นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมได้จึงต้องรับมาจากอาหารผ่านการย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ซึ่งการดูดซึมแคลเซียมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะขับถ่ายทิ้งไป
-ประโยชน์ของแคลเซียม
หน้าที่ของแคลเซียมนอกจากจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ยังซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ และควบคุมสมดุลของกรดและด่างในร่างกาย
หากขาดแคลเซียมในเด็กจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน ทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกผิดปกติ ถ้าในหญิงวัยหมดประจำเดือนจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน และเป็นสาเหตุของโรคกระดูกเสื่อม นอกจากนี้ หากร่างกายขาดแคลเซียมอย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง กระตุกและชัก เป็นต้น
-ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม เช่น
ได้รับแคลเซียมผ่านอาหารไม่เพียงพอ
ไม่ออกกำลังกาย
ดื่มกาแฟเกินขนาด
ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยกระดูกหักมาก่อน
เครดิต sanook
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ร่างกายได้รับ "แคลเซียม" ไม่เพียงพอ
-ประโยชน์ของแคลเซียม
หน้าที่ของแคลเซียมนอกจากจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ยังซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ และควบคุมสมดุลของกรดและด่างในร่างกาย
หากขาดแคลเซียมในเด็กจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน ทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกผิดปกติ ถ้าในหญิงวัยหมดประจำเดือนจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน และเป็นสาเหตุของโรคกระดูกเสื่อม นอกจากนี้ หากร่างกายขาดแคลเซียมอย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง กระตุกและชัก เป็นต้น
-ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม เช่น
ได้รับแคลเซียมผ่านอาหารไม่เพียงพอ
ไม่ออกกำลังกาย
ดื่มกาแฟเกินขนาด
ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยกระดูกหักมาก่อน
เครดิต sanook