ นาย
พริษฐ์กล่าวว่า หากมองในมุมกว้าง ตนไม่ได้ติดขัดใดๆ แต่ที่พรรคประชาชนยืนยันมาโดยตลอดคือปีศาจอยู่ในรายละเอียด คำถามคือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนใครจะเป็นคนร่าง และมาจาก ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่ แล้วท้ายที่สุดรัฐบาลวางโรดแมปไว้อย่างไร ให้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ทันการเลือกตั้งปี 2570 รวมถึงมีการสนับสนุนการแก้ไขรายมาตราที่มีปัญหาเร่งด่วนด้วยหรือไม่
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า คำตอบสุดท้ายที่พรรคประชาชนอยากได้จากรัฐบาลคือ อยากได้โรดแมปที่ชัดเจนว่าจากวันนี้จนถึงวันที่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีการกำหนดระยะเวลาไว้อย่างไร เพราะเป็นสิ่งที่รัฐบาลนายเศรษฐาเคยสัญญาไว้ จะมีการทบทวนคำถามประชามติรอบแรกหรือไม่ และจะให้มี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่ รวมถึงการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา คงต้องลงรายละเอียดในแต่ละประเด็น แต่วันที่ 25 ก.ย.จะได้เห็น ยืนยันท่าทีของสมาชิก ทั้ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและ ส.ว.ชุดใหม่ ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นาย
พริษฐ์กล่าวถึงเรื่องการทบทวนนำอำนาจหน้าที่และของศาลรัฐธรรมมนูญและองค์กรอิสระที่มีการขยายขอบเขตให้กว้างมากขึ้นว่า หากเทียบกับรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ แน่นอนว่าอำนาจที่ถูกขยายมาและมีหลายส่วน เช่น การยุบพรรคที่อยู่ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง และอำนาจจริยธรรมที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ในรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันจากทุกฝ่าย แต่ฝ่ายไหนจะเสนอร่างแก้ไขกฎหมายอย่างไร และจะทันกรอบวันที่ 25 ก.ย.หรือไม่ คงต้องรอดูกันอีกที
ส่วนพรรคประชาชนจะมีการเสนอร่างอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่นั้น นายพริษฐ์กล่าวว่า คงต้องมีการหารือกันภายในพรรคก่อน แต่หากจะมีการเสนอให้ทันในวันที่ 25 ก.ย.นี้ คงต้องมีการดำเนินการในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุลงระเบียบวาระทัน เราเชื่อมั่นว่า เราอยากเห็นการพูดคุยเรื่องการแก้ไขรายมาตราคู่ขนานกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มากขึ้น หากใครมีประเด็นที่อยากจะแก้ ซึ่งอาจไม่ทันวันที่ 25 ก.ย.นี้ ก็หวังว่าคงจะมีวาระการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมในวันอื่น
‘นันทนา’ ตั้ง 5 ข้อสังเกตจัดงบ’68 ดึงสติอย่าเทงบให้ดิจิทัลวอลเล็ต-ซอฟต์พาวเวอร์มากไป
https://www.matichon.co.th/politics/news_4780882
‘นันทนา’ ตั้ง 5 ข้อสังเกตจัดงบ’68 ดึงสติอย่าเทงบให้ดิจิทัลวอลเล็ต-ซอฟต์พาวเวอร์มากไป ชี้ประเทศไม่เดินหน้าเหตุการเมืองวุ่น
เมื่อเวลา 11.35 น. วันที่ 9 กันยายน ที่รัฐสภา ในการอภิปรายงบ 68 ของ ส.ว. นาง
นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. อภิปรายว่า ขอตั้งข้อสังเกตกับการจัดงบประมาณปี 2568 ใน 5 ประเด็น โดยประเด็นแรกเราต้องรู้ว่าตอนนี้เราอยู่ภาวะไม่ปกติ เป็นภาวะเศรษฐกิจของไทยขยายตัวต่ำมาก ซึ่งในภาวะไม่ปกติเช่นนี้เราจะมาจัดงบราวกับว่าเป็นภาวะปกติไม่ได้ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วรัฐบาลพรรคเพื่อไทยควรทำงบประมาณอย่างมียุทธศาสตร์ ไม่ใช่ให้ข้าราชการประจำทำ แล้วไปทุ่มงบไปกับดิจิทัลวอลเล็ต และซอฟต์พาวเวอร์หมดหน้าตัก ประเด็นที่สอง เราเห็นแล้วว่างบค่าใช้จ่ายประจำ หรืองบที่เป็นบุคลากรภาครัฐ เป็นภาระยิ่งใหญ่ของการคลังในปี 68 แค่งบด้านบุคลากรรัฐก็สูงถึง 68.2% เหลืองบไปทำอย่างอื่น 31.8% แล้วงบประมาณแบบนี้จะเหลือไปฟื้นฟูประเทศได้อย่างไร ประเด็นที่สาม ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศเราจะหันมาดูเรื่องโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ มีการตั้งหน่วยภาครัฐที่ทับซ้อนกัน ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่รัฐบาลจะปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ ประเด็นที่สี่ ตนอยากเห็นกระบวนการทำงบประมาณที่ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ไม่ใช่ให้หน่วยราชการคิดทำกันไปเอง ฝากให้รัฐบาลในช่วงทำงบประมาณ 3 เดือนแรกให้ปรึกษาหารือกับประชาชน และประเด็นที่ห้า ในสิบปีนี้ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย ได้รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศมากในเกณฑ์ที่สูงกว่าไทย 4-5 เท่า ทำให้สองประเทศนั้นเดินล้ำหน้าไปกว่าเรา ทั้งที่ไทยเราไม่ได้มีอะไรที่ด้อยไปกว่าสองประเทศนั้น แต่สิ่งที่สองประเทศนั้นไม่มีแล้วเรามีคือ ปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง และปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทย
โดยใน 10 ปีที่ผ่านเราวุ่นวายกับการเมืองจนกลายเป็นความเคยชินแบบนิวนอร์มอล ซึ่งจริงแล้วไม่ใช่เลย และมีการตั้งข้อสงสัยว่าความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนั้นมาจากระบบศาล โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเข้าไปในศาลเราก็มีการใช้นิติสงครามกันอย่างเมามัน ทุกๆ เดือนประเทศเราจะมีข่าวออกจากศาลให้ได้อกสั่นขวัญแขวน จนเกิดอาชีพใหม่ที่เรียกว่า นักร้อง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งก็ถูกร้อง 9 คดีแล้ว สิ่งเหล่านี้สร้างความมึนงงให้กับวงการกฎหมายทั่วโลก ดังนั้นการให้งบประมาณเหล่านี้นั้นสำหรับองค์กรอิสระที่ทำให้คนสงสัยว่าเรายังมีระบบยุติธรรมหลงเหลืออยู่หรือไม่ ดังนั้นขอตั้งโจทย์ว่าเราจะตั้งงบประมาณที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้อย่างไร
นาย
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า ยอมรับว่าในข้อห่วงใยการจัดเก็บรายได้ในปี 2567 ที่อาจจะจัดเก็บที่พลาดเป้า จากรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน ที่ให้ความช่วยเหลือด้านรายได้พลังงาน จนทำให้กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้พลาดเป้าไป แต่การจัดเก็บรายได้ที่เหลืออีก 1 เดือนนี้เชื่อว่าต่อไปจะไม่พลาดเป้า ส่วนเรื่องรายจ่ายประจำที่มีการถีบตัวสูงขึ้น ซึ่งเรารัฐบาลเองมีแผนที่จะลดกำลังพลมีแผนเรื่องของใช้เทคโนโลยี และเรื่องที่เราเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต ที่เป็นแอพพลิเคชั่น ทางรัฐ เป็นการยืนยันว่าในวันข้างหน้าเราจะให้บริการประชาชนผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น และลดกำลังพลลงได้
ชัชชาติ เล็งทำแนวกั้นน้ำแบบ แม่น้ำเทมส์ ลอนดอน หากระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเรื่อยๆ
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9404399
ชัชชาติ เล็งทำแนวกั้นน้ำแบบ แม่น้ำเทมส์ ลอนดอน หากระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ชี้โมเดลนี้รัฐบาลต้องร่วมมือด้วย มั่นใจปีนี้รับมือน้ำเหนือได้
ที่ศาลาว่าการกทม. นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. กล่าวถึงสถานการณ์น้ำเหนือว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงานถึงปริมาณน้ำเหนือส่งผลกระทบกับกรุงเทพฯ แต่ได้วางแนวกระสอบทรายในจุดเสี่ยงน้ำท่วมและจุดฟันหลอริมแนวคันกั้นน้ำแล้ว
โดยหากประชาชนต้องการให้ กทม. เพิ่มแนวกระสอบทรายที่จุดใด สามารถมาแจ้งที่สำนักงานเขตพื้นที่ได้ ซึ่ง กทม. เตรียมพร้อมกระสอบทรายไว้กว่า 2,000,000 ใบ และมั่นใจว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำเหนือได้
สิ่งที่ควรกังวลในช่วงนี้และเดือนหน้าคือ สถานการณ์น้ำฝนที่อาจมีฝนตกหนักในกรุงเทพฯ ซึ่ง กทม.พร้อมรับมือด้วยการพร่องน้ำในคลองต่าง ๆ และเตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ เครื่องปั๊มน้ำ ให้ใช้การได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงอาจมีประชาชนบางส่วนได้รับผลกระทบจากการพร่องน้ำในคลองต่าง ๆ เพราะน้ำอาจมีกลิ่นบ้าง เนื่องจากการพร่องน้ำจะให้น้ำมีระดับต่ำจนถึงชั้นดินเลน
ส่วนข้อกังวลว่ากรุงเทพฯเป็นพื้นที่ต่ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้นั้น ต้องยืนยันว่ากรุงเทพฯเป็นพื้นที่ต่ำจริง โดยดูได้จากประตูระบายน้ำพระโขนงที่เป็นส่วนสำคัญในการรักษาระดับน้ำในกรุงเทพฯ เนื่องจากปัจจุบันระดับน้ำทะเลขึ้นสูงกว่ากรุงเทพฯอยู่แล้ว
แต่ที่ผ่านมากรุงเทพฯ สามารถรับมือได้ด้วยระบบประตูระบายน้ำ แต่ต้องวางแผนถึงอนาคตหากปัญหาน้ำทะเลยังสูงขึ้นต่อเนื่องส่งผลกระทบทำให้ระดับแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น ต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาท่วมกรุงเทพฯ เช่น อาจทำแนวกั้นน้ำขนาดใหญ่แบบแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอน
การดำเนินการได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกันในระดับรัฐบาล เพราะเกี่ยวเนื่องกับหลายจังหวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นนทบุรี ไม่ใช่เพียงกรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว.
JJNY : 5in1 พริษฐ์หวังเดินหน้ารธน.│‘นันทนา’ตั้ง 5ข้อสังเกต│ชัชชาติเล็งทำแบบเทมส์│เวียดนามอัปเดตยอดตาย│นาโตประณามรัสเซีย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4780883
‘พริษฐ์’ หวัง รบ.เดินหน้าจัดทำ รธน.ฉบับใหม่ คู่ขนานแก้รายมาตรา ให้ทันบังคับใช้ ‘เลือกตั้ง 70’ มอง ‘แพทองธาร’ ควรมีความชัดเจน ตั้งคำถามประชามติตามเดิมหรือไม่-วางโรดแมปไว้อย่างไร-ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่
เมื่อเวลา 11.35 น. วันที่ 9 กันยายน ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในคำแถลงนโยบายของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสังเกต หรือข้อติดใจอะไรหรือไม่ว่า เรื่องนโยบายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากดูจากเอกสารคำแถลงเปรียบเทียบกับรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรีรอบที่แล้ว อาจมีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่โดยรวมมีข้อความที่พูดถึงประเด็นในลักษณะที่กว้าง
นายพริษฐ์กล่าวว่า ดังนั้น เพื่อความชัดเจนเราจะมีข้อซักถามเพิ่มเติมในที่ประชุมรัฐสภาในวันแถลงนโยบาย หากจะลงในรายละเอียดมากกว่านั้น ขอยืนยันในฐานะพรรคประชาชนว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ต้องทำ 2 ทางคู่ขนานกันไป คือ 1.การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด ซึ่งต้องยอมรับว่าโรดแมปของรัฐบาลที่วางไว้ว่าจะต้องมีการทำประชามติ 3 ครั้งนั้น แต่การจัดทำรอบแรกยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้วอาจมีความสุ่มเสี่ยงที่จะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้พร้อมกับกฎหมายลูกทันการเลือกตั้งปี 70
นายพริษฐ์กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตั้งคำถามคือ ประเด็นแรก มีการวางโรดแมปไว้อย่างไร ประเด็นที่สอง หากจะเดินหน้าทำประชามติรอบแรกอย่างไร โดยการถามประชาชนว่า “ควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่” และจะยังยืนยันคำถามตามที่คณะกรรมการที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเสนอมาหรือไม่ ซึ่งเรามองเห็นว่าเป็นการทำสร้างคำถาม 2 คำถามในคำถามเดึยวกัน อาจสร้างความสับสนในการลงคะแนนได้ เพราะก่อนหน้านี้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลของนายเศรษฐามีการทบทวนคำถามดังกล่าวแล้ว และต้องรอดูว่าท่าทีของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร จะยืนยันตามคำถามเดิมหรือจะมีการปรับข้อความที่เปิดกว้างและชัดเจนมากขึ้น
นายพริษฐ์กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่สาม ต้องดูว่ารัฐบาลจะเสนอ หรือสนับสนุนให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่ เนื่องจากประเด็นนี้ไม่มีการระบุในเอกสารแถลงนโยบาย แต่หากอ้างอิงกันที่ผ่านมาจะเห็นว่าพรรคเพื่อไทยเคยมีการเสนอในลักษณะนี้ แต่ไม่เคยได้คำยืนยันในนามคณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาลเลย
นายพริษฐ์กล่าวว่า การแก้ไขรายมาตรา เราไม่ได้บอกว่าต้องแก้ไขแทนที่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่เห็นว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องใช้เวลา 1-2 ปีขึ้นไป จึงมองว่าหากมีมาตรา หรือประเด็นไหนในรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข ก็ควรมีการเสนอแก้ไขรายมาตรา
“พรรคประชาชนได้มีการเสนอไปแล้ว 3 ร่าง ล้วนมีวัตถุประสงค์ลบล้างผลพวงรัฐประหาร ทั้งการยกเลิกมาตรา 279 ป้องกันการเกิดรัฐประหาร และยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยจะมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คาดว่าจะเป็นวันที่ 25 ก.ย.นี้ และจากที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายได้มีการหารือกันว่าหากฝ่ายไหนต้องการจะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราในประเด็นอื่นๆ ก็สามารถยื่นเข้ามาได้” นายพริษฐ์กล่าว
ส่วนกังวลหรือไม่ที่จะเกิดการประวิงเวลาจนไม่สามารถตั้ง ส.ส.ร.เพื่อนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ นายพริษฐ์กล่าวว่า หากมองในมุมกว้าง ตนไม่ได้ติดขัดใดๆ แต่ที่พรรคประชาชนยืนยันมาโดยตลอดคือปีศาจอยู่ในรายละเอียด คำถามคือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนใครจะเป็นคนร่าง และมาจาก ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่ แล้วท้ายที่สุดรัฐบาลวางโรดแมปไว้อย่างไร ให้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ทันการเลือกตั้งปี 2570 รวมถึงมีการสนับสนุนการแก้ไขรายมาตราที่มีปัญหาเร่งด่วนด้วยหรือไม่
นายพริษฐ์กล่าวว่า คำตอบสุดท้ายที่พรรคประชาชนอยากได้จากรัฐบาลคือ อยากได้โรดแมปที่ชัดเจนว่าจากวันนี้จนถึงวันที่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีการกำหนดระยะเวลาไว้อย่างไร เพราะเป็นสิ่งที่รัฐบาลนายเศรษฐาเคยสัญญาไว้ จะมีการทบทวนคำถามประชามติรอบแรกหรือไม่ และจะให้มี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หรือไม่ รวมถึงการแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา คงต้องลงรายละเอียดในแต่ละประเด็น แต่วันที่ 25 ก.ย.จะได้เห็น ยืนยันท่าทีของสมาชิก ทั้ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและ ส.ว.ชุดใหม่ ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายพริษฐ์กล่าวถึงเรื่องการทบทวนนำอำนาจหน้าที่และของศาลรัฐธรรมมนูญและองค์กรอิสระที่มีการขยายขอบเขตให้กว้างมากขึ้นว่า หากเทียบกับรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ แน่นอนว่าอำนาจที่ถูกขยายมาและมีหลายส่วน เช่น การยุบพรรคที่อยู่ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง และอำนาจจริยธรรมที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ในรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันจากทุกฝ่าย แต่ฝ่ายไหนจะเสนอร่างแก้ไขกฎหมายอย่างไร และจะทันกรอบวันที่ 25 ก.ย.หรือไม่ คงต้องรอดูกันอีกที
ส่วนพรรคประชาชนจะมีการเสนอร่างอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่นั้น นายพริษฐ์กล่าวว่า คงต้องมีการหารือกันภายในพรรคก่อน แต่หากจะมีการเสนอให้ทันในวันที่ 25 ก.ย.นี้ คงต้องมีการดำเนินการในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุลงระเบียบวาระทัน เราเชื่อมั่นว่า เราอยากเห็นการพูดคุยเรื่องการแก้ไขรายมาตราคู่ขนานกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มากขึ้น หากใครมีประเด็นที่อยากจะแก้ ซึ่งอาจไม่ทันวันที่ 25 ก.ย.นี้ ก็หวังว่าคงจะมีวาระการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมในวันอื่น
‘นันทนา’ ตั้ง 5 ข้อสังเกตจัดงบ’68 ดึงสติอย่าเทงบให้ดิจิทัลวอลเล็ต-ซอฟต์พาวเวอร์มากไป
https://www.matichon.co.th/politics/news_4780882
‘นันทนา’ ตั้ง 5 ข้อสังเกตจัดงบ’68 ดึงสติอย่าเทงบให้ดิจิทัลวอลเล็ต-ซอฟต์พาวเวอร์มากไป ชี้ประเทศไม่เดินหน้าเหตุการเมืองวุ่น
เมื่อเวลา 11.35 น. วันที่ 9 กันยายน ที่รัฐสภา ในการอภิปรายงบ 68 ของ ส.ว. นางนันทนา นันทวโรภาส ส.ว. อภิปรายว่า ขอตั้งข้อสังเกตกับการจัดงบประมาณปี 2568 ใน 5 ประเด็น โดยประเด็นแรกเราต้องรู้ว่าตอนนี้เราอยู่ภาวะไม่ปกติ เป็นภาวะเศรษฐกิจของไทยขยายตัวต่ำมาก ซึ่งในภาวะไม่ปกติเช่นนี้เราจะมาจัดงบราวกับว่าเป็นภาวะปกติไม่ได้ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วรัฐบาลพรรคเพื่อไทยควรทำงบประมาณอย่างมียุทธศาสตร์ ไม่ใช่ให้ข้าราชการประจำทำ แล้วไปทุ่มงบไปกับดิจิทัลวอลเล็ต และซอฟต์พาวเวอร์หมดหน้าตัก ประเด็นที่สอง เราเห็นแล้วว่างบค่าใช้จ่ายประจำ หรืองบที่เป็นบุคลากรภาครัฐ เป็นภาระยิ่งใหญ่ของการคลังในปี 68 แค่งบด้านบุคลากรรัฐก็สูงถึง 68.2% เหลืองบไปทำอย่างอื่น 31.8% แล้วงบประมาณแบบนี้จะเหลือไปฟื้นฟูประเทศได้อย่างไร ประเด็นที่สาม ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศเราจะหันมาดูเรื่องโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ มีการตั้งหน่วยภาครัฐที่ทับซ้อนกัน ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่รัฐบาลจะปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ ประเด็นที่สี่ ตนอยากเห็นกระบวนการทำงบประมาณที่ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ไม่ใช่ให้หน่วยราชการคิดทำกันไปเอง ฝากให้รัฐบาลในช่วงทำงบประมาณ 3 เดือนแรกให้ปรึกษาหารือกับประชาชน และประเด็นที่ห้า ในสิบปีนี้ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย ได้รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศมากในเกณฑ์ที่สูงกว่าไทย 4-5 เท่า ทำให้สองประเทศนั้นเดินล้ำหน้าไปกว่าเรา ทั้งที่ไทยเราไม่ได้มีอะไรที่ด้อยไปกว่าสองประเทศนั้น แต่สิ่งที่สองประเทศนั้นไม่มีแล้วเรามีคือ ปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง และปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทย
โดยใน 10 ปีที่ผ่านเราวุ่นวายกับการเมืองจนกลายเป็นความเคยชินแบบนิวนอร์มอล ซึ่งจริงแล้วไม่ใช่เลย และมีการตั้งข้อสงสัยว่าความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนั้นมาจากระบบศาล โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเข้าไปในศาลเราก็มีการใช้นิติสงครามกันอย่างเมามัน ทุกๆ เดือนประเทศเราจะมีข่าวออกจากศาลให้ได้อกสั่นขวัญแขวน จนเกิดอาชีพใหม่ที่เรียกว่า นักร้อง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งก็ถูกร้อง 9 คดีแล้ว สิ่งเหล่านี้สร้างความมึนงงให้กับวงการกฎหมายทั่วโลก ดังนั้นการให้งบประมาณเหล่านี้นั้นสำหรับองค์กรอิสระที่ทำให้คนสงสัยว่าเรายังมีระบบยุติธรรมหลงเหลืออยู่หรือไม่ ดังนั้นขอตั้งโจทย์ว่าเราจะตั้งงบประมาณที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้อย่างไร
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า ยอมรับว่าในข้อห่วงใยการจัดเก็บรายได้ในปี 2567 ที่อาจจะจัดเก็บที่พลาดเป้า จากรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน ที่ให้ความช่วยเหลือด้านรายได้พลังงาน จนทำให้กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้พลาดเป้าไป แต่การจัดเก็บรายได้ที่เหลืออีก 1 เดือนนี้เชื่อว่าต่อไปจะไม่พลาดเป้า ส่วนเรื่องรายจ่ายประจำที่มีการถีบตัวสูงขึ้น ซึ่งเรารัฐบาลเองมีแผนที่จะลดกำลังพลมีแผนเรื่องของใช้เทคโนโลยี และเรื่องที่เราเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต ที่เป็นแอพพลิเคชั่น ทางรัฐ เป็นการยืนยันว่าในวันข้างหน้าเราจะให้บริการประชาชนผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น และลดกำลังพลลงได้
ชัชชาติ เล็งทำแนวกั้นน้ำแบบ แม่น้ำเทมส์ ลอนดอน หากระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเรื่อยๆ
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9404399
ชัชชาติ เล็งทำแนวกั้นน้ำแบบ แม่น้ำเทมส์ ลอนดอน หากระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ชี้โมเดลนี้รัฐบาลต้องร่วมมือด้วย มั่นใจปีนี้รับมือน้ำเหนือได้
ที่ศาลาว่าการกทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. กล่าวถึงสถานการณ์น้ำเหนือว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงานถึงปริมาณน้ำเหนือส่งผลกระทบกับกรุงเทพฯ แต่ได้วางแนวกระสอบทรายในจุดเสี่ยงน้ำท่วมและจุดฟันหลอริมแนวคันกั้นน้ำแล้ว
โดยหากประชาชนต้องการให้ กทม. เพิ่มแนวกระสอบทรายที่จุดใด สามารถมาแจ้งที่สำนักงานเขตพื้นที่ได้ ซึ่ง กทม. เตรียมพร้อมกระสอบทรายไว้กว่า 2,000,000 ใบ และมั่นใจว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำเหนือได้
สิ่งที่ควรกังวลในช่วงนี้และเดือนหน้าคือ สถานการณ์น้ำฝนที่อาจมีฝนตกหนักในกรุงเทพฯ ซึ่ง กทม.พร้อมรับมือด้วยการพร่องน้ำในคลองต่าง ๆ และเตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ เครื่องปั๊มน้ำ ให้ใช้การได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงอาจมีประชาชนบางส่วนได้รับผลกระทบจากการพร่องน้ำในคลองต่าง ๆ เพราะน้ำอาจมีกลิ่นบ้าง เนื่องจากการพร่องน้ำจะให้น้ำมีระดับต่ำจนถึงชั้นดินเลน
ส่วนข้อกังวลว่ากรุงเทพฯเป็นพื้นที่ต่ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้นั้น ต้องยืนยันว่ากรุงเทพฯเป็นพื้นที่ต่ำจริง โดยดูได้จากประตูระบายน้ำพระโขนงที่เป็นส่วนสำคัญในการรักษาระดับน้ำในกรุงเทพฯ เนื่องจากปัจจุบันระดับน้ำทะเลขึ้นสูงกว่ากรุงเทพฯอยู่แล้ว
แต่ที่ผ่านมากรุงเทพฯ สามารถรับมือได้ด้วยระบบประตูระบายน้ำ แต่ต้องวางแผนถึงอนาคตหากปัญหาน้ำทะเลยังสูงขึ้นต่อเนื่องส่งผลกระทบทำให้ระดับแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น ต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาท่วมกรุงเทพฯ เช่น อาจทำแนวกั้นน้ำขนาดใหญ่แบบแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอน
การดำเนินการได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกันในระดับรัฐบาล เพราะเกี่ยวเนื่องกับหลายจังหวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นนทบุรี ไม่ใช่เพียงกรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียว.