การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุน

แชร์ข้อมูล เมื่อการไม่ออกกำลังกาย เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

เวลานี้สภาพอากาศภายนอกโดยเฉพาะในเมืองชั้นในของกรุงเทพฯบางพื้นที่ อาจจะไม่เหมาะกับการออกกำลังกายกลางแจ้งเท่าไหน่นัก แต่การไม่ออกกำลังกายเลย ก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เพราะเป็นโรคที่ใกล้ตัวเราทุกคนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้สูงอายุ


สำหรับโรคกระดูกพรุน ตามทฤษฎีแล้วก็คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดต่ำลง ซึ่งก็จะทำให้กระดูกมีสภาพเสื่อม เปราะ บาง ผิดรูปและแตกหักได้ง่าย


ซึ่งปัญหาคือ ในบางรายทำให้ส่วนสูงลดลงด้วยเพราะกระดูกผุกร่อน กระดูกไม่สามารถทำงานหรือเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เช่น การทนรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้น้อยลง เพราะความเจ็บปวดจากรอยแตกร้าวภายในไปจนถึงการแตกหักของกระดูกส่วนสำคัญ ร้ายแรงที่สุดคืออาจส่งผลทำให้พิการหรือถึงแก่ชีวิตได้


ส่วนในสังคมยุคปัจจุบัน คงต้องยอมรับว่าวิถีชีวิตของเราเองก็มีส่วนมากที่ทำให้กระดูกของเรามีสภาพเสื่อมเร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น การไม่ค่อยออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ทานอาหารแคลเซียมต่ำ ไปจนถึงน้ำอัดลม


สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงเช่นนั้น หากเกิดเหตุที่ทำให้กระดูกหักแล้ว ก็อาจส่งผลต่อการรักษาเป็นเวลานาน และไม่สามารถทำงานได้ตามปกติได้อย่างที่ควร


ทั้งนี้ มีการพบว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนมากที่สุดก็คือ “สตรีวัยหมดประจำเดือน” อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่


สำหรับสตรีหมดประจำเดือนไม่ว่าจะเป็นเพราะการหมดตามธรรมชาติ หรือไม่ว่าเพราะผ่าตัดตัดรังไข่ออกทั้งสองข้างก็ตาม ก็จะส่งผลทำให้กระดูกมีสภาวะของการสึกหรอมากยิ่งขึ้น


ส่วนทางแก้ไขเบื้องต้น การออกกำลังกายเบาๆที่เหมาะสมเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาทีขึ้นไป ก็มีโอกาสที่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน รวมถึงการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และแคลเซียมที่จำเป็น


ที่นำข้อมูลแชร์มา เพราะคนใกล้ตัวที่เคยเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน สามารถใช้ชีวิตมาได้อย่างปกติ แม้ว่าจะสูงอายุแล้ว ด้วยการหลักเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่สุ่มเสี่ยง และออกกำลังกายเบาๆ ประจำวัน





แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่