พี่เสื้อแดงยอมไหม? เยาวชนร้องขอ ‘ช่วยกันลงส.ว.’ ดันปมล้อมปราบ ขึ้นศาล ICC
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4586204
เยาวชนร้องขอ ‘ช่วยกันลง ส.ว.’ แลกความฝัน – ชี้ ลงนาม ICC คืนความเป็นธรรม ‘คนเสื้อแดง’ ขึ้นอยู่กับ ส.ว.
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ข่วงประตูท่าแพ อำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ โครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฏหมายประชาชน หรือ iLaw เปิดโต๊ะคลินิกให้คำปรึกษาเตรียมตัวสมัคร ส.ว. ท่ามกลางประชาชนชาว จ.เชียงใหม่ที่ประสงค์ลงสมัคร ส.ว.มาขอรับคำปรึกษา และตรวจสอบคุณสมบัติกันอย่างต่อเนื่อง แม้ช่วงค่ำจะมีฝนตกโปรยปรายลงมาระหว่างการจัดกิจกรรมก็ตาม
บรรยากาศเวลา 18.00 น. มีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “
จะได้อะไรจากระบบใหม่ที่เลือกกันเอง” โดยมี นาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการ iLaw, รศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.เชียงใหม่ และ ผศ.ดร.
ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ ร่วมให้ความเห็น
ต่อมาเวลา 18.45 น. มีการเสวนาในหัวข้อ “
ฟังเสียงคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีสิทธิสมัคร สว. และไม่มีสิทธิเลือกสว.” โดย นาย
วิศรุต ศรีจันทร์ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.), นาง
พรชิตา ฟ้าประทานไพร เครือข่ายชาติพันธุ์ปลดแอก, นาย
ศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักสิทธิมนุษยชนด้านความหลากหลายทางเพศ, น.ส.
อชิรญา บุญตา นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง, นาย
เริงฤทธิ์ ละออกิจ สหกาพแรงงานบาริสต้าเชียงใหม่
ในตอนหนึ่ง น.ส.
อชิรญา นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง กล่าวว่า พี่น้องจำได้หรือไม่ ว่า พ.ล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยเป็นนายกฯ และจำได้ไหมว่า พล.อ.
ประยุทธ์เป็นนายกเพราะใคร ส.ว.เลือก
ประยุทธ์ จาก 250 คน เลือกประยุทธ์ 249 คน พี่น้องจำได้หรือไม่ ว่าที่ผ่านมา สว.250 คนมีผลงานอะไรดีๆ บ้าง ถ้าอย่างนั้น
“
ถ้าวันนี้ยังยกเลิก ส.ว.250 คนนี้ไม่ได้ พวกเราทุกคนตรงนี้ ไปลงสมัครให้น้องได้ไหม น้องเป็นแค่นักศึกษาจบปี 4 มีความฝันอยากจะทำงานดีๆ มีความฝันอยากจะเห็นประเทศไทยก้าวหน้า
แต่ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งสาธารณะ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสภา ทุกอย่างต้องออกกฎหมาย ส.ว.มีหน้าที่เยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นกรองกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเห็นชอบ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือแม้กระทั้งอาชีพ ที่ดูจะไม่เกี่ยวกับการเมือง น้องเรียนกฎหมาย ถ้าน้องอยากจะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด น้องจะต้องเอาตัวไปให้ 250 คนพวกนี้เลือก พี่ๆว่ามันแฟร์ไหม” น.ส.
อชิรญากล่าว
น.ส.
อชิรญากล่าวอีกว่า วันนี้ตนรู้ว่าเป็นวันครบรอบเสื้อแดง (19 พ.ค.2553) พี่ๆ มีความฝันใช่หรือไม่ ว่าอยากเห็นเมืองไทยลงนามในอนุสัญญา รับรองรัฐธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วย ศาลอาญาระหว่างประเทศ อยากเห็นการคืนความยุติธรรมให้คนเสื้อแดงใช่หรือไม่ แล้วถ้ามีการพิจารณาว่าจะมีการลงนาม จะต้องใช้เสียงของรัฐสภา หมายความว่า ส.ส.กับ ส.ว.จะต้องลงนามไปด้วยกัน จะต้องโหวตยกมือไปด้วยกันถึงจะผ่าน แปลว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่พี่น้องอยากได้ มันก็ขึ้นอยู่ในมือของ ส.ว. เช่นกัน
“
พี่น้องจะยอมไม่ยอม ถ้าเกิดวันนี้ไม่ยอม น้องมีความฝัน พี่ๆ ก็มีความฝัน เราแลกหน้าที่กันไหม ให้น้องได้พูด ได้ขอร้องให้พี่ๆทุกคนไปลงสมัคร ส่วนพี่ๆ ทุกคนก็ไปสมัครให้น้อง ไปทำตามความฝันของตัวเอง ไปทำตามข้อเรียกร้องของตัวเอง หรือพี่อาจจะมีความฝันเดียวกันกับน้อง ที่อยากจะเห็นประเทศไทย มีรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เอาไหม” น.ส.
อชิรญากล่าว
น.ส.
อชิรญายังกล่าวอีกว่า ฉะนั้น พี่ๆ ชาว จ.เชียงใหม่ทุกคน วันนี้มีคนไปรับใบสมัครเกือบ 10,000 คน อาจจะเกิน 10,000 ไปแล้วด้วยซ้ำ
“
พี่ๆ ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไปทุกคน ช่วยไปสมัคร ส.ว. แล้วมาฝันไปด้วยกันได้ไหม” น.ส.
อชิรญากล่าว
กัณวีร์ ร้องทบทวนส่ง ‘ผู้ลี้ภัย’ กลับปท.เผชิญความตาย ไม่ได้แก้ปัญหา ปลุกเห็นค่าความเป็นมนุษย์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4586170
‘กัณวีร์‘ ลั่น พอแล้วกับการไม่เห็นค่าความเป็นมนุษย์ ต่อผู้ลี้ภัย ยัน ไม่ใช่เรื่องกระทบความมั่นคง แต่ต้องมองเรื่องมนุษยธรรม
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่อาคารรัฐสภา นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อพรรคเป็นธรรม ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน
ต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ กล่าวรายงาน “
ปัญหาและแนวทางการแก้ แบบยั่งยืนเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และข้อสังเกตต่อการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง” ในงานสัมมนา หัวข้อ “
การบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง ผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง และแนวทางในการแก้ไขกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง”
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า ในคณะอนุกรรมาธิการศึกษากลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ 4 กลุ่ม ทั้งเข้าแบบผิดกฎหมาย หรือเข้ามาแบบถูกต้องตามกฎหมาย แต่อยู่ระยะเวลานานกว่ากำหนด คือ กลุ่มผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติ กลุ่มคนไร้สัญชาติไร้เอกสารแสดงตน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การค้ามนุษย์ เราดูปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งข้อสังเกต และดูว่ากฎหมายที่มีอยู่แล้วจะมีการบังคับใช้อย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว แต่ต้องเริ่มต้นก่อน เพราะในประเทศไทยยังไม่ยอมรับคำว่าผู้ลี้ภัย ตั้งแต่ตนเองทำงานมาทุกอย่างยังคงที่เป็นเหมือนเดิม ผู้ลี้ภัยเป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับการยอมรับในการมีตัวตนในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ยังเป็นแค่ภัยคุกคามด้านความมั่นคง กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เติมเต็มแรงงานในสังคมไทยยังขาดการเข้าถึงสิทธิ์ต่าง ๆ บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติในไทย กลุ่มคนเหล่านี้เราพยายามผลักดัน และต้องสร้างตัวตนให้กับทุกคนในประเทศนี้ขึ้นมา ว่าเขามีสถานะเหมือนพวกเรา จำเป็นต้องได้รับการยอมรับในฐานะการเป็นมนุษย์คนหนึ่ง
นาย
กัณวีร์ ระบุว่า ปี 2543 ตนเองทำการศึกษาเรื่องผู้ลี้ภัย ได้มีโอกาสพื้นที่พักพิงชายแดนชั่วคราวให้กับผู้ลี้ภัยการสู้รบ ที่อยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว จึงมีการขอกระทรวงมหาดไทยเข้าไปในพื้นที่ โดยครั้งแรกได้เข้าไปในจังหวัดราชบุรี และได้เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่พบกับกลุ่มผู้ลี้ภัย และได้มีการแนะนำให้ไปที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อไปพบกับคนหนึ่ง และจะได้เข้าไปในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณนั้น
จากนั้น ปี 2552 ได้ทำงานกับ UNHCR มีคนเข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือ ว่าถูกตัดออกจากทะเบียน เนื่องจากเดินทางออกนอกพื้นที่แต่มีความจำเป็นต้องนำลูกไปรักษาตาที่กำลังจะบอด ซึ่งเขาคือคนเดียวกันกับที่ตนเองพบที่แม่ฮ่องสอน นั่นคือครั้งแรกที่ได้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ข้อเสนอเหล่านี้จะสามารถทำให้ผู้ลี้ภัยหลายคนมีดวงตาที่สามารถมองกลับมาได้ ตอนนี้เราต้องช่วยกันร่วมมือกันในการทำงานช่วยมนุษย์ทุกคนให้ได้เป็นมนุษย์
ปัจจุบันยังมีผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่ยังอยู่ในประเทศไทย 48 คน เขาคือคนที่ถูกส่งกลับไปยังประเทศต้นกำเนิด และยังไม่รู้ชะตากรรม จึงอยากขอใช้เวลานี้ทำให้ข้อเสนอเหล่านี้ผ่านเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ในการส่งกลับผู้ที่จะต้องถูกประหัตประหารเผชิญหน้ากับความตายต่อไป
นาย
กัณวีร์ ระบุว่า ตนเองมีเพื่อนชาวโรฮิงญา ที่เป็นคนประสานตนเองกับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ในการพาเข้าไปในป่าที่ภาคใต้ และบอกว่าชาวโรฮิงญาถูกจับอยู่ตรงไหน เขาเป็นอีกคนที่อยู่ด้วยกันตอนโดนไล่ยิงในป่ายาง จังหวัดสงขลา ร่วมกับ ผบก.ตม. 6 โดยกลุ่มโรฮิงญาเป็นผู้ที่ถูกค้ามนุษย์ซึ่งปัจจุบันได้ไปอยู่ที่ประเทศสวีเดนเรียบร้อยแล้วและเขาก็ยังต่อสู้เรื่องการค้ามนุษย์
“
ผมขออุทิศเวลาตรงนี้ ในการที่จะบอกว่าเราจะไม่ทนต่อไปกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะมาทำลายชีวิตขั้นพื้นฐานพวกเรา ข้อเสนอต่างๆ เหล่านี้ การแก้ไขกฎหมายจะนำพาประเทศไทยของเราให้สามารถแก้ไขปัญหาในเชิงรุก ให้สามารถนำพาทุกคน ยืนขึ้น จับมือ และแก้ไขปัญหาไปพร้อมกัน” นาย
กัณวีร์ กล่าว
นาย
กัณวีร์ กล่าวต่อว่า คนต่างๆ เหล่านี้ ก็มีหมวกหลายใบ ซึ่งหมวกเหล่านั้นเป็นสิ่งที่บอกว่าเขาไม่มีสิทธิ์ ไม่มีเสียง ไม่มีตัวตนใดๆ ซึ่งแรงงานข้ามชาติ จำเป็นต้องได้รับการเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่ภาครัฐจำเป็นต้องให้ และรัฐต้องเป็นผู้ที่ให้ความคุ้มครองทุกคนที่อยู่ในประเทศตัวเอง ไม่สามารถบอกได้ว่าคุณไม่ใช่คนในชาติเรา และเราไม่ต้องดูแล ณ ปัจจุบันนี้ เรากำลังเผชิญกับมายาคติด้านอนุรักษ์นิยม ความมั่นคง ที่คนที่มีสัญชาติไม่เหมือนเรา ไม่ใช่คน หากเราสามารถต่อสู้กับอคติตรงนี้ได้ เราจะรู้ถึงทางออกที่แท้จริง
นาย
กัณวีร์ ระบุว่า ตอนนี้เรามองว่าคนที่ลี้ภัยเข้ามาในประเทศเราเป็นภัยต่อความมั่นคง แต่หากมอง หากเปิดใจมองว่าความจริงนี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ทุกคนอยู่ด้วยกัน การโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ เป็นภัยคุกคามความมั่นคง แต่เราจำเป็นต้องดูว่าจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร และไม่ใช่ง่ายๆ ที่กว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า พอแล้วสำหรับตนเอง 40 ปี ที่กักขังเขาไว้ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชายแดนโดยที่ไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยที่ไม่รู้ว่าชีวิตเขาจะอยู่อย่างไร พอแล้วที่กักขังชาวอุยกูร์อยู่ในประเทศนี้ โดยที่ไม่รู้ว่าสุดท้ายเขาต้องการอะไร ซึ่งตอนนี้ได้รับโทษการประหารชีวิต และไม่รู้ว่าจะออกเมื่อไหร่ พอแล้วกับชาวโรฮิงญาที่เสียชีวิตอยู่ในการกักขังที่ ตม.เสียชีวิตเพียงเพราะขาดสารอาหาร
พอแล้วกับแรงงานข้ามชาติที่ไม่มองอนาคตว่าลูกหลานของเขาจะเป็นอย่างไร ไม่มองถึงสวัสดิการรักษาพยาบาล พอแล้วกับการทิ้งบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการค้ามนุษย์ ทั้งที่เขาคือมนุษย์คนหนึ่ง การก้าวขั้นแรกของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะยืนหยัดให้สังคมนี้เห็นว่าเราให้ความสำคัญจริงๆ
สภาพัฒน์ หั่นจีดีพีปี 67 เหลือ 2.5% คาดดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจ 0.25%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4585653
สภาพัฒน์ หั่นจีดีพีปี 67 เหลือ 2.5% ยังเสี่ยงสงคราม-ความผันผวนของศก.โลก คาดดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.25%
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัว 2.0 – 3.0% (ค่ากลางการประมาณการ 2.5%) ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงจากการประมาณการครั้งที่แล้วที่คาดไว้ว่า 2.7% เนื่องจากมองว่าความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกมีค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องของการกีดกันทางการค้าในเวทีโลก เรื่องปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และความผันผวนด้านการเงินและเศรษฐกิจโลก
นาย
ดนุชา กล่าวว่า โดยคาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน 4.5% และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.2% มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 2.0% อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.1 – 1.1% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.2% ส่วนการลงทุนภาครัฐน่าจะหดตัวที่ 1.8%
นาย
ดนุชา กล่าวว่า สำหรับในการประมาณการครั้งนี้ ยังไม่ได้รวมโครงการดิจิทัล วอลเล็ต หากประเมินไทม์ไลน์ที่กำหนดไตรมาส 4 ปี 2567 และระยะเวลา 6 เดือน การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง อาจถึง 5 แสนล้านบาท ภายในไตรมาส 4 ปี 2567 แต่หากในประเมิน ในกรณีที่มีมาตรการนี้ออกมา คาดว่าจะเสริมเศรษฐกิจได้ 0.25% โดยบวกเพิ่มจากค่ากลางที่ประมาณการไว้ หรือ จะทำให้จีดีพีปีนี้ขยายตัวได้ 2.75% โดยการประเมินดังกล่าวมองว่าเม็ดเงินจะออกมาแค่บางส่วนของ 5 แสนล้านบาทเท่านั้น เพราะยังมีเรื่องของแหล่งเงินที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนหลายตัว
“
การประมาณการผลต่อจีดีพีทั้งหมดของโครงการ คือต้องติดตาม เพราะไม่แน่ใจว่าจะเบิกจ่ายทั้งหมดในไตรมาส 4 ปี 2567 หรือไม่ ต้องดูรายละเอียดของโครงการ เพราะยังมีหลายขั้นตอนที่ต้องพิจารณา” นาย[
JJNY : 5in1 พี่เสื้อแดงยอมไหม?│กัณวีร์ร้องทบทวน│สภาพัฒน์หั่นจีดีพี│ยูเอ็นเตือนโหดร้ายเพิ่มเติม│อินเดียเผชิญคลื่นความร้อน
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4586204
เยาวชนร้องขอ ‘ช่วยกันลง ส.ว.’ แลกความฝัน – ชี้ ลงนาม ICC คืนความเป็นธรรม ‘คนเสื้อแดง’ ขึ้นอยู่กับ ส.ว.
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ข่วงประตูท่าแพ อำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ โครงการอินเทอร์เนตเพื่อกฏหมายประชาชน หรือ iLaw เปิดโต๊ะคลินิกให้คำปรึกษาเตรียมตัวสมัคร ส.ว. ท่ามกลางประชาชนชาว จ.เชียงใหม่ที่ประสงค์ลงสมัคร ส.ว.มาขอรับคำปรึกษา และตรวจสอบคุณสมบัติกันอย่างต่อเนื่อง แม้ช่วงค่ำจะมีฝนตกโปรยปรายลงมาระหว่างการจัดกิจกรรมก็ตาม
บรรยากาศเวลา 18.00 น. มีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “จะได้อะไรจากระบบใหม่ที่เลือกกันเอง” โดยมี นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการ iLaw, รศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.เชียงใหม่ และ ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ ร่วมให้ความเห็น
ต่อมาเวลา 18.45 น. มีการเสวนาในหัวข้อ “ฟังเสียงคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีสิทธิสมัคร สว. และไม่มีสิทธิเลือกสว.” โดย นายวิศรุต ศรีจันทร์ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.), นางพรชิตา ฟ้าประทานไพร เครือข่ายชาติพันธุ์ปลดแอก, นายศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักสิทธิมนุษยชนด้านความหลากหลายทางเพศ, น.ส.อชิรญา บุญตา นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง, นายเริงฤทธิ์ ละออกิจ สหกาพแรงงานบาริสต้าเชียงใหม่
ในตอนหนึ่ง น.ส.อชิรญา นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง กล่าวว่า พี่น้องจำได้หรือไม่ ว่า พ.ล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยเป็นนายกฯ และจำได้ไหมว่า พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกเพราะใคร ส.ว.เลือกประยุทธ์ จาก 250 คน เลือกประยุทธ์ 249 คน พี่น้องจำได้หรือไม่ ว่าที่ผ่านมา สว.250 คนมีผลงานอะไรดีๆ บ้าง ถ้าอย่างนั้น
“ถ้าวันนี้ยังยกเลิก ส.ว.250 คนนี้ไม่ได้ พวกเราทุกคนตรงนี้ ไปลงสมัครให้น้องได้ไหม น้องเป็นแค่นักศึกษาจบปี 4 มีความฝันอยากจะทำงานดีๆ มีความฝันอยากจะเห็นประเทศไทยก้าวหน้า
แต่ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งสาธารณะ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสภา ทุกอย่างต้องออกกฎหมาย ส.ว.มีหน้าที่เยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นกรองกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเห็นชอบ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือแม้กระทั้งอาชีพ ที่ดูจะไม่เกี่ยวกับการเมือง น้องเรียนกฎหมาย ถ้าน้องอยากจะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด น้องจะต้องเอาตัวไปให้ 250 คนพวกนี้เลือก พี่ๆว่ามันแฟร์ไหม” น.ส.อชิรญากล่าว
น.ส.อชิรญากล่าวอีกว่า วันนี้ตนรู้ว่าเป็นวันครบรอบเสื้อแดง (19 พ.ค.2553) พี่ๆ มีความฝันใช่หรือไม่ ว่าอยากเห็นเมืองไทยลงนามในอนุสัญญา รับรองรัฐธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วย ศาลอาญาระหว่างประเทศ อยากเห็นการคืนความยุติธรรมให้คนเสื้อแดงใช่หรือไม่ แล้วถ้ามีการพิจารณาว่าจะมีการลงนาม จะต้องใช้เสียงของรัฐสภา หมายความว่า ส.ส.กับ ส.ว.จะต้องลงนามไปด้วยกัน จะต้องโหวตยกมือไปด้วยกันถึงจะผ่าน แปลว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่พี่น้องอยากได้ มันก็ขึ้นอยู่ในมือของ ส.ว. เช่นกัน
“พี่น้องจะยอมไม่ยอม ถ้าเกิดวันนี้ไม่ยอม น้องมีความฝัน พี่ๆ ก็มีความฝัน เราแลกหน้าที่กันไหม ให้น้องได้พูด ได้ขอร้องให้พี่ๆทุกคนไปลงสมัคร ส่วนพี่ๆ ทุกคนก็ไปสมัครให้น้อง ไปทำตามความฝันของตัวเอง ไปทำตามข้อเรียกร้องของตัวเอง หรือพี่อาจจะมีความฝันเดียวกันกับน้อง ที่อยากจะเห็นประเทศไทย มีรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เอาไหม” น.ส.อชิรญากล่าว
น.ส.อชิรญายังกล่าวอีกว่า ฉะนั้น พี่ๆ ชาว จ.เชียงใหม่ทุกคน วันนี้มีคนไปรับใบสมัครเกือบ 10,000 คน อาจจะเกิน 10,000 ไปแล้วด้วยซ้ำ
“พี่ๆ ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไปทุกคน ช่วยไปสมัคร ส.ว. แล้วมาฝันไปด้วยกันได้ไหม” น.ส.อชิรญากล่าว
กัณวีร์ ร้องทบทวนส่ง ‘ผู้ลี้ภัย’ กลับปท.เผชิญความตาย ไม่ได้แก้ปัญหา ปลุกเห็นค่าความเป็นมนุษย์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4586170
‘กัณวีร์‘ ลั่น พอแล้วกับการไม่เห็นค่าความเป็นมนุษย์ ต่อผู้ลี้ภัย ยัน ไม่ใช่เรื่องกระทบความมั่นคง แต่ต้องมองเรื่องมนุษยธรรม
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่อาคารรัฐสภา นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อพรรคเป็นธรรม ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน
ต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ กล่าวรายงาน “ปัญหาและแนวทางการแก้ แบบยั่งยืนเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และข้อสังเกตต่อการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง” ในงานสัมมนา หัวข้อ “การบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง ผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง และแนวทางในการแก้ไขกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง”
นายกัณวีร์ กล่าวว่า ในคณะอนุกรรมาธิการศึกษากลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ 4 กลุ่ม ทั้งเข้าแบบผิดกฎหมาย หรือเข้ามาแบบถูกต้องตามกฎหมาย แต่อยู่ระยะเวลานานกว่ากำหนด คือ กลุ่มผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติ กลุ่มคนไร้สัญชาติไร้เอกสารแสดงตน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การค้ามนุษย์ เราดูปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งข้อสังเกต และดูว่ากฎหมายที่มีอยู่แล้วจะมีการบังคับใช้อย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นายกัณวีร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว แต่ต้องเริ่มต้นก่อน เพราะในประเทศไทยยังไม่ยอมรับคำว่าผู้ลี้ภัย ตั้งแต่ตนเองทำงานมาทุกอย่างยังคงที่เป็นเหมือนเดิม ผู้ลี้ภัยเป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับการยอมรับในการมีตัวตนในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ยังเป็นแค่ภัยคุกคามด้านความมั่นคง กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เติมเต็มแรงงานในสังคมไทยยังขาดการเข้าถึงสิทธิ์ต่าง ๆ บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติในไทย กลุ่มคนเหล่านี้เราพยายามผลักดัน และต้องสร้างตัวตนให้กับทุกคนในประเทศนี้ขึ้นมา ว่าเขามีสถานะเหมือนพวกเรา จำเป็นต้องได้รับการยอมรับในฐานะการเป็นมนุษย์คนหนึ่ง
นายกัณวีร์ ระบุว่า ปี 2543 ตนเองทำการศึกษาเรื่องผู้ลี้ภัย ได้มีโอกาสพื้นที่พักพิงชายแดนชั่วคราวให้กับผู้ลี้ภัยการสู้รบ ที่อยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว จึงมีการขอกระทรวงมหาดไทยเข้าไปในพื้นที่ โดยครั้งแรกได้เข้าไปในจังหวัดราชบุรี และได้เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่พบกับกลุ่มผู้ลี้ภัย และได้มีการแนะนำให้ไปที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อไปพบกับคนหนึ่ง และจะได้เข้าไปในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณนั้น
จากนั้น ปี 2552 ได้ทำงานกับ UNHCR มีคนเข้ามาติดต่อขอความช่วยเหลือ ว่าถูกตัดออกจากทะเบียน เนื่องจากเดินทางออกนอกพื้นที่แต่มีความจำเป็นต้องนำลูกไปรักษาตาที่กำลังจะบอด ซึ่งเขาคือคนเดียวกันกับที่ตนเองพบที่แม่ฮ่องสอน นั่นคือครั้งแรกที่ได้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ข้อเสนอเหล่านี้จะสามารถทำให้ผู้ลี้ภัยหลายคนมีดวงตาที่สามารถมองกลับมาได้ ตอนนี้เราต้องช่วยกันร่วมมือกันในการทำงานช่วยมนุษย์ทุกคนให้ได้เป็นมนุษย์
ปัจจุบันยังมีผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่ยังอยู่ในประเทศไทย 48 คน เขาคือคนที่ถูกส่งกลับไปยังประเทศต้นกำเนิด และยังไม่รู้ชะตากรรม จึงอยากขอใช้เวลานี้ทำให้ข้อเสนอเหล่านี้ผ่านเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ในการส่งกลับผู้ที่จะต้องถูกประหัตประหารเผชิญหน้ากับความตายต่อไป
นายกัณวีร์ ระบุว่า ตนเองมีเพื่อนชาวโรฮิงญา ที่เป็นคนประสานตนเองกับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ในการพาเข้าไปในป่าที่ภาคใต้ และบอกว่าชาวโรฮิงญาถูกจับอยู่ตรงไหน เขาเป็นอีกคนที่อยู่ด้วยกันตอนโดนไล่ยิงในป่ายาง จังหวัดสงขลา ร่วมกับ ผบก.ตม. 6 โดยกลุ่มโรฮิงญาเป็นผู้ที่ถูกค้ามนุษย์ซึ่งปัจจุบันได้ไปอยู่ที่ประเทศสวีเดนเรียบร้อยแล้วและเขาก็ยังต่อสู้เรื่องการค้ามนุษย์
“ผมขออุทิศเวลาตรงนี้ ในการที่จะบอกว่าเราจะไม่ทนต่อไปกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะมาทำลายชีวิตขั้นพื้นฐานพวกเรา ข้อเสนอต่างๆ เหล่านี้ การแก้ไขกฎหมายจะนำพาประเทศไทยของเราให้สามารถแก้ไขปัญหาในเชิงรุก ให้สามารถนำพาทุกคน ยืนขึ้น จับมือ และแก้ไขปัญหาไปพร้อมกัน” นายกัณวีร์ กล่าว
นายกัณวีร์ กล่าวต่อว่า คนต่างๆ เหล่านี้ ก็มีหมวกหลายใบ ซึ่งหมวกเหล่านั้นเป็นสิ่งที่บอกว่าเขาไม่มีสิทธิ์ ไม่มีเสียง ไม่มีตัวตนใดๆ ซึ่งแรงงานข้ามชาติ จำเป็นต้องได้รับการเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่ภาครัฐจำเป็นต้องให้ และรัฐต้องเป็นผู้ที่ให้ความคุ้มครองทุกคนที่อยู่ในประเทศตัวเอง ไม่สามารถบอกได้ว่าคุณไม่ใช่คนในชาติเรา และเราไม่ต้องดูแล ณ ปัจจุบันนี้ เรากำลังเผชิญกับมายาคติด้านอนุรักษ์นิยม ความมั่นคง ที่คนที่มีสัญชาติไม่เหมือนเรา ไม่ใช่คน หากเราสามารถต่อสู้กับอคติตรงนี้ได้ เราจะรู้ถึงทางออกที่แท้จริง
นายกัณวีร์ ระบุว่า ตอนนี้เรามองว่าคนที่ลี้ภัยเข้ามาในประเทศเราเป็นภัยต่อความมั่นคง แต่หากมอง หากเปิดใจมองว่าความจริงนี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ทุกคนอยู่ด้วยกัน การโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ เป็นภัยคุกคามความมั่นคง แต่เราจำเป็นต้องดูว่าจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร และไม่ใช่ง่ายๆ ที่กว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้
นายกัณวีร์ กล่าวว่า พอแล้วสำหรับตนเอง 40 ปี ที่กักขังเขาไว้ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชายแดนโดยที่ไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยที่ไม่รู้ว่าชีวิตเขาจะอยู่อย่างไร พอแล้วที่กักขังชาวอุยกูร์อยู่ในประเทศนี้ โดยที่ไม่รู้ว่าสุดท้ายเขาต้องการอะไร ซึ่งตอนนี้ได้รับโทษการประหารชีวิต และไม่รู้ว่าจะออกเมื่อไหร่ พอแล้วกับชาวโรฮิงญาที่เสียชีวิตอยู่ในการกักขังที่ ตม.เสียชีวิตเพียงเพราะขาดสารอาหาร
พอแล้วกับแรงงานข้ามชาติที่ไม่มองอนาคตว่าลูกหลานของเขาจะเป็นอย่างไร ไม่มองถึงสวัสดิการรักษาพยาบาล พอแล้วกับการทิ้งบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการค้ามนุษย์ ทั้งที่เขาคือมนุษย์คนหนึ่ง การก้าวขั้นแรกของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะยืนหยัดให้สังคมนี้เห็นว่าเราให้ความสำคัญจริงๆ
สภาพัฒน์ หั่นจีดีพีปี 67 เหลือ 2.5% คาดดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจ 0.25%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4585653
สภาพัฒน์ หั่นจีดีพีปี 67 เหลือ 2.5% ยังเสี่ยงสงคราม-ความผันผวนของศก.โลก คาดดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.25%
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัว 2.0 – 3.0% (ค่ากลางการประมาณการ 2.5%) ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงจากการประมาณการครั้งที่แล้วที่คาดไว้ว่า 2.7% เนื่องจากมองว่าความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกมีค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องของการกีดกันทางการค้าในเวทีโลก เรื่องปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และความผันผวนด้านการเงินและเศรษฐกิจโลก
นายดนุชา กล่าวว่า โดยคาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน 4.5% และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.2% มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 2.0% อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.1 – 1.1% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.2% ส่วนการลงทุนภาครัฐน่าจะหดตัวที่ 1.8%
นายดนุชา กล่าวว่า สำหรับในการประมาณการครั้งนี้ ยังไม่ได้รวมโครงการดิจิทัล วอลเล็ต หากประเมินไทม์ไลน์ที่กำหนดไตรมาส 4 ปี 2567 และระยะเวลา 6 เดือน การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง อาจถึง 5 แสนล้านบาท ภายในไตรมาส 4 ปี 2567 แต่หากในประเมิน ในกรณีที่มีมาตรการนี้ออกมา คาดว่าจะเสริมเศรษฐกิจได้ 0.25% โดยบวกเพิ่มจากค่ากลางที่ประมาณการไว้ หรือ จะทำให้จีดีพีปีนี้ขยายตัวได้ 2.75% โดยการประเมินดังกล่าวมองว่าเม็ดเงินจะออกมาแค่บางส่วนของ 5 แสนล้านบาทเท่านั้น เพราะยังมีเรื่องของแหล่งเงินที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนหลายตัว
“การประมาณการผลต่อจีดีพีทั้งหมดของโครงการ คือต้องติดตาม เพราะไม่แน่ใจว่าจะเบิกจ่ายทั้งหมดในไตรมาส 4 ปี 2567 หรือไม่ ต้องดูรายละเอียดของโครงการ เพราะยังมีหลายขั้นตอนที่ต้องพิจารณา” นาย[