ปริญญา คาใจ กกต. ไม่ออกประกาศไฟเขียว สื่อสังเกตการณ์ ย้ำ โชว์โปร่งใสตอนนี้ยังทัน
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4610148
นายอำเภอจะกล้าไหม? ปริญญา คาใจ กกต. ไม่ออกประกาศไฟเขียวสื่อสังเกตการณ์ ย้ำโชว์โปร่งใสตอนนี้ยังทัน
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ห้อง 211 (ศาลจำลอง) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ We Watch จัดงานแถลงข่าวและเสวนา “
ปัญหาการเลือก ส.ว.2567 จะแก้ไขอย่างไร? ข้อเรียกร้องจากประชาชนถึง กกต.”
เวลา 12.50 น. ประชาชนและผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา เดินทางเข้ามารับฟังเสวนาแน่นห้องประชุม โดยก่อนการเริ่มเวทีเสนามีการแถลงข่าว “
ข้อเรียกร้องจากประชาชนถึง กกต.” นำโดย ผศ.ดร.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และนาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ (iLaw)
ในตอนหนึ่ง ผศ.ดร.
ปริญญากล่าวว่า เรื่องความโปร่งใสตามที่สื่อมวลชนถามมาว่า จะมีการล็อกผลไหม หรือมีการฮั้วกัน ถึงขนาดที่ว่ามีชื่อย่อหลุดออกมา ถ้าข่าวนี้เป็นเรื่องจริง กกต.จะรับผิดชอบอย่างไร เพราะ กกต.ยังไม่ประกาศออกมาเลย คือ มีแต่ประกาศให้มีความยุ่งยากมากขึ้นในการแนะนำตัว
“
แต่ถ้าเขาจูงใจด้วยประโยชน์ให้มาสมัคร ให้มาเลือกกัน อันนี้เป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา แต่ กกต.ดูจะปรามเรื่องนี้น้อยไปหน่อย คือ คำว่า ‘ฮั้ว’ ปัญหาคือว่า ถ้าเขาชวนกันว่า ผมเลือกคุณ คุณเลือกผม อันนี้กฎหมายไม่ได้ห้าม แต่ปัญหาคือถ้าคุณเลือกผม ผมให้ตังค์คุณ อันนี้ผิด เป็นโทษอาญา ตรงนี้ กกต.ต้องมีมาตรการที่ชัดเจนออกมา” ผศ.ดร.
ปริญญาเผย
ผศ.ดร.
ปริญญากล่าวว่า ข้อสำคัญคือบทบาทของประชาชนและสื่อมวลชน ในการเป็นผู้สังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการเลือก จนบัดนี้ตนยังไม่เห็นข้อประกาศระเบียบเป็นทางการออกมาว่า ให้สื่อมวลชนเข้าไปสังเกตการณ์ได้
“
ตามความจริงแล้วมันผิด เพราะตาม พ.ร.ก. ของ กกต. ผู้อำนวยการเลือกทั้งระดับอำเภอ คือ นายอำเภอ ระดับจังหวัด คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด และระดับประเทศ คือ กกต. สามารถอนุญาตให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้สมัคร เข้าไปที่เลือกได้ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ก็ห้ามเฉพาะผู้สมัคร ถ้าอนุญาตให้สื่อเข้าไปได้ ก็อนุญาตเครื่องมือสื่อสารเข้าไปได้ เพียงแต่ต้องไม่ไปรบกวนกระบวนการในการเลือก
ตรงนี้ผมคิดว่าเวลายังพอทำทัน วันนี้วันอังคารที่ 4 ยังมีเวลา 5 6 7 ที่เป็นวันราชการ รีบประกาศออกมาเสีย ทำให้เกิดความโปร่งใสเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนได้อย่างไร” ผศ.ดร.
ปริญญาชี้
ผศ.ดร.
ปริญญากล่าวว่า มีอีกเรื่องหนึ่ง คือ ตอนแบ่งสายจับฉลาก ถ้าหากว่าการแบ่งสายไม่โปร่งใส ถ้าเกิดการล็อกสายได้ ซึ่งตนคิดว่าข้อที่ประชาชนกังวลใจ คือ กกต.จะทำอย่างไรให้คนเชื่อมั่นว่าทั้งหมดนี้ ไม่มีการล็อกใครไว้ก่อน ทุกคนเหมือนกันหมดที่สมัครเข้าไป ทำให้คนเชื่อมั่นว่าปัญหาจะไม่เกิด
“
ตอนนี้มันมีเกิดรายชื่ออกมาเพราะคนไม่เชื่อมั่นว่า มันจะเรื่องของความโปร่งใส หรือไม่โปร่งใส รวมถึงอาจจะมีการล็อกสเปกเกิดขึ้น ก็ต้องทำให้คนเชื่อมั่น ซึ่งเวลาก็งวดเข้าทุกขณะ เหลือแค่ 5 วัน ก็จะถึงวันเลือกในระดับอำเภอแล้ว ดังนั้นตอนนี้เวลายังพอมี” ผศ.ดร.ปริญญาเผย
ผศ.ดร.
ปริญญากล่าวว่า ปัญหาอีกหนึ่งข้อ คือ ผู้สมัครไม่รู้จักกัน เพราะเอกสารแนะนำตัวก็จำกัดเสียเหลือเกิน พอถึงวันเลือกก็ค่อยแจก ฉะนั้น กกต.ต้องมีวิธีการมากกว่าตอนนี้ที่ทำอยู่ให้คนรู้จักกัน
“
คิดง่ายๆ ถ้าคนอย่างน้อย ก่อนที่จะเลือกไขว้ก็ให้คนเขาได้แนะนำตัวรู้จักกัน อะไรบางอย่างง่ายๆ ไม่อย่างนั้นจะเลือกกันอย่างไร ฉะนั้น กกต.ยังไม่ทำให้ปรากฏออกมา อันนี้เป็นข้อที่ดูแล้วยังมีปัญหาอยู่มาก ผมย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ยังมีเวลาทำให้ทัน สำคัญคือ แต่ละอำเภอ นายอำเภอเขาก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ถ้า กกต.ไม่ประกาศออกมา ถ้าสื่อในพื้นที่จะขอเข้าไปสังเกตการณ์
ถ้า กกต.ไม่ออกเป็นแนวทางไว้ เขาก็ไม่กล้าใช้อำนาจ แม้ตาม พ.ร.ก.อนุญาตได้ แต่เขาจะกล้าอนุญาตหรือ ถ้า กกต.ไม่ประกาศแนวทางออกมา นายอำเภอจะกล้าไหม จัดวงให้ผู้สมัครแนะนำตัวกันในรอบเลือกไขว้ นายอำเภอจะกล้าไหม ถ้าหาก กกต.ไม่ประกาศ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ กกต.ต้องมีระเบียบหรือแนวทางออกมา” ผศ.ดร.
ปริญญาทิ้งท้าย
ปริญญา ลั่น ‘ผมอ่านหมดแล้ว’ ร่ายยาวขยี้ปมตัดสิทธิชิงส.ว. ย้ำเรื่องใหญ่ หวั่นยุ่งเกินเยียวยา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4610272
ปริญญา ลั่น ‘ผมอ่านมาหมดแล้ว’ ร่ายยาวขยี้ปม ‘ตัดสิทธิ’ สมัคร ส.ว. ย้ำเรื่องใหญ่ หวั่นยุ่งเกินเยียวยา
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ห้อง 211 (ศาลจำลอง) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ We Watch จัดงานแถลงข่าวและเสวนา “
ปัญหาการเลือก ส.ว.2567 จะแก้ไขอย่างไร? ข้อเรียกร้องจากประชาชนถึง กกต.”
เวลา 12.50 น. ประชาชนและผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา เดินทางเข้ามารับฟังเสวนาแน่นห้องประชุม โดยก่อนการเริ่มเวทีเสนามีการแถลงข่าว “
ข้อเรียกร้องจากประชาชนถึง กกต.” นำโดย ผศ.ดร.ป
ริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และ นาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ (iLaw)
ในตอนหนึ่ง ผศ.ดร.
ปริญญากล่าวว่า ข้อที่น่าเป็นห่วงคือ กกต.เคยคาดหมายว่า จะมีผู้สมัครแสนกว่าคน แต่ในทางปฏิบัติมีผู้ที่สมัครแค่ 4 หมื่นกว่าคน ซึ่งถ้าหากคิดตามตัวเลข และระบบการเลือก ทุกอำเภอ 20 กลุ่มอาชีพจะได้ 3 คน ก็แปลว่าจะต้องมีอำเภอละ 60 คน คูณ 928 อำเภอ รวมเขตในกรุงเทพฯ ดังนั้น ตัวเลขคือ 55,680 คน
“
ตัวเลขมันต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้มันมีปัญหาคือ จังหวัดและอำเภอ ที่มีผู้สมัครต่ำกว่าจำนวนคนเข้ารอบ จะมีเกิดขึ้นหลายอำเภอ จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ขณะนี้ น่าเป็นห่วงมาก กกต.มีแนวโน้มจะตัดสิทธิเพราะไม่มีคนเลือกไขว้ในบางอำเภอ ดังนั้นจึงปัดตก ตัดสิทธิเลย ผมขอเรียนว่าประการพื้นฐานที่สำคัญที่สุด การเลือก ส.ว.นั้น ไม่ใช่การเลือกเจ้าหน้าที่ กกต. แต่เป็นการเลือกตัวแทนปวงชนชาวไทย และผู้สมัครทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ” ผศ.ดร.
ปริญญาระบุ
ผศ.ดร.
ปริญญากล่าวว่า หลักสิทธิเสรีภาพตามหลักกฎหมาย มันต้องตีความไปทางให้สิทธิ ไม่ใช่การตัดสิทธิ ตราบใดที่เขายังไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ว. ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ เขายังเป็นประชาชน ฉะนั้นการตีความต้องตีความไปในทางให้สิทธิ ไม่ใช่จำกัดสิทธิ อย่างเช่นที่ กกต.ทำอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดมา ตนขอย้ำอีกครั้งว่านี่ไม่ใช่การรับสมัคร กกต. เป็นการเปิดกว้างให้ผู้ที่จะอาสาเข้ามาตามระบบที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.ป.การได้มาซึ่ง ส.ว. ดังนั้นโดยหลัก คือ ม.40 ของ พ.ร.ป.การได้มาซึ่ง ส.ว. ก็เขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า รอบแรกในระดับอำเภอ 20 กลุ่ม ก็เลือกกันเอง มี 2 คะแนน
“
ถ้าหากว่าเกิดในกลุ่มอาชีพใด มีผู้สมัครไม่ถึง 5 คน ก็ถือว่าผ่านเข้ารอบ ดังนั้นรอบนี้ต้องเคร่งครัดตัดสิทธิเขาไม่ได้ เพราะคนสมัครต่ำกว่า 5 คน ก็แปลว่ารอบแรก ทีนี้ตอนเลือกไขว้ระดับอำเภอ ไม่มีให้เลือกไขว้ ก็ไม่ได้อีก เพราะหลักการให้ผ่านเลย จะต้องไม่กระทบกลุ่มอื่นและอำเภออื่น ว่าง่ายๆ คือทุกอำเภอทั้ง 928 อำเภอ แต่ละกลุ่มอาชีพ คือ 3 คน ถ้าหากไม่เกินนี้ก็เข้ารอบสู่จังหวัด
ส่วนจังหวัดมี 77 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ ด้วย รอบนี้จะเหลือกลุ่มอาชีพละ 2 คน ฉะนั้นจะมี 40 คนต่อจังหวัด ตัวเลขทั้งหมด คือ 3,080 คน ฉะนั้นในรอบจังหวัดปัญหาคงไม่เกิด เพราะว่าตัวคนจากรอบอำเภอเข้ามาแล้ว ปัญหาคงจะไม่เกิด แต่ปัญหาจะเกิดในรอบอำเภอ ในจังหวัดที่สมัครไม่ครบกลุ่มอาชีพ” ผศ.ดร.
ปริญญาชี้
ผศ.ดร.
ปริญญากล่าวว่า หลักในการแก้ปัญหาข้อนี้ ไม่ใช่ตัดสิทธิ สมัครไม่ถึงก็ถือว่า ‘ได้เลย’ ส่วนในขั้นตอนก็ต้องเลือกด้วย อันนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่จะไปตัดสิทธิเขาไม่ได้
“
ข้อที่ 1 กกต.ต้องดำเนินการและเตรียมการให้พร้อมก่อนถึงวันที่ 9 ที่จะถึง กกต.มีข้อมูลมาแล้ว ในทางข้อกฎหมายผมอ่านหมดแล้ว จะไปตัดสิทธิเขาไม่ได้ อันนี้เรื่องใหญ่ เพราะตัดสิทธิไปแล้วพอถึงระดับจังหวัด เขาหมดสิทธิเลือกไปแล้ว ส่งผลถึงระดับประเทศ มันก็ยุ่งเกินเยียวยา
ดังนั้น ตามระบบที่เขาวางไว้เลือกระดับอำเภอเสร็จวันที่ 9 เขาก็ต้องประกาศให้เรียบร้อยถึงจะไประดับจังหวัด แล้วประกาศเรียบร้อยปั๊บ ค่อยไประดับประเทศ ซึ่งปัญหาคือไปตัดสิทธิเขาตั้งแต่ต้น ที่ประกาศไปมันก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมด ข้อนี้สำคัญมาก คือ กรณีที่เป็นข้อสงสัยต้องตีความให้สิทธิ หรือเป็นคุณต่อเขา ไม่ใช่ให้โทษต่อประชาชน ข้อนี้สำคัญมาก” ผศ.ดร.
ปริญญาชี้
พริษฐ์ ชี้มีคนร้อง กมธ.พัฒนาการเมือง ส่อฮั้วเลือก ส.ว. แจง 9 มิ.ย.ลงพื้นที่สังเกตการณ์แน่
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4609988
‘ไอติม’ โดดป้องบางรายชื่อในโพยก๊วนฮั้วเลือก ส.ว. บอกอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน เหตุบางพื้นที่คนสมัครน้อย โอกาสเข้ารอบมีสูง ต้องฝากทุกฝ่ายช่วยกันสอบ เตรียมสังเกตการณ์เลือกระดับอำเภอ 9 มิ.ย.นี้ ตั้งเป้าโปร่งใสให้ได้มากที่สุด
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการร่วมสังเกตการณ์เลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ระดับอำเภอ ในวันที่ 9 มิ.ย.ว่า กมธ.กำลังวางแผนกันอยู่ว่าจะไปสังเกตการณ์ที่ไหน เพราะสมาชิก กมธ.กระจายกันอยู่หลายพื้นที่ จะรอดูว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะไปสังเกตการณ์มากกว่า 1 แห่ง
ส่วนเรื่องโพยก๊วน 149 ผู้สมัครที่ผ่านเข้ารอบนั้น นาย
พริษฐ์มองว่า ต้องการให้การคัดเลือก ส.ว.เป็นไปด้วยความโปร่งใสที่สุด ดังนั้น การที่เราสังเกตการณ์ก็เพื่อให้โปร่งใสที่สุด ซึ่งก็มีข้อร้องเรียนมาที่ กมธ.พัฒนาการเมืองเหมือนกันว่ามีการจัดตั้ง หรือแม้กระทั่งให้ผลประโยชน์ เพื่อให้คนไปสมัครในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้มาเลือกผู้สมัครบางคนโดยเฉพาะ คิดว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องตรวจสอบ
“
ประเด็นเรื่อง 149 รายชื่อ ผมเข้าใจว่าอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เห็นบางคนที่อยู่ในรายชื่อออกมาชี้แจงว่าไม่เกี่ยวข้อง เผอิญว่าเป็นรายชื่อที่อาจเป็นคนที่สมัครในกลุ่มอาชีพในอำเภอที่มีผู้สมัครน้อย ทำให้มีโอกาสเข้ารอบไปสู่ระดับจังหวัดค่อนข้างสูง ดังนั้น ต้องฝากทุกฝ่ายช่วยกันตรวจสอบ อะไรที่มีการจัดตั้งหรือทำผิดกฎหมายต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น” นาย
พริษฐ์กล่าว
สรท.ห่วง 4 อุปสรรคขวางส่งออกไทย แม้ส่งออกเม.ย.พุ่ง 6.8%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4610018
สรท.ห่วง 4 อุปสรรคขวางส่งออกไทย แม้ส่งออกเม.ย.พุ่ง 6.8%
นาย
ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนเมษายน 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ว่า การส่งออกมีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 6.8 % มีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 834,018 ล้านบาท หดตัว 12.7% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย ขยายตัว 11.4%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 24,920.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.3% มีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 903,194 ล้านบาท ขยายตัว 14.2% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนเมษายน 2567 ขาดดุลเท่ากับ 1,641.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 69,176 ล้านบาท โดยสรท. ตั้งเป้าการส่งออกรวมทั้งปี 2567 เติบโตระหว่าง 1-2%
JJNY : 5in1 ปริญญาคาใจกกต.│ปริญญาลั่น‘ผมอ่านหมดแล้ว’│พริษฐ์ชี้มีคนร้อง│สรท.ห่วงส่งออกไทย│คาด‘ลานีญา’อาจช่วยลดอุณหภูมิโลก
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4610148
นายอำเภอจะกล้าไหม? ปริญญา คาใจ กกต. ไม่ออกประกาศไฟเขียวสื่อสังเกตการณ์ ย้ำโชว์โปร่งใสตอนนี้ยังทัน
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ห้อง 211 (ศาลจำลอง) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ We Watch จัดงานแถลงข่าวและเสวนา “ปัญหาการเลือก ส.ว.2567 จะแก้ไขอย่างไร? ข้อเรียกร้องจากประชาชนถึง กกต.”
เวลา 12.50 น. ประชาชนและผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา เดินทางเข้ามารับฟังเสวนาแน่นห้องประชุม โดยก่อนการเริ่มเวทีเสนามีการแถลงข่าว “ข้อเรียกร้องจากประชาชนถึง กกต.” นำโดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ (iLaw)
ในตอนหนึ่ง ผศ.ดร.ปริญญากล่าวว่า เรื่องความโปร่งใสตามที่สื่อมวลชนถามมาว่า จะมีการล็อกผลไหม หรือมีการฮั้วกัน ถึงขนาดที่ว่ามีชื่อย่อหลุดออกมา ถ้าข่าวนี้เป็นเรื่องจริง กกต.จะรับผิดชอบอย่างไร เพราะ กกต.ยังไม่ประกาศออกมาเลย คือ มีแต่ประกาศให้มีความยุ่งยากมากขึ้นในการแนะนำตัว
“แต่ถ้าเขาจูงใจด้วยประโยชน์ให้มาสมัคร ให้มาเลือกกัน อันนี้เป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา แต่ กกต.ดูจะปรามเรื่องนี้น้อยไปหน่อย คือ คำว่า ‘ฮั้ว’ ปัญหาคือว่า ถ้าเขาชวนกันว่า ผมเลือกคุณ คุณเลือกผม อันนี้กฎหมายไม่ได้ห้าม แต่ปัญหาคือถ้าคุณเลือกผม ผมให้ตังค์คุณ อันนี้ผิด เป็นโทษอาญา ตรงนี้ กกต.ต้องมีมาตรการที่ชัดเจนออกมา” ผศ.ดร.ปริญญาเผย
ผศ.ดร.ปริญญากล่าวว่า ข้อสำคัญคือบทบาทของประชาชนและสื่อมวลชน ในการเป็นผู้สังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการเลือก จนบัดนี้ตนยังไม่เห็นข้อประกาศระเบียบเป็นทางการออกมาว่า ให้สื่อมวลชนเข้าไปสังเกตการณ์ได้
“ตามความจริงแล้วมันผิด เพราะตาม พ.ร.ก. ของ กกต. ผู้อำนวยการเลือกทั้งระดับอำเภอ คือ นายอำเภอ ระดับจังหวัด คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด และระดับประเทศ คือ กกต. สามารถอนุญาตให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้สมัคร เข้าไปที่เลือกได้ อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ก็ห้ามเฉพาะผู้สมัคร ถ้าอนุญาตให้สื่อเข้าไปได้ ก็อนุญาตเครื่องมือสื่อสารเข้าไปได้ เพียงแต่ต้องไม่ไปรบกวนกระบวนการในการเลือก
ตรงนี้ผมคิดว่าเวลายังพอทำทัน วันนี้วันอังคารที่ 4 ยังมีเวลา 5 6 7 ที่เป็นวันราชการ รีบประกาศออกมาเสีย ทำให้เกิดความโปร่งใสเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนได้อย่างไร” ผศ.ดร.ปริญญาชี้
ผศ.ดร.ปริญญากล่าวว่า มีอีกเรื่องหนึ่ง คือ ตอนแบ่งสายจับฉลาก ถ้าหากว่าการแบ่งสายไม่โปร่งใส ถ้าเกิดการล็อกสายได้ ซึ่งตนคิดว่าข้อที่ประชาชนกังวลใจ คือ กกต.จะทำอย่างไรให้คนเชื่อมั่นว่าทั้งหมดนี้ ไม่มีการล็อกใครไว้ก่อน ทุกคนเหมือนกันหมดที่สมัครเข้าไป ทำให้คนเชื่อมั่นว่าปัญหาจะไม่เกิด
“ตอนนี้มันมีเกิดรายชื่ออกมาเพราะคนไม่เชื่อมั่นว่า มันจะเรื่องของความโปร่งใส หรือไม่โปร่งใส รวมถึงอาจจะมีการล็อกสเปกเกิดขึ้น ก็ต้องทำให้คนเชื่อมั่น ซึ่งเวลาก็งวดเข้าทุกขณะ เหลือแค่ 5 วัน ก็จะถึงวันเลือกในระดับอำเภอแล้ว ดังนั้นตอนนี้เวลายังพอมี” ผศ.ดร.ปริญญาเผย
ผศ.ดร.ปริญญากล่าวว่า ปัญหาอีกหนึ่งข้อ คือ ผู้สมัครไม่รู้จักกัน เพราะเอกสารแนะนำตัวก็จำกัดเสียเหลือเกิน พอถึงวันเลือกก็ค่อยแจก ฉะนั้น กกต.ต้องมีวิธีการมากกว่าตอนนี้ที่ทำอยู่ให้คนรู้จักกัน
“คิดง่ายๆ ถ้าคนอย่างน้อย ก่อนที่จะเลือกไขว้ก็ให้คนเขาได้แนะนำตัวรู้จักกัน อะไรบางอย่างง่ายๆ ไม่อย่างนั้นจะเลือกกันอย่างไร ฉะนั้น กกต.ยังไม่ทำให้ปรากฏออกมา อันนี้เป็นข้อที่ดูแล้วยังมีปัญหาอยู่มาก ผมย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ยังมีเวลาทำให้ทัน สำคัญคือ แต่ละอำเภอ นายอำเภอเขาก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ถ้า กกต.ไม่ประกาศออกมา ถ้าสื่อในพื้นที่จะขอเข้าไปสังเกตการณ์
ถ้า กกต.ไม่ออกเป็นแนวทางไว้ เขาก็ไม่กล้าใช้อำนาจ แม้ตาม พ.ร.ก.อนุญาตได้ แต่เขาจะกล้าอนุญาตหรือ ถ้า กกต.ไม่ประกาศแนวทางออกมา นายอำเภอจะกล้าไหม จัดวงให้ผู้สมัครแนะนำตัวกันในรอบเลือกไขว้ นายอำเภอจะกล้าไหม ถ้าหาก กกต.ไม่ประกาศ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ กกต.ต้องมีระเบียบหรือแนวทางออกมา” ผศ.ดร.ปริญญาทิ้งท้าย
ปริญญา ลั่น ‘ผมอ่านหมดแล้ว’ ร่ายยาวขยี้ปมตัดสิทธิชิงส.ว. ย้ำเรื่องใหญ่ หวั่นยุ่งเกินเยียวยา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4610272
ปริญญา ลั่น ‘ผมอ่านมาหมดแล้ว’ ร่ายยาวขยี้ปม ‘ตัดสิทธิ’ สมัคร ส.ว. ย้ำเรื่องใหญ่ หวั่นยุ่งเกินเยียวยา
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ที่ห้อง 211 (ศาลจำลอง) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ We Watch จัดงานแถลงข่าวและเสวนา “ปัญหาการเลือก ส.ว.2567 จะแก้ไขอย่างไร? ข้อเรียกร้องจากประชาชนถึง กกต.”
เวลา 12.50 น. ประชาชนและผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา เดินทางเข้ามารับฟังเสวนาแน่นห้องประชุม โดยก่อนการเริ่มเวทีเสนามีการแถลงข่าว “ข้อเรียกร้องจากประชาชนถึง กกต.” นำโดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และ นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ (iLaw)
ในตอนหนึ่ง ผศ.ดร.ปริญญากล่าวว่า ข้อที่น่าเป็นห่วงคือ กกต.เคยคาดหมายว่า จะมีผู้สมัครแสนกว่าคน แต่ในทางปฏิบัติมีผู้ที่สมัครแค่ 4 หมื่นกว่าคน ซึ่งถ้าหากคิดตามตัวเลข และระบบการเลือก ทุกอำเภอ 20 กลุ่มอาชีพจะได้ 3 คน ก็แปลว่าจะต้องมีอำเภอละ 60 คน คูณ 928 อำเภอ รวมเขตในกรุงเทพฯ ดังนั้น ตัวเลขคือ 55,680 คน
“ตัวเลขมันต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้มันมีปัญหาคือ จังหวัดและอำเภอ ที่มีผู้สมัครต่ำกว่าจำนวนคนเข้ารอบ จะมีเกิดขึ้นหลายอำเภอ จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ขณะนี้ น่าเป็นห่วงมาก กกต.มีแนวโน้มจะตัดสิทธิเพราะไม่มีคนเลือกไขว้ในบางอำเภอ ดังนั้นจึงปัดตก ตัดสิทธิเลย ผมขอเรียนว่าประการพื้นฐานที่สำคัญที่สุด การเลือก ส.ว.นั้น ไม่ใช่การเลือกเจ้าหน้าที่ กกต. แต่เป็นการเลือกตัวแทนปวงชนชาวไทย และผู้สมัครทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ” ผศ.ดร.ปริญญาระบุ
ผศ.ดร.ปริญญากล่าวว่า หลักสิทธิเสรีภาพตามหลักกฎหมาย มันต้องตีความไปทางให้สิทธิ ไม่ใช่การตัดสิทธิ ตราบใดที่เขายังไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ว. ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ เขายังเป็นประชาชน ฉะนั้นการตีความต้องตีความไปในทางให้สิทธิ ไม่ใช่จำกัดสิทธิ อย่างเช่นที่ กกต.ทำอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดมา ตนขอย้ำอีกครั้งว่านี่ไม่ใช่การรับสมัคร กกต. เป็นการเปิดกว้างให้ผู้ที่จะอาสาเข้ามาตามระบบที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.ป.การได้มาซึ่ง ส.ว. ดังนั้นโดยหลัก คือ ม.40 ของ พ.ร.ป.การได้มาซึ่ง ส.ว. ก็เขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า รอบแรกในระดับอำเภอ 20 กลุ่ม ก็เลือกกันเอง มี 2 คะแนน
“ถ้าหากว่าเกิดในกลุ่มอาชีพใด มีผู้สมัครไม่ถึง 5 คน ก็ถือว่าผ่านเข้ารอบ ดังนั้นรอบนี้ต้องเคร่งครัดตัดสิทธิเขาไม่ได้ เพราะคนสมัครต่ำกว่า 5 คน ก็แปลว่ารอบแรก ทีนี้ตอนเลือกไขว้ระดับอำเภอ ไม่มีให้เลือกไขว้ ก็ไม่ได้อีก เพราะหลักการให้ผ่านเลย จะต้องไม่กระทบกลุ่มอื่นและอำเภออื่น ว่าง่ายๆ คือทุกอำเภอทั้ง 928 อำเภอ แต่ละกลุ่มอาชีพ คือ 3 คน ถ้าหากไม่เกินนี้ก็เข้ารอบสู่จังหวัด
ส่วนจังหวัดมี 77 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ ด้วย รอบนี้จะเหลือกลุ่มอาชีพละ 2 คน ฉะนั้นจะมี 40 คนต่อจังหวัด ตัวเลขทั้งหมด คือ 3,080 คน ฉะนั้นในรอบจังหวัดปัญหาคงไม่เกิด เพราะว่าตัวคนจากรอบอำเภอเข้ามาแล้ว ปัญหาคงจะไม่เกิด แต่ปัญหาจะเกิดในรอบอำเภอ ในจังหวัดที่สมัครไม่ครบกลุ่มอาชีพ” ผศ.ดร.ปริญญาชี้
ผศ.ดร.ปริญญากล่าวว่า หลักในการแก้ปัญหาข้อนี้ ไม่ใช่ตัดสิทธิ สมัครไม่ถึงก็ถือว่า ‘ได้เลย’ ส่วนในขั้นตอนก็ต้องเลือกด้วย อันนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่จะไปตัดสิทธิเขาไม่ได้
“ข้อที่ 1 กกต.ต้องดำเนินการและเตรียมการให้พร้อมก่อนถึงวันที่ 9 ที่จะถึง กกต.มีข้อมูลมาแล้ว ในทางข้อกฎหมายผมอ่านหมดแล้ว จะไปตัดสิทธิเขาไม่ได้ อันนี้เรื่องใหญ่ เพราะตัดสิทธิไปแล้วพอถึงระดับจังหวัด เขาหมดสิทธิเลือกไปแล้ว ส่งผลถึงระดับประเทศ มันก็ยุ่งเกินเยียวยา
ดังนั้น ตามระบบที่เขาวางไว้เลือกระดับอำเภอเสร็จวันที่ 9 เขาก็ต้องประกาศให้เรียบร้อยถึงจะไประดับจังหวัด แล้วประกาศเรียบร้อยปั๊บ ค่อยไประดับประเทศ ซึ่งปัญหาคือไปตัดสิทธิเขาตั้งแต่ต้น ที่ประกาศไปมันก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมด ข้อนี้สำคัญมาก คือ กรณีที่เป็นข้อสงสัยต้องตีความให้สิทธิ หรือเป็นคุณต่อเขา ไม่ใช่ให้โทษต่อประชาชน ข้อนี้สำคัญมาก” ผศ.ดร.ปริญญาชี้
พริษฐ์ ชี้มีคนร้อง กมธ.พัฒนาการเมือง ส่อฮั้วเลือก ส.ว. แจง 9 มิ.ย.ลงพื้นที่สังเกตการณ์แน่
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4609988
‘ไอติม’ โดดป้องบางรายชื่อในโพยก๊วนฮั้วเลือก ส.ว. บอกอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน เหตุบางพื้นที่คนสมัครน้อย โอกาสเข้ารอบมีสูง ต้องฝากทุกฝ่ายช่วยกันสอบ เตรียมสังเกตการณ์เลือกระดับอำเภอ 9 มิ.ย.นี้ ตั้งเป้าโปร่งใสให้ได้มากที่สุด
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการร่วมสังเกตการณ์เลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ระดับอำเภอ ในวันที่ 9 มิ.ย.ว่า กมธ.กำลังวางแผนกันอยู่ว่าจะไปสังเกตการณ์ที่ไหน เพราะสมาชิก กมธ.กระจายกันอยู่หลายพื้นที่ จะรอดูว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะไปสังเกตการณ์มากกว่า 1 แห่ง
ส่วนเรื่องโพยก๊วน 149 ผู้สมัครที่ผ่านเข้ารอบนั้น นายพริษฐ์มองว่า ต้องการให้การคัดเลือก ส.ว.เป็นไปด้วยความโปร่งใสที่สุด ดังนั้น การที่เราสังเกตการณ์ก็เพื่อให้โปร่งใสที่สุด ซึ่งก็มีข้อร้องเรียนมาที่ กมธ.พัฒนาการเมืองเหมือนกันว่ามีการจัดตั้ง หรือแม้กระทั่งให้ผลประโยชน์ เพื่อให้คนไปสมัครในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้มาเลือกผู้สมัครบางคนโดยเฉพาะ คิดว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องตรวจสอบ
“ประเด็นเรื่อง 149 รายชื่อ ผมเข้าใจว่าอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง เห็นบางคนที่อยู่ในรายชื่อออกมาชี้แจงว่าไม่เกี่ยวข้อง เผอิญว่าเป็นรายชื่อที่อาจเป็นคนที่สมัครในกลุ่มอาชีพในอำเภอที่มีผู้สมัครน้อย ทำให้มีโอกาสเข้ารอบไปสู่ระดับจังหวัดค่อนข้างสูง ดังนั้น ต้องฝากทุกฝ่ายช่วยกันตรวจสอบ อะไรที่มีการจัดตั้งหรือทำผิดกฎหมายต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น” นายพริษฐ์กล่าว
สรท.ห่วง 4 อุปสรรคขวางส่งออกไทย แม้ส่งออกเม.ย.พุ่ง 6.8%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4610018
สรท.ห่วง 4 อุปสรรคขวางส่งออกไทย แม้ส่งออกเม.ย.พุ่ง 6.8%
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนเมษายน 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ว่า การส่งออกมีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 6.8 % มีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 834,018 ล้านบาท หดตัว 12.7% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย ขยายตัว 11.4%) ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 24,920.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.3% มีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 903,194 ล้านบาท ขยายตัว 14.2% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนเมษายน 2567 ขาดดุลเท่ากับ 1,641.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 69,176 ล้านบาท โดยสรท. ตั้งเป้าการส่งออกรวมทั้งปี 2567 เติบโตระหว่าง 1-2%