กรุงเทพโพลล์ ปชช.มองเห็นโอกาสริเริ่มธุรกิจลดลง-กลัวล้มเหลว
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_742271/
กรุงเทพโพลล์ ประชาชนมองเห็นโอกาสริเริ่มธุรกิจในอนาคตลดลงจากไตรมาสแรก 59.9 % ไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว ขณะ 45.1% มองข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง เป็นปัจจับสำคัญ
กรุงเทพโพลล์ ร่วมกับคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “คนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ประจำไตรมาสสองของปี 2567” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จำนวน 1,228 คน ระหว่างวันที่ 18 – 28 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา พบว่า ความเห็นเกี่ยวกับจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (เจ้าของธุรกิจ) ประจำไตรมาสสอง ของปี 2567 โดยได้ทำการเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมา (ช่วงเดือน มี.ค. 2567) ในประเด็นต่างๆ นั้น ร้อยละ 43.9 ประชาชนเห็นโอกาสหรือความพร้อมสำหรับการริเริ่มธุรกิจ
ในอนาคตมากที่สุด โดยลดลง ร้อยละ 8.4, รองลงมา ร้อยละ 42.6 มีความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจ ในอนาคตข้างหน้า ลดลงร้อยละ 2.5 และ ร้อยละ 38.7 มีความรู้ความสามารถรวมถึงทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการที่จะเริ่มทำธุรกิจใหม่ ลดลงร้อยละ 5.9
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 59.9 เห็นว่าไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5 โดยสาเหตุที่ไม่กล้าเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองพบว่า ร้อยละ 50.4 กลัวล้มเหลว กลัวขาดทุน , ร้อยละ 45.1 ปัญหาข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง, ร้อยละ 43.6 ไม่มีเงินทุนมากพอ, ร้อยละ 31.1 น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ ราคาสูงขึ้น และ ร้อยละ 27.0 ขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ
หอค้าไทย หวัง ไตรมาส 3 รัฐเร่งงบ 1.35 แสนล้านล้าน เข้าระบบฟื้นเศรษฐกิจ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4666159
หอค้าไทย หวัง Q3 รัฐเร่งงบ 1.35 แสนล้านล้านเข้าระบบ ฟื้นศก.
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม นาย
สนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้มุมมองต่อโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังปี 2567 ว่า มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นได้ จากที่รัฐบาล โดย ครม.เศรษฐกิจ เสนอเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคการท่องเที่ยว การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี ซึ่งตั้งเป้าการเบิกจ่ายให้ได้มากกว่า 70% ทำให้น่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเฉลี่ยเดือนละ 4.5 หมื่นล้านบาท (ก.ค.-ก.ย. 2567) รวมถึงการเร่งดึงดูดการลงทุนในประเทศให้มากขึ้น ก็จะมีส่วนช่วยประคองให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้
เมื่อพิจารณาปัจจัยบวกด้านต่างๆ ทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้โดดเด่น โดยปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วกว่า 15 ล้านคน ประกอบกับภาคบริการและสายการบินของไทยก็ได้มีการปรับตัว เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้น ทำให้ตั้งแต่ต้นไตรมาส 3 ไปจนถึงปลายปีน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน ซึ่งเชื่อว่านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีน่าจะมีสูงถึง 35-36 ล้านคน
ในส่วนภาคการเกษตรแม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในบางพื้นที่ทำให้ผลผลิตน้อยกว่าปกติ แต่เชื่อว่าหลังจากเข้าสู่ฤดูฝนไปจนถึงปลายปี สถานการณ์น้ำน่าจะคลี่คลายมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตและรายได้ในภาคเกษตรดีขึ้นในช่วงไตรมาส 4 สำหรับภาคการส่งออกของไทยก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนหลัก โดยคาดว่าทิศทางการส่งออกจะขยายตัวในเชิงบวกที่ 1.0-2.0% แม้ว่าความขัดแย้งทางสงครามจะส่งผลให้ค่าระวางเรือสูงขึ้น แต่หลายประเทศรวมถึงไทยเชื่อว่าสถานการณ์จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น และยังสามารถส่งออกสินค้าต่อไปได้
“
หากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลสามารถเดินหน้าได้จริงในไตรมาส 4 ตามที่ได้ประกาศไว้น่าจะเป็นแรงหนุนทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ 3%”
นายสนั่นกล่าว
นาย
สนั่นกล่าวต่อว่า เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาคเอกชนได้เสนอ
1.มาตรการเร่งด่วน ที่หอการค้าฯ อยากให้รัฐบาลเดินหน้าเต็มที่ คือ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ให้รวดเร็วและมากที่สุด
2.ในระหว่างเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ผู้ประกอบการ SME จำนวนมาก ยังประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ หอการค้าไทยจึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ง่ายและสะดวก ซึ่งถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบที่ประปัญหาสามารถกลับมาดำเนินกิจการต่อได้ รวมถึงเร่งแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนควบคู่ไปด้วยกัน
3. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซาก จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 330 ล้านไร่ มีพื้นที่สำหรับการเกษตรประมาณ 150 ล้านไร่ (45% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ) แต่ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ที่ระบบชลประทานเข้าถึงเพียง 30-35 ล้านไร่ (23% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด) แสดงให้เห็นว่ายังขาดการบริหารจัดการน้ำอย่างทั่วถึง ดังนั้น หอการค้าไทยจึงเสนอให้รัฐบาลได้จัดเตรียมแผนบริหารจัดการน้ำให้เกิดการบูรณาการมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนา ปรับปรุง และซ่อมแซ่มแหล่งน้ำขนาดย่อมในแต่ละชุมชนให้เป็นแหล่งกักเก็บสำหรับภาคการกษตรและการอุปโภคบริโภคในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึงตลอดทั้งปี โดยเร่งรัดดำเนินโครงการผ่านงบประมาณปี 2568 ซึ่งจะช่วยเพิ่ม Productivity ให้กับผลผลิตและสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทยได้มากยิ่งขึ้น
4. วันนี้ เศรษฐกิจไทยจำเป็นจะต้องกระจายการลงทุนไปยังพื้นที่ต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ความเจริญกระจุกตัวอยู่เฉพาะหัวเมืองหลัก โดยขณะนี้ หอการค้าฯ กับรัฐบาล อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเมืองนำร่อง 10 จังหวัด โดยได้เปิดตัวนำร่องไปแล้วที่จังหวัดนครพนม กาญจนบุรี และจะหอการค้าฯ ร่วมกับเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ) จะได้ลงพื้นที่เปิดตัว นครศรีธรรมราช โมเดล ในวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อที่จะเป็นต้นแบบในการส่งเสริมการลงทุน การท่องเที่ยว และการยกระดับภาคเกษตร ผ่านการ Unlock Potential เมืองนำร่อง การสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี และการช่วยเหลือเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึง
5. การส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดน ก็จะเป็นโอกาสให้ SMEs ไทย สามารถขยายตลาดและสร้างการเติบโตได้ในตลาดเพื่อนบ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันมูลค่าการค้าและการส่งออกของไทย
กกต.ยังไร้แววรับรองผล ‘สว.’ นัดประชุมต่อสัปดาห์หน้า
https://www.dailynews.co.th/news/3609986/
กกต.ยังไม่สรุปการประกาศผลรับรองสว.ใหม่ เผยมีการนัดพิจารณาใหม่สัปดาห์หน้า แต่ไม่รับรองจะประกาศผลในสัปดาห์หน้าเลยหรือไม่
เมื่อวันที่ 5 ก.ค. รายงานข่าวจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แจ้งว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีการประชุมหารือถึงเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถสรุปและประกาศรับรอง สว.ใหม่ได้ โดยล่าสุดมีการนัดพิจารณาใหม่ในสัปดาห์หน้า และไม่สามารถระบุได้ว่าจะประกาศผลการรับรองในสัปดาห์หน้าเลยหรือไม่ จากกำหนดการเดิมการประกาศผลการรับรองการเลือกตั้ง สว.จะเป็นวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากการเลือก สว.ระดับประเทศเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีผู้เข้ามาร้องเรียนต่อ กกต. ถึงกระบวนการเลือกตั้ง สว.ระดับประเทศ และให้มีการจัดการเลือกตั้ง สว.ใหม่ รวมถึงมีหลักฐานการฮั้วและโพยที่เข้ายื่นต่อ กกต.เรียบร้อยแต่ยังไม่ได้รับความคืบหน้าใดๆ
JJNY : ปชช.มองเห็นโอกาสริเริ่มธุรกิจลดลง│หอค้าไทยหวังQ3 รัฐเร่งงบ│กกต.ยังไร้แววรับรองผล‘สว.’│ไฟป่าโหมกระหน่ำแคลิฟอร์เนีย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_742271/
กรุงเทพโพลล์ ประชาชนมองเห็นโอกาสริเริ่มธุรกิจในอนาคตลดลงจากไตรมาสแรก 59.9 % ไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว ขณะ 45.1% มองข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง เป็นปัจจับสำคัญ
กรุงเทพโพลล์ ร่วมกับคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “คนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ประจำไตรมาสสองของปี 2567” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จำนวน 1,228 คน ระหว่างวันที่ 18 – 28 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา พบว่า ความเห็นเกี่ยวกับจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (เจ้าของธุรกิจ) ประจำไตรมาสสอง ของปี 2567 โดยได้ทำการเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมา (ช่วงเดือน มี.ค. 2567) ในประเด็นต่างๆ นั้น ร้อยละ 43.9 ประชาชนเห็นโอกาสหรือความพร้อมสำหรับการริเริ่มธุรกิจ
ในอนาคตมากที่สุด โดยลดลง ร้อยละ 8.4, รองลงมา ร้อยละ 42.6 มีความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจ ในอนาคตข้างหน้า ลดลงร้อยละ 2.5 และ ร้อยละ 38.7 มีความรู้ความสามารถรวมถึงทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการที่จะเริ่มทำธุรกิจใหม่ ลดลงร้อยละ 5.9
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 59.9 เห็นว่าไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5 โดยสาเหตุที่ไม่กล้าเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองพบว่า ร้อยละ 50.4 กลัวล้มเหลว กลัวขาดทุน , ร้อยละ 45.1 ปัญหาข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง, ร้อยละ 43.6 ไม่มีเงินทุนมากพอ, ร้อยละ 31.1 น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ ราคาสูงขึ้น และ ร้อยละ 27.0 ขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ
หอค้าไทย หวัง ไตรมาส 3 รัฐเร่งงบ 1.35 แสนล้านล้าน เข้าระบบฟื้นเศรษฐกิจ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4666159
หอค้าไทย หวัง Q3 รัฐเร่งงบ 1.35 แสนล้านล้านเข้าระบบ ฟื้นศก.
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้มุมมองต่อโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังปี 2567 ว่า มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นได้ จากที่รัฐบาล โดย ครม.เศรษฐกิจ เสนอเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคการท่องเที่ยว การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี ซึ่งตั้งเป้าการเบิกจ่ายให้ได้มากกว่า 70% ทำให้น่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเฉลี่ยเดือนละ 4.5 หมื่นล้านบาท (ก.ค.-ก.ย. 2567) รวมถึงการเร่งดึงดูดการลงทุนในประเทศให้มากขึ้น ก็จะมีส่วนช่วยประคองให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้
เมื่อพิจารณาปัจจัยบวกด้านต่างๆ ทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้โดดเด่น โดยปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วกว่า 15 ล้านคน ประกอบกับภาคบริการและสายการบินของไทยก็ได้มีการปรับตัว เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้น ทำให้ตั้งแต่ต้นไตรมาส 3 ไปจนถึงปลายปีน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน ซึ่งเชื่อว่านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีน่าจะมีสูงถึง 35-36 ล้านคน
ในส่วนภาคการเกษตรแม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในบางพื้นที่ทำให้ผลผลิตน้อยกว่าปกติ แต่เชื่อว่าหลังจากเข้าสู่ฤดูฝนไปจนถึงปลายปี สถานการณ์น้ำน่าจะคลี่คลายมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตและรายได้ในภาคเกษตรดีขึ้นในช่วงไตรมาส 4 สำหรับภาคการส่งออกของไทยก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนหลัก โดยคาดว่าทิศทางการส่งออกจะขยายตัวในเชิงบวกที่ 1.0-2.0% แม้ว่าความขัดแย้งทางสงครามจะส่งผลให้ค่าระวางเรือสูงขึ้น แต่หลายประเทศรวมถึงไทยเชื่อว่าสถานการณ์จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น และยังสามารถส่งออกสินค้าต่อไปได้
“หากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลสามารถเดินหน้าได้จริงในไตรมาส 4 ตามที่ได้ประกาศไว้น่าจะเป็นแรงหนุนทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ 3%” นายสนั่นกล่าว
นายสนั่นกล่าวต่อว่า เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาคเอกชนได้เสนอ
1.มาตรการเร่งด่วน ที่หอการค้าฯ อยากให้รัฐบาลเดินหน้าเต็มที่ คือ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ให้รวดเร็วและมากที่สุด
2.ในระหว่างเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ผู้ประกอบการ SME จำนวนมาก ยังประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ หอการค้าไทยจึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้ง่ายและสะดวก ซึ่งถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบที่ประปัญหาสามารถกลับมาดำเนินกิจการต่อได้ รวมถึงเร่งแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนควบคู่ไปด้วยกัน
3. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซาก จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 330 ล้านไร่ มีพื้นที่สำหรับการเกษตรประมาณ 150 ล้านไร่ (45% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ) แต่ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ที่ระบบชลประทานเข้าถึงเพียง 30-35 ล้านไร่ (23% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด) แสดงให้เห็นว่ายังขาดการบริหารจัดการน้ำอย่างทั่วถึง ดังนั้น หอการค้าไทยจึงเสนอให้รัฐบาลได้จัดเตรียมแผนบริหารจัดการน้ำให้เกิดการบูรณาการมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนา ปรับปรุง และซ่อมแซ่มแหล่งน้ำขนาดย่อมในแต่ละชุมชนให้เป็นแหล่งกักเก็บสำหรับภาคการกษตรและการอุปโภคบริโภคในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึงตลอดทั้งปี โดยเร่งรัดดำเนินโครงการผ่านงบประมาณปี 2568 ซึ่งจะช่วยเพิ่ม Productivity ให้กับผลผลิตและสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทยได้มากยิ่งขึ้น
4. วันนี้ เศรษฐกิจไทยจำเป็นจะต้องกระจายการลงทุนไปยังพื้นที่ต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ความเจริญกระจุกตัวอยู่เฉพาะหัวเมืองหลัก โดยขณะนี้ หอการค้าฯ กับรัฐบาล อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเมืองนำร่อง 10 จังหวัด โดยได้เปิดตัวนำร่องไปแล้วที่จังหวัดนครพนม กาญจนบุรี และจะหอการค้าฯ ร่วมกับเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ) จะได้ลงพื้นที่เปิดตัว นครศรีธรรมราช โมเดล ในวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อที่จะเป็นต้นแบบในการส่งเสริมการลงทุน การท่องเที่ยว และการยกระดับภาคเกษตร ผ่านการ Unlock Potential เมืองนำร่อง การสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี และการช่วยเหลือเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึง
5. การส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดน ก็จะเป็นโอกาสให้ SMEs ไทย สามารถขยายตลาดและสร้างการเติบโตได้ในตลาดเพื่อนบ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันมูลค่าการค้าและการส่งออกของไทย
กกต.ยังไร้แววรับรองผล ‘สว.’ นัดประชุมต่อสัปดาห์หน้า
https://www.dailynews.co.th/news/3609986/
กกต.ยังไม่สรุปการประกาศผลรับรองสว.ใหม่ เผยมีการนัดพิจารณาใหม่สัปดาห์หน้า แต่ไม่รับรองจะประกาศผลในสัปดาห์หน้าเลยหรือไม่
เมื่อวันที่ 5 ก.ค. รายงานข่าวจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แจ้งว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีการประชุมหารือถึงเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถสรุปและประกาศรับรอง สว.ใหม่ได้ โดยล่าสุดมีการนัดพิจารณาใหม่ในสัปดาห์หน้า และไม่สามารถระบุได้ว่าจะประกาศผลการรับรองในสัปดาห์หน้าเลยหรือไม่ จากกำหนดการเดิมการประกาศผลการรับรองการเลือกตั้ง สว.จะเป็นวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากการเลือก สว.ระดับประเทศเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีผู้เข้ามาร้องเรียนต่อ กกต. ถึงกระบวนการเลือกตั้ง สว.ระดับประเทศ และให้มีการจัดการเลือกตั้ง สว.ใหม่ รวมถึงมีหลักฐานการฮั้วและโพยที่เข้ายื่นต่อ กกต.เรียบร้อยแต่ยังไม่ได้รับความคืบหน้าใดๆ