นันทนา ประกาศขอเป็น ‘สว.พันธุ์ใหม่’ ลั่นจะสู้จนกว่าชัยชนะจะเป็นของประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4674535
นันทนา ประกาศขอเป็น ‘สว.พันธุ์ใหม่’ ลั่นจะสู้จนกว่าชัยชนะจะเป็นของประชาชน
ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง นัดประชุมเพื่อพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกระบวนการเลือก ส.ว. ทั้งนี้ หลังพิจารณาถกลับตั้งแต่เช้าเวลา 09.00 น. และประชุมเสร็จสิ้นเวลา 14.30 น. กกต.มีมติรับรองผลการเลือก ส.ว. 200 คน และบัญชีสำรองอีก 99 คนแล้ว ซึ่งกกต.ยกเว้นในกลุ่มที่ 18 กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่นๆ เป็นการระงับสิทธิสมัคร หรือใบส้มนั้น
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.
นันทนา นันทวโรภาส โพสต์ข้อความผ่านเพจ “
ดร.นันทนา นันทวโรภาส”
กกต.ประกาศรับรองส.ว.200 คน ให้เข้าทำหน้าที่แล้ว ขอขอบคุณ มือทุกมือ ใจทุกใจ ที่ส่งพลังมาให้จนถึงเส้นชัย 🙏 จากนี้ไปจะขอเป็น “ส.ว.พันธุ์ใหม่ รับใช้ประชาชน” จะสู้จนกว่าชัยชนะจะเป็นของประชาชน!.
https://www.facebook.com/dr.nantana/posts/7832193476874095
‘ก้าวไกล’ ชี้ต้องเปลี่ยนนิยาม ‘วิจัย-วิทยาศาสตร์ใหม่’ สร้างยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4674373
‘ก้าวไกล’ ชี้ต้องเปลี่ยนนิยาม ‘การวิจัย-วิทยาศาสตร์ใหม่’ สร้างยุทธศาสตร์การสื่อสารด้านอารมณ์และความรู้สึก เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในระดับโลกได้
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นาย
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.)อภิปรายร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฉบับที่… พ.ศ…. โดยระบุว่าการมองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมุมมองแบบเดิมๆ ไม่อาจนำพาประเทศไทยกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ที่จะสร้างความเข้มแข็งได้ โดยเฉพาะในโลกชายเป็นใหญ่ที่มักจะมองว่าเป็นเรื่องของผู้ชาย และเกี่ยวข้องกับเหตุผลและตรรกะ ในขณะที่เรื่องของผู้หญิงมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของอารมณ์และหาเหตุผลไม่ได้ แต่ทุกอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์นั้นต่างก็มีเหตุผล และคำอธิบายที่ต้องการวิทยาศาสตร์และทุกเทคโนโลยีอธิบายเช่นกัน เป็นเหมือนปรัชญาที่รอคำตอบ
นาย
ธัญวัจน์ กล่าวต่ออีกว่าการที่ประเทศไทยยอมรับการประกอบอาชีพในด้านศิลปะ เช่น การแสดงและดนตรี แต่สถาบันมหาวิทยาลัยที่สอนศิลปะเหล่านี้กลับมีอนาคตที่ไม่สดใส เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการวิจัย และเทคโนโลยีเพียงพอ เพื่อสร้างการงานคุณภาพออกมาสู่ตลาด ซึ่งปรากฎการณ์ “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” หรือ ลิซ่า แบล็กพิงค์ ในมิวสิควีดีโอ Rockstar ที่โด่งดังไปทั่วโลก แต่ทุกคนมุ่งเน้นประเด็นไปที่ย่านเยาวราช แต่กลับไม่มีการตั้งคำถามเชิงวิจัยของกระบวนการกว่าจะมาเป็นมิวสิควีดีโอดังกล่าว
“
การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรเปลี่ยนแปลงนิยามใหม่เพื่อรองรับความต้องการของสังคมไทย โดยเฉพาะการวิจัยเกี่ยวกับดนตรีและศิลปะ เพราะความสำคัญของการวิจัยด้านเสียงและการออกแบบทางวิศวกรรมเสียงที่เหมาะสมกับแนวเพลง ทั้งเมโลดี้เพลง ที่มีการเรียบเรียงอย่างไรจึงจะเป็นเพลงที่ติดหู หรือเสียง วิศวกรรมด้านเสียง มีการวิจัยหรือไม่ว่าเพลงฮิปฮอปควรมีคลื่นความถี่ย่านใดบ้างหรือมุ่งเน้นที่คลื่นความถี่ย่านใด หรือตัวลิซ่าเอง เสื้อรูปดาวที่ใส่ต้องผ่านการกรีนเทสกี่ครั้ง สี และรูปแบบถูกออกแบบมาว่าอะไรที่เหมาะที่สุด ซึ่งการทำงานดังกล่าวมีทั้งศิลปะ ประสบการณ์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่ต่างใช้ข้อมูลเพื่อทำงาน หรือภาพยนต์ ซีรีส์ หรือละครเพลงซึ่งมีการลำดับเรื่องอย่างไร ความสำคัญอย่างไรต่อผู้ชมสื่อบันเทิง และสามารถตรึงอารมณ์และความรู้สึกได้ หรือองค์ประกอบภาพต่าง ๆ ที่ก็ต้องที่สื่อความรู้สึกในรูปแบบต่าง ๆ” นาย
ธัญวัจน์กล่าว
นาย
ธัญวัจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่าความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงวิทยาศาสตร์และความเข้าใจในเรื่องของวงการสื่อสารด้านอารมณ์เพื่อสร้างยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ให้กับประเทศ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนงานวิจัย และเทคโนโลยีที่มากเพียงพอ เพื่อที่จะทำให้สามารถที่จะริเริ่มสิ่งใหม่ๆได้ เพื่อต้องเผชิญกับการแข่งขันทั่วโลก พร้อมกับเรียกร้องให้มีการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในระดับโลกได้ และที่สำคัญทำให้ศิลปินและบุคคลในวงการบันเทิงมีข้อมูลมากเพียงพอและสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยังยืน
นาย
ธัญวัจน์ กล่าวว่า อารมณ์และความรู้สึกคือสิ่งที่ AI และหุ่นยนต์ไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้ ซึ่งความเป็นมนุษย์ มีความสำคัญในการสร้างพลังอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศ
กมธ.กฎหมายฯ ประชุมหาแนวทางช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4674364
กมธ.กฎหมายฯ ประชุมหาแนวทางช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืน รวมถึงแนวทางการดูแลผู้ลี้ภัย ระหว่างการหาแนวทางแก้ปัญหาเสร็จสิ้น
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ได้ประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องมาตรฐานสากลในการควบคุมและกักขังผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ และมาตรการด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้หลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีบุคคลและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูล และข้อเสนอแนะต่อกมธ. ดังนี้
น.ส.
กฤตพร เสมสันทัด ในฐานะผู้ร้องเรียน และตัวแทนเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ เครือข่ายด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่า มีผู้ยื่นหนังสือ ให้กมธ. 2,050 รายชื่อ เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 67 โดยหัวข้อ คือขอให้ยุติการกักตัวผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ ที่กักมานานกว่า 10 ปี และหาทางออกที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เนื่องจากยังมีอีก 48 คน ที่ถูกกักอยู่ในห้องกักคนต่างด้าวของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ด้วยสภาพแวดล้อมจำกัดต่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว จึงขอใช้โอกาสนี้ในการพิจารณา
นาย
กัณวีร์ สืบแสง ในฐานะรองประธาน กมธ. กล่าวว่า มี 2 ประเด็นคำถามที่จะหารือ ส่วนแรกคือ จะทำอย่างไรได้บ้างเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคง เพราะเราไม่มีกฎหมายผู้ลี้ภัย ซึ่งหากปฏิบัติเกินหน้าที่ก็จะโดนมาตรา 157 เรามีสุญญากาศในเรื่องผู้ลี้ภัย เพราะฉะนั้นเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ จะสามารถพิจารณาแนวทางแก้ไข ในช่วงระหว่างกลางก่อนที่จะมีการแก้ไข ปัญหาแบบยั่งยืนให้เกิดขึ้น ให้ผู้ลี้ภัยสามารถใช้ชีวิตในพื้นที่อื่น และได้ติดต่อญาติ และต่อไปในอนาคตจะมีนโยบาย ไปที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้พวกเขาอย่างยั่งยืนหรือไม่อย่างไร
นาย
สรพงศ์ ศรียานงค์ ที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง กล่าวว่า ชาวอุยกูร์เหล่านี้ เป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ตอนนี้มีสถานะเป็นผู้ต้องกัก ที่อยู่ระหว่างรอส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมี 2 กลุ่ม 40 คน อยู่ที่ สตม. และอีก 5 คน อยู่ที่กรมราชทัณฑ์ เนื่องจากหลบหนีจากห้องกัก จึงถูกดำเนินคดีไป การจะให้คนเหล่านี้ออกไปอยู่ข้างนอกเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ซึ่งตอนนี้ก็ได้ดูแลตามมาตรการ และแนวทางดูแลอย่างเหมาะสม ตามหลักมนุษยธรรม ขณะเดียวกันก็พยายามผ่อนคลาย ทั้งนี้เราก็ได้รับแรงกดดันจากประเทศบ้านเกิดของคนกลุ่มนี้ ซึ่งเขาก็ยืนยันว่าเป็นคนของเขา จึงต้องการคนเหล่านี้กลับไปสู่บ้านเกิด ถ้าเราสามารถคุยกับประเทศบ้านเกิด และยอมรับให้คนเหล่านี้ไปตามสมัครใจที่เขาอยากไปได้ ก็จะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว
ผศ.
สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงข้อเสนอว่า ที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกับทางสภาความมั่นคง และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(สตม.) มาโดยตลอด และทางตนเองก็ได้มีโอกาสประสานงานกับ สำนักจุฬาราชมนตรี สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งเสนอแพทย์ที่จะเข้ามาช่วยดูแล ให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพ ไม่ใช่แค่ชาวอุยกูร์ แต่รวมถึงผู้ที่อยู่ในห้องกักชั่วคราว ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี รวมถึงควรมีจิตแพทย์เข้าไปดูแลด้วย และเรื่องการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ
ส่วนอีกเรื่องคือ การเสนอให้ย้ายออกจาก สตม. ไปอยู่ในสถานที่อื่น อาจจะไปอยู่ในราชทัณฑ์ หรือที่ใดที่มีบริเวณกว้างกว่าเดิม ให้สามารถออกกำลังกายหรือทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้สภาพชีวิตและจิตใจดีขึ้น ยังเชื่อว่า หากรัฐบาลกล้าตัดสินใจให้ชาวอุยกูร์เข้าไปอยู่ประเทศที่สาม มีอีกหลายประเทศที่พร้อมจะโอบรับ อย่างประเทศมาเลเซียเองก็พร้อมที่จะเป็นตัวกลางในการส่งผ่านไปประเทศอื่น
ด้านพันตำรวจเอก
วัชรพล กาญจรกันทร ผกก. 3 บก.สส. สตม. กล่าวถึงระเบียบและแนวทางปฏิบัติของ สตม. ต่อการดูแลผู้ต้องกัก การปรับปรุงคุณภาพของศูนย์กักตัวต่างด้าว เพื่อรอการส่งกลับทั้งระยะสั้นและระยะยาว ว่า ในตอนนี้มีแพทย์ 3 หน่วยงานเข้าไปดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย หน่วยงานแพทย์ตรวจคนเข้าเมือง ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง แพทย์จากมูลนิธิเยสุอิต ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน มีแฟ้มสุขภาพของผู้ต้องกักทุกราย และล่าสุดมีแพทย์จากสำนักจุฬาฯ เข้ามาดูแลผู้ต้องหาทุกราย หากผู้ต้องกักรายใดมีอาการเจ็บป่วย จะมีรถนำส่งไปโรงพยาบาลตำรวจ ทั้งนี้ ได้แยกแฟ้มสุขภาพของชาวอุยกูร์ เป็นกลุ่มเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ส่วนเรื่องอาหารมี TOR ให้เป็นกลาง สามารถทานได้ทั้งชาวพุทธและมุสลิม โดยไม่มีการแบ่งแยก นอกจากนี้ยังได้รับการบริจาคอาหารฮาลาลจากองค์กรเอกชนอีกด้วย
อีกประเด็นคือ การปฏิบัติและการควบคุม ผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ปัจจุบันได้รับความกรุณาจากสำนักจุฬาฯ จัดจิตแพทย์เข้ามาพูดคุยทุกวันศุกร์ เพื่อดูแลสุขภาพจิต จากการถูกกักขังมานาน และพยายามให้ความหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ได้นิ่งนอนใจ หากต้องการสิ่งใดสามารถเขียนจดหมายร้องขอ ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังมีการได้ประชุมกับหลายหน่วยงานทั้ง สมช. และกรมคุ้มครองสิทธิ เกี่ยวกับเรื่องการติดต่อญาติ ซึ่งให้ติดต่อผ่านหน่วยงาน โดยวิธีอีเมลหรืออิเล็กทรอนิกส์
ที่ประชุมได้มีข้อสรุปที่ดีที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะนำเรื่องการพิจารณาการดูแลชาวอุยกูร์ที่อยู่ในความดูแลของภาครัฐให้มีการเข้าถึงอย่างมีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ รวมถึงการดูแลทางสภาวะจิตใจที่ดีขึ้น ทั้งนี้ผู้ต้องกักชาวอุยกูร์จะได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกับผู้ต้องกักอื่นๆ ทั่วไป อาหารและการปฏิบัติตามศาสนาของชาวอุยกูร์ และจะมีการพิจารณาเรื่องสถานที่ต้องกักแห่งอื่นที่เหมาะสม และการเข้าถึงกลไกภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในการคัดกรองผู้ที่เข้ามาในราชอาณาจักรที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นกำเนิดได้ (National Screening Mechanism-NSM) และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ต้องกักมากที่สุดโดยยึดหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) ที่เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ รวมถึง กรอบกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และกฎหมายภายในประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
JJNY : นันทนาลั่นจะสู้│‘ก้าวไกล’ ชี้ต้องเปลี่ยนนิยาม สร้างยุทธศาสตร์│กมธ.ประชุมหาทางช่วยเหลือผู้ลี้ภัย│นาโตอัดฉีดยูเครน
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4674535
นันทนา ประกาศขอเป็น ‘สว.พันธุ์ใหม่’ ลั่นจะสู้จนกว่าชัยชนะจะเป็นของประชาชน
ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง นัดประชุมเพื่อพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกระบวนการเลือก ส.ว. ทั้งนี้ หลังพิจารณาถกลับตั้งแต่เช้าเวลา 09.00 น. และประชุมเสร็จสิ้นเวลา 14.30 น. กกต.มีมติรับรองผลการเลือก ส.ว. 200 คน และบัญชีสำรองอีก 99 คนแล้ว ซึ่งกกต.ยกเว้นในกลุ่มที่ 18 กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่นๆ เป็นการระงับสิทธิสมัคร หรือใบส้มนั้น
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส โพสต์ข้อความผ่านเพจ “ดร.นันทนา นันทวโรภาส”
กกต.ประกาศรับรองส.ว.200 คน ให้เข้าทำหน้าที่แล้ว ขอขอบคุณ มือทุกมือ ใจทุกใจ ที่ส่งพลังมาให้จนถึงเส้นชัย 🙏 จากนี้ไปจะขอเป็น “ส.ว.พันธุ์ใหม่ รับใช้ประชาชน” จะสู้จนกว่าชัยชนะจะเป็นของประชาชน!.
https://www.facebook.com/dr.nantana/posts/7832193476874095
‘ก้าวไกล’ ชี้ต้องเปลี่ยนนิยาม ‘วิจัย-วิทยาศาสตร์ใหม่’ สร้างยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4674373
‘ก้าวไกล’ ชี้ต้องเปลี่ยนนิยาม ‘การวิจัย-วิทยาศาสตร์ใหม่’ สร้างยุทธศาสตร์การสื่อสารด้านอารมณ์และความรู้สึก เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในระดับโลกได้
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.)อภิปรายร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฉบับที่… พ.ศ…. โดยระบุว่าการมองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมุมมองแบบเดิมๆ ไม่อาจนำพาประเทศไทยกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ที่จะสร้างความเข้มแข็งได้ โดยเฉพาะในโลกชายเป็นใหญ่ที่มักจะมองว่าเป็นเรื่องของผู้ชาย และเกี่ยวข้องกับเหตุผลและตรรกะ ในขณะที่เรื่องของผู้หญิงมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของอารมณ์และหาเหตุผลไม่ได้ แต่ทุกอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์นั้นต่างก็มีเหตุผล และคำอธิบายที่ต้องการวิทยาศาสตร์และทุกเทคโนโลยีอธิบายเช่นกัน เป็นเหมือนปรัชญาที่รอคำตอบ
นายธัญวัจน์ กล่าวต่ออีกว่าการที่ประเทศไทยยอมรับการประกอบอาชีพในด้านศิลปะ เช่น การแสดงและดนตรี แต่สถาบันมหาวิทยาลัยที่สอนศิลปะเหล่านี้กลับมีอนาคตที่ไม่สดใส เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการวิจัย และเทคโนโลยีเพียงพอ เพื่อสร้างการงานคุณภาพออกมาสู่ตลาด ซึ่งปรากฎการณ์ “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” หรือ ลิซ่า แบล็กพิงค์ ในมิวสิควีดีโอ Rockstar ที่โด่งดังไปทั่วโลก แต่ทุกคนมุ่งเน้นประเด็นไปที่ย่านเยาวราช แต่กลับไม่มีการตั้งคำถามเชิงวิจัยของกระบวนการกว่าจะมาเป็นมิวสิควีดีโอดังกล่าว
“การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรเปลี่ยนแปลงนิยามใหม่เพื่อรองรับความต้องการของสังคมไทย โดยเฉพาะการวิจัยเกี่ยวกับดนตรีและศิลปะ เพราะความสำคัญของการวิจัยด้านเสียงและการออกแบบทางวิศวกรรมเสียงที่เหมาะสมกับแนวเพลง ทั้งเมโลดี้เพลง ที่มีการเรียบเรียงอย่างไรจึงจะเป็นเพลงที่ติดหู หรือเสียง วิศวกรรมด้านเสียง มีการวิจัยหรือไม่ว่าเพลงฮิปฮอปควรมีคลื่นความถี่ย่านใดบ้างหรือมุ่งเน้นที่คลื่นความถี่ย่านใด หรือตัวลิซ่าเอง เสื้อรูปดาวที่ใส่ต้องผ่านการกรีนเทสกี่ครั้ง สี และรูปแบบถูกออกแบบมาว่าอะไรที่เหมาะที่สุด ซึ่งการทำงานดังกล่าวมีทั้งศิลปะ ประสบการณ์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่ต่างใช้ข้อมูลเพื่อทำงาน หรือภาพยนต์ ซีรีส์ หรือละครเพลงซึ่งมีการลำดับเรื่องอย่างไร ความสำคัญอย่างไรต่อผู้ชมสื่อบันเทิง และสามารถตรึงอารมณ์และความรู้สึกได้ หรือองค์ประกอบภาพต่าง ๆ ที่ก็ต้องที่สื่อความรู้สึกในรูปแบบต่าง ๆ” นายธัญวัจน์กล่าว
นายธัญวัจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่าความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงวิทยาศาสตร์และความเข้าใจในเรื่องของวงการสื่อสารด้านอารมณ์เพื่อสร้างยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ให้กับประเทศ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนงานวิจัย และเทคโนโลยีที่มากเพียงพอ เพื่อที่จะทำให้สามารถที่จะริเริ่มสิ่งใหม่ๆได้ เพื่อต้องเผชิญกับการแข่งขันทั่วโลก พร้อมกับเรียกร้องให้มีการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในระดับโลกได้ และที่สำคัญทำให้ศิลปินและบุคคลในวงการบันเทิงมีข้อมูลมากเพียงพอและสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยังยืน
นายธัญวัจน์ กล่าวว่า อารมณ์และความรู้สึกคือสิ่งที่ AI และหุ่นยนต์ไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้ ซึ่งความเป็นมนุษย์ มีความสำคัญในการสร้างพลังอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศ
กมธ.กฎหมายฯ ประชุมหาแนวทางช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4674364
กมธ.กฎหมายฯ ประชุมหาแนวทางช่วยเหลือผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืน รวมถึงแนวทางการดูแลผู้ลี้ภัย ระหว่างการหาแนวทางแก้ปัญหาเสร็จสิ้น
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ได้ประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องมาตรฐานสากลในการควบคุมและกักขังผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ และมาตรการด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้หลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีบุคคลและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อมูล และข้อเสนอแนะต่อกมธ. ดังนี้
น.ส.กฤตพร เสมสันทัด ในฐานะผู้ร้องเรียน และตัวแทนเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ เครือข่ายด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่า มีผู้ยื่นหนังสือ ให้กมธ. 2,050 รายชื่อ เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 67 โดยหัวข้อ คือขอให้ยุติการกักตัวผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ ที่กักมานานกว่า 10 ปี และหาทางออกที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เนื่องจากยังมีอีก 48 คน ที่ถูกกักอยู่ในห้องกักคนต่างด้าวของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ด้วยสภาพแวดล้อมจำกัดต่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว จึงขอใช้โอกาสนี้ในการพิจารณา
นายกัณวีร์ สืบแสง ในฐานะรองประธาน กมธ. กล่าวว่า มี 2 ประเด็นคำถามที่จะหารือ ส่วนแรกคือ จะทำอย่างไรได้บ้างเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคง เพราะเราไม่มีกฎหมายผู้ลี้ภัย ซึ่งหากปฏิบัติเกินหน้าที่ก็จะโดนมาตรา 157 เรามีสุญญากาศในเรื่องผู้ลี้ภัย เพราะฉะนั้นเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ จะสามารถพิจารณาแนวทางแก้ไข ในช่วงระหว่างกลางก่อนที่จะมีการแก้ไข ปัญหาแบบยั่งยืนให้เกิดขึ้น ให้ผู้ลี้ภัยสามารถใช้ชีวิตในพื้นที่อื่น และได้ติดต่อญาติ และต่อไปในอนาคตจะมีนโยบาย ไปที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้พวกเขาอย่างยั่งยืนหรือไม่อย่างไร
นายสรพงศ์ ศรียานงค์ ที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง กล่าวว่า ชาวอุยกูร์เหล่านี้ เป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ตอนนี้มีสถานะเป็นผู้ต้องกัก ที่อยู่ระหว่างรอส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมี 2 กลุ่ม 40 คน อยู่ที่ สตม. และอีก 5 คน อยู่ที่กรมราชทัณฑ์ เนื่องจากหลบหนีจากห้องกัก จึงถูกดำเนินคดีไป การจะให้คนเหล่านี้ออกไปอยู่ข้างนอกเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ซึ่งตอนนี้ก็ได้ดูแลตามมาตรการ และแนวทางดูแลอย่างเหมาะสม ตามหลักมนุษยธรรม ขณะเดียวกันก็พยายามผ่อนคลาย ทั้งนี้เราก็ได้รับแรงกดดันจากประเทศบ้านเกิดของคนกลุ่มนี้ ซึ่งเขาก็ยืนยันว่าเป็นคนของเขา จึงต้องการคนเหล่านี้กลับไปสู่บ้านเกิด ถ้าเราสามารถคุยกับประเทศบ้านเกิด และยอมรับให้คนเหล่านี้ไปตามสมัครใจที่เขาอยากไปได้ ก็จะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว
ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงข้อเสนอว่า ที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกับทางสภาความมั่นคง และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(สตม.) มาโดยตลอด และทางตนเองก็ได้มีโอกาสประสานงานกับ สำนักจุฬาราชมนตรี สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งเสนอแพทย์ที่จะเข้ามาช่วยดูแล ให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพ ไม่ใช่แค่ชาวอุยกูร์ แต่รวมถึงผู้ที่อยู่ในห้องกักชั่วคราว ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี รวมถึงควรมีจิตแพทย์เข้าไปดูแลด้วย และเรื่องการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ
ส่วนอีกเรื่องคือ การเสนอให้ย้ายออกจาก สตม. ไปอยู่ในสถานที่อื่น อาจจะไปอยู่ในราชทัณฑ์ หรือที่ใดที่มีบริเวณกว้างกว่าเดิม ให้สามารถออกกำลังกายหรือทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้สภาพชีวิตและจิตใจดีขึ้น ยังเชื่อว่า หากรัฐบาลกล้าตัดสินใจให้ชาวอุยกูร์เข้าไปอยู่ประเทศที่สาม มีอีกหลายประเทศที่พร้อมจะโอบรับ อย่างประเทศมาเลเซียเองก็พร้อมที่จะเป็นตัวกลางในการส่งผ่านไปประเทศอื่น
ด้านพันตำรวจเอก วัชรพล กาญจรกันทร ผกก. 3 บก.สส. สตม. กล่าวถึงระเบียบและแนวทางปฏิบัติของ สตม. ต่อการดูแลผู้ต้องกัก การปรับปรุงคุณภาพของศูนย์กักตัวต่างด้าว เพื่อรอการส่งกลับทั้งระยะสั้นและระยะยาว ว่า ในตอนนี้มีแพทย์ 3 หน่วยงานเข้าไปดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย หน่วยงานแพทย์ตรวจคนเข้าเมือง ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง แพทย์จากมูลนิธิเยสุอิต ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน มีแฟ้มสุขภาพของผู้ต้องกักทุกราย และล่าสุดมีแพทย์จากสำนักจุฬาฯ เข้ามาดูแลผู้ต้องหาทุกราย หากผู้ต้องกักรายใดมีอาการเจ็บป่วย จะมีรถนำส่งไปโรงพยาบาลตำรวจ ทั้งนี้ ได้แยกแฟ้มสุขภาพของชาวอุยกูร์ เป็นกลุ่มเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ส่วนเรื่องอาหารมี TOR ให้เป็นกลาง สามารถทานได้ทั้งชาวพุทธและมุสลิม โดยไม่มีการแบ่งแยก นอกจากนี้ยังได้รับการบริจาคอาหารฮาลาลจากองค์กรเอกชนอีกด้วย
อีกประเด็นคือ การปฏิบัติและการควบคุม ผู้ต้องกักชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ปัจจุบันได้รับความกรุณาจากสำนักจุฬาฯ จัดจิตแพทย์เข้ามาพูดคุยทุกวันศุกร์ เพื่อดูแลสุขภาพจิต จากการถูกกักขังมานาน และพยายามให้ความหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ได้นิ่งนอนใจ หากต้องการสิ่งใดสามารถเขียนจดหมายร้องขอ ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังมีการได้ประชุมกับหลายหน่วยงานทั้ง สมช. และกรมคุ้มครองสิทธิ เกี่ยวกับเรื่องการติดต่อญาติ ซึ่งให้ติดต่อผ่านหน่วยงาน โดยวิธีอีเมลหรืออิเล็กทรอนิกส์
ที่ประชุมได้มีข้อสรุปที่ดีที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะนำเรื่องการพิจารณาการดูแลชาวอุยกูร์ที่อยู่ในความดูแลของภาครัฐให้มีการเข้าถึงอย่างมีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ รวมถึงการดูแลทางสภาวะจิตใจที่ดีขึ้น ทั้งนี้ผู้ต้องกักชาวอุยกูร์จะได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกับผู้ต้องกักอื่นๆ ทั่วไป อาหารและการปฏิบัติตามศาสนาของชาวอุยกูร์ และจะมีการพิจารณาเรื่องสถานที่ต้องกักแห่งอื่นที่เหมาะสม และการเข้าถึงกลไกภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในการคัดกรองผู้ที่เข้ามาในราชอาณาจักรที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นกำเนิดได้ (National Screening Mechanism-NSM) และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ต้องกักมากที่สุดโดยยึดหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) ที่เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ รวมถึง กรอบกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และกฎหมายภายในประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย