วัยทอง ฮอร์โมนพร่อง เติมอย่างไรดี

เมื่อเข้าสู่วัยทองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง อาจเกิดอาการต่างๆ จากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน 
ผู้หญิงบางคนอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือเพียงระยะเวลาสั้นๆ 
ในขณะที่บางคนอาจมีอาการรุนแรง กระทั่งรบกวนวิถีชีวิตประจำวัน exclaim

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้  idea" วัยทอง ฮอร์โมนพร่อง เติมอย่างไรดี "idea

ผู้หญิงวัยทอง (Menopause) หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน คือ ผู้หญิงที่ถึงวัยหมดประจำเดือน 
เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เนื่องจากรังไข่หยุดการทำงาน เป็นการหยุดความสามารถในการเจริญพันธ์ 
โดยปกติ จะนับเมื่อขาดประจำเดือนมาเป็นเวลาต่อเนื่องนาน 12 เดือนหรือ 1 ปี 
สำหรับหญิงไทยอายุเฉลี่ยที่จะเข้าสู่วัยทองคืออายุประมาณ 48-51 ปี 
ผู้หญิงบางคนอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือเพียงระยะเวลาสั้นๆ 
ในขณะที่บางคนอาจมีอาการรุนแรง กระทั่งรบกวนวิถีชีวิตประจำ

วัยหมดประจำเดือน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ 
1. วัยใกล้หมดประจำเดือน (Perimenopause) เป็นระยะเวลาที่รังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติ จนหยุดทำหน้าที่ไปในที่สุด 
ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอจนสิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวร ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี 
บางกรณีอาจมีอาการทางร่างกายต่างๆ เช่น ร้อนวูบวาบ  เหงื่อออก คลื่นไส้ และอารมณ์แปรปรวน
2. วัยหมดประจำเดือน (Menopause) นับจากการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายต่อเนื่องไปเป็นเวลา 1 ปี
3. วัยหลังหมดประจำเดือน (Postmenopause)  หลังจากวัยหมดประจำเดือนมาแล้ว 1 ปี 
ซึ่งเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงของสรีระและเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้



การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน วัยทอง ส่งผลต่อร่างกาย question
- ร้อนวูบวาบ เป็นอาการทางร่างกายที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงวัยทอง 
เป็นอาการร้อนตามตัวและใบหน้าซึ่งอาจมีเหงื่อออกที่ใบหน้าร่วมด้วยได้ 
อาการนี้เกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน อาการร้อนวูบวาบจะเกิดบ่อยในช่วงปีแรกที่หมดประจำเดือน
และบางรายอาจมีอาการต่อเนื่องยาวนานไปจนถึง 8-10 ปีหลังจากหมดประจำเดือน
- ช่องคลอดแห้ง มีอาการคัน แสบ ระคายเคืองบริเวณช่องคลอด ผนังช่องคลอดบาง
มีการเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะบ่อย เวลาไอจามมีปัสสาวะเล็ด
- นอนไม่หลับ มีปัญหาเรื่องการตื่นนอนเร็ว บางครั้งตื่นขึ้นมากลางคืนบ่อย
- ความรู้สึกทางเพศลดลง เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ การผลิตน้ำหล่อลื่นจากต่อมต่างๆ ภายในระบบสืบพันธุ์ลดลง
อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัวตามมา
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะไมเกรน
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกและข้อ บางรายอาจเจอภาวะกระดูกพรุน เวลาหกล้มกระดูกจะหักได้ง่ายขึ้น
- ผิวหนังแห้ง อาจทำให้เกิดแผลได้ง่าย เส้นผมเปราะบาง ทำให้หลุดร่วงเร็วขึ้น

ideaวิธีดูแลตนเองรับมือกับวัยทองidea
อาหาร สตรีวัยทองควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง 
เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาตัวเล็ก ผักใบเขียว เป็นต้น 
แคลเซียมที่รับเข้าไปจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูกเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน 
นอกจากนี้ ควรควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดโดยงดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิก เป็นต้น
ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง ตรวจเช็คความดันโลหิต  ตรวจเลือดหาระดับไขมัน
ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography) ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density)
รวมทั้งการตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง
ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน ในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก 
หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน และมีความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม 
แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม



อาหารสำหรับคนวัยทอง
1. ผลไม้สด เป็นอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย ลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน 
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ด้วย
2. ถั่วเหลือง มีไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือนในวัยทองได้
3. เห็ดหูหนูขาว อุดมไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิดมีสารคอลลาเจน กรดอะมิโน และสารต้านอนุมูลอิสระ
4.ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตกระตุ้นสารเซโรโทนินของคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินได้มากขึ้น 
เพื่อทำให้อารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่แปรปรวน และสามารถช่วยลดความเครียดได้
5. เม็ดบัว มีวิตามินซีสูง ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต สรรพคุณเด่นช่วยในเรื่องของการบำรุงร่างกาย 
บำรุงเลือดสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้เลือดไหลเวียนดี
6. นม มีโปรตีนสูงช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกแข็งแรง
7. ดาร์กช็อกโกแลต มีสารฟลาโวนอยด์ รวมทั้งธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี และทองแดงทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดความเครียด
8. เก๋ากี้ ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันทำให้ไม่อ้วนง่าย ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบำรุงเลือด ปรับระบบประจำเดือน ช่วยลดอาการช่องคลอดแห้ง

ideaการรักษา
 1. อาการร้อนวูบวาบ สังเกตและจดจำสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบและหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่หรือการสัมผัสกับอากาศที่ร้อนมาก หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารร้อน 
เครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นให้เส้นเลือดขยายตัว เช่น คาเฟอีน และแอลกอฮอล์
รับประทานอาหารที่มีวิตามินอี และบี คอมเพล็กซ์ รวมถึงอาหารเสริมของสารเหล่านี้ งดสูบบุหรี่
ผ่อนคลายจิตใจ และหลีกเลี่ยงความเครียด เพราะความเครียดมีผลทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น
2. ช่องคลอดแห้งและปัสสาวะบ่อย ใช้สารหล่อลื่น เช่น K-Y Jelly เป็นต้น
ใช้ครีมเอสโตรเจนทาเพื่อกระตุ้นให้เลือดมาหล่อเลี้ยงช่องคลอดมากขึ้น ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติขณะมีเพศสัมพันธ์ 
เพื่อช่วยกระตุ้นสภาวะการไหลเวียนเลือดที่ดีในช่องคลอด และทำให้ช่องคลอดยืดหยุ่นมากขึ้น
3. อาการนอนไม่หลับ และอารมณ์แปรปรวน ใช้ยาลดอาการซึมเศร้า เช่น ยาในกลุ่ม SSRI 
รวมถึงทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อผ่อนคายความเครียด และทำให้จิตใจแจ่มใส
4. กระดูกพรุน หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือการทำงานหนัก รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดีสูง
การใช้ฮอร์โมนเสริม แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น
5. ผมร่วง รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อยับยั้งการสร้างไดไฮโดรเทสโทสเตอโรนที่เป็นสาเหตุทำให้รากผมอ่อนแอ
สระผมอย่างสม่ำเสมอเพื่อกำจัด และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุการทำลายรากผม และหนังศีรษะ 
รวมถึงใช้ยาสระผมที่มีสารกระตุ้นการงอกใหม่หรือสารที่ช่วยบำรุงเส้นผม
 
ideaฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง 
ผู้หญิงในช่วงวัยทองจะมีการลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมาก ทำให้เกิดอาการต่างๆตามมา 
ปัจจุบันผู้หญิงบางกลุ่มจึงหันมาใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อลดปัญหาจาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย 
และทางด้านอารมณ์ดังกล่าว รวมถึงช่วยป้องกันโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง เป็นต้น
ฮอร์โมนทดแทนที่มีการใช้ในวัยทอง คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ร่างกายขาดไปนั่นเอง 
นอกจากนั้น ยังใช้สารอื่นที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ โปรเจสเตอโรน

ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=_DdOeC_tyHs
lovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่