"ไอติม" ตั้ง 3 ข้อสังเกต กกต. จัดพื้นที่สังเกตการณ์เลือก มองสมัคร สว.น้อยทำแข่งขันไม่เข้มข้น
https://ch3plus.com/news/political/morning/403405
วันนี้ (9 มิ.ย. 2567) นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เดินทางไปสังเกตการณ์เลือก สว.ระดับอำเภอ ที่สำนักงานเขตจตุจักร โดยเขตนี้มีผู้สมัครกว่า 90 คน
นาย
พริษฐ์ เข้าสังเกตการณ์สักระยะ ก่อนให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน โดยออกตัวว่าตนไม่ได้มาในนามพรรคก้าวไกล หรือพรรคการเมืองใด แต่มาในนาม กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ที่ติดตามการเลือก สว.ชุดใหม่มาอย่างต่อเนื่อง เราก็มีเป้าหมายอยากให้กระบวนการคัดเลือก สว.ชุดใหม่ ดำเนินการด้วยความราบรื่น เป็นไปตามกรอบเวลาตามที่ได้มีการแถลงออกมา รวมถึงการดำเนินการด้วยความโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด
วันนี้อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกระดับอำเภอ ซึ่งเป็นรอบแรก กมธ.ก็กระจายตัวกันไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ สาเหตุที่ตนมาที่เขตจตุจักร เนื่องจากเป็นเขตที่มีผู้สมัครสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของ กทม. ถ้าจำไม่ผิดมีผู้สมัครเกิน 90 กว่าคนเพียง 3 เขตเท่านั้น
ตนมีข้อสังเกตได้แก่
1.เราอยากเห็นการจัดพื้นที่สังเกตการณ์ที่ใกล้ชิดกว่านี้ อย่างเขตจตุจักร มีการจัดสรรพื้นที่เฉพาะก็จริง แต่การจะไปสังเกตว่าการนับคะแนนเป็นเช่นไร หรือป้ายที่ติดตามกระดานต่าง ๆ ยังทำได้ค่อนข้างยาก แม้จะมี CCTV แต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่แค่ภาพ แต่ไม่ได้เผยแพร่เสียง ดังนั้นจึงบทเรียนหนึ่งที่เราอยากเรียกร้องไปยังกกต.ในการจัดการเลือกระดับจังหวัด
"
ผมได้รับแจ้งมาว่าการคัดเลือกระดับอำเภอ มาตรฐานการจัดพื้นที่สังเกตการณ์ไม่ได้เหมือนกัน มีบางพื้นที่ที่อนุญาตให้ประชาชน ผู้สังเกตการณ์ ไปดูกระบวนการนับคะแนนหรือเอกสารบนบอร์ดได้ บางพื้นที่ก็เป็นเหมือนที่เราเห็นในวันนี้ คือมีพื้นที่เฉพาะ แต่ว่าไม่อนุญาตให้เข้าไปข้างใน และบางพื้นที่ที่ให้ดูแต่ข้างนอกเฉพาะกล้องวงจรปิดอย่างเดียว" นาย
พริษฐ์ กล่าว
2. มาตรฐานการปฏิบัติบางอย่างของเจ้าหน้าที่ยังไม่เหมือนกัน เช่น มีการจับสลากว่าสายหนึ่งจะมีกลุ่มไหนบ้างแล้ว แนวปฏิบัติว่าจะให้ผู้สมัครในสายเดียวกันได้มีการพูดคุยกัน แนะนำตัวกันหรือไม่ นานเท่าไหร่ เท่าที่ตนทราบแต่ละหน่วยยังปฏิบัติไม่เหมือนกัน ตนคิดว่าความคงเส้นคงวาของแต่ละหน่วยก็คงเป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในการเลือกระดับจังหวัด
3. จำนวนผู้สมัครในภาพรวมค่อนข้างน้อย อยู่ที่ประมาณ 40,000 กว่าคน ตนคิดว่าวันนี้สะท้อนให้เห็นชัด ขนาดเขตจตุจักรเองที่มีผู้สมัครเยอะแล้วใน กทม. ปรากฏว่าในการแบ่ง 20 กลุ่มอาชีพ มี 1 กลุ่มที่ไม่มีคนสมัครเลย และมีแค่ 8 กลุ่มที่ต้องคัดเลือกกันเองในกลุ่ม ที่เหลือไม่ต้องคัดเลือก เนื่องจากมีผู้สมัครน้อยกว่า 5 คน ทำให้ตนคิดว่าไม่ได้เกิดการแข่งขันที่เข้มข้นเพียงพอ
เมื่อถามว่าข้อครหาเรื่องการจ้างคนมาลงสมัครหรือการฮั้ว พบปัญหามากน้อยแค่ไหน และควรจะทำอย่างไร นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า เป็นข้อร้องเรียนที่เราได้รับเข้ามาเรื่อย ๆ หรือประชาชนเองก็แสดงออกในสื่อสาธารณะ ตนคิดว่าข้อครหานี้มีหลายระดับ รุนแรงที่สุดคือการว่าจ้าง รองลงมาคือการจัดตั้งเครือข่าย ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าผิดกฎหมาย ตนอยากให้ กกต.ดำเนินการอย่างจริงจังและรวดเร็ว เพื่อให้ค้นหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและจะได้ไม่กระทบต่อปฏิทินคัดเลือก สว. ที่ต้องเดินหน้าต่อ
ส่วนในระยะยาว ต้องถามว่าจำเป็นต้องมีวุฒิสภาหรือไม่ เพราะหลายประเทศทั่วโลกก็เป็นรัฐเดี่ยวระบบรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย ก็ใช้ระบบสภาเดี่ยว มีแค่สภาผู้แทนราษฎร แต่หากจะมี สว. ที่มีอำนาจสูงเหมือนในประเทศไทย สามารถร่วมพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ รับรองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ก็ควรจะต้องมาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ใช่การคัดเลือกด้วยกันเอง
เมื่อถามว่าสุดท้ายแล้วจะได้ สว.ที่ตอบโจทย์สอดคล้องกับหน้าที่และอำนาจหรือไม่ นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า อย่างที่ตนบอกว่าตนไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างอำนาจที่มาของ สว.ที่เป็นอยู่ ดังนั้นในมุมมองส่วนตัว ตนหวังว่า กระบวนการที่เกิดขึ้นในวันนี้จะเป็นครั้งเดียวและครั้งสุดท้ายในการเมืองไทย และคิดว่าการออกแบบรัฐสภาที่ตอบโจทย์มากกว่าต้องคิดว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีวุฒิสภาหรือไม่ และหากมี จะออกแบบโครงสร้าง ที่มา และอำนาจอย่างไร
เมื่อถามว่า กกต. ยังให้ความมั่นใจเรื่องการฮั้วว่าสามารถจัดการได้ มองว่าจะมีการเล็ดลอดหรือไม่ นาย
พริษฐ์ ระบุว่า คงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี เราก็เห็นการตั้งข้อสังเกตและข้อร้องเรียนในเรื่องนี้เยอะ กกต. ก็ต้องเอาจริงเอาจังในการจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอในการสืบค้นเรื่องดังกล่าว เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้โดยไม่กระทบภาพรวมในการเลือก สว. พร้อมย้ำว่าเรื่องร้องเรียนที่ กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ได้รับ ส่วนใหญ่เป็นการตั้งข้อสังเกตมากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ ตนจึงยังไม่ด่วนสรุปว่ามีการจัดตั้งหรือการฮั้ว
‘กัณวีร์’ ชวนจับตาเลือกส.ว.ไม่ให้เป็นไปตามสมการ 3 ล. ‘เลื่อน-ล้ม-เละ’
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4618457
‘กัณวีร์’ ชวนจับตาเลือกส.ว.ไม่ให้เป็นไปตามสมการ 3 ล.’เลื่อน-ล้ม-เละ’ เพื่อให้ได้ส.ว.ชุดใหม่เป็นความหวังให้ประชาชน
วันที่ 9 มิถุนายน นาย
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ลงพื้นที่สังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.2567 ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณาบริหารธุรกิจ เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร สถานที่เลือก ส.ว.ระดับอำเภอเขตคันนายาว
นาย
กัณวีร์ เปิดเผยว่า เหตุที่มาสังเกตการณ์ที่เขตคันนายาว เพราะมีผู้สมัคร ส.ว.เพียง 35 คน และเป็นเขตรอบนอกของกรุงเทพมหานคร จากผู้สมัครจำนวน 35 คน จำนวน 14 กลุ่ม มี 6 กลุ่มที่ไม่มีผู้สมัคร มีผู้สมัคร กลุ่มละ 1 คน จำนวน 6 กลุ่ม ส่วนกลุ่มอื่น มีผู้สมัคร ตั้งแต่ 2 คน สูงสุด 5 คน จึงน่าสนใจในกรณีกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้สมัครน้อย และต้องเข้ารอบกลุ่มละ 3 คน
สำหรับสถานที่เลือก ส.ว.เขตคันนายาว มีการถ่ายทอดกล้องวงจรปิดจากภายในสถานที่เลือกมายังภายนอกห้อง ให้ผู้สังเกตการณ์ทั้งประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชน แต่ไม่มีการถ่ายทอดเสียง โดยนายกัณวีร์ ได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่ พบว่า การเลือกในขั้นตอนแรกผ่านไปด้วยความเรียบร้อย เพราะบางกลุ่มไม่มีผู้สมัคร มีเพียงกลุ่มเดียวที่มีผู้สมัครเกิน 5 คน ทำให้มีการเลือกในกลุ่มเดียวกันในรอบที่ 1 จากนั้นเข้าสู่การเลือกรอบ 2 เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นานและแล้วเสร็จในช่วงบ่ายวันนี้
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า อยากมาดูว่าการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มีความสำคัญในกระบวนการนิติบัญญัติ และต้องทำงานร่วมกับ ส.ส.ในรัฐสภา จึงมาดูว่ากระบวนการที่ออกมาตั้งแต่แรกว่า มี สมการ 3 ล คือ เลื่อน ล้ม เละ จากมาตรการที่ออกมาภายใต้รัฐธรรมนูญ แม้ชุดใหม่ไม่ได้อยู่ในบทเฉพาะกาล ไม่ได้เลือกนายกรัฐมนตรี แต่ ส.ว.200คน ชุดใหม่ จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ แม้จะไม่เลื่อน แต่อาจจะล้มได้ในอนาคต
“
สมการการเลือก ส.ว.ครั้งนี้ มีการกล่าวกันว่า มี 3 ล.คือ เลื่อน ล้ม และ เละ ถ้าผลการเลือก ส.ว.200 คนไม่เป็นที่ต้องการของคนที่มีอำนาจ อาจจะมีการล้ม และถ้าคนที่เข้าไปกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ที่มาจากประชาชน อาจมีกระบวนการทำให้การเลือก ส.ว.ล้มก็ได้ ถ้าไม่ล้มก็คงจะเละ ตามสมการที่คาดการณ์กัน การเลือกในระดับอำเภอจึงสำคัญมากๆ ที่เราต้องช่วยกันจับตาไม่ให้เป็นไปตามสมการนี้”
นาย
กัณวีร์ กล่าวย้ำว่า ผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา จะเป็นตัวบอกว่า การเลือก ส.ว.จะเลื่อน ล้ม เละ จึงต้องจับตาจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ทั้งระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ
“
ผมคาดหวังว่า ส.ว.ชุดใหม่มาจากประชาชนให้ได้มากที่สุด ไม่ได้มาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากที่สุด เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ว่า เป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง และทำงานร่วมกับ ส.ส.ในรัฐสภา ไม่ได้มาจากคำสั่งใคร แต่มาจากคำสั่งเดียว มาจากประชาชนเท่านั้น” นาย
กัณวีร์ กล่าว
ผู้เลี้ยงกุ้งสงขลา ร้องพาณิชย์อัพราคาสินค้าเพิ่มขึ้นกก.ละ 5 บาท ชี้สร้างรายได้สูงกว่าจ่ายเงินชดเชย
https://www.matichon.co.th/region/news_4618664
ผู้เลี้ยงกุ้งสงขลา ร้องพาณิชย์อัพราคาสินค้าเพิ่มขึ้นกก.ละ 5 บาท ชี้สร้างรายได้สูงกว่าจ่ายเงินชดเชย
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นายปรีชา สุขเกษม ผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสงขลา ไม่เห็นด้วย กับโครงการชดเชยส่วนต่าง ให้เกษตรกรกิโลกรัมละ 20บาท คนละ 20 ตัน ซึ่งโครงการนี้จะแบ่งให้คนรวบรวม 10 บาท ให้ค่าดำเนินงาน กับพานิชย์จังหวัดอีก10 บาท เนื่องจาก ตนเองนั้น เลี้ยงกุ้ง มีกุ้งจากฟาร์มของตนเองปีละ 100 ตัน มีลูกน้อง 10 ครัวเรือน ถือว่าเป็นครอบครัว เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ต้องให้เงินเดือนทุกเดือน เงินชดเซย 40,000 บาท ถือว่าไม่สามารถ สร้างความเข้มแข็งให้กับฟาร์มของตนเองได้เลย เพราะแม้แต่การจ้างงานลูกน้องก็ยังเพียงพอเลย
ดังนั้นจึงมองว่า มาตรการชดเชยส่วนต่างราคา ที่เตรียมจะช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งนั้น ไม่ได้เป็นมาตรการแก้ปัญหาราคากุ้งเแต่เป็นแค่มาตรการเยียวยาให้กับกลุ่ม บางกลุ่ม ไม่ครอบคลุมและไม่สามารถแก้ปัญหาแก้ปัญหาให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในภาพรวมได้ ไม่เป็นธรรมและเป็นช่องทางกระบวนการทุจจริตทางนโยบายได้
หากรัฐมีนโยบายอื่นใด ที่ทำให้ราคากุ้งเพิ่มขึ้นแค่ 5 บาท ต่อกิโลกรัม จะส่งผลให้รายได้เกษตรกรที่มีกุ้งอยู่มีรายได้สูงกว่าเงินชดเชย และเพิ่มมูลค่าให้สินค้ากุ้ง และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย รัฐจึงควรแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำด้วยการทำให้ราคากุ้งสูงขึ้น ไม่ใช่เยียวยาแค่บางกลุ่ม ไม่ครอบคลุม ไม่เป็นธรรม และไม่แก้ปัญหาที่แท้จริง
การแก้ปัญหากุ้งในโครงการ 5000 พันตันในโครงการเก่า สิ้นสุดโครงการแล้วยังดำเนินงานได้ไม่เต็มโควต้า ในบางจังหวัดเช่น จังหวัดสงขลา(โครงการเก่า) ผลสัมฤทธ์ทางนโยบาย จึงขาดประสิทธิภาพ กว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้มีเพียงคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่มีกุ้ง โดยที่ปัญหาราคากุ้งไม่ได้รับการแก้ไข กลไกราคาจึงสำคัญที่สุด ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งจริงๆ ไม่ใช่เกษตรกรที่ไม่ได้เลี้ยงกุ้งจริง มีแค่ทะเบียนฟาร์มเท่านั้น
โดยขอเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน คือเมื่อห้องเย็นมีน้อยราย ที่ยังสามารถซื้อกุ้งได้ รัฐต้องช่วยสร้างความเข้มแข็งให้พ่อค้ารายย่อยให้ มีจำนวนมากขึ้นเพื่อรองรับปริมาณกุ้ง ที่กรมประมง ส่งเสริม ตั้งเป้าไว้รวมถึงส่งเสริมตลาดอื่นๆ เช่นอาเซียน และบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น
กระทรวงพานิชย์ต้องเป็นคนกลางทางการค้า เน้นนโยบายการอำนวยการ จับคู่ทางการค้า บนกติกาที่เป็นธรรม ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเราเดือดร้อนจากโรคระบาดกุ้ง ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งลดน้อยลงไป แต่ในรายที่เหลืออยู่ก็ได้พยายามปรับตัว ทุ่มทุนเพื่อให้สามารถรอดพ้นจากวิกฤติโรคระบาด เลี้ยงกุ้งได้อย่างมีคุณภาพ แต่ กลับไม่ได้รับการแก้ปัญหา ราคากุ้งตกต่ำ จากรัฐบาล ตนไม่เห็นด้วยกับโครงการชดเชยส่วนต่าง 20บาทต่อกิโลกรัม คนละ20ตัน รัฐบาลโดยกระทรวงพานิชย์ควรจะแสดงผีมือในการดึงราคาสินค้าเกษตรให้ปรับขึ้น ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรม จนทำให้สินค้าเกือบทุกชนิดราคาตกต่ำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปาล์มน้ำมัน กุ้ง หมู โค เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาราคากุ้งที่ตกต่ำ จึงควรหาแนวทางทำให้ราคาปรับขึ้นมาซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ทั้งหมด ไม่ใช่ทำโครงการชดเชยส่วนต่างที่เกษตรกรไม่ได้ต้องการ
JJNY : "ไอติม"ตั้ง 3 ข้อสังเกต│‘กัณวีร์’ชวนจับตาเลือกส.ว.│ผู้เลี้ยงกุ้งสงขลาร้องพณ.│กระจายเสียงต้านเกาหลีเหนืออีกครั้ง
https://ch3plus.com/news/political/morning/403405
วันนี้ (9 มิ.ย. 2567) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เดินทางไปสังเกตการณ์เลือก สว.ระดับอำเภอ ที่สำนักงานเขตจตุจักร โดยเขตนี้มีผู้สมัครกว่า 90 คน
นายพริษฐ์ เข้าสังเกตการณ์สักระยะ ก่อนให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน โดยออกตัวว่าตนไม่ได้มาในนามพรรคก้าวไกล หรือพรรคการเมืองใด แต่มาในนาม กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ที่ติดตามการเลือก สว.ชุดใหม่มาอย่างต่อเนื่อง เราก็มีเป้าหมายอยากให้กระบวนการคัดเลือก สว.ชุดใหม่ ดำเนินการด้วยความราบรื่น เป็นไปตามกรอบเวลาตามที่ได้มีการแถลงออกมา รวมถึงการดำเนินการด้วยความโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด
วันนี้อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกระดับอำเภอ ซึ่งเป็นรอบแรก กมธ.ก็กระจายตัวกันไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ สาเหตุที่ตนมาที่เขตจตุจักร เนื่องจากเป็นเขตที่มีผู้สมัครสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของ กทม. ถ้าจำไม่ผิดมีผู้สมัครเกิน 90 กว่าคนเพียง 3 เขตเท่านั้น
ตนมีข้อสังเกตได้แก่
1.เราอยากเห็นการจัดพื้นที่สังเกตการณ์ที่ใกล้ชิดกว่านี้ อย่างเขตจตุจักร มีการจัดสรรพื้นที่เฉพาะก็จริง แต่การจะไปสังเกตว่าการนับคะแนนเป็นเช่นไร หรือป้ายที่ติดตามกระดานต่าง ๆ ยังทำได้ค่อนข้างยาก แม้จะมี CCTV แต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่แค่ภาพ แต่ไม่ได้เผยแพร่เสียง ดังนั้นจึงบทเรียนหนึ่งที่เราอยากเรียกร้องไปยังกกต.ในการจัดการเลือกระดับจังหวัด
"ผมได้รับแจ้งมาว่าการคัดเลือกระดับอำเภอ มาตรฐานการจัดพื้นที่สังเกตการณ์ไม่ได้เหมือนกัน มีบางพื้นที่ที่อนุญาตให้ประชาชน ผู้สังเกตการณ์ ไปดูกระบวนการนับคะแนนหรือเอกสารบนบอร์ดได้ บางพื้นที่ก็เป็นเหมือนที่เราเห็นในวันนี้ คือมีพื้นที่เฉพาะ แต่ว่าไม่อนุญาตให้เข้าไปข้างใน และบางพื้นที่ที่ให้ดูแต่ข้างนอกเฉพาะกล้องวงจรปิดอย่างเดียว" นายพริษฐ์ กล่าว
2. มาตรฐานการปฏิบัติบางอย่างของเจ้าหน้าที่ยังไม่เหมือนกัน เช่น มีการจับสลากว่าสายหนึ่งจะมีกลุ่มไหนบ้างแล้ว แนวปฏิบัติว่าจะให้ผู้สมัครในสายเดียวกันได้มีการพูดคุยกัน แนะนำตัวกันหรือไม่ นานเท่าไหร่ เท่าที่ตนทราบแต่ละหน่วยยังปฏิบัติไม่เหมือนกัน ตนคิดว่าความคงเส้นคงวาของแต่ละหน่วยก็คงเป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในการเลือกระดับจังหวัด
3. จำนวนผู้สมัครในภาพรวมค่อนข้างน้อย อยู่ที่ประมาณ 40,000 กว่าคน ตนคิดว่าวันนี้สะท้อนให้เห็นชัด ขนาดเขตจตุจักรเองที่มีผู้สมัครเยอะแล้วใน กทม. ปรากฏว่าในการแบ่ง 20 กลุ่มอาชีพ มี 1 กลุ่มที่ไม่มีคนสมัครเลย และมีแค่ 8 กลุ่มที่ต้องคัดเลือกกันเองในกลุ่ม ที่เหลือไม่ต้องคัดเลือก เนื่องจากมีผู้สมัครน้อยกว่า 5 คน ทำให้ตนคิดว่าไม่ได้เกิดการแข่งขันที่เข้มข้นเพียงพอ
เมื่อถามว่าข้อครหาเรื่องการจ้างคนมาลงสมัครหรือการฮั้ว พบปัญหามากน้อยแค่ไหน และควรจะทำอย่างไร นายพริษฐ์ กล่าวว่า เป็นข้อร้องเรียนที่เราได้รับเข้ามาเรื่อย ๆ หรือประชาชนเองก็แสดงออกในสื่อสาธารณะ ตนคิดว่าข้อครหานี้มีหลายระดับ รุนแรงที่สุดคือการว่าจ้าง รองลงมาคือการจัดตั้งเครือข่าย ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าผิดกฎหมาย ตนอยากให้ กกต.ดำเนินการอย่างจริงจังและรวดเร็ว เพื่อให้ค้นหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและจะได้ไม่กระทบต่อปฏิทินคัดเลือก สว. ที่ต้องเดินหน้าต่อ
ส่วนในระยะยาว ต้องถามว่าจำเป็นต้องมีวุฒิสภาหรือไม่ เพราะหลายประเทศทั่วโลกก็เป็นรัฐเดี่ยวระบบรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย ก็ใช้ระบบสภาเดี่ยว มีแค่สภาผู้แทนราษฎร แต่หากจะมี สว. ที่มีอำนาจสูงเหมือนในประเทศไทย สามารถร่วมพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ รับรองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ก็ควรจะต้องมาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ใช่การคัดเลือกด้วยกันเอง
เมื่อถามว่าสุดท้ายแล้วจะได้ สว.ที่ตอบโจทย์สอดคล้องกับหน้าที่และอำนาจหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า อย่างที่ตนบอกว่าตนไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างอำนาจที่มาของ สว.ที่เป็นอยู่ ดังนั้นในมุมมองส่วนตัว ตนหวังว่า กระบวนการที่เกิดขึ้นในวันนี้จะเป็นครั้งเดียวและครั้งสุดท้ายในการเมืองไทย และคิดว่าการออกแบบรัฐสภาที่ตอบโจทย์มากกว่าต้องคิดว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีวุฒิสภาหรือไม่ และหากมี จะออกแบบโครงสร้าง ที่มา และอำนาจอย่างไร
เมื่อถามว่า กกต. ยังให้ความมั่นใจเรื่องการฮั้วว่าสามารถจัดการได้ มองว่าจะมีการเล็ดลอดหรือไม่ นายพริษฐ์ ระบุว่า คงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี เราก็เห็นการตั้งข้อสังเกตและข้อร้องเรียนในเรื่องนี้เยอะ กกต. ก็ต้องเอาจริงเอาจังในการจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอในการสืบค้นเรื่องดังกล่าว เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้โดยไม่กระทบภาพรวมในการเลือก สว. พร้อมย้ำว่าเรื่องร้องเรียนที่ กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ได้รับ ส่วนใหญ่เป็นการตั้งข้อสังเกตมากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ ตนจึงยังไม่ด่วนสรุปว่ามีการจัดตั้งหรือการฮั้ว
‘กัณวีร์’ ชวนจับตาเลือกส.ว.ไม่ให้เป็นไปตามสมการ 3 ล. ‘เลื่อน-ล้ม-เละ’
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4618457
‘กัณวีร์’ ชวนจับตาเลือกส.ว.ไม่ให้เป็นไปตามสมการ 3 ล.’เลื่อน-ล้ม-เละ’ เพื่อให้ได้ส.ว.ชุดใหม่เป็นความหวังให้ประชาชน
วันที่ 9 มิถุนายน นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ลงพื้นที่สังเกตการณ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.2567 ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณาบริหารธุรกิจ เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร สถานที่เลือก ส.ว.ระดับอำเภอเขตคันนายาว
นายกัณวีร์ เปิดเผยว่า เหตุที่มาสังเกตการณ์ที่เขตคันนายาว เพราะมีผู้สมัคร ส.ว.เพียง 35 คน และเป็นเขตรอบนอกของกรุงเทพมหานคร จากผู้สมัครจำนวน 35 คน จำนวน 14 กลุ่ม มี 6 กลุ่มที่ไม่มีผู้สมัคร มีผู้สมัคร กลุ่มละ 1 คน จำนวน 6 กลุ่ม ส่วนกลุ่มอื่น มีผู้สมัคร ตั้งแต่ 2 คน สูงสุด 5 คน จึงน่าสนใจในกรณีกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้สมัครน้อย และต้องเข้ารอบกลุ่มละ 3 คน
สำหรับสถานที่เลือก ส.ว.เขตคันนายาว มีการถ่ายทอดกล้องวงจรปิดจากภายในสถานที่เลือกมายังภายนอกห้อง ให้ผู้สังเกตการณ์ทั้งประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชน แต่ไม่มีการถ่ายทอดเสียง โดยนายกัณวีร์ ได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่ พบว่า การเลือกในขั้นตอนแรกผ่านไปด้วยความเรียบร้อย เพราะบางกลุ่มไม่มีผู้สมัคร มีเพียงกลุ่มเดียวที่มีผู้สมัครเกิน 5 คน ทำให้มีการเลือกในกลุ่มเดียวกันในรอบที่ 1 จากนั้นเข้าสู่การเลือกรอบ 2 เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นานและแล้วเสร็จในช่วงบ่ายวันนี้
นายกัณวีร์ กล่าวว่า อยากมาดูว่าการเลือกสมาชิกวุฒิสภา มีความสำคัญในกระบวนการนิติบัญญัติ และต้องทำงานร่วมกับ ส.ส.ในรัฐสภา จึงมาดูว่ากระบวนการที่ออกมาตั้งแต่แรกว่า มี สมการ 3 ล คือ เลื่อน ล้ม เละ จากมาตรการที่ออกมาภายใต้รัฐธรรมนูญ แม้ชุดใหม่ไม่ได้อยู่ในบทเฉพาะกาล ไม่ได้เลือกนายกรัฐมนตรี แต่ ส.ว.200คน ชุดใหม่ จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ แม้จะไม่เลื่อน แต่อาจจะล้มได้ในอนาคต
“สมการการเลือก ส.ว.ครั้งนี้ มีการกล่าวกันว่า มี 3 ล.คือ เลื่อน ล้ม และ เละ ถ้าผลการเลือก ส.ว.200 คนไม่เป็นที่ต้องการของคนที่มีอำนาจ อาจจะมีการล้ม และถ้าคนที่เข้าไปกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ที่มาจากประชาชน อาจมีกระบวนการทำให้การเลือก ส.ว.ล้มก็ได้ ถ้าไม่ล้มก็คงจะเละ ตามสมการที่คาดการณ์กัน การเลือกในระดับอำเภอจึงสำคัญมากๆ ที่เราต้องช่วยกันจับตาไม่ให้เป็นไปตามสมการนี้”
นายกัณวีร์ กล่าวย้ำว่า ผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา จะเป็นตัวบอกว่า การเลือก ส.ว.จะเลื่อน ล้ม เละ จึงต้องจับตาจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ทั้งระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ
“ผมคาดหวังว่า ส.ว.ชุดใหม่มาจากประชาชนให้ได้มากที่สุด ไม่ได้มาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากที่สุด เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ว่า เป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง และทำงานร่วมกับ ส.ส.ในรัฐสภา ไม่ได้มาจากคำสั่งใคร แต่มาจากคำสั่งเดียว มาจากประชาชนเท่านั้น” นายกัณวีร์ กล่าว
ผู้เลี้ยงกุ้งสงขลา ร้องพาณิชย์อัพราคาสินค้าเพิ่มขึ้นกก.ละ 5 บาท ชี้สร้างรายได้สูงกว่าจ่ายเงินชดเชย
https://www.matichon.co.th/region/news_4618664
ผู้เลี้ยงกุ้งสงขลา ร้องพาณิชย์อัพราคาสินค้าเพิ่มขึ้นกก.ละ 5 บาท ชี้สร้างรายได้สูงกว่าจ่ายเงินชดเชย
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นายปรีชา สุขเกษม ผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสงขลา ไม่เห็นด้วย กับโครงการชดเชยส่วนต่าง ให้เกษตรกรกิโลกรัมละ 20บาท คนละ 20 ตัน ซึ่งโครงการนี้จะแบ่งให้คนรวบรวม 10 บาท ให้ค่าดำเนินงาน กับพานิชย์จังหวัดอีก10 บาท เนื่องจาก ตนเองนั้น เลี้ยงกุ้ง มีกุ้งจากฟาร์มของตนเองปีละ 100 ตัน มีลูกน้อง 10 ครัวเรือน ถือว่าเป็นครอบครัว เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ต้องให้เงินเดือนทุกเดือน เงินชดเซย 40,000 บาท ถือว่าไม่สามารถ สร้างความเข้มแข็งให้กับฟาร์มของตนเองได้เลย เพราะแม้แต่การจ้างงานลูกน้องก็ยังเพียงพอเลย
ดังนั้นจึงมองว่า มาตรการชดเชยส่วนต่างราคา ที่เตรียมจะช่วยเหลือผู้เลี้ยงกุ้งนั้น ไม่ได้เป็นมาตรการแก้ปัญหาราคากุ้งเแต่เป็นแค่มาตรการเยียวยาให้กับกลุ่ม บางกลุ่ม ไม่ครอบคลุมและไม่สามารถแก้ปัญหาแก้ปัญหาให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในภาพรวมได้ ไม่เป็นธรรมและเป็นช่องทางกระบวนการทุจจริตทางนโยบายได้
หากรัฐมีนโยบายอื่นใด ที่ทำให้ราคากุ้งเพิ่มขึ้นแค่ 5 บาท ต่อกิโลกรัม จะส่งผลให้รายได้เกษตรกรที่มีกุ้งอยู่มีรายได้สูงกว่าเงินชดเชย และเพิ่มมูลค่าให้สินค้ากุ้ง และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย รัฐจึงควรแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำด้วยการทำให้ราคากุ้งสูงขึ้น ไม่ใช่เยียวยาแค่บางกลุ่ม ไม่ครอบคลุม ไม่เป็นธรรม และไม่แก้ปัญหาที่แท้จริง
การแก้ปัญหากุ้งในโครงการ 5000 พันตันในโครงการเก่า สิ้นสุดโครงการแล้วยังดำเนินงานได้ไม่เต็มโควต้า ในบางจังหวัดเช่น จังหวัดสงขลา(โครงการเก่า) ผลสัมฤทธ์ทางนโยบาย จึงขาดประสิทธิภาพ กว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้มีเพียงคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่มีกุ้ง โดยที่ปัญหาราคากุ้งไม่ได้รับการแก้ไข กลไกราคาจึงสำคัญที่สุด ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งจริงๆ ไม่ใช่เกษตรกรที่ไม่ได้เลี้ยงกุ้งจริง มีแค่ทะเบียนฟาร์มเท่านั้น
โดยขอเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน คือเมื่อห้องเย็นมีน้อยราย ที่ยังสามารถซื้อกุ้งได้ รัฐต้องช่วยสร้างความเข้มแข็งให้พ่อค้ารายย่อยให้ มีจำนวนมากขึ้นเพื่อรองรับปริมาณกุ้ง ที่กรมประมง ส่งเสริม ตั้งเป้าไว้รวมถึงส่งเสริมตลาดอื่นๆ เช่นอาเซียน และบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น
กระทรวงพานิชย์ต้องเป็นคนกลางทางการค้า เน้นนโยบายการอำนวยการ จับคู่ทางการค้า บนกติกาที่เป็นธรรม ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเราเดือดร้อนจากโรคระบาดกุ้ง ทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งลดน้อยลงไป แต่ในรายที่เหลืออยู่ก็ได้พยายามปรับตัว ทุ่มทุนเพื่อให้สามารถรอดพ้นจากวิกฤติโรคระบาด เลี้ยงกุ้งได้อย่างมีคุณภาพ แต่ กลับไม่ได้รับการแก้ปัญหา ราคากุ้งตกต่ำ จากรัฐบาล ตนไม่เห็นด้วยกับโครงการชดเชยส่วนต่าง 20บาทต่อกิโลกรัม คนละ20ตัน รัฐบาลโดยกระทรวงพานิชย์ควรจะแสดงผีมือในการดึงราคาสินค้าเกษตรให้ปรับขึ้น ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรม จนทำให้สินค้าเกือบทุกชนิดราคาตกต่ำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปาล์มน้ำมัน กุ้ง หมู โค เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาราคากุ้งที่ตกต่ำ จึงควรหาแนวทางทำให้ราคาปรับขึ้นมาซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ทั้งหมด ไม่ใช่ทำโครงการชดเชยส่วนต่างที่เกษตรกรไม่ได้ต้องการ