สภา แจงวุ่น หลังเปิดรับฟังความเห็นร่างนิรโทษ รับระบบผิดพลาด 5 กรณี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4633053
สภา แจงวุ่น หลังเปิดรับฟังความเห็นร่างนิรโทษ รับระบบผิดพลาด 5 กรณี
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 17 มิถุนายน ที่รัฐสภา ว่าที่เรือตรี
ยุทธนา สำเภาเงิน รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะโฆษกประจำสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงกรณีที่ปรากฏข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ. … ซึ่งเป็นที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2564 โดย น.ส.
พูนสุข พูนสุขเจริญ กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 36,723 คน ว่า ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปสู่ภาคประชาชน และสำนักสารสนเทศซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแล้ว จึงขอชี้แจงแต่ละประเด็นให้ทราบว่า
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการรับฟังความคิดเห็นระหว่างวันที่ 13 พ.ค.-12 มิ.ย.2567 ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐสภา ซึ่งมีประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยเข้ามามีส่วนร่วมในระดับการรับรู้ข้อมูล จำนวน 376,764 คน และเข้ามามีส่วนร่วมในระดับการแสดงความคิดเห็น จำนวน 88,705 คน แต่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อสังคมออนไลน์ว่า ประชาชนผู้ใช้ระบบพบความผิดพลาดของระบบการรับฟังความคิดเห็นหลายประเด็น คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็น จึงได้ร่วมกับสำนักสารสนเทศ ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เป็นข้อสงสัยบนสื่อออนไลน์แล้วพบปัญหา ดังนี้
กรณีที่ 1 การแสดงความคิดเห็นในขั้นตอนสุดท้ายและกดปุ่มแสดงความคิดเห็น เพื่อส่งความคิดเห็น พบว่าบางอุปกรณ์ไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ โดยไม่ขึ้นข้อความแจ้งเตือนว่า “ท่านได้แสดงความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว”
ผลการตรวจสอบ ปัญหาดังกล่าวจากการทดลองของเจ้าหน้าที่ด้วยคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และโทรศัพท์มือถือ อาจมีความเป็นไปได้ว่าข้อผิดพลาดดังกล่าว เกิดจากความหนาแน่นของผู้ใช้งานในช่วงเวลานั้น (networks traffic) หรือปัญหาอาจเกิดกับอุปกรณ์บางชนิด บางประเภท บางรุ่น ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการแก้ไข และจะต้องมีการพัฒนา Source Code ให้มีความทันสมัยครอบคลุมการใช้งานกับทุกอุปกรณ์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อไป
กรณีที่ 2 พบข้อผิดพลาดที่ประชาชนสามารถคัดลอกที่อยู่ URL ของหน้าแสดงความคิดเห็นไว้ แล้วนำมาใช้แสดงความคิดเห็นอีกเมื่อครบกำหนดการปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว ซึ่งปรากฏว่ายังสามารถแสดงความคิดเห็นได้
ผลการตรวจสอบ พบว่าเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นจริง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักสารสนเทศ ได้แก้ไขโดยการปิดระบบทั้งในระบบเว็บไซต์และปิดระบบจากการใช้วิธีคัดลอกที่อยู่ URL ของหน้าแสดงความคิดเห็นนี้แล้วทันทีที่ทราบปัญหา และได้มีการปรับปรุงโดยตัดข้อมูลความคิดเห็นที่ส่งมาหลังจากครบกำหนดเวลา คือ หลังเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ออก โดยจะไม่ถูกนำมาประมวลผล
กรณีที่ 3 กรณีปัญหาการกดปุ่ม เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง ในส่วนสุดท้ายของแบบสอบถามเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ทำการตอบแบบสอบถามในข้ออื่น ๆ แล้วกรอกหมายเลขบัตรประชาชน ก็ยังสามารถส่งความคิดเห็นได้
ผลการตรวจสอบ พบว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ เนื่องจากการออกแบบส่วนนี้ (function) มานั้น คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็น มีความประสงค์จัดให้มีขึ้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบโดยให้สะท้อนแนวโน้มความเห็นต่อร่างกฎหมายฉบับนั้นๆ ว่าสมควรจะให้เป็นกฎหมายหรือไม่ แม้ไม่ได้แสดงความคิดเห็นในช่องแสดงความคิดเห็นข้ออื่นๆ มาก่อน
ปัญหาในข้อนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็น และสำนักสารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาของตัวระบบได้ แต่จะส่งผลต่อการรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายทุกฉบับที่จะจัดขึ้นในอนาคตต่อไปด้วย กล่าวคือ ประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องการจะสะท้อนแนวโน้มความเห็นต่อร่างกฎหมายฉบับนั้นๆ ว่า สมควรจะให้เป็นกฎหมายหรือไม่ จะต้องมีการให้ความเห็นตามประเด็นการรับฟังความคิดเห็นทุกข้อเสียก่อน จึงจะร่วมกดปุ่มแสดงแนวโน้มต่อร่างกฎหมายได้ จึงอาจมีผลกระทบที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมน้อยลงสำหรับร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ ได้ ซึ่งเรื่องนี้จะนำไปพิจารณาในคณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่ง
กรณีที่ 4 ระบบรับฟังความคิดเห็นไม่มีขั้นตอนยืนยันตัวตน เช่น การยืนยันตัวตนผ่าน SMS, การอัพโหลดเอกสารสำคัญเกี่ยวกับตัวตน หรือการยืนยันตัวตนว่าไม่ใช่ Robot ด้วยระบบ CAPTCHA ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการเข้าสู่ระบบดิจิทัลจากระยะไกล
ผลการตรวจสอบ ระบบการรับฟังความคิดเห็นในปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีการยืนยันตัวตน เนื่องจากตามเจตนารมณ์ของการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ต้องไม่ทำให้มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นฯ และสำนักสารสนเทศ อาจพิจารณาปรับปรุงระบบโดยกำหนดให้ต้องใส่เครื่องมือยืนยันตัวตน ด้วยระบบ CAPTCHA เพื่อป้องกันการเข้าแสดงความคิดเห็นในลักษณะ BOT ได้ แต่อาจส่งผลกระทบที่ตามมาได้ที่ทำให้ประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วมกับร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ น้อยลง
กรณีที่ 5 ไม่ต้องกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ก็สามารถกดปุ่มส่งความคิดเห็นได้
ผลการตรวจสอบ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักสารสนเทศ ใช้ระบบ script เพื่อตรวจสอบรูปแบบบัตรประจำตัวประชาชนเบื้องต้นว่า เลขที่กรอกนั้นเป็นไปตามหลักและผลรวมของบัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่ได้ใช้ระบบการสมัครสมาชิกหรือยืนยันตัวตน เพราะเจตนารมณ์ คือ ต้องการให้ประชาชนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยง่าย และกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขของผู้แสดงความคิดเห็นที่เหมือนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองกรณีอื่นๆ
การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายตามบทบัญญัติของกฎหมายมีเจตนารมณ์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ ทั้งในระดับการรับรู้ข้อมูล ระดับร่วมแสดงความคิดเห็น และระดับการปรึกษาหารือ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบ ได้มีช่องทางในการสะท้อนความคิดเห็นมาให้กับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา และคณะกรรมาธิการ ใช้ประกอบการพิจารณาว่าสมควรจะตรากฎหมายฉบับนั้นๆ หรือไม่ หรือควรตรากฎหมายในทิศทางใดที่เหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในปัจจุบัน ทั้งให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน เศรษฐกิจ สังคมน้อยที่สุด
เจตนารมณ์ที่ต้องการจะสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมาย การจัดช่องทางการรับฟังความคิดเห็นทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นจึงได้ออกแบบและพัฒนาระบบนี้ขึ้นโดยยึดหลัก คือ การสร้างพื้นที่แสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถทำได้โดยไม่จำกัดคุณสมบัติด้านอายุ หรือความถี่ในการมีส่วนร่วมต่อร่างกฎหมาย ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ไม่ใช้ระบบการยืนยันตัวตนเหมือนกรณีการพัฒนาเว็บไซต์การมีส่วนร่วมอื่นซึ่งมีกฎหมายกำหนดเงื่อนไข
การที่รัฐสภาจะตรากฎหมายฉบับใดขึ้นมานั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงให้เป็นอำนาจของรัฐสภาพิจารณาว่าสมควรจะตรากฎหมายฉบับนั้นๆ ออกมาหรือไม่ แต่ผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้ได้รับผลกระทบ เป็นสิ่งที่รัฐสภาต้องคำนึงและใช้ประกอบการพิจารณาด้วยทุกขั้นตอน แต่ไม่ถึงขั้นผูกมัดรัฐสภาที่จะต้องตัดสินใจตามข้อมูลที่ปรากฏในรายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
ครูใหญ่เชื่อ ยุบ-ไม่ยุบก้าวไกล ไม่มีม๊อบแน่นอน
https://www.innnews.co.th/news/local/news_733934/
ครูใหญ่เชื่อ ยุบ-ไม่ยุบก้าวไกล ไม่มีม๊อบแน่นอนเพราะยุบก็ตั้งพรรคใหม่มาต่อสู้ตามระบอบประชาธิปไตยได้
นาย
อรรถพล บัวพัฒน์ หรือครูใหญ่ นักกิจกรรมทางการเมือง อดีตแกนนำคณะราษฎรขอนแก่น เปิดเผยว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณาคดีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องกรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าพรรคก้าวไกล มีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครอง เชื่อว่าไม่ว่าผลการตัดสินของศาลจะออกมาแบบไหนกรรมการบริหารจะอยู่หรือไป แต่ประชาชนจะเชื่อมั่นในแนวคิดอุดมการณ์ของพรรคมากกว่ากว่าตัวบุคคล ซึ่ง ถ้าศาลตัดสินให้พรรคก้าวไกลโดนยุบพรรคตามกฎหมายคงเป็นการสิ้นสภาพของพรรคก้าวไกลและกรรมการบริหารพรรคจะโดนตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลา 10 ปี
แต่ต้องดูต่อไปอีกว่าจะตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคชุดไหนบ้างเพราะช่วงเวลานั้นคาบเกี่ยวกันอยู่หลายชุด เราผ่านการยุบพรรคการเมืองกันมาเยอะแล้วมองว่าจะมีม๊อบหรือมีการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกหรือไม่บอกได้เลยว่าคงไม่มีและไม่เชื่อว่าจะมี เพราะช่วงระยะเวลาการชงการยุบพรรคนานพอที่จะทำให้ความโกรธมันจะลดลงพร้อมกับการสื่อสารของพรรคก้าวไกลเองสื่อสารไปกับประชาชนว่าต่อให้มีการยุบพรรคแต่ก็จะตั้งพรรคใหม่แล้วก็เดินไปในทิศทางเดิมดังนั้นมวลชนอยู่กับพรรคการเมือง และดูทิศทางการชี้นำของพรรคการเมืองมีผลต่อการเคลื่อนไหวของมวลชนเช่นกัน
นาย
อรรถพล กล่าวต่ออีกว่า หลังจากที่ผลโพลต่างๆที่ออกมาพรรคก้าวไกลยังมีกระแสแรงไม่ตกคิดว่าถ้าหากยุบก้าวไกลคิดว่าจะเหมือนตอนยุบพรรคอนาคตใหม่ตอนนั้นยังเป็นกองเชียร์คิดเหมือนกันว่าถ้าไม่มี คุณธนาธร พรรคจะไปยังไงต่อ และคำถามนั้นก็กลับมาอีก ถ้าไม่มีคุณพิธา จะไปยังไงต่อ ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่าไปต่อได้ทั้งแนวคิดอุดมการณ์ ความคาดหวังทางการเมืองมากกว่าตัวบุคคลดังนั้นโพลที่ออกมาคงไม่ผิดน่าจะเป็นไปตามโพลล์เป็นเรื่องของพรรคไม่ใช่เรื่องของคน อย่างไรก็ตามถ้าศาลตัดสินหากไม่มีการยุบคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมพรรคก้าวไกลคงจะเดินหน้ากันต่อไปการเมืองจะเป็นการขับเคี้ยวของการช่วงชิงคะแนนนิยม ดิสเครดิตไปจนกว่าจะถึงการเลือกตั้งที่จะมีในครั้งต่อไป
ภาคเอกชนสงขลา ค้านขึ้นค่าแรง 400 บาท กระทบต้นทุน ค่าครองชีพพุ่ง ส่อตกงานเพียบ
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_777777780140
ภาคเอกชนสงขลา ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่าฯ คัดค้านขึ้นค่าแรง 400 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ชี้กระทบต้นทุน ค่าครองชีพพุ่ง ส่อตกงานเพียบ
วันที่ 17 มิ.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 7 สมาคมผู้ประกอบการภาคเอกชนในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา, หอการค้าจังหวัดสงขลา, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา, สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา, สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา, สมาคมโรงแรมหาดใหญ่ – สงขลา และสมาคม SMEs จังหวัดสงขลา ร่วมกันส่งจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อคัดค้านการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ
โดยรายละเอียดของจดหมายฉบับดังกล่าว มีใจความว่า ทั้ง 7 องค์กรผู้ประกอบการในฐานะตัวแทนของสถานประกอบการทุกขนาดและทุกประเภทกิจการในพื้นที่จังหวัดสงขลา ขอแสดงการคัดค้าน การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้
JJNY : 5in1 สภารับระบบผิดพลาด 5กรณี│ครูใหญ่เชื่อไม่มีม๊อบ│เอกชนสงขลา ค้านขึ้นค่าแรง│สหรัฐไม่พอใจเวียดนาม│รัสเซียซัดนาโต้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4633053
สภา แจงวุ่น หลังเปิดรับฟังความเห็นร่างนิรโทษ รับระบบผิดพลาด 5 กรณี
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 17 มิถุนายน ที่รัฐสภา ว่าที่เรือตรี ยุทธนา สำเภาเงิน รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะโฆษกประจำสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงกรณีที่ปรากฏข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ. … ซึ่งเป็นที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอกฎหมายต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2564 โดย น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 36,723 คน ว่า ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปสู่ภาคประชาชน และสำนักสารสนเทศซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแล้ว จึงขอชี้แจงแต่ละประเด็นให้ทราบว่า
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการรับฟังความคิดเห็นระหว่างวันที่ 13 พ.ค.-12 มิ.ย.2567 ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐสภา ซึ่งมีประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยเข้ามามีส่วนร่วมในระดับการรับรู้ข้อมูล จำนวน 376,764 คน และเข้ามามีส่วนร่วมในระดับการแสดงความคิดเห็น จำนวน 88,705 คน แต่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อสังคมออนไลน์ว่า ประชาชนผู้ใช้ระบบพบความผิดพลาดของระบบการรับฟังความคิดเห็นหลายประเด็น คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็น จึงได้ร่วมกับสำนักสารสนเทศ ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เป็นข้อสงสัยบนสื่อออนไลน์แล้วพบปัญหา ดังนี้
กรณีที่ 1 การแสดงความคิดเห็นในขั้นตอนสุดท้ายและกดปุ่มแสดงความคิดเห็น เพื่อส่งความคิดเห็น พบว่าบางอุปกรณ์ไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ โดยไม่ขึ้นข้อความแจ้งเตือนว่า “ท่านได้แสดงความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว”
ผลการตรวจสอบ ปัญหาดังกล่าวจากการทดลองของเจ้าหน้าที่ด้วยคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และโทรศัพท์มือถือ อาจมีความเป็นไปได้ว่าข้อผิดพลาดดังกล่าว เกิดจากความหนาแน่นของผู้ใช้งานในช่วงเวลานั้น (networks traffic) หรือปัญหาอาจเกิดกับอุปกรณ์บางชนิด บางประเภท บางรุ่น ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการแก้ไข และจะต้องมีการพัฒนา Source Code ให้มีความทันสมัยครอบคลุมการใช้งานกับทุกอุปกรณ์ ที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อไป
กรณีที่ 2 พบข้อผิดพลาดที่ประชาชนสามารถคัดลอกที่อยู่ URL ของหน้าแสดงความคิดเห็นไว้ แล้วนำมาใช้แสดงความคิดเห็นอีกเมื่อครบกำหนดการปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว ซึ่งปรากฏว่ายังสามารถแสดงความคิดเห็นได้
ผลการตรวจสอบ พบว่าเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นจริง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักสารสนเทศ ได้แก้ไขโดยการปิดระบบทั้งในระบบเว็บไซต์และปิดระบบจากการใช้วิธีคัดลอกที่อยู่ URL ของหน้าแสดงความคิดเห็นนี้แล้วทันทีที่ทราบปัญหา และได้มีการปรับปรุงโดยตัดข้อมูลความคิดเห็นที่ส่งมาหลังจากครบกำหนดเวลา คือ หลังเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ออก โดยจะไม่ถูกนำมาประมวลผล
กรณีที่ 3 กรณีปัญหาการกดปุ่ม เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง ในส่วนสุดท้ายของแบบสอบถามเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ทำการตอบแบบสอบถามในข้ออื่น ๆ แล้วกรอกหมายเลขบัตรประชาชน ก็ยังสามารถส่งความคิดเห็นได้
ผลการตรวจสอบ พบว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ เนื่องจากการออกแบบส่วนนี้ (function) มานั้น คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็น มีความประสงค์จัดให้มีขึ้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบโดยให้สะท้อนแนวโน้มความเห็นต่อร่างกฎหมายฉบับนั้นๆ ว่าสมควรจะให้เป็นกฎหมายหรือไม่ แม้ไม่ได้แสดงความคิดเห็นในช่องแสดงความคิดเห็นข้ออื่นๆ มาก่อน
ปัญหาในข้อนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็น และสำนักสารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาของตัวระบบได้ แต่จะส่งผลต่อการรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายทุกฉบับที่จะจัดขึ้นในอนาคตต่อไปด้วย กล่าวคือ ประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องการจะสะท้อนแนวโน้มความเห็นต่อร่างกฎหมายฉบับนั้นๆ ว่า สมควรจะให้เป็นกฎหมายหรือไม่ จะต้องมีการให้ความเห็นตามประเด็นการรับฟังความคิดเห็นทุกข้อเสียก่อน จึงจะร่วมกดปุ่มแสดงแนวโน้มต่อร่างกฎหมายได้ จึงอาจมีผลกระทบที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมน้อยลงสำหรับร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ ได้ ซึ่งเรื่องนี้จะนำไปพิจารณาในคณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งหนึ่ง
กรณีที่ 4 ระบบรับฟังความคิดเห็นไม่มีขั้นตอนยืนยันตัวตน เช่น การยืนยันตัวตนผ่าน SMS, การอัพโหลดเอกสารสำคัญเกี่ยวกับตัวตน หรือการยืนยันตัวตนว่าไม่ใช่ Robot ด้วยระบบ CAPTCHA ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการเข้าสู่ระบบดิจิทัลจากระยะไกล
ผลการตรวจสอบ ระบบการรับฟังความคิดเห็นในปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดให้ต้องมีการยืนยันตัวตน เนื่องจากตามเจตนารมณ์ของการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ต้องไม่ทำให้มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น คณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นฯ และสำนักสารสนเทศ อาจพิจารณาปรับปรุงระบบโดยกำหนดให้ต้องใส่เครื่องมือยืนยันตัวตน ด้วยระบบ CAPTCHA เพื่อป้องกันการเข้าแสดงความคิดเห็นในลักษณะ BOT ได้ แต่อาจส่งผลกระทบที่ตามมาได้ที่ทำให้ประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วมกับร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ น้อยลง
กรณีที่ 5 ไม่ต้องกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือกรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ก็สามารถกดปุ่มส่งความคิดเห็นได้
ผลการตรวจสอบ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักสารสนเทศ ใช้ระบบ script เพื่อตรวจสอบรูปแบบบัตรประจำตัวประชาชนเบื้องต้นว่า เลขที่กรอกนั้นเป็นไปตามหลักและผลรวมของบัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่ได้ใช้ระบบการสมัครสมาชิกหรือยืนยันตัวตน เพราะเจตนารมณ์ คือ ต้องการให้ประชาชนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยง่าย และกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขของผู้แสดงความคิดเห็นที่เหมือนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองกรณีอื่นๆ
การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายตามบทบัญญัติของกฎหมายมีเจตนารมณ์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ ทั้งในระดับการรับรู้ข้อมูล ระดับร่วมแสดงความคิดเห็น และระดับการปรึกษาหารือ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบ ได้มีช่องทางในการสะท้อนความคิดเห็นมาให้กับสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา และคณะกรรมาธิการ ใช้ประกอบการพิจารณาว่าสมควรจะตรากฎหมายฉบับนั้นๆ หรือไม่ หรือควรตรากฎหมายในทิศทางใดที่เหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในปัจจุบัน ทั้งให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน เศรษฐกิจ สังคมน้อยที่สุด
เจตนารมณ์ที่ต้องการจะสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมาย การจัดช่องทางการรับฟังความคิดเห็นทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นจึงได้ออกแบบและพัฒนาระบบนี้ขึ้นโดยยึดหลัก คือ การสร้างพื้นที่แสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถทำได้โดยไม่จำกัดคุณสมบัติด้านอายุ หรือความถี่ในการมีส่วนร่วมต่อร่างกฎหมาย ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ไม่ใช้ระบบการยืนยันตัวตนเหมือนกรณีการพัฒนาเว็บไซต์การมีส่วนร่วมอื่นซึ่งมีกฎหมายกำหนดเงื่อนไข
การที่รัฐสภาจะตรากฎหมายฉบับใดขึ้นมานั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงให้เป็นอำนาจของรัฐสภาพิจารณาว่าสมควรจะตรากฎหมายฉบับนั้นๆ ออกมาหรือไม่ แต่ผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้ได้รับผลกระทบ เป็นสิ่งที่รัฐสภาต้องคำนึงและใช้ประกอบการพิจารณาด้วยทุกขั้นตอน แต่ไม่ถึงขั้นผูกมัดรัฐสภาที่จะต้องตัดสินใจตามข้อมูลที่ปรากฏในรายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
ครูใหญ่เชื่อ ยุบ-ไม่ยุบก้าวไกล ไม่มีม๊อบแน่นอน
https://www.innnews.co.th/news/local/news_733934/
ครูใหญ่เชื่อ ยุบ-ไม่ยุบก้าวไกล ไม่มีม๊อบแน่นอนเพราะยุบก็ตั้งพรรคใหม่มาต่อสู้ตามระบอบประชาธิปไตยได้
นายอรรถพล บัวพัฒน์ หรือครูใหญ่ นักกิจกรรมทางการเมือง อดีตแกนนำคณะราษฎรขอนแก่น เปิดเผยว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณาคดีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องกรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าพรรคก้าวไกล มีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครอง เชื่อว่าไม่ว่าผลการตัดสินของศาลจะออกมาแบบไหนกรรมการบริหารจะอยู่หรือไป แต่ประชาชนจะเชื่อมั่นในแนวคิดอุดมการณ์ของพรรคมากกว่ากว่าตัวบุคคล ซึ่ง ถ้าศาลตัดสินให้พรรคก้าวไกลโดนยุบพรรคตามกฎหมายคงเป็นการสิ้นสภาพของพรรคก้าวไกลและกรรมการบริหารพรรคจะโดนตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลา 10 ปี
แต่ต้องดูต่อไปอีกว่าจะตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคชุดไหนบ้างเพราะช่วงเวลานั้นคาบเกี่ยวกันอยู่หลายชุด เราผ่านการยุบพรรคการเมืองกันมาเยอะแล้วมองว่าจะมีม๊อบหรือมีการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกหรือไม่บอกได้เลยว่าคงไม่มีและไม่เชื่อว่าจะมี เพราะช่วงระยะเวลาการชงการยุบพรรคนานพอที่จะทำให้ความโกรธมันจะลดลงพร้อมกับการสื่อสารของพรรคก้าวไกลเองสื่อสารไปกับประชาชนว่าต่อให้มีการยุบพรรคแต่ก็จะตั้งพรรคใหม่แล้วก็เดินไปในทิศทางเดิมดังนั้นมวลชนอยู่กับพรรคการเมือง และดูทิศทางการชี้นำของพรรคการเมืองมีผลต่อการเคลื่อนไหวของมวลชนเช่นกัน
นายอรรถพล กล่าวต่ออีกว่า หลังจากที่ผลโพลต่างๆที่ออกมาพรรคก้าวไกลยังมีกระแสแรงไม่ตกคิดว่าถ้าหากยุบก้าวไกลคิดว่าจะเหมือนตอนยุบพรรคอนาคตใหม่ตอนนั้นยังเป็นกองเชียร์คิดเหมือนกันว่าถ้าไม่มี คุณธนาธร พรรคจะไปยังไงต่อ และคำถามนั้นก็กลับมาอีก ถ้าไม่มีคุณพิธา จะไปยังไงต่อ ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่าไปต่อได้ทั้งแนวคิดอุดมการณ์ ความคาดหวังทางการเมืองมากกว่าตัวบุคคลดังนั้นโพลที่ออกมาคงไม่ผิดน่าจะเป็นไปตามโพลล์เป็นเรื่องของพรรคไม่ใช่เรื่องของคน อย่างไรก็ตามถ้าศาลตัดสินหากไม่มีการยุบคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมพรรคก้าวไกลคงจะเดินหน้ากันต่อไปการเมืองจะเป็นการขับเคี้ยวของการช่วงชิงคะแนนนิยม ดิสเครดิตไปจนกว่าจะถึงการเลือกตั้งที่จะมีในครั้งต่อไป
ภาคเอกชนสงขลา ค้านขึ้นค่าแรง 400 บาท กระทบต้นทุน ค่าครองชีพพุ่ง ส่อตกงานเพียบ
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_777777780140
ภาคเอกชนสงขลา ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่าฯ คัดค้านขึ้นค่าแรง 400 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ชี้กระทบต้นทุน ค่าครองชีพพุ่ง ส่อตกงานเพียบ
วันที่ 17 มิ.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 7 สมาคมผู้ประกอบการภาคเอกชนในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา, หอการค้าจังหวัดสงขลา, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา, สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา, สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา, สมาคมโรงแรมหาดใหญ่ – สงขลา และสมาคม SMEs จังหวัดสงขลา ร่วมกันส่งจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อคัดค้านการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ
โดยรายละเอียดของจดหมายฉบับดังกล่าว มีใจความว่า ทั้ง 7 องค์กรผู้ประกอบการในฐานะตัวแทนของสถานประกอบการทุกขนาดและทุกประเภทกิจการในพื้นที่จังหวัดสงขลา ขอแสดงการคัดค้าน การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้