“ยังไม่ถึง 5 วิ ยังไม่ถึง 3 วิกินได้ เชื้อโรคยังไม่เห็น” ประโยคที่น่าจะเคยได้ยินหรือเคยพูดเองสักครั้งในชีวิต เวลาอาหารหรือขนมตกลงไปที่พื้น บนโต๊ะ ต้องรีบหยิบขึ้นมาแล้วคิดว่าไม่เป็นอะไร
อวสาน “กฎ 5 วินาที” เมื่องานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ตรงกัน “ไม่ควรเก็บอาหารที่ตกพื้นแล้ว ขึ้นมารับประทานอีก แม้ว่าจะตกเพียงไม่กี่วินาทีตาม” ย้ำเชื้อโรคแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แถมเสี่ยงท้องร่วง
-"กฎ 5 วินาที" เป็นความเชื่อว่าถ้าเก็บอาหารขึ้นมาจากพื้นภายใน 5 วินาทีหลังจากหล่น จะสามารถกินต่อได้ เพราะเชื้อโรคยังไม่เห็น
-มีงานวิจัยหลายชิ้นพิสูจน์แล้วว่า กฎดังกล่าวไม่เป็นความจริง เชื้อโรคสามารถแพร่เข้าสู่อาหารแทบจะทันทีหลังจากตกสู่พื้น
“รีบเก็บขึ้นมา เชื้อโรคยังไม่เห็น กินได้”
เมื่อเวลาอาหารตกลงพื้น แล้วเรารู้สึกเสียดาย มักจะมีเสียงจากคนรอบตัว หรือบางทีก็เสียงในหัว ดังขึ้นมาเสมอ ให้เรารีบเก็บอาหารชิ้นนั้นขึ้นมา แล้วรีบคว้าเข้าปากในทันที ด้วยความเชื่อตาม “กฎ 5 วินาที” หรือบางทีก็ “3 วินาที” ที่อาหารตกถึงพื้นแล้วเชื้อโรคจะไม่เข้าไม่ถึงอาหาร
แต่ความเป็นจริงแล้ว ในทางวิทยาศาสตร์เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? ไปหาคำตอบกัน
ประเด็นอาหารตกพื้นแล้วเอากินต่อได้หรือไม่ จนเป็นที่มาของ กฎ 5 วินาที ที่กลายเป็นสัญญะทางสังคมอย่างหนึ่ง เพื่อให้ผู้คนรอบข้างรับรู้ว่า สิ่งเรากำลังเอาเข้าปากนี้ (อาจจะ) ปลอดภัย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นสากล มีการถกเถียงกันทั่วทุกมุมโลก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น
จากการสำรวจของ YouGov Omnibus พบว่า ชาวอังกฤษราว 79% ยอมรับว่าพวกเขาเคยเก็บอาหารที่ตกพื้นไปแล้วขึ้นมากินต่อ ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างพากันทำวิจัย โดยกำหนด 3 ตัวแปรสำคัญ คือ ระยะเวลาที่อาหารตกถึงพื้น ประเภทของอาหาร และพื้นผิวที่อาหารตกลงไป
งานวิจัยพิสูจน์แล้ว
เริ่มต้นจากการศึกษาในปี 2549 จากมหาวิทยาลัยเคลมสัน (Clemson University) ในสหรัฐ พบว่า แบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella) ที่ทำให้ท้องร่วงนั้น ซึ่งอยู่ตามพื้นนั้น สามารถเคลื่อนที่สู่อาหาร (ในการทดลองนี้คือโบโลน่า) หลังจากอาหารตกลงสู่พื้นได้แทบจะทันที ดังนั้นกฎ 5 วินาที จึงถูกหักล้างตั้งแต่การทดลองแรก แต่ก็ยังเหลืออีก 2 ตัวแปร
ถัดมาเป็นการทดลองเมื่อปี 2559 ตีพิมพ์ในวารสารจุลชีววิทยาของสหรัฐ ทำการศึกษาเกี่ยวกับการปนเปื้อนของอาหารประเภทต่าง ๆ โดยทำการทดสอบในอาหาร 4 ชนิด คือ แตงโม ขนมปัง ขนมปังทาเนย และลูกอมเคี้ยวหนึบ ซึ่งผลการทดลองพบว่า แตงโมมีเชื้อโรคมากที่สุดหลังจากร่วงหล่นลงสู่พื้น ตามมาด้วยขนมปังทาเนยและขนมปังที่มีอัตราการปนเปื้อนใกล้เคียงกัน ส่วนลูกอมเคี้ยวหนึบมีการปนเปื้อนน้อยที่สุด
นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า เป็นเพราะลักษณะของอาหารที่แบนราบสนิทไปกับพื้นและความชื้นของอาหารเป็นตัวดึงดูดเชื้อโรคได้ดี โดยในอาหารทั้ง 4 ชนิดนี้ พื้นผิวของลูกอมมีความสม่ำเสมอน้อยที่สุด แต่ก็ยังมีการปนเปื้อนอยู่ดี ดังนั้น ตัวแปรด้านอาหารก็ทำให้ทฤษฎี “กฎ 5 วินาที” ล่มไปด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ในงานวิจัยทั้งสองชิ้นได้ทำการทดสอบผ่านพื้นผิวหลากหลายประเภททั้ง ไม้ กระเบื้อง พรม และสเตนเลส และจากการทดลองพบว่า พื้นผิวทุกประเภทนั้นมีเชื้อโรคอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น และพวกมันสามารถเคลื่อนตัวไปยังอาหารได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าเชื้อโรคที่อยู่บนพรมจะเคลื่อนย้ายไปได้ลำบากกว่าพื้นผิวชนิดอื่นก็ตาม
อีกทั้งในการศึกษาเมื่อปี 2549 ยังระบุว่า ประเภทของพื้นที่ทำให้อาหารที่หล่นพื้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาหารปนเปื้อน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่อาหารสัมผัสกับพื้น หรือ ประเภทของอาหารแต่อย่างใด โดยแบคทีเรียที่อยู่บนพรมต่ำกว่า 1% ปนเปื้อนมายังอาหาร แต่หากเป็นพื้นไม้หรือพื้นกระเบื้อง การปนเปื้อนจะสูงถึง 48-70% เลยทีเดียว
แม้อัตราการปนเปื้อนอาหารบนพรมนั้นจะต่ำขนาดไหน ไม่ได้หมายความว่า คุณจะสามารถหยิบอาหารที่ตกจากบนพรมมากินได้อย่างสบายใจ เพราะเชื้อโรคบางชนิดมีความรุนแรงมาก เพียงแค่คุณรับเชื้อโรคเข้าไป 0.1% ก็สามารถทำให้คุณป่วยได้แล้ว เช่น เชื้ออีโคไล ที่สามารถทำให้ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเสียชีวิตได้
ที่สำคัญเชื้อโรคต่าง ๆ ไม่ได้กระจายตัวอยู่เฉพาะแค่ตามพื้นเท่านั้น แต่เชื้อโรคอยู่กับเราในทุกที่ ทั้งในเนื้อดิบ แหล่งน้ำ ในอากาศ อุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งบนร่างกายของเรา และอย่าไว้ใจว่าพื้นที่เราเห็นว่าสะอาดด้วยตาเปล่า ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีเชื้อโรคแฝงอยู่
เช่นเดียวกับที่ศาสตราจารย์แอนโธนี ฮิลตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อโรคจากมหาวิทยาลัยแอสตัน ในสหราชอาณาจักร กล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2560 ว่า “การกินอาหารที่ตกพื้นย่อมมีความเสี่ยงเสมอ แม้ว่ามันจะหล่นลงพื้นเพียงไม่นาน”
ดังนั้น ก่อนที่จะรับประทานอะไรก็ตาม ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และไม่ควรนำอาหารที่ตกลงพื้นแล้วมารับประทานต่อ เพราะ “กฎ 5 วินาทีมันใช้ไม่ได้จริง” อย่าให้ “ความเสียดาย” ทำให้คุณต้องลุ้นกับภูมิคุ้มกันของตนเอง ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจลงเอยด้วยการเข้าห้องน้ำตลอดทั้งวัน จนไม่เป็นอันต้องทำอะไร
ที่มา
https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1058826
อาหารตกพื้น ยังไม่ถึง 3 วิ กินได้ เชื้อโรคยังไม่เห็น ประโยคที่น่าจะเคยได้ยินหรือเคยพูดเองสักครั้งในชีวิต ซึ่งใช้ไม่ได้
อวสาน “กฎ 5 วินาที” เมื่องานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ตรงกัน “ไม่ควรเก็บอาหารที่ตกพื้นแล้ว ขึ้นมารับประทานอีก แม้ว่าจะตกเพียงไม่กี่วินาทีตาม” ย้ำเชื้อโรคแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แถมเสี่ยงท้องร่วง
-"กฎ 5 วินาที" เป็นความเชื่อว่าถ้าเก็บอาหารขึ้นมาจากพื้นภายใน 5 วินาทีหลังจากหล่น จะสามารถกินต่อได้ เพราะเชื้อโรคยังไม่เห็น
-มีงานวิจัยหลายชิ้นพิสูจน์แล้วว่า กฎดังกล่าวไม่เป็นความจริง เชื้อโรคสามารถแพร่เข้าสู่อาหารแทบจะทันทีหลังจากตกสู่พื้น
“รีบเก็บขึ้นมา เชื้อโรคยังไม่เห็น กินได้”
เมื่อเวลาอาหารตกลงพื้น แล้วเรารู้สึกเสียดาย มักจะมีเสียงจากคนรอบตัว หรือบางทีก็เสียงในหัว ดังขึ้นมาเสมอ ให้เรารีบเก็บอาหารชิ้นนั้นขึ้นมา แล้วรีบคว้าเข้าปากในทันที ด้วยความเชื่อตาม “กฎ 5 วินาที” หรือบางทีก็ “3 วินาที” ที่อาหารตกถึงพื้นแล้วเชื้อโรคจะไม่เข้าไม่ถึงอาหาร
แต่ความเป็นจริงแล้ว ในทางวิทยาศาสตร์เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? ไปหาคำตอบกัน
ประเด็นอาหารตกพื้นแล้วเอากินต่อได้หรือไม่ จนเป็นที่มาของ กฎ 5 วินาที ที่กลายเป็นสัญญะทางสังคมอย่างหนึ่ง เพื่อให้ผู้คนรอบข้างรับรู้ว่า สิ่งเรากำลังเอาเข้าปากนี้ (อาจจะ) ปลอดภัย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นสากล มีการถกเถียงกันทั่วทุกมุมโลก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น
จากการสำรวจของ YouGov Omnibus พบว่า ชาวอังกฤษราว 79% ยอมรับว่าพวกเขาเคยเก็บอาหารที่ตกพื้นไปแล้วขึ้นมากินต่อ ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างพากันทำวิจัย โดยกำหนด 3 ตัวแปรสำคัญ คือ ระยะเวลาที่อาหารตกถึงพื้น ประเภทของอาหาร และพื้นผิวที่อาหารตกลงไป
งานวิจัยพิสูจน์แล้ว
เริ่มต้นจากการศึกษาในปี 2549 จากมหาวิทยาลัยเคลมสัน (Clemson University) ในสหรัฐ พบว่า แบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella) ที่ทำให้ท้องร่วงนั้น ซึ่งอยู่ตามพื้นนั้น สามารถเคลื่อนที่สู่อาหาร (ในการทดลองนี้คือโบโลน่า) หลังจากอาหารตกลงสู่พื้นได้แทบจะทันที ดังนั้นกฎ 5 วินาที จึงถูกหักล้างตั้งแต่การทดลองแรก แต่ก็ยังเหลืออีก 2 ตัวแปร
ถัดมาเป็นการทดลองเมื่อปี 2559 ตีพิมพ์ในวารสารจุลชีววิทยาของสหรัฐ ทำการศึกษาเกี่ยวกับการปนเปื้อนของอาหารประเภทต่าง ๆ โดยทำการทดสอบในอาหาร 4 ชนิด คือ แตงโม ขนมปัง ขนมปังทาเนย และลูกอมเคี้ยวหนึบ ซึ่งผลการทดลองพบว่า แตงโมมีเชื้อโรคมากที่สุดหลังจากร่วงหล่นลงสู่พื้น ตามมาด้วยขนมปังทาเนยและขนมปังที่มีอัตราการปนเปื้อนใกล้เคียงกัน ส่วนลูกอมเคี้ยวหนึบมีการปนเปื้อนน้อยที่สุด
นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า เป็นเพราะลักษณะของอาหารที่แบนราบสนิทไปกับพื้นและความชื้นของอาหารเป็นตัวดึงดูดเชื้อโรคได้ดี โดยในอาหารทั้ง 4 ชนิดนี้ พื้นผิวของลูกอมมีความสม่ำเสมอน้อยที่สุด แต่ก็ยังมีการปนเปื้อนอยู่ดี ดังนั้น ตัวแปรด้านอาหารก็ทำให้ทฤษฎี “กฎ 5 วินาที” ล่มไปด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ในงานวิจัยทั้งสองชิ้นได้ทำการทดสอบผ่านพื้นผิวหลากหลายประเภททั้ง ไม้ กระเบื้อง พรม และสเตนเลส และจากการทดลองพบว่า พื้นผิวทุกประเภทนั้นมีเชื้อโรคอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น และพวกมันสามารถเคลื่อนตัวไปยังอาหารได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าเชื้อโรคที่อยู่บนพรมจะเคลื่อนย้ายไปได้ลำบากกว่าพื้นผิวชนิดอื่นก็ตาม
อีกทั้งในการศึกษาเมื่อปี 2549 ยังระบุว่า ประเภทของพื้นที่ทำให้อาหารที่หล่นพื้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาหารปนเปื้อน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่อาหารสัมผัสกับพื้น หรือ ประเภทของอาหารแต่อย่างใด โดยแบคทีเรียที่อยู่บนพรมต่ำกว่า 1% ปนเปื้อนมายังอาหาร แต่หากเป็นพื้นไม้หรือพื้นกระเบื้อง การปนเปื้อนจะสูงถึง 48-70% เลยทีเดียว
แม้อัตราการปนเปื้อนอาหารบนพรมนั้นจะต่ำขนาดไหน ไม่ได้หมายความว่า คุณจะสามารถหยิบอาหารที่ตกจากบนพรมมากินได้อย่างสบายใจ เพราะเชื้อโรคบางชนิดมีความรุนแรงมาก เพียงแค่คุณรับเชื้อโรคเข้าไป 0.1% ก็สามารถทำให้คุณป่วยได้แล้ว เช่น เชื้ออีโคไล ที่สามารถทำให้ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเสียชีวิตได้
ที่สำคัญเชื้อโรคต่าง ๆ ไม่ได้กระจายตัวอยู่เฉพาะแค่ตามพื้นเท่านั้น แต่เชื้อโรคอยู่กับเราในทุกที่ ทั้งในเนื้อดิบ แหล่งน้ำ ในอากาศ อุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งบนร่างกายของเรา และอย่าไว้ใจว่าพื้นที่เราเห็นว่าสะอาดด้วยตาเปล่า ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีเชื้อโรคแฝงอยู่
เช่นเดียวกับที่ศาสตราจารย์แอนโธนี ฮิลตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อโรคจากมหาวิทยาลัยแอสตัน ในสหราชอาณาจักร กล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2560 ว่า “การกินอาหารที่ตกพื้นย่อมมีความเสี่ยงเสมอ แม้ว่ามันจะหล่นลงพื้นเพียงไม่นาน”
ดังนั้น ก่อนที่จะรับประทานอะไรก็ตาม ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และไม่ควรนำอาหารที่ตกลงพื้นแล้วมารับประทานต่อ เพราะ “กฎ 5 วินาทีมันใช้ไม่ได้จริง” อย่าให้ “ความเสียดาย” ทำให้คุณต้องลุ้นกับภูมิคุ้มกันของตนเอง ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจลงเอยด้วยการเข้าห้องน้ำตลอดทั้งวัน จนไม่เป็นอันต้องทำอะไร
ที่มา
https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1058826