ผู้หญิงวัยทอง..กับโรคกระดูกพรุน

สำหรับผู้หญิงวัยทอง ปัญหาสุขภาพอาจไม่ได้มีเพียงแค่ที่เห็นได้ชัดด้วยตัวเอง 
อาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ ช่องคลอดแห้ง ปัสสาวะอักเสบ คุณภาพความคิดความจำแย่ลงเท่านั้น 
แต่ยังมีปัญหาสำคัญที่เป็นภัยเงียบ นั่นคือ โรคกระดุกพรุน ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการให้เจ้าตัวรู้ จนกว่าจะมีการแตกหรือหักเกิดขึ้น exclaim

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้  ideaผู้หญิงวัยทอง..กับโรคกระดูกพรุนidea

ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย ถึง 1 ใน 3 เนื่องจากร่างกายสะสมเนื้อกระดูกไว้ได้น้อยกว่า 
เมื่อถึงวัยที่กระดูกมีการสลายตัวมากกว่าการสร้างขึ้นใหม่ จึงทำให้เนื้อกระดูกบางลงได้เร็วกว่า 
ซึ่งผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนจะสูญเสียแคลเซียม 1-2% ต่อปี ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน

เมื่อเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเพศหญิงจะมีการลดระดับลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้กระดูกถูกสลายเร็วขึ้นไปอีก
การลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน
โดยผู้หญิงวัยทองหรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน จะมีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนถึง 4 เท่าของผู้ชายวัยทอง
เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สร้างจากรังไข่ มีส่วนสำคัญป้องกันการสลายกระดูกในผู้หญิง
ฮอร์โมนนี้เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 50 ปี จะลดลงทำให้อาจพบอาการ
เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตามตัว ปวดเมื่อยตามตัว
นอกจากนี้ กระดูกในร่างกายจะบางอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ 5 ปีแรกของการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

โรคกระดูกพรุน คือลักษณะที่มวลกระดูกหรือความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง 
ส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงตาม เมื่อกระดูกพรุนก็จะมีความเปราะบางก็เสี่ยงต่อการหักได้ง่ายแม้เกิดแรงกระแทกที่ไม่รุนแรง
ปกติแล้ว การสะสมของมวลกระดูกจะสูงสุดในช่วงอายุ 25-30 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนสมบูรณ์สูงสุด 
และมวลกระดูกจะคงที่จนถึงอายุประมาณ 40 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดลงเฉลี่ยปีละ 0.5-1% 
การลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น อาหารที่กิน การออกกำลังกาย 
หรือแม้แต่การมีโรคบางอย่าง การใช้ยาบางชนิด และที่สำคัญในผู้หญิงคือการเข้าสู่วัยหมดระดู



ผู้หญิง วัยทอง ต้องเจอความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง  question
ผู้หญิงจะมีรังไข่ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) 
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการมีประจำเดือนและภาวะเจริญพันธุ์ แต่เมื่อผู้หญิงอายุย่างเข้าสู่ช่วงปลายของวัย 30 
จะเริ่มผลิตฮอร์โมนได้ลดลง จนเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 40 ประจำเดือนของผู้หญิงอาจมาในระยะเวลานานขึ้น 
หรือมาในระยะเวลาที่สั้นลง มามากขึ้น หรือมาน้อยลง มาถี่ขึ้น หรือมาห่างจากเดิม และเมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 51 ปี 
รังไข่ของผู้หญิงจะหยุดการผลิตไข่ และก็จะไม่มีประจำเดือนอีก
สิ่งเหล่านี้อาจนำมาซึ่งอาการและความผิดปกติของร่างกาย เมื่อต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน 
เช่น ช่องคลอดแห้ง ร้อนวูบวาบ หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน มีปัญหาการนอนหลับ อารมณ์เปลี่ยนแปลง 
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ผมบางลง ผิวแห้ง และโรคกระดูกพรุน

เข้าสู่วัยทอง ป้องกันกระดูกพรุนอย่างไรได้บ้าง question
เริ่มแรก เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน หรือเมื่อมีสัญญาณว่าคุณกำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน 
ควรวางแผนเพื่อตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เพื่อวางแผนในการป้องกันโรคกระดูกพรุนร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 
จากนั้นควรปรับไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพกระดูกที่ดี 
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากยังอายุไม่มาก หรือเป็นช่วงก่อนวัยหมดประจำเดือน 
สามารถออกกำลังกายประเภทเวทเทรนนิ่ง (Weight Training) หรือออกกำลังกายประเภทใช้แรงต้าน (Resistance Exercise) 
จะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกได้ดี หากอายุมาก หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว 
สามารถออกกำลังกายง่าย ๆ ที่มีน้ำหนักกดลงตามข้อต่าง ๆ อย่างการเดิน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ ก็ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก 
และยังดีต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจด้วย
เสริมแคลเซียมและวิตามินดี สองอย่างนี้ควรมาคู่กัน เพราะวิตามินดีจะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม 
ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก หากต้องการเสริมสารอาหารเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ร่วมด้วย
เลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อระดับฮอร์โมนต่าง ๆ และสมดุลแคลเซียมในร่างกาย 
เป็นปัจจัยที่ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง
ทำความรู้จักกับยาประเภทที่อาจทำให้สูญเสียมวลกระดูก ยาสเตียรอยด์ (steroid) ยารักษาอาการชัก (anticonvulsants) 
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และยารักษาโรคไทรอยด์ สามารถเพิ่มอัตราการสูญเสียมวลกระดูกได้ 
หากจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาให้สอดคล้องกับการป้องกันหรือลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน 
แพทย์อาจแนะนำการปฏิบัติตัว อาหาร หรือการใช้ยาเพิ่มเติม เพื่อความเหมาะสม

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่ไม่ได้มีอาการแสดงชัดเจนจนกว่าจะเกิดกระดูกแตก หรือหัก เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยง 
การตรวจเช็กความหนาแน่นของมวลกระดูกกับแพทย์เฉพาะทาง และวางแผนป้องกันไว้ก่อน 
จึงเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดความเสี่ยงและความเจ็บป่วยที่ไม่พึงประสงค์จากโรคนี้ได้ ค่ะ

lovelovelovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่