เคยตั้งกระทู้ไว้ เอากลับมาให้อ่านกันอีกรอบ เพื่อจะได้มีความเข้าใจในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนค่ะ
ร่างกายมีกลไกในการสร้างและทำลายกระดูก คือ มีตัวทำลายกระดูก เพื่อดึงแคลเซียมจากกระดูกออกมา และตัวสร้างกระดูก แคลเซียมจะถูกใช้ในระบบกระแสประสาท การสร้างกระดูก สารประกอบหลักๆ ที่ใช้ในการสร้างกระดูก คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี เอสโตรเจน วิตามินดี (ที่มีเหลือเฟือจากแดดเมืองไทย) และแรงกดต่อกระดูก
เปรียบเทียบหน้าที่แล้ว แคลเซียมคือปูน ฟอสฟอรัสคือหิน วิตามินซีคือเหล็กเส้น เอสโตรเจนคือรถบรรทุก แรงกดต่อกระดูกคือนายช่าง
แรงกดต่อกระดูกสำคัญต่อการสร้างกระดูกยังไง ผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงนอนอยู่ตลอด และคนที่อยู่บนอวกาศเป็นเวลา 1 ปี จะสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกไปถึง 30% เพราะไม่ได้รับแรงกดต่อกระดูก ทำให้ตัวทำลายกระดูกทำงานแต่ตัวสร้างกระดูกทำงานน้อยลงมาก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นการเสริมสร้างความหนาแน่นของกระดูก แต่ไม่ควรว่ายน้ำและขี่จักรยาน ถ้าต้องการแรงกดต่อกระดูก
ภาวะการขาดเอสโตรเจน ทำให้การขนส่งแคลเซียมมีน้อย เป็นสาเหตุว่าทำไม คนสูงอายุจึงมีภาวะกระดูกพรุน หมอจะพิจารณาให้ฮอร์โมนชดเชย แต่ต้องอยู่ในดุลพินิจของหมอ
ภาวะกระดูกพรุน รักษาได้ แต่จะไม่ฟื้นฟูได้ 100% การป้องกันภาวะกระดูกพรุนเป็นเรื่องสำคัญกว่า แต่คนส่วนมากคิดว่า กินแคลเซียมอย่างเดียวพอแล้ว ซึ่งผิดค่ะ เพราะร่างกายต้องการปัจจัยอื่นๆในการสร้างกระดูกดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่การกินปลาเล็กปลาน้อยและน้ำเต้าหู้มีประโยชน์มาก เพราะปลาเล็กปลาน้อยมีทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัส น้ำเต้าหู้มีแคลเซียมและ phytoestrogen การรับประทานแคลเซียมอย่างเดียว โดยได้รับฟอสฟอรัสไม่พอ จะกลายเป็นผลร้าย เพราะร่างกายจะดึงฟอสฟอรัสมออกจากกระดูก ซึ่งก็คือการทำลายเนื้อกระดูกนั่นเอง เพื่อรักษาสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
phytoestrogen คือ เอสโตรเจนจากธรรมชาติ ดังนั้นแคลเซียมจากน้ำเต้าหู้จะสามารถดูดซึมได้ดี เพราะมีรถบรรทุกอยู่ในตัวแล้ว ตรงข้ามกับการกินยาแคลเซ๊ยม ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปเม็ด หรือแคลเซียมซิเทรต จะมีเปอร์เซ็นต์ที่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไม่ต่างกันมากนัก คือประมาณ 30% ต่อการกินหนึ่งครั้ง ดังนั้นการแบ่งกินครั้งละน้อยๆ จะดีกว่ากินครั้งเดียวมากๆ
การตรวจภาวะกระดูกพรุน จะตรวจโดยใช้เครื่องวัด ซึ่งจะตรวจ 3 จุดเป้นหลัก คือ ข้อมือ สะโพกและหลัง โดยจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของมวลกระดูกของคนที่มีอายุเท่ากัน
คนที่เป็นมาก หมอจะให้ยาที่ทำให้ร่างกายชะลอการทำลายกระดูก ให้แคลเซียม และเอสโตรเจน (สำหรับคนที่ขาด และมีข้อที่ควรบ่งใช้ แต่ไม่ควรใช้สำหรับคนที่มีเนื้องอกในมดลูก)
การบริหารกล้ามเนื้อเป็นสิ่งจำเป็น เพราะความเสี่ยงที่สุดของคนที่มีภาวะกระดูกพรุนคือการล้ม และการปวดหลังเนื่องจากกระดูกยุบไปทับส่วนอื่นๆ ถ้ากล้ามเนื้อหลังแข็งแรง จะลดโอกาสในการแตกหักของกระดูก และความเจ็บปวดหลังลงได้
หวังว่าคงมีประโยชน์กับคนอ่านบ้าง ขอขอบคุณหมอหมูด้วยค่ะ
เล่าให้ฟังเรื่องโรคกระดูกพรุน
ร่างกายมีกลไกในการสร้างและทำลายกระดูก คือ มีตัวทำลายกระดูก เพื่อดึงแคลเซียมจากกระดูกออกมา และตัวสร้างกระดูก แคลเซียมจะถูกใช้ในระบบกระแสประสาท การสร้างกระดูก สารประกอบหลักๆ ที่ใช้ในการสร้างกระดูก คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี เอสโตรเจน วิตามินดี (ที่มีเหลือเฟือจากแดดเมืองไทย) และแรงกดต่อกระดูก
เปรียบเทียบหน้าที่แล้ว แคลเซียมคือปูน ฟอสฟอรัสคือหิน วิตามินซีคือเหล็กเส้น เอสโตรเจนคือรถบรรทุก แรงกดต่อกระดูกคือนายช่าง
แรงกดต่อกระดูกสำคัญต่อการสร้างกระดูกยังไง ผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงนอนอยู่ตลอด และคนที่อยู่บนอวกาศเป็นเวลา 1 ปี จะสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกไปถึง 30% เพราะไม่ได้รับแรงกดต่อกระดูก ทำให้ตัวทำลายกระดูกทำงานแต่ตัวสร้างกระดูกทำงานน้อยลงมาก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นการเสริมสร้างความหนาแน่นของกระดูก แต่ไม่ควรว่ายน้ำและขี่จักรยาน ถ้าต้องการแรงกดต่อกระดูก
ภาวะการขาดเอสโตรเจน ทำให้การขนส่งแคลเซียมมีน้อย เป็นสาเหตุว่าทำไม คนสูงอายุจึงมีภาวะกระดูกพรุน หมอจะพิจารณาให้ฮอร์โมนชดเชย แต่ต้องอยู่ในดุลพินิจของหมอ
ภาวะกระดูกพรุน รักษาได้ แต่จะไม่ฟื้นฟูได้ 100% การป้องกันภาวะกระดูกพรุนเป็นเรื่องสำคัญกว่า แต่คนส่วนมากคิดว่า กินแคลเซียมอย่างเดียวพอแล้ว ซึ่งผิดค่ะ เพราะร่างกายต้องการปัจจัยอื่นๆในการสร้างกระดูกดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่การกินปลาเล็กปลาน้อยและน้ำเต้าหู้มีประโยชน์มาก เพราะปลาเล็กปลาน้อยมีทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัส น้ำเต้าหู้มีแคลเซียมและ phytoestrogen การรับประทานแคลเซียมอย่างเดียว โดยได้รับฟอสฟอรัสไม่พอ จะกลายเป็นผลร้าย เพราะร่างกายจะดึงฟอสฟอรัสมออกจากกระดูก ซึ่งก็คือการทำลายเนื้อกระดูกนั่นเอง เพื่อรักษาสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
phytoestrogen คือ เอสโตรเจนจากธรรมชาติ ดังนั้นแคลเซียมจากน้ำเต้าหู้จะสามารถดูดซึมได้ดี เพราะมีรถบรรทุกอยู่ในตัวแล้ว ตรงข้ามกับการกินยาแคลเซ๊ยม ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปเม็ด หรือแคลเซียมซิเทรต จะมีเปอร์เซ็นต์ที่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไม่ต่างกันมากนัก คือประมาณ 30% ต่อการกินหนึ่งครั้ง ดังนั้นการแบ่งกินครั้งละน้อยๆ จะดีกว่ากินครั้งเดียวมากๆ
การตรวจภาวะกระดูกพรุน จะตรวจโดยใช้เครื่องวัด ซึ่งจะตรวจ 3 จุดเป้นหลัก คือ ข้อมือ สะโพกและหลัง โดยจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของมวลกระดูกของคนที่มีอายุเท่ากัน
คนที่เป็นมาก หมอจะให้ยาที่ทำให้ร่างกายชะลอการทำลายกระดูก ให้แคลเซียม และเอสโตรเจน (สำหรับคนที่ขาด และมีข้อที่ควรบ่งใช้ แต่ไม่ควรใช้สำหรับคนที่มีเนื้องอกในมดลูก)
การบริหารกล้ามเนื้อเป็นสิ่งจำเป็น เพราะความเสี่ยงที่สุดของคนที่มีภาวะกระดูกพรุนคือการล้ม และการปวดหลังเนื่องจากกระดูกยุบไปทับส่วนอื่นๆ ถ้ากล้ามเนื้อหลังแข็งแรง จะลดโอกาสในการแตกหักของกระดูก และความเจ็บปวดหลังลงได้
หวังว่าคงมีประโยชน์กับคนอ่านบ้าง ขอขอบคุณหมอหมูด้วยค่ะ