ทุกวันนี้กระดูกร้าว กระดูกหัก รักษาได้ไม่ยากเลย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวไกลไปมาก ถือเป็นเรื่องจิ๊บๆ หากเกิดขึ้น แต่ในกรณีที่เกิดตรงตำแหน่งกระดูกสะโพกและเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุใกล้ตัวเรา มันก็คงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แน่นอน วันนี้เราเลยอยากนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระดูกสะโพกของผู้สูงอายุ ถ้าเกิดมันหักขึ้นมาเราควรจะทำอย่างไร
จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากระดูกสะโพกหัก
- ผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหัก ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์
- ผู้ป่วยร้อยละ 7-27 จะเสียชีวิตภายใน 3 เดือน หลังจากมีกระดูกสะโพกหัก เนื่องจากภาวะแทรกซ้อน
- ผู้ป่วยร้อยละ 50 จะต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดินเมื่ออยู่ที่บ้าน
ปัจจัยเสี่ยง ที่จะเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งมักจะมีโรคกระดูกพรุน(กระดูกโปร่งบาง)ร่วมด้วยเสมอ
-
อายุ โดยเฉพาะ ในผู้หญิงเมื่อมีอายุประมาณ 45 ปี จะมีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักเพิ่มสูงขึ้นมาก และถ้าอายุมากกว่า 65 ปี ผู้สูงอายุทุกๆ 1 ใน 5 คน จะเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งมักเกิดจากการล้มเพียงเบาๆ
-
เพศ ผู้หญิงจะเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า
-
ลักษณะทางพันธุกรรม เช่น เคยมีประวัติคนในครอบครัวกระดูกสะโพกหัก ผู้ที่มีโครงร่างเล็กและผอม
-
อาหาร โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมน้อยหรือลำไส้ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้ หรือผู้ที่ได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกไปสัมผัสกับแสงแดดในช่วงเช้า-เย็น
-
สูบบุหรี่ หรือ ดื่มสุรา
-
ผู้ที่มีปัญหาทางกาย เช่น ปวดข้อ ข้ออักเสบ ตามองเห็นไม่ชัด สมองเสื่อม เป็นต้น
-
ผู้ที่มีอาการอ่อนแรง หรือ มึนงง ซึ่งอาจพบได้ในผู้สูงอายุทั่วไป หรือจากผลข้างเคียงของยาที่รับประทานอยู่
-
ขาดการออกกำลังกาย ที่มีการแบกรับน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ ยกน้ำหนัก
จะเลือกวิธีการรักษาวิธีไหนดี ?
แพทย์จะต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น
- อายุเท่าไร สภาพร่างกายแข็งแรงดีหรือไม่ มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงหรือไม่
- กระดูกหักที่ตำแหน่งไหน แตกเข้าข้อหรือไม่
- หักมากหรือน้อยอย่างไร แล้วมีการเคลื่อนที่ต่างไปจากเดิมมากหรือน้อยขนาดไหน
- มีโรคกระดูกพรุน(กระดูกโปร่งบาง)ร่วมด้วยหรือไม่ ถ้ามีร่วมด้วยอาจต้องรักษาไปพร้อมกันเลย
ทางเลือกวิธีรักษา
1. ใส่ลวดดึงกระดูกและถ่วงน้ำหนักไว้จนกระดูกเริ่มติดจึงเริ่มเดิน วิธีนี้ไม่นิยมเพราะต้องนอนพักนาน
2. ผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก ซึ่งมีหลายชนิด เช่น แผ่นเหล็ก แท่งเหล็ก หรือข้อสะโพกเทียม เป็นต้น
หลังรักษาต้องทำอย่างไร ?
นอกจากการรักษาโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทำกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเช่น ข้อเข่าหรือข้อเท้าเคลื่อนไหวได้น้อย กล้ามเนื้อลีบ กระดูกไม่ติด ซึ่งจะต้องเริ่มทำทันทีหลังผ่าตัด แม้ว่าจะปวดบ้างก็ต้องพยายามทำเพราะถ้ารอให้หายปวด ก็เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว
เวลานอน ให้ใช้หมอนรองขาข้างที่ผ่าตัดให้ยกสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อลดอาการบวมและอาการปวดที่ขาและเท้า
วันแรกหลังผ่าตัด อาจจะต้องใช้ผ้าดึงถ่วงขาไว้ก่อน เมื่ออาการปวดทุเลาลงจึงค่อยเริ่มบริหาร
1. เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยตามสบาย ทำ 10 ครั้ง สลับกันทั้งสองข้าง
2. กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง หมุนเข้า-หมุนออก
วันที่สอง ลุกนั่งได้ โดยวางหมอนไว้ระหว่างขา เพื่อป้องกันไม่ให้ขาหุบเข้ามาชิดกันมากเกินไป และอาจเริ่มหัดเดินโดยใช้ไม้ค้ำยัน หรือวอคเกอร์(ไม้เท้าสี่ขา) ลงน้ำหนักบนขาข้างที่ผ่าเล็กน้อย ซึ่งถ้าสามารถเดินได้ดี แผลแห้งไม่มีไข้ แพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับบ้านได้
ในช่วง 10-14 วันหลังการผ่าตัด จะต้องทำแผลวันละครั้งและหมั่นดูแลลักษณะของแผล ถ้าพบว่าผิดปกติ เช่น แผลอักเสบ บวม แดง ปวดแผลมากขึ้น ให้รีบมาพบแพทย์ เมื่อกลับไปอยู่บ้านควรหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้นหรือนั่งเก้าอี้ที่อยู่ต่ำกว่าระดับหัวเข่า เพราะอาจทำให้เกิดข้อสะโพกหลุดได้
ประมาณ 2 อาทิตย์ หลังผ่าตัด แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจซ้ำ เพื่อดูอาการต่างๆ ดูการเคลื่อนไหวของข้อ-สะโพก แนะนำการบริหารและตัดไหม หลังจากนั้นแพทย์ก็จะนัดมาตรวจซ้ำทุก 1-2 เดือนเพื่อเอ็กซเรย์กระดูก
ในระยะแรกๆ อาจต้องใช้ไม้ค้ำยัน หรือวอร์คเกอร์(ไม้เท้าสี่ขา)ช่วยพยุงเดินไปก่อน เมื่อเอ็กซเรย์แล้วพบว่ากระดูกติดดี ไม่ค่อยปวด และกล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรงดีขึ้นแล้ว แพทย์จึงจะให้เปลี่ยนเป็นไม้เท้าถือข้างเดียวแทน โดยให้ถือในมือด้านตรงข้ามกับสะโพกที่กระดูกหัก ซึ่งควรถือไม้เท้าไว้ตลอดเพื่อป้องกันการหกล้ม เพราะกว่าที่กล้ามเนื้อสะโพกจะกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมอาจต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี
ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การนั่งหรือนอนกับพื้น การนั่งเก้าอี้ที่อยู่ต่ำกว่าเข่า หรือการเล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกต่อข้อสะโพก เช่น การกระโดด การวิ่งเร็ว การยกน้ำหนัก เป็นต้น และต้องมาตรวจเป็นระยะโดยในปีแรกอาจต้องมาเอ็กซเรย์ทุก 3-6 เดือน หลังจากนั้นก็ควรมาเอ็กซเรย์ทุก 1 ปี เพื่อดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ข้อสะโพกเทียมหลวม หรือ แตก ซึ่งในระยะแรกอาจพบความผิดปกติในเอ็กซเรย์โดยไม่มีอาการก็ได้
วิธีทำกายบริหาร
ควรทำบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจให้ผู้ป่วยทำเอง หรือให้ญาติช่วยทำให้ก็ได้
1. นอนหงาย งอข้อสะโพก ให้เข่าเหยียด 10 ครั้ง กางขา-หุบขา 10 ครั้ง
2. นอนหงาย ยกขาขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง ทำสลับกันทั้งสองข้าง
3. นอนคว่ำ ยกขาขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง ทำสลับกันทั้งสองข้าง
4. นอนตะแคง กางขาออก ยกขาขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง ทำสลับกันทั้งสองข้าง
5. นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ หรือข้างเตียง เหยียดข้อเข่าให้มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วงอเข่าลงให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ถ้าปวดมากอาจใช้ข้อเท้าขาข้างดีซ้อนใต้ข้อเท้าของขาข้างที่หักเพื่อช่วยยกขึ้นและงอลง
6. นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ หรือข้างเตียง ขยับข้อเท้า ขึ้น-ลง หมุนเข้า-หมุนออก
ถ้าไม่รู้สึกปวดมาก อาจใช้น้ำหนักประมาณ 1-4 กิโลกรัม ถ่วงไว้ที่บริเวณข้อเท้าแล้วบริหาร เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้มากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยให้หายได้เร็วขึ้นและใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
ถ้ามีข้อสงสัย หรือมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษากับศัลยแพทย์กระดูกและข้อที่ให้การรักษาท่านอยู่อีกครั้ง
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากระดูกสะโพกหัก
- ผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหัก ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์
- ผู้ป่วยร้อยละ 7-27 จะเสียชีวิตภายใน 3 เดือน หลังจากมีกระดูกสะโพกหัก เนื่องจากภาวะแทรกซ้อน
- ผู้ป่วยร้อยละ 50 จะต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดินเมื่ออยู่ที่บ้าน
ปัจจัยเสี่ยง ที่จะเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งมักจะมีโรคกระดูกพรุน(กระดูกโปร่งบาง)ร่วมด้วยเสมอ
- อายุ โดยเฉพาะ ในผู้หญิงเมื่อมีอายุประมาณ 45 ปี จะมีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักเพิ่มสูงขึ้นมาก และถ้าอายุมากกว่า 65 ปี ผู้สูงอายุทุกๆ 1 ใน 5 คน จะเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งมักเกิดจากการล้มเพียงเบาๆ
- เพศ ผู้หญิงจะเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า
- ลักษณะทางพันธุกรรม เช่น เคยมีประวัติคนในครอบครัวกระดูกสะโพกหัก ผู้ที่มีโครงร่างเล็กและผอม
- อาหาร โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมน้อยหรือลำไส้ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้ หรือผู้ที่ได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกไปสัมผัสกับแสงแดดในช่วงเช้า-เย็น
- สูบบุหรี่ หรือ ดื่มสุรา
- ผู้ที่มีปัญหาทางกาย เช่น ปวดข้อ ข้ออักเสบ ตามองเห็นไม่ชัด สมองเสื่อม เป็นต้น
- ผู้ที่มีอาการอ่อนแรง หรือ มึนงง ซึ่งอาจพบได้ในผู้สูงอายุทั่วไป หรือจากผลข้างเคียงของยาที่รับประทานอยู่
- ขาดการออกกำลังกาย ที่มีการแบกรับน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ ยกน้ำหนัก
จะเลือกวิธีการรักษาวิธีไหนดี ?
แพทย์จะต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น
- อายุเท่าไร สภาพร่างกายแข็งแรงดีหรือไม่ มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงหรือไม่
- กระดูกหักที่ตำแหน่งไหน แตกเข้าข้อหรือไม่
- หักมากหรือน้อยอย่างไร แล้วมีการเคลื่อนที่ต่างไปจากเดิมมากหรือน้อยขนาดไหน
- มีโรคกระดูกพรุน(กระดูกโปร่งบาง)ร่วมด้วยหรือไม่ ถ้ามีร่วมด้วยอาจต้องรักษาไปพร้อมกันเลย
ทางเลือกวิธีรักษา
1. ใส่ลวดดึงกระดูกและถ่วงน้ำหนักไว้จนกระดูกเริ่มติดจึงเริ่มเดิน วิธีนี้ไม่นิยมเพราะต้องนอนพักนาน
2. ผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก ซึ่งมีหลายชนิด เช่น แผ่นเหล็ก แท่งเหล็ก หรือข้อสะโพกเทียม เป็นต้น
หลังรักษาต้องทำอย่างไร ?
นอกจากการรักษาโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทำกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเช่น ข้อเข่าหรือข้อเท้าเคลื่อนไหวได้น้อย กล้ามเนื้อลีบ กระดูกไม่ติด ซึ่งจะต้องเริ่มทำทันทีหลังผ่าตัด แม้ว่าจะปวดบ้างก็ต้องพยายามทำเพราะถ้ารอให้หายปวด ก็เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว
เวลานอน ให้ใช้หมอนรองขาข้างที่ผ่าตัดให้ยกสูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อลดอาการบวมและอาการปวดที่ขาและเท้า
วันแรกหลังผ่าตัด อาจจะต้องใช้ผ้าดึงถ่วงขาไว้ก่อน เมื่ออาการปวดทุเลาลงจึงค่อยเริ่มบริหาร
1. เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยตามสบาย ทำ 10 ครั้ง สลับกันทั้งสองข้าง
2. กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง หมุนเข้า-หมุนออก
วันที่สอง ลุกนั่งได้ โดยวางหมอนไว้ระหว่างขา เพื่อป้องกันไม่ให้ขาหุบเข้ามาชิดกันมากเกินไป และอาจเริ่มหัดเดินโดยใช้ไม้ค้ำยัน หรือวอคเกอร์(ไม้เท้าสี่ขา) ลงน้ำหนักบนขาข้างที่ผ่าเล็กน้อย ซึ่งถ้าสามารถเดินได้ดี แผลแห้งไม่มีไข้ แพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับบ้านได้
ในช่วง 10-14 วันหลังการผ่าตัด จะต้องทำแผลวันละครั้งและหมั่นดูแลลักษณะของแผล ถ้าพบว่าผิดปกติ เช่น แผลอักเสบ บวม แดง ปวดแผลมากขึ้น ให้รีบมาพบแพทย์ เมื่อกลับไปอยู่บ้านควรหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้นหรือนั่งเก้าอี้ที่อยู่ต่ำกว่าระดับหัวเข่า เพราะอาจทำให้เกิดข้อสะโพกหลุดได้
ประมาณ 2 อาทิตย์ หลังผ่าตัด แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจซ้ำ เพื่อดูอาการต่างๆ ดูการเคลื่อนไหวของข้อ-สะโพก แนะนำการบริหารและตัดไหม หลังจากนั้นแพทย์ก็จะนัดมาตรวจซ้ำทุก 1-2 เดือนเพื่อเอ็กซเรย์กระดูก
ในระยะแรกๆ อาจต้องใช้ไม้ค้ำยัน หรือวอร์คเกอร์(ไม้เท้าสี่ขา)ช่วยพยุงเดินไปก่อน เมื่อเอ็กซเรย์แล้วพบว่ากระดูกติดดี ไม่ค่อยปวด และกล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรงดีขึ้นแล้ว แพทย์จึงจะให้เปลี่ยนเป็นไม้เท้าถือข้างเดียวแทน โดยให้ถือในมือด้านตรงข้ามกับสะโพกที่กระดูกหัก ซึ่งควรถือไม้เท้าไว้ตลอดเพื่อป้องกันการหกล้ม เพราะกว่าที่กล้ามเนื้อสะโพกจะกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมอาจต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี
ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การนั่งหรือนอนกับพื้น การนั่งเก้าอี้ที่อยู่ต่ำกว่าเข่า หรือการเล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกต่อข้อสะโพก เช่น การกระโดด การวิ่งเร็ว การยกน้ำหนัก เป็นต้น และต้องมาตรวจเป็นระยะโดยในปีแรกอาจต้องมาเอ็กซเรย์ทุก 3-6 เดือน หลังจากนั้นก็ควรมาเอ็กซเรย์ทุก 1 ปี เพื่อดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ข้อสะโพกเทียมหลวม หรือ แตก ซึ่งในระยะแรกอาจพบความผิดปกติในเอ็กซเรย์โดยไม่มีอาการก็ได้
วิธีทำกายบริหาร
ควรทำบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจให้ผู้ป่วยทำเอง หรือให้ญาติช่วยทำให้ก็ได้
1. นอนหงาย งอข้อสะโพก ให้เข่าเหยียด 10 ครั้ง กางขา-หุบขา 10 ครั้ง
2. นอนหงาย ยกขาขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง ทำสลับกันทั้งสองข้าง
3. นอนคว่ำ ยกขาขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง ทำสลับกันทั้งสองข้าง
4. นอนตะแคง กางขาออก ยกขาขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 ทำ 10 ครั้ง ทำสลับกันทั้งสองข้าง
5. นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ หรือข้างเตียง เหยียดข้อเข่าให้มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วงอเข่าลงให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ถ้าปวดมากอาจใช้ข้อเท้าขาข้างดีซ้อนใต้ข้อเท้าของขาข้างที่หักเพื่อช่วยยกขึ้นและงอลง
6. นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ หรือข้างเตียง ขยับข้อเท้า ขึ้น-ลง หมุนเข้า-หมุนออก
ถ้าไม่รู้สึกปวดมาก อาจใช้น้ำหนักประมาณ 1-4 กิโลกรัม ถ่วงไว้ที่บริเวณข้อเท้าแล้วบริหาร เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้มากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยให้หายได้เร็วขึ้นและใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
ถ้ามีข้อสงสัย หรือมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษากับศัลยแพทย์กระดูกและข้อที่ให้การรักษาท่านอยู่อีกครั้ง
นายแพทย์พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
http://cmu2807.bloggang.com