เช็กด่วน!!!...วัยทองก่อน “กระดูกพรุน”
กระดูกของเรามีการสร้างและสลายเซลล์อยู่ตลอดเวลา ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น กระดูกจะสร้างเซลล์ใหม่อย่างรวดเร็ว แต่พออายุเกิน 35 ปีขึ้นไป กระบวนการสลายกระดูกจะเริ่มมีมากกว่าการสร้างใหม่ ทำให้กระดูกค่อยๆ บางลงเรื่อยๆ
สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนจะสูงขึ้นมาก เนื่องจากหลังหมดประจำเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีบทบาทสำคัญในการรักษามวลกระดูก ส่งผลให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้กระดูกมีความเปราะบางและเสี่ยงต่อการหักได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ อาจมีอาการปวดหลัง กระดูกหลังยุบตัว หลังค่อม หรือความสูงลดลง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม
เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน คุณผู้หญิงควรทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เลือกอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็ก ถั่ว เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทบกระทั่งหรือการยกของหนักๆ และควรตรวจเช็กมวลกระดูกเป็นประจำทุกปี พร้อมรับวิตามินดีเสริมตามคำแนะนำของแพทย์ ก็จะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้อีกทาง
จริงๆ แล้ว การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะหลังจากอายุ 35 ปีไปแล้ว จะทำได้เพียงชะลอการสลายของกระดูกเท่านั้น อย่ารอให้อายุมากแล้วค่อยดูแลตัวเองโดยเฉพาะคุณผู้หญิง เพราะโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ป้องกันได้ หากได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการทานอาหารที่ถูกต้อง รวมถึงการตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยให้มีสุขภาพกระดูกที่แข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในระยะยาว
เช็กด่วน!!!...วัยทองก่อน “กระดูกพรุน”
เช็กด่วน!!!...วัยทองก่อน “กระดูกพรุน”
กระดูกของเรามีการสร้างและสลายเซลล์อยู่ตลอดเวลา ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น กระดูกจะสร้างเซลล์ใหม่อย่างรวดเร็ว แต่พออายุเกิน 35 ปีขึ้นไป กระบวนการสลายกระดูกจะเริ่มมีมากกว่าการสร้างใหม่ ทำให้กระดูกค่อยๆ บางลงเรื่อยๆ
สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนจะสูงขึ้นมาก เนื่องจากหลังหมดประจำเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีบทบาทสำคัญในการรักษามวลกระดูก ส่งผลให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้กระดูกมีความเปราะบางและเสี่ยงต่อการหักได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ อาจมีอาการปวดหลัง กระดูกหลังยุบตัว หลังค่อม หรือความสูงลดลง หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม
เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน คุณผู้หญิงควรทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เลือกอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็ก ถั่ว เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทบกระทั่งหรือการยกของหนักๆ และควรตรวจเช็กมวลกระดูกเป็นประจำทุกปี พร้อมรับวิตามินดีเสริมตามคำแนะนำของแพทย์ ก็จะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้อีกทาง
จริงๆ แล้ว การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะหลังจากอายุ 35 ปีไปแล้ว จะทำได้เพียงชะลอการสลายของกระดูกเท่านั้น อย่ารอให้อายุมากแล้วค่อยดูแลตัวเองโดยเฉพาะคุณผู้หญิง เพราะโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ป้องกันได้ หากได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการทานอาหารที่ถูกต้อง รวมถึงการตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยให้มีสุขภาพกระดูกที่แข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในระยะยาว