“ฮอร์โมน”สำคัญอย่างไร?...ในวัยเกษียณ
เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดถ้ามองจากภายนอกคือ ร่างกายรูปร่างที่เปลี่ยนไป ผมเริ่มขาว ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องภายนอก แต่อีกปัญหาที่เกิดจากภายในก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเมื่อวัยเริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่เรียกว่าอาการของ “วัยทอง”ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเมื่อมีอายุ 45 ปีขึ้นไปแต่ผู้ชายก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน
ฮอร์โมนเพศ หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน จะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ฮอร์โมนมากมายที่อยู่ในร่างกายจะมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของฮอร์โมนชนิดนั้นๆ และฮอร์โมนบางชนิดก็อาจมีหลายบทบาทได้เหมือนกัน
เมื่อระดับฮอร์โมนลดลงโดยทั่วไปจะเกิดอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตัว รู้สึกร้อนวูบวาบตามร่างกาย เหงื่อออกและใจสั่น รวมถึงอาการทางจิตใจและสมอง เช่น ความจำลดลง สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย ตลอดจนเรื่องของอารมณ์ทางเพศที่ลดลงตามไปด้วย การใช้ฮอร์โมนทดแทนก็ขึ้นอยู่กับว่าอาการที่เป็นนั้นกระทบชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน รวมถึงสภาพจิตใจของแต่ละคนด้วย หากไม่ได้กระทบมากก็ไม่จำเป็น ต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากต้องการใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ทั้งนี้ เราสามารถเสริมฮอร์โมนได้ด้วยอาหารที่มีส่วนประกอบตามธรรมชาติคล้ายฮอร์โมนได้เช่นเดียวกัน เช่น
อาหารในกลุ่มเบตาแคโรทีน ช่วยในการขจัดสารพิษในสมองและช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนพบมากในผลไม้ที่มีสีต่างๆ เช่น แครอท ฟักทอง แคนตาลูป มะเขือเทศ มะละกอ ส้มและผักใบเขียว เช่น ตำลึง คะน้าบรอกโคลี เป็นต้น
อาหารจำพวกวิตามินบี จะช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนเลือด การทำงานของฮอร์โมน ประสาทและเสริมให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง โดยวิตามินบี 6 มีมากในจมูกข้าวสาลี กล้วย ไก่ ปลา กะหล่ำดอก ส่วน วิตามินบี 12 มีมากในตับ เนื้อวัว เนื้อหมู ปลาเนื้อขาว ไข่ ธัญพืช นม
วิตามินซี ช่วยด้านการไหลเวียนโลหิต ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นและขยายตัวได้ดี และช่วยให้อสุจิแข็งแรง ไม่จับตัวเป็นกลุ่ม พบได้ในผักและผลไม้สดทุกชนิด
วิตามินอี ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ เสริมความแข็งแกร่งของเซลล์เนื้อเยื่อหัวใจและกล้ามเนื้อต่างๆ ป้องกันการเสื่อมชราของเนื้อเยื่อและสร้างฮอร์โมน สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
แคลเซียม ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท พบได้ในนม ผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วเหลือง ผักใบเขียว เช่น คะน้า ตำลึง เป็นต้น
โครเมียม หากขาดโครเมียมจะทำให้ความต้องการทางเพศลดลง พบได้ในแอปเปิ้ล องุ่น ลูกเกด ผักใบเขียว เห็ด ถั่ว เป็นต้น
สังกะสีมีบทบาทสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเพศชาย และการทำงานของต่อมลูกหมาก พบมากใน หอยนางรมเนื้อปูเมล็ดฟักทอง ถั่ว หัวหอม ไข่แดง เป็นต้น
** ลูกหลานต้องช่วยกันดูแลผู้สูงวัยอย่างใกล้ชิดเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้ท่านทาน และที่สำคัญไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณาเกี่ยวกับการทานยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมต่างๆ เพราะยาเหล่านี้อาจส่งผลเสียของร่างกาย หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องอาหาร วิตามิน หรือ การใช้ฮอร์โมนทดแทน ปรึกษาแพทย์ดีที่สุดครับ...
“ฮอร์โมน”สำคัญอย่างไร?...ในวัยเกษียณ
“ฮอร์โมน”สำคัญอย่างไร?...ในวัยเกษียณ
เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดถ้ามองจากภายนอกคือ ร่างกายรูปร่างที่เปลี่ยนไป ผมเริ่มขาว ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องภายนอก แต่อีกปัญหาที่เกิดจากภายในก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเมื่อวัยเริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่เรียกว่าอาการของ “วัยทอง”ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเมื่อมีอายุ 45 ปีขึ้นไปแต่ผู้ชายก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน
ฮอร์โมนเพศ หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน จะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ฮอร์โมนมากมายที่อยู่ในร่างกายจะมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของฮอร์โมนชนิดนั้นๆ และฮอร์โมนบางชนิดก็อาจมีหลายบทบาทได้เหมือนกัน
เมื่อระดับฮอร์โมนลดลงโดยทั่วไปจะเกิดอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตัว รู้สึกร้อนวูบวาบตามร่างกาย เหงื่อออกและใจสั่น รวมถึงอาการทางจิตใจและสมอง เช่น ความจำลดลง สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย ตลอดจนเรื่องของอารมณ์ทางเพศที่ลดลงตามไปด้วย การใช้ฮอร์โมนทดแทนก็ขึ้นอยู่กับว่าอาการที่เป็นนั้นกระทบชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน รวมถึงสภาพจิตใจของแต่ละคนด้วย หากไม่ได้กระทบมากก็ไม่จำเป็น ต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากต้องการใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ทั้งนี้ เราสามารถเสริมฮอร์โมนได้ด้วยอาหารที่มีส่วนประกอบตามธรรมชาติคล้ายฮอร์โมนได้เช่นเดียวกัน เช่น
อาหารในกลุ่มเบตาแคโรทีน ช่วยในการขจัดสารพิษในสมองและช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนพบมากในผลไม้ที่มีสีต่างๆ เช่น แครอท ฟักทอง แคนตาลูป มะเขือเทศ มะละกอ ส้มและผักใบเขียว เช่น ตำลึง คะน้าบรอกโคลี เป็นต้น
อาหารจำพวกวิตามินบี จะช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนเลือด การทำงานของฮอร์โมน ประสาทและเสริมให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง โดยวิตามินบี 6 มีมากในจมูกข้าวสาลี กล้วย ไก่ ปลา กะหล่ำดอก ส่วน วิตามินบี 12 มีมากในตับ เนื้อวัว เนื้อหมู ปลาเนื้อขาว ไข่ ธัญพืช นม
วิตามินซี ช่วยด้านการไหลเวียนโลหิต ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นและขยายตัวได้ดี และช่วยให้อสุจิแข็งแรง ไม่จับตัวเป็นกลุ่ม พบได้ในผักและผลไม้สดทุกชนิด
วิตามินอี ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ เสริมความแข็งแกร่งของเซลล์เนื้อเยื่อหัวใจและกล้ามเนื้อต่างๆ ป้องกันการเสื่อมชราของเนื้อเยื่อและสร้างฮอร์โมน สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
แคลเซียม ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท พบได้ในนม ผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วเหลือง ผักใบเขียว เช่น คะน้า ตำลึง เป็นต้น
โครเมียม หากขาดโครเมียมจะทำให้ความต้องการทางเพศลดลง พบได้ในแอปเปิ้ล องุ่น ลูกเกด ผักใบเขียว เห็ด ถั่ว เป็นต้น
สังกะสีมีบทบาทสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเพศชาย และการทำงานของต่อมลูกหมาก พบมากใน หอยนางรมเนื้อปูเมล็ดฟักทอง ถั่ว หัวหอม ไข่แดง เป็นต้น
** ลูกหลานต้องช่วยกันดูแลผู้สูงวัยอย่างใกล้ชิดเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้ท่านทาน และที่สำคัญไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณาเกี่ยวกับการทานยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมต่างๆ เพราะยาเหล่านี้อาจส่งผลเสียของร่างกาย หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องอาหาร วิตามิน หรือ การใช้ฮอร์โมนทดแทน ปรึกษาแพทย์ดีที่สุดครับ...