โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) หมายถึง โรคที่เกิดจากภาวะการสูญเสียมวลกระดูกทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง เสี่ยงต่อกระดูกหัก กระดูกยุบหรือการคดงอของกระดูก และเกิดอาการปวดกระดูกเรื้อรัง บริเวณกระดูกสันหลัง แขน ขา สะโพก พบมากในผู้สูงอายุ ผู้หญิงพบเกิดได้บ่อยกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน
อาการของโรคกระดูกพรุน
อาการมักไม่ปรากฏในเด็ก และวัยรุ่น แต่หากเมื่ออายุมากขึ้นมักจะเริ่มมีอาการบ่งชี้ถึงภาวะกระดูกพรุน
* ในระยะแรกอาจไม่มีอาการผิดปกติอะไรมาก มีเพียงแค่อาการปวดเมื่อยทั่วไป ซึ่งมักยังไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน
* บางรายอาจทราบโดยการเข้ารับการรักษาอาการที่เกี่ยวกับกระดูก จนทำให้ตรวจทราบสาเหตุของโรคกระดูกพรุนตามมา
* เมื่อโรคมีความรุนแรงมาก มักพบอาการปวดเมื่อยตามกระดูกกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังต่อเนื่อง กระดูกเปราะแตกหักง่ายเมื่อมีของหนัก
กระแทก จนถึงภาวะรูปร่างของโครงกระดูกผิดปกติไปจากเดิม เช่น หลังโก่งค่อม เป็นต้น
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
1. อายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
2. ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน
4. มีประวัติบุคคลในครอบครัวที่เคยเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีประวัติกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
5. ผู้ที่มีรูปร่างผอมบาง
6. ดื่มเหล้า และสูบบุหรี่จัด
7. ได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ไทร็อกซิน ยากันชัก เป็นต้น
8. ผู้ที่อยู่ในร่มไม่ค่อยถูกแสงแดด
วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด คือการทำให้กระดูกมีความแข็งแรง ถ้าเป็นไปได้ควรเริ่มทำตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อสะสมต้นทุนให้กระดูกแข็งแรงและมีคุณภาพที่ดีในวัยผู้ใหญ่ ลดโอกาสที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหัก ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน
1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจกรองโรคกระดูกพรุน เช่น หญิงวัยหมดประจำเดือน, ผู้สูงอายุ
ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ๆ
2. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง ควรรับประทานให้เพียงพอในแต่ละวัน
3. หมั่นรับแสงแดด ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูกได้
4. ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์หรือผอมจนเกินไป
5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ชา กาแฟ น้ำอัดลม
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone mineral density – BMD) การตรวจนี้ใช้แสงเอกซ์เรย์ปริมาณน้อยมากส่องตามจุด ที่มีความเสี่ยงที่จะหักได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง จากนั้นนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับมวลกระดูกของค่าปกติในเพศและอายุช่วงเดียวกัน ซึ่งค่าที่บ่งบอกว่าเป็นกระดูกพรุน คือ กระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเกินกว่า 2.5 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิธีรักษาโรคกระดูกพรุน
1. ในรายที่สงสัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน เช่น อายุมาก หรือหญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ควรรีบไปพบแพทย์
2. ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะให้รับประทานยาเม็ดแคลเซียม เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต
3. หญิงวัยหมดประจำเดือน แพทย์อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายและชะลอ
การสลายของแคลเซียมในเนื้อกระดูก
4. ผู้ชายสูงอายุที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนร่วมด้วย อาจต้องให้ฮอร์โมนชนิดนี้เสริม
5. ในรายที่อยู่แต่ในร่มตลอดเวลาหรือไม่ได้รับแสงแดด แพทย์อาจให้วิตามินดีร่วมด้วย
6. ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นการดูดซึมของแคลเซียม หรือยาลดการสลายกระดูกเพิ่มเติมแก่ผู้ป่วย
การรักษาโรคกระดูกพรุนจำเป็นต้องรับการรักษาเป็นระยะเวลานานและยาที่ใช้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการใช้ยา ชนิด ขนาด และระยะเวลาในการใช้ยาที่แตกต่างกันไป และยาต่าง ๆ เหล่านี้ หากใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้
กระดูกพรุนภัยเงียบในผู้สูงอายุ
อาการของโรคกระดูกพรุน
อาการมักไม่ปรากฏในเด็ก และวัยรุ่น แต่หากเมื่ออายุมากขึ้นมักจะเริ่มมีอาการบ่งชี้ถึงภาวะกระดูกพรุน
* ในระยะแรกอาจไม่มีอาการผิดปกติอะไรมาก มีเพียงแค่อาการปวดเมื่อยทั่วไป ซึ่งมักยังไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน
* บางรายอาจทราบโดยการเข้ารับการรักษาอาการที่เกี่ยวกับกระดูก จนทำให้ตรวจทราบสาเหตุของโรคกระดูกพรุนตามมา
* เมื่อโรคมีความรุนแรงมาก มักพบอาการปวดเมื่อยตามกระดูกกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังต่อเนื่อง กระดูกเปราะแตกหักง่ายเมื่อมีของหนัก
กระแทก จนถึงภาวะรูปร่างของโครงกระดูกผิดปกติไปจากเดิม เช่น หลังโก่งค่อม เป็นต้น
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
1. อายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
2. ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน
4. มีประวัติบุคคลในครอบครัวที่เคยเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีประวัติกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
5. ผู้ที่มีรูปร่างผอมบาง
6. ดื่มเหล้า และสูบบุหรี่จัด
7. ได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ไทร็อกซิน ยากันชัก เป็นต้น
8. ผู้ที่อยู่ในร่มไม่ค่อยถูกแสงแดด
วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด คือการทำให้กระดูกมีความแข็งแรง ถ้าเป็นไปได้ควรเริ่มทำตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อสะสมต้นทุนให้กระดูกแข็งแรงและมีคุณภาพที่ดีในวัยผู้ใหญ่ ลดโอกาสที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหัก ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน
1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจกรองโรคกระดูกพรุน เช่น หญิงวัยหมดประจำเดือน, ผู้สูงอายุ
ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ๆ
2. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง ควรรับประทานให้เพียงพอในแต่ละวัน
3. หมั่นรับแสงแดด ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูกได้
4. ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์หรือผอมจนเกินไป
5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ชา กาแฟ น้ำอัดลม
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone mineral density – BMD) การตรวจนี้ใช้แสงเอกซ์เรย์ปริมาณน้อยมากส่องตามจุด ที่มีความเสี่ยงที่จะหักได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง จากนั้นนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับมวลกระดูกของค่าปกติในเพศและอายุช่วงเดียวกัน ซึ่งค่าที่บ่งบอกว่าเป็นกระดูกพรุน คือ กระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเกินกว่า 2.5 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิธีรักษาโรคกระดูกพรุน
1. ในรายที่สงสัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน เช่น อายุมาก หรือหญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ควรรีบไปพบแพทย์
2. ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะให้รับประทานยาเม็ดแคลเซียม เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต
3. หญิงวัยหมดประจำเดือน แพทย์อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายและชะลอ
การสลายของแคลเซียมในเนื้อกระดูก
4. ผู้ชายสูงอายุที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนร่วมด้วย อาจต้องให้ฮอร์โมนชนิดนี้เสริม
5. ในรายที่อยู่แต่ในร่มตลอดเวลาหรือไม่ได้รับแสงแดด แพทย์อาจให้วิตามินดีร่วมด้วย
6. ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นการดูดซึมของแคลเซียม หรือยาลดการสลายกระดูกเพิ่มเติมแก่ผู้ป่วย
การรักษาโรคกระดูกพรุนจำเป็นต้องรับการรักษาเป็นระยะเวลานานและยาที่ใช้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการใช้ยา ชนิด ขนาด และระยะเวลาในการใช้ยาที่แตกต่างกันไป และยาต่าง ๆ เหล่านี้ หากใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้