ผู้หญิงวัยทองต้องเช็ค เสี่ยงกระดูกพรุนสูง
กระดูกของคนเรามีการสร้างเซลล์ใหม่และสลายเซลล์กระดูกเก่าอยู่ตลอดเวลา ในช่วงวัยเด็กอัตราการสร้างเซลล์กระดูกใหม่จะสูงมาก จนกระทั่งเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะเริ่มมากกว่าการสร้างเซลล์กระดูกใหม่ กระดูกจึงค่อยๆ เริ่มบางลงเรื่อยๆ
ผู้หญิงจะมีอัตราการเกิดภาวะกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อหมดประจำเดือนแล้วจะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 5 ปีแรก ทำให้กระดูกหักง่าย โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ มักมีอาการปวดหลัง ตำแหน่งที่ปวดไม่ชัดเจนและอาจปวดร้าวไปข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกหลังยุบตัว หลังค่อม หรือความสูงลดลง หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสม
ดังนั้นคุณผู้หญิงในวัยนี้จึงควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็กๆ ถั่วต่างๆ เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการกระทบกระทั่ง หรือการยกของหนักๆ รวมถึงการตรวจเช็คมวลกระดูกเป็นประจำทุกปีและรับวิตามินดีเสริมโดยแพทย์ ก็จะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้อีกทางหนึ่ง
** การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง เราควรทำตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเพราะหลังจากอายุ 35 ปีไปแล้ว จะทำได้เพียงชะลอการสลายของกระดูกเท่านั้น**
อย่ารอให้อายุมากขึ้นแล้วค่อยดูแลตัวเองเลยครับ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงทั้งหลาย เพราะถ้ารีบเติมแคลเซียมให้ร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ก็โบกมือลาโรคกระดูกพรุนไปได้เลยครับ
ผู้หญิงวัยทองต้องเช็ค เสี่ยงกระดูกพรุนสูง
ผู้หญิงวัยทองต้องเช็ค เสี่ยงกระดูกพรุนสูง
กระดูกของคนเรามีการสร้างเซลล์ใหม่และสลายเซลล์กระดูกเก่าอยู่ตลอดเวลา ในช่วงวัยเด็กอัตราการสร้างเซลล์กระดูกใหม่จะสูงมาก จนกระทั่งเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะเริ่มมากกว่าการสร้างเซลล์กระดูกใหม่ กระดูกจึงค่อยๆ เริ่มบางลงเรื่อยๆ
ผู้หญิงจะมีอัตราการเกิดภาวะกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อหมดประจำเดือนแล้วจะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 5 ปีแรก ทำให้กระดูกหักง่าย โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ มักมีอาการปวดหลัง ตำแหน่งที่ปวดไม่ชัดเจนและอาจปวดร้าวไปข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกหลังยุบตัว หลังค่อม หรือความสูงลดลง หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสม
ดังนั้นคุณผู้หญิงในวัยนี้จึงควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาตัวเล็กๆ ถั่วต่างๆ เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการกระทบกระทั่ง หรือการยกของหนักๆ รวมถึงการตรวจเช็คมวลกระดูกเป็นประจำทุกปีและรับวิตามินดีเสริมโดยแพทย์ ก็จะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้อีกทางหนึ่ง
** การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง เราควรทำตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเพราะหลังจากอายุ 35 ปีไปแล้ว จะทำได้เพียงชะลอการสลายของกระดูกเท่านั้น**
อย่ารอให้อายุมากขึ้นแล้วค่อยดูแลตัวเองเลยครับ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงทั้งหลาย เพราะถ้ารีบเติมแคลเซียมให้ร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ก็โบกมือลาโรคกระดูกพรุนไปได้เลยครับ