“กระดูกพรุน” หรือไม่ รู้ได้จากการ “ตรวจมวลกระดูก”



“กระดูกพรุน” หรือไม่ รู้ได้จากการ “ตรวจมวลกระดูก”

กระดูกพรุน คือภาวะที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกขาดความแข็งแรง กระดูกแตกหักได้ง่ายแม้เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย อีกทั้งไม่มีอาการเตือนล่วงหน้าใดๆ จะรู้ตัวว่ากระดูกพรุนก็เมื่อกระดูกหักไปแล้ว และที่สำคัญกระดูกพรุนไม่ได้เป็นแค่โรคของผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะอายุน้อยๆ ก็เป็นได้ ถ้าดูแลไม่ดี

ดังนั้นใครที่ไม่แน่ใจว่าตอนนี้กระดูกกำลังสุ่มเสี่ยงที่จะพรุนหรือยังแข็งแรงดี การตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุนจะช่วยให้รู้ทันความเสี่ยง สามารถป้องกันหรือรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และลดอาการแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้



การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Densitometry) เป็นวิธีการตรวจที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะช่วยให้ทราบว่าสุขภาพของกระดูกมีความแข็งแรงระดับใด และมีภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ โดยการใช้รังสี X-ray พลังงานต่ำสะท้อนภาพเนื้อเยื่อกระดูก ทราบผลการตรวจอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย

ใครบ้าง?.. ควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก
* ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
* ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน, ประจำเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปี หรือถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง
* ผู้ชายอายุยังไม่ถึง 50 ปี ที่มีภาวะขาดฮอร์โมนเพศชาย  
* มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่ต้องทานยาต่อเนื่องนาน เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรครูมาตอยด์ ฯลฯ 
* มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
* ขาดการออกกำลังกาย 
* ไม่ค่อยโดนแดด ทำให้ขาดวิตามินดี
* น้ำหนักตัวน้อยจากการขาดอาหาร โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี  
* สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำ



** หากตรวจแล้วพบว่ามีความเสี่ยง แพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองและทำการรักษาแต่เนิ่น ๆ นอกจากนี้การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุยังน้อยก็สำคัญไม่แพ้กัน ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงยาที่ทำลายกระดูก ออกกำลังกายและรับแสงแดดเป็นประจำ

ไลฟ์สไตล์ของคนปัจจุบันอาจทำให้ได้รับวิตามินดีจากแสงแดดได้ไม่เพียงพอ (วิตามินดีช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม) จึงควรต้องตรวจเช็คและรับวิตามินดีเสริมโดยแพทย์เพิ่มเติมด้วย…



“วิตามินดี” ดีอย่างไร? คลิกอ่าน >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/289
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่