อย่าประมาท! ‘กระดูกสะโพกหัก’ ในผู้สูงวัย
หากผู้สูงอายุล้มแล้วเกิดภาวะกระดูกสะโพกหัก จึงเรื่องจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน เพราะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจอันตรายถึงแก่ชีวิต
กระดูกสะโพกหัก เป็นเรื่องที่พบบ่อยและเกิดขึ้นได้ง่ายในผู้สูงอายุ เนื่องจาก สภาพของกระดูกของคนวัยนี้จะเสื่อมถอยไปตามอายุที่มากขึ้น และหากผู้สูงอายุล้มแล้วเกิดภาวะกระดูกสะโพกหัก จึงเรื่องจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน มิฉะนั้นจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
“สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล” มีเกร็ดความรู้มาบอกเล่าเกี่ยวกับลักษณะอาการ ปัจจัยเสี่ยง แนวทางการรักษา และการป้องกันกระดูกสะโพกหัก
กระดูกสะโพกหัก คือ การแตกหักของกระดูกบริเวณข้อสะโพก ซึ่งประกอบด้วยกระดูกโคนขา และกระดูกเชิงกราน โดยส่วนใหญ่กระดูกที่หัก จะเป็นส่วนหัวของกระดูกโคนขาที่เชื่อมต่อกับเบ้าสะโพก การหักของกระดูกสะโพกอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกสูง หรือการล้มธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัยที่มวลกระดูกลดลง และมีภาวะกระดูกพรุน
อาการ “กระดูกสะโพกหัก”
@ ปวดบริเวณสะโพกหรือโคนขาอย่างรุนแรง
@ ไม่สามารถยืนหรือเดินได้ตามปกติ มีอาการเจ็บมาก
@ ขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะสั้นลงหรือบิดผิดรูป
Son helping his father after hip replacement surgery
@ บวม ช้ำ หรือมีรอยแดงบริเวณสะโพกหรือต้นขา
@ มีอาการปวดที่รุนแรงขึ้นเมื่อพยายามขยับขาหรือสะโพก
หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกสะโพกหักในผู้สูงวัย
@ อายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศหญิง
@ โรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกเปราะและแตกหักได้ง่าย
@ การขาดวิตามินดี และแคลเซียม ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลง
@ ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้ควบคุมการทรงตัวได้ไม่ดี เพิ่มโอกาสล้ม
@ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับหรือยาลดความดันเลือดที่อาจทำให้เวียนศีรษะและเสี่ยงต่อการล้ม
@ ภาวะทางสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน ที่ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย
@ สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เช่น พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือขอบพรมที่ทำให้สะดุดล้มได้ง่าย
อาการหลังการล้มของผู้สูงวัย ที่ควรรีบไปพบแพทย์
@ ปวดสะโพกอย่างรุนแรงและขยับตัวไม่ได้
@ รู้สึกชาหรืออ่อนแรงบริเวณขาหรือสะโพก
@ มีรอยฟกช้ำหรือบวมผิดปกติ
@ เดินหรือยืนไม่ได้หลังจากล้ม
@ มีภาวะหน้ามืดหรือหมดสติ
หากละเลยอาการเหล่านี้ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
การรักษากระดูกสะโพกหัก
วิธีรักษากระดูกสะโพกหัก ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและสภาพร่างกายของผู้ป่วย
1. การผ่าตัด
-ผ่าตัดยึดกระดูก
-ผ่าตัดใส่ข้อเทียม
2. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะร่างกายไม่แข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด แพทย์อาจใช้ยาบรรเทาอาการปวดและหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักขาที่บาดเจ็บจนกว่ากระดูกจะติด อย่างไรก็ตามสามารถพบภสวะกระดูกไม่ติดหรือผิดรูปได้มาก
การฟื้นฟูหลังการรักษา
1.กายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
2.ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินหรือยืดเหยียดภายใต้การดูแลของแพทย์
3.โภชนาการที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย และผักใบเขียว
4.ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในบ้าน เช่น ติดราวจับในห้องน้ำ ใช้รองเท้ากันลื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการล้มซ้ำ
การป้องกันกระดูกสะโพกหัก
1.ตรวจสุขภาพ เช่น ตรวจสายตาและสภาพเท้า
2.จัดบ้านให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม
3.กินอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมอย่างพอเหมาะ
4.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
5.ออกกำลังกายเป็นประจำ
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงวัยเป็นภาวะที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง หากมีอาการปวดสะโพกหลังจากการล้ม ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที นอกจากนี้ การป้องกันโดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะนี้ในผู้สูงวัย....
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/4570713/
จุฬาฯ ผนึกกำลัง โนโว นอร์ดิสค์ ยกระดับการจัดการโรคอ้วนด้วยนวัตกรรม Obesity Connects ผ่าน LineOA ด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ในโครงการ “จุฬาลงกรณ์ x โนโว นอร์ดิสค์: ยกระดับการจัดการโรคอ้วนด้วยนวัตกรรม” ณ อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วันนี้ (3 เมษายน 2568) มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคอ้วน ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้และเสริมสร้างการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนสามารถเข้าถึงข้อมูลการป้องกันและการจัดการโรคอ้วนได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และน่าเชื่อถือ
'ควบคุมน้ำหนัก' ด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผ่าน 'Obesity Connects'
จุฬาฯ ผนึกกำลัง โนโว นอร์ดิสค์ ยกระดับการจัดการโรคอ้วนด้วยนวัตกรรม Obesity Connects ผ่าน LineOA ด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ในโครงการ “จุฬาลงกรณ์ x โนโว นอร์ดิสค์: ยกระดับการจัดการโรคอ้วนด้วยนวัตกรรม” ณ อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วันนี้ (3 เมษายน 2568) มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วยโรคอ้วน ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้และเสริมสร้างการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนสามารถเข้าถึงข้อมูลการป้องกันและการจัดการโรคอ้วนได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และน่าเชื่อถือ
สถานการณ์โรคอ้วนในประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าประชากรไทยมากกว่าร้อยละ 40 มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าร้อยละ 1.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพและผลผลิตที่ลดลง และคาดว่าตัวเลขนี้อาจสูงถึงร้อยละ 4.9 ของจีดีพีในอนาคตหากไม่มีการแก้ไขปัญหา
เนื่องจากสถานการณ์โรคอ้วนที่อยู่ในขั้นรุนแรง รวมถึงอัตราผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการปัญหาเพื่อช่วยลดอัตราการเกิดโรคอ้วนในประเทศไทย
ความร่วมมือครั้งนี้จึงกำเนิดขึ้น ภายใต้ชื่อ “Obesity Connects Line Official Account (“LineOA”)” ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารสองทางเกี่ยวกับโรคอ้วน ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนและประชาชนทั่วไปสามารถติดต่อกับบุคลากรทางการแพทย์ได้โดยตรง และเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเว็บไซต์ Truth About Weight นอกจากนี้ ในงานเปิดตัวยังมีผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนเข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์การใช้ Obesity Connects Line OA อีกด้วย
Obesity Connects Line OA เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนและประชาชนทั่วไป โดยมีฟังก์ชันที่สำคัญ ได้แก่
การสื่อสารสองทาง ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถติดต่อกับบุคลากรทางการแพทย์โดยตรง สอบถามข้อมูล และรับคำแนะนำเฉพาะบุคคลได้
ฟังก์ชันควบคุมน้ำหนักส่วนบุคคล ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงเครื่องมือช่วยจัดการน้ำหนัก เช่น เครื่องคำนวณแคลอรี และกราฟแสดงการลดน้ำหนัก
แหล่งข้อมูล สามารถเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับโรคอ้วน รวมถึงเว็บไซต์ Truth About Weight ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโนโว นอร์ดิสค์
ด้าน ศ.นพ.สุเทพ อุดมแสงทรัพย์ หัวหน้าคลินิกโรคอ้วน ภาควิชาศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย อธิบายถึงแนวทางในการรักษาโรคอ้วน ต้องเริ่มต้นจากการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายก่อน โดยปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยในการดูแลรักษาเพิ่มมากขึ้น รวมถึง “ObesityConnects” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Line OA ที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในแหล่งเดียว ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ อีกทั้งยังสามารถรับคำปรึกษาจากบุคลากรทางการแพทย์ได้โดยตรงและรวดเร็ว ช่วยให้การใช้ชีวิตหลังการรักษาทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
นายเอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่ารู้สึกภาคภูมิใจต่อความร่วมมือในครั้งนี้ พร้อมกล่าวว่า "โนโว นอร์ดิสค์ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์ที่มีชื่อเสียงอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโครงการสำคัญนี้ ด้วยการผสานความเชี่ยวชาญ การเข้าถึงทรัพยากร และเครือข่ายของพวกเราทั้งสองหน่วยงาน เชื่อมั่นได้ว่าเราจะสามารถร่วมกันผลักดันการเปลี่ยนแปลงและสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการป้องกันและการจัดการโรคอ้วนในประเทศไทย"
ปัจจุบัน โนโว นอร์ดิสค์ ได้พัฒนานวัตกรรมในการรักษาโรคอ้วน โดยประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการเข้าถึงนวัตกรรมนี้ ซึ่งมุ่งเน้นแนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ไม่เพียงแค่การควบคุมน้ำหนัก แต่ยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบสำคัญในร่างกาย เช่น หัวใจ ตับ และไต ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่าประมาท! ‘กระดูกสะโพกหัก’ ในผู้สูงวัย และ 'ควบคุมน้ำหนัก' ผ่าน 'Obesity Connects'
หากผู้สูงอายุล้มแล้วเกิดภาวะกระดูกสะโพกหัก จึงเรื่องจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน เพราะเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจอันตรายถึงแก่ชีวิต
กระดูกสะโพกหัก เป็นเรื่องที่พบบ่อยและเกิดขึ้นได้ง่ายในผู้สูงอายุ เนื่องจาก สภาพของกระดูกของคนวัยนี้จะเสื่อมถอยไปตามอายุที่มากขึ้น และหากผู้สูงอายุล้มแล้วเกิดภาวะกระดูกสะโพกหัก จึงเรื่องจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน มิฉะนั้นจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
“สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล” มีเกร็ดความรู้มาบอกเล่าเกี่ยวกับลักษณะอาการ ปัจจัยเสี่ยง แนวทางการรักษา และการป้องกันกระดูกสะโพกหัก
กระดูกสะโพกหัก คือ การแตกหักของกระดูกบริเวณข้อสะโพก ซึ่งประกอบด้วยกระดูกโคนขา และกระดูกเชิงกราน โดยส่วนใหญ่กระดูกที่หัก จะเป็นส่วนหัวของกระดูกโคนขาที่เชื่อมต่อกับเบ้าสะโพก การหักของกระดูกสะโพกอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกสูง หรือการล้มธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัยที่มวลกระดูกลดลง และมีภาวะกระดูกพรุน
อาการ “กระดูกสะโพกหัก”
@ ปวดบริเวณสะโพกหรือโคนขาอย่างรุนแรง
@ ไม่สามารถยืนหรือเดินได้ตามปกติ มีอาการเจ็บมาก
@ ขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะสั้นลงหรือบิดผิดรูป
Son helping his father after hip replacement surgery
@ บวม ช้ำ หรือมีรอยแดงบริเวณสะโพกหรือต้นขา
@ มีอาการปวดที่รุนแรงขึ้นเมื่อพยายามขยับขาหรือสะโพก
หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกสะโพกหักในผู้สูงวัย
@ อายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศหญิง
@ โรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกเปราะและแตกหักได้ง่าย
@ การขาดวิตามินดี และแคลเซียม ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลง
@ ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้ควบคุมการทรงตัวได้ไม่ดี เพิ่มโอกาสล้ม
@ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับหรือยาลดความดันเลือดที่อาจทำให้เวียนศีรษะและเสี่ยงต่อการล้ม
@ ภาวะทางสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน ที่ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย
@ สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เช่น พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือขอบพรมที่ทำให้สะดุดล้มได้ง่าย
อาการหลังการล้มของผู้สูงวัย ที่ควรรีบไปพบแพทย์
@ ปวดสะโพกอย่างรุนแรงและขยับตัวไม่ได้
@ รู้สึกชาหรืออ่อนแรงบริเวณขาหรือสะโพก
@ มีรอยฟกช้ำหรือบวมผิดปกติ
@ เดินหรือยืนไม่ได้หลังจากล้ม
@ มีภาวะหน้ามืดหรือหมดสติ
หากละเลยอาการเหล่านี้ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
การรักษากระดูกสะโพกหัก
วิธีรักษากระดูกสะโพกหัก ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและสภาพร่างกายของผู้ป่วย
1. การผ่าตัด
-ผ่าตัดยึดกระดูก
-ผ่าตัดใส่ข้อเทียม
2. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะร่างกายไม่แข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด แพทย์อาจใช้ยาบรรเทาอาการปวดและหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักขาที่บาดเจ็บจนกว่ากระดูกจะติด อย่างไรก็ตามสามารถพบภสวะกระดูกไม่ติดหรือผิดรูปได้มาก
การฟื้นฟูหลังการรักษา
1.กายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
2.ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินหรือยืดเหยียดภายใต้การดูแลของแพทย์
3.โภชนาการที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย และผักใบเขียว
4.ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในบ้าน เช่น ติดราวจับในห้องน้ำ ใช้รองเท้ากันลื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการล้มซ้ำ
การป้องกันกระดูกสะโพกหัก
1.ตรวจสุขภาพ เช่น ตรวจสายตาและสภาพเท้า
2.จัดบ้านให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม
3.กินอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมอย่างพอเหมาะ
4.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
5.ออกกำลังกายเป็นประจำ
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงวัยเป็นภาวะที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง หากมีอาการปวดสะโพกหลังจากการล้ม ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที นอกจากนี้ การป้องกันโดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะนี้ในผู้สูงวัย....
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4570713/