สุขภาพชาย วัยทอง

ธรรมชาติสร้างผู้ชายให้ร่างกายมีโครงสร้างใหญ่ กล้ามเนื้อมาก  และแข็งแรง

เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุมากกว่า 40 ปี ร่างกายเริ่มเสื่อมถอย การทำงานของอวัยวะและฮอร์โมนต่างๆ ลดถอยลง ทำให้ผู้ชายบางคนเกิดโรคหรือมีสภาวะ ผิดปกติทั้งร่างกาย จิตใจ อาการจะพบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพ
อมยิ้ม49
ฮอร์โมนเพศชาย จะลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่ลดทันที เหมือนในสตรีวัยหมดประจำเดือนอาการต่างๆ ที่เกิดจึงไม่รุนแรงเหมือนสตรี แต่อาการที่ สังเกตได้ คือ

- อาการร้อนวูบวาบ มีเหงื่อออก นอนไม่หลับ วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย

- อารมณ์และการรับรู้ เฉื่อยชา เบื่อหน่าย ความจำระยะสั้นลดลง เศร้าซึม และขาดความเชื่อมั่นในตนเอง สิ่งบ่งบอกลักษณะความเป็นชาย
มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อลดลง อ้วนลงพุง

- ภาวะทางเพศ ความต้องการและสมรรถภาพทางเพศลดลง ผลกระทบในระยะยาว  เกิดภาวะกระดูกโปร่งบาง หักง่าย เสี่ยงต่อ การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
อมยิ้ม31
ดังนั้น วิธีการที่ชายวัยทอง สามารถดู แลสุขภาพตนเองง่ายๆ ทั้งในระยะ สั้นและระยะยาว ดังนี้

- ออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ เช่น แขน ขา ลำตัว เป็นจังหวะซ้ำกันต่อเนื่อง โดยออกแรง ปานกลาง ใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อเนื่อง หรือสะสม ครั้งละ 10 นาที ทำทุกวันหรือเกือบ ทุกวัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน

- อาหาร กินอาหารครบ 5 หมู่ ให้หลากหลาย เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อเสริมสร้างกระดูก ซึ่งได้จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เป็นต้น และเพิ่มโปรตีนจากเนื้อปลา ทำให้ย่อยง่าย กินผลไม้ เพิ่มวิตามินซีและ เส้นใยอาหารป้องกันท้องผูก เช่น ฝรั่ง ส้ม กล้วย มะละกอ

- ลดความเครียด รู้จักผ่อนคลายความเครียด โดยหา กิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบทำ  พักผ่อนให้ เพียงพอ มองเรื่องต่างๆ ในแง่ดี ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อย ปีละครั้งเพี้ยนปักหมุด

หากหมั่นใส่ใจดูแลตนเองให้สุขภาพ ร่างกายแข็งแรงเสมอ ไม่ว่าจะชายวัยทองหรือ ชายสูงวัย ก็ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

แหล่งที่มา สาระสุขภาพ จากกรมอนามัย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่