UN เสียใจ ‘บุ้ง’ เสียชีวิตขณะคุมขัง จี้สอบสาเหตุดับ ยันเสรีภาพในการแสดงออก เป็นสิทธิพื้นฐาน
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4576011
UN เสียใจ ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เสียชีวิตขณะคุมขัง จี้สอบสาเหตุดับ ยันเสรีภาพในการแสดงออก เป็นสิทธิพื้นฐาน
จากกรณี น.ส.
เนติพร หรือ
บุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องขังคดีทางการเมือง เสียชีวิตเมื่อเวลา 11.22 น. ของวันที่ 14 พฤษภาคม หลังหัวใจหยุดเต้น หมอปั๊มหัวใจ เร่งนำตัวส่งไปรักษายังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ โดยถูกคุมขังเป็นเวลา 110 วัน
วันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา ประมาณ 20.27 น. ตามเวลาประเทศไทย สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ UN Human Rights Asia ได้โพสต์ข้อความผ่านแพลตฟอร์มถึงกรณีดังกล่าว ระบุว่า
#ไทยแลนด์ : สะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง กับการเสียชีวิตของ บุ้ง – เนติพร ผู้อดอาหารประท้วง เพื่อเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปทางด้านกระบวนการยุติธรรม และปล่อยตัวนักโทษ พวกเราขอเรียกร้องให้มีการสอบสวนการเสียชีวิต และการดูแลเธอ อย่างโปร่งใสและเป็นกลาง ทั้งนี้ เสรีภาพในการแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
https://twitter.com/OHCHRAsia/status/1790395097554796559
อมธ. ร่วม 45 องค์กรนักศึกษา-ภาคปชช. ออกแถลงการณ์ ไว้อาลัย ‘บุ้ง ทะลุวัง’
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_4576121
อมธ. ร่วม 45 องค์กรนักศึกษา-ภาค ปชช. ออกแถลงการณ์ ไว้อาลัย บุ้ง พร้อมยืนหยัดต่อสู้ต่อความอยุติธรรม ประณามความล้มเหลวกระบวนการยุติธรรมไทย
สืบเนื่องการเสียชีวิตของ น.ส.
เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องหาคดีทางการเมือง โดยวันนี้ (14 พ.ค.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (รพ.)
ราชทัณฑ์ โทรศัพท์ไปแจ้งครอบครัวว่า น.ส.
เนติพร มีอาการไม่รู้สึกตัว ล้มฟุบหัวใจหยุดเต้น ต้องส่งตัวไปรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี โดยแพทย์ได้ปั๊มหัวใจยื้อชีวิต (CPR) แต่ไม่เป็นผลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เมื่อเวลา 11.22 น. ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตรอการชันสูตรตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป นั้น
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โพสต์ข้อความระบุว่า
แถลงการณ์ร่วมขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือข่ายองค์กร
นักศึกษา 45 องค์กร 10 มหาวิทยาลัย และภาคประชาชน เพื่อไว้อาลัยแด่การจากไปของ คุณบุ้ง เนติพร นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง และประณามความล้มเหลวในกระบวนการยุติธรรมไทย
พวกเราองค์กรนักศึกษาและภาคประชาชนพร้อมยืนหยัดต่อสู้ต่อความอยุติธรรมทั้งหลาย จนกว่าสังคมไทยจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเห็นต่างได้มีพื้นที่ในการตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์ต่อความเป็นไปในระบอบการเมืองได้ โดยไม่นำมาซึ่งการจำกัดสิทธิ เสรีภาพ ลิดรอนความเป็นมนุษย์ หรือต้องแลกมาด้วยความสูญเสียดังเหตุการณ์ในครั้งนี้อีก
https://www.facebook.com/thammasatsu/posts/pfbid0eChBo2k5fSgAPxj6xDia3Pofvm7kcxgb4fL7UCQERHR1yfXsaGnucTNAo83pGmbEl
‘โรม’ พูดไม่ออก หวังสังคมรู้สึกมากพอ ‘บุ้งพิสูจน์พอแล้ว’ ถึงเวลาเปลี่ยน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4576169
‘โรม’ พูดไม่ออก ชี้บุ้งพิสูจน์พอแล้ว หวังสังคม ‘รู้สึกมากพอ’ ถึงเวลาเปลี่ยนจริงจัง คืนสิทธิประกัน
สืบเนื่องการเสียชีวิตของ น.ส.
เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องหาคดีทางการเมือง โดยวันนี้ (14 พ.ค.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (รพ.) ราชทัณฑ์ โทรศัพท์ไปแจ้งครอบครัวว่า น.ส.
เนติพร มีอาการไม่รู้สึกตัว ล้มฟุบหัวใจหยุดเต้น ต้องส่งตัวไปรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี โดยแพทย์ได้ปั๊มหัวใจยื้อชีวิต (CPR) แต่ไม่เป็นผลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เมื่อเวลา 11.22 น. ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตรอการชันสูตรตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป นั้น
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่หน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเวลา 18.20 น. มีนักกิจกรรมอิสระ ตลอดจนประชาชน ทยอยเดินทาบมารวมตัวหน้าศาลอาญา รัชดา หลังจากที่ น.ส.
พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือ ทนายเมย์ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความเชิญชวนร่วมทำกิจกรรมจุดเทียนอาลัยส่ง น.ส.
เนติพร สู่สุคติ
บรรยากาศเวลา 19.00 น. มีการจุดเทียน เรียงเป็นข้อความว่า ‘
บุ้ง’ พร้อมวางสแตนดี้ที่มีภาพใบหน้าของ น.ส.เนติพร ริมรั้วหน้าศาลอาญา ท่ามกลางนักเคลื่อนไหวทยอยเดินทางมาสมทบอย่างไม่ขาดสาย อาทิ นาย
สมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, น.ส.
ธนพร วิจันทร์ แกนนำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน, นาย
เจษฎา ศรีปลั่ง หรือ เจมส์ เครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี , น.ส.
อัญชลี อิสมันยี หรือ
น้ำ คีตาญชลี ศิลปินผู้ร่วมต่อสู้เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์, นาย
แซม สาแมท หรือ อาร์ท นักกิจกรรมไร้สัญชาติ นาย
ธนพัฒน์ กาเพ็ง หรือ ปูนทะลุฟ้า, นาย
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ
ไผ่ ดาวดิน, น.ส.
ณัฏฐธิดา มีวังปลา หรือ แหวน พยาบาลอาสา , น.ส.
อันนา อันนานนท์, น.ส.
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง, นาย
เอกชัย หงส์กังวาน ผู้ต้องหา ม.112, น.ส.
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์, น.ส.
สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของ นาย
วันเฉลิม ผู้ลี้ภัยที่ถูกอุ้มหาย, นาย
บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมี ส.ส.พรรคก้าวไกล อาทิ นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล, น.ส.
รักชนก ศรีนอก ส.ส. พรรคก้าวไกล ไปจนถึง นาย
ชานันท์ ยอดหงษ์ นักประวัติศาสตร์และนักเคลื่อนไหวเพื่อความหลากหลายทางเพศ เดินทางมาร่วมแสดงความอาลัย ท่ามกลางบรรยากาศเป็นการอาลัยเป็นไปอย่างโศกเศร้า
เมื่อผู้สื่อข่าวถาม นาย
รังสิมันต์ ว่าเหตุการณ์วันนี้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมบ้าง?
นาย
รังสิมันต์กล่าวว่า ความจริงตนพูดไม่ค่อยออก เพราะเป็นสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่แน่นอนว่าถ้าเราพูดกันบนพื้นฐาน ว่าคนสักคนควรจะมีสิทธิในการประกันตัวเพื่อสู้คดีหรือไม่ ตนว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีสิทธินั้น เป็นเรื่องพื้นฐานที่ประเทศสากล ล้วนมีทั้งสิ้น
“
ผมคิดว่าวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณบุ้ง คงต้องกลับมาทบทวน ว่ากระบวนการยุติธรรมของเราสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการประกันตัว ผมคิดว่าไม่ควรมีใครที่จะต้องมาอดอาหารเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมอีกแล้ว มันไม่ควรจะมีใครมาเสียชีวิตแบบนี้อีกแล้ว ผมได้แต่หวังว่าสังคมไทยของเราจะรู้สึกมากพอ ผมว่าเราต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงตรงนี้” นาย
รังสิมันต์กล่าว
นาย
รังสิมันต์กล่าวต่อว่า คิดว่าทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้าน ผู้พิพากษา ควรจะต้องหันมาแก้เรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มองไปยังกระบวนการยุติธรรม ตกต่ำอย่างถึงที่สุด
“
ผมว่าวันนี้เราต้องการความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ต้องการให้กระบวนการยุติธรรมดีขึ้น เป็นที่พึ่งพาของประชาชนได้จริงๆ เป็นสิ่งที่ผมอยากเห็น แต่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าสิทธิการประกันตัวไม่มี”
“
ผมอยากให้ผู้พิพากษาทุกคน โดยเฉพาะผู้พิพากษาที่รู้สึกถึงสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง ผู้พิพากษาที่มีคุณธรรมจริยธรรมในใจได้รู้สึกว่า ต้องเปลี่ยนอะไรได้แล้ว” นาย
รังสิมันต์ชี้
เมื่อถามต่อว่า แต่คนจำนวนหนึ่งมองว่าในปัจจุบัน การเมืองยังไม่เปลี่ยนไป ยังมีคนเสียชีวิตจากการเรียกร้อง และมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย?
นาย
รังสิมันต์กล่าวว่า ตนยอมรับว่า ถ้ามองการเมืองตอนนี้ก็ไม่ค่อยมีความหวัง เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันให้การเมืองดีขึ้น
“
ผมเองยังมองหาความเป็นไปได้ในการนิรโทษกรรม ผมเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ ที่กำลังศึกษาเรื่องการนิรโทษกรรม แต่วันนี้เราต้องยอมรับว่าตั้งแต่ที่มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาจนถึงวันนี้ สถานการณ์เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก จากเหตุการณ์วันนี้เกิดขึ้น ผมคิดว่าเราต้องกลับมาทบทวน คงไม่ใช่แค่ในกรรมาธิการ จริงๆมันไม่จำเป็นต้องรอกรรมาธิการด้วยซ้ำเพราะเต็มที่ก็แค่ส่งต่อรายงาน
แต่การที่จะเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นการกระทำที่สามารถทำได้ทันที แล้วผมคิดว่าถ้ามีการเสนอเรื่องนี้ เชื่อว่าในบทบาทของพวกเราฝ่ายค้าน พร้อมที่จะสนับสนุนกลไกต่างๆ ที่เป็นหนทางในการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นให้ได้” นาย
รังสิมันต์กล่าว
นาย
รังสิมันต์กล่าวอีกว่า ตนอยากเห็นสิ่งนี้เช่นเดียวกัน เพียงแต่การจะเริ่มขึ้นได้ในสภาผู้แทนราษฎร อาศัยฝ่ายค้านอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องยอมรับว่ากลไกของฝั่งรัฐบาล สำคัญที่สุด
เมื่อถามว่า เรื่องนิรโทษกรรมประชาชน ดูเป็นเรื่องอีกยาวไกล กว่ากฎหมายจะผ่านออกมาได้ ในขณะที่เวลานี้ยังมีคนที่อยู่ในเรือนจำ และอดอาหารประท้วงอยู่ มองว่ามีอะไรเร่งด่วนที่สามารถทำได้ทันที?
นาย
รังสิมันต์กล่าวว่า วันนี้เรามีกฎหมายเรื่องการประกันตัว แต่แน่นอนว่า กลไกของกระบวนการยุติธรรม สำคัญอย่างมากที่จะทำให้เกิดการประกันตัว
“
อย่างน้อยที่สุด ผมคิดว่าถ้ามีการให้ประกันตัวในระยะเวลาที่จำเป็นในการพิจารณาเรื่องการในการนิรโทษกรรม ก็จะมีเวลาเพียงพอ สุดท้ายผมคิดว่าพื้นฐานที่สุดคือมีสิทธิในการสู้คดีอย่างเต็มที่ก่อน กลไกถัดมาคือการนิรโทษกรรม ที่ผมคิดว่าเป็นไปได้” นาย
รังสิมันต์กล่าว และว่า
ส่วนที่เหลือจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านกฎหมายอื่นอย่างไรเป็นเรื่องที่เราต้องหาฉันทามติให้เจอในสังคม แต่แน่นอนว่า โดยจุดยืนของตน สนับสนุนเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก มันไม่ใช่เรื่องที่จะรุนแรงถึงขั้นต้องดำเนินคดีกันด้วยข้อหาที่หนักอย่างที่เราเห็นกันอยู่
นาย
รังสิมันต์กล่าวอีกว่า ทั้งหมดทั้งมวล ตนคิดว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สังคมในระยะยาวต้องคุยและคิดกันต่อไป ทั้งฝ่ายค้านรัฐบาล รวมถึงภาคประชาสังคม หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น
“
หวังว่าจะเป็นกรณีสุดท้าย มันเพียงพอแล้วที่จะพิสูจน์ว่ากระบวนการยุติธรรมของเรามีปัญหา เพียงพอแล้วที่จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกฝ่ายมาคุย มาคิดร่วมกันในการหาทางออก อย่าให้มีรายที่ 2 ที่ 3 อีกเลย” นายรังสิมันต์เผย
เมื่อถามว่า มองว่าเหตุการณ์นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่?
นาย
รังสิมันต์กล่าวว่า ตนคงไม่ทำนาย แต่หวังว่าจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อหาทางออก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคงต้องถามตัวเอง ว่ามันสมควรหรือไม่ที่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ถ้าไม่ควร คิดว่าเราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำอะไรสักอย่างเพื่อความเปลี่ยนแปลง
JJNY : UN เสียใจ ‘บุ้ง’│อมธ. ร่วม 45 องค์กรไว้อาลัย ‘บุ้ง’│‘โรม’ พูดไม่ออก│สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า EV-แผงโซลาร์เซลล์จากจีน
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4576011
UN เสียใจ ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เสียชีวิตขณะคุมขัง จี้สอบสาเหตุดับ ยันเสรีภาพในการแสดงออก เป็นสิทธิพื้นฐาน
จากกรณี น.ส.เนติพร หรือ บุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องขังคดีทางการเมือง เสียชีวิตเมื่อเวลา 11.22 น. ของวันที่ 14 พฤษภาคม หลังหัวใจหยุดเต้น หมอปั๊มหัวใจ เร่งนำตัวส่งไปรักษายังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ โดยถูกคุมขังเป็นเวลา 110 วัน
วันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา ประมาณ 20.27 น. ตามเวลาประเทศไทย สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ UN Human Rights Asia ได้โพสต์ข้อความผ่านแพลตฟอร์มถึงกรณีดังกล่าว ระบุว่า
#ไทยแลนด์ : สะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง กับการเสียชีวิตของ บุ้ง – เนติพร ผู้อดอาหารประท้วง เพื่อเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปทางด้านกระบวนการยุติธรรม และปล่อยตัวนักโทษ พวกเราขอเรียกร้องให้มีการสอบสวนการเสียชีวิต และการดูแลเธอ อย่างโปร่งใสและเป็นกลาง ทั้งนี้ เสรีภาพในการแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
https://twitter.com/OHCHRAsia/status/1790395097554796559
อมธ. ร่วม 45 องค์กรนักศึกษา-ภาคปชช. ออกแถลงการณ์ ไว้อาลัย ‘บุ้ง ทะลุวัง’
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_4576121
อมธ. ร่วม 45 องค์กรนักศึกษา-ภาค ปชช. ออกแถลงการณ์ ไว้อาลัย บุ้ง พร้อมยืนหยัดต่อสู้ต่อความอยุติธรรม ประณามความล้มเหลวกระบวนการยุติธรรมไทย
สืบเนื่องการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องหาคดีทางการเมือง โดยวันนี้ (14 พ.ค.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (รพ.)
ราชทัณฑ์ โทรศัพท์ไปแจ้งครอบครัวว่า น.ส.เนติพร มีอาการไม่รู้สึกตัว ล้มฟุบหัวใจหยุดเต้น ต้องส่งตัวไปรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี โดยแพทย์ได้ปั๊มหัวใจยื้อชีวิต (CPR) แต่ไม่เป็นผลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เมื่อเวลา 11.22 น. ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตรอการชันสูตรตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป นั้น
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โพสต์ข้อความระบุว่า
แถลงการณ์ร่วมขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือข่ายองค์กร
นักศึกษา 45 องค์กร 10 มหาวิทยาลัย และภาคประชาชน เพื่อไว้อาลัยแด่การจากไปของ คุณบุ้ง เนติพร นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง และประณามความล้มเหลวในกระบวนการยุติธรรมไทย
พวกเราองค์กรนักศึกษาและภาคประชาชนพร้อมยืนหยัดต่อสู้ต่อความอยุติธรรมทั้งหลาย จนกว่าสังคมไทยจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเห็นต่างได้มีพื้นที่ในการตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์ต่อความเป็นไปในระบอบการเมืองได้ โดยไม่นำมาซึ่งการจำกัดสิทธิ เสรีภาพ ลิดรอนความเป็นมนุษย์ หรือต้องแลกมาด้วยความสูญเสียดังเหตุการณ์ในครั้งนี้อีก
https://www.facebook.com/thammasatsu/posts/pfbid0eChBo2k5fSgAPxj6xDia3Pofvm7kcxgb4fL7UCQERHR1yfXsaGnucTNAo83pGmbEl
‘โรม’ พูดไม่ออก หวังสังคมรู้สึกมากพอ ‘บุ้งพิสูจน์พอแล้ว’ ถึงเวลาเปลี่ยน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4576169
‘โรม’ พูดไม่ออก ชี้บุ้งพิสูจน์พอแล้ว หวังสังคม ‘รู้สึกมากพอ’ ถึงเวลาเปลี่ยนจริงจัง คืนสิทธิประกัน
สืบเนื่องการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องหาคดีทางการเมือง โดยวันนี้ (14 พ.ค.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (รพ.) ราชทัณฑ์ โทรศัพท์ไปแจ้งครอบครัวว่า น.ส.เนติพร มีอาการไม่รู้สึกตัว ล้มฟุบหัวใจหยุดเต้น ต้องส่งตัวไปรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี โดยแพทย์ได้ปั๊มหัวใจยื้อชีวิต (CPR) แต่ไม่เป็นผลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เมื่อเวลา 11.22 น. ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตรอการชันสูตรตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป นั้น
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่หน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเวลา 18.20 น. มีนักกิจกรรมอิสระ ตลอดจนประชาชน ทยอยเดินทาบมารวมตัวหน้าศาลอาญา รัชดา หลังจากที่ น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือ ทนายเมย์ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความเชิญชวนร่วมทำกิจกรรมจุดเทียนอาลัยส่ง น.ส.เนติพร สู่สุคติ
บรรยากาศเวลา 19.00 น. มีการจุดเทียน เรียงเป็นข้อความว่า ‘บุ้ง’ พร้อมวางสแตนดี้ที่มีภาพใบหน้าของ น.ส.เนติพร ริมรั้วหน้าศาลอาญา ท่ามกลางนักเคลื่อนไหวทยอยเดินทางมาสมทบอย่างไม่ขาดสาย อาทิ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, น.ส.ธนพร วิจันทร์ แกนนำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน, นายเจษฎา ศรีปลั่ง หรือ เจมส์ เครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี , น.ส.อัญชลี อิสมันยี หรือ น้ำ คีตาญชลี ศิลปินผู้ร่วมต่อสู้เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์, นายแซม สาแมท หรือ อาร์ท นักกิจกรรมไร้สัญชาติ นายธนพัฒน์ กาเพ็ง หรือ ปูนทะลุฟ้า, นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน, น.ส.ณัฏฐธิดา มีวังปลา หรือ แหวน พยาบาลอาสา , น.ส.อันนา อันนานนท์, น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง, นายเอกชัย หงส์กังวาน ผู้ต้องหา ม.112, น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์, น.ส.สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของ นายวันเฉลิม ผู้ลี้ภัยที่ถูกอุ้มหาย, นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมี ส.ส.พรรคก้าวไกล อาทิ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล, น.ส.รักชนก ศรีนอก ส.ส. พรรคก้าวไกล ไปจนถึง นายชานันท์ ยอดหงษ์ นักประวัติศาสตร์และนักเคลื่อนไหวเพื่อความหลากหลายทางเพศ เดินทางมาร่วมแสดงความอาลัย ท่ามกลางบรรยากาศเป็นการอาลัยเป็นไปอย่างโศกเศร้า
เมื่อผู้สื่อข่าวถาม นายรังสิมันต์ ว่าเหตุการณ์วันนี้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมบ้าง?
นายรังสิมันต์กล่าวว่า ความจริงตนพูดไม่ค่อยออก เพราะเป็นสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่แน่นอนว่าถ้าเราพูดกันบนพื้นฐาน ว่าคนสักคนควรจะมีสิทธิในการประกันตัวเพื่อสู้คดีหรือไม่ ตนว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีสิทธินั้น เป็นเรื่องพื้นฐานที่ประเทศสากล ล้วนมีทั้งสิ้น
“ผมคิดว่าวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณบุ้ง คงต้องกลับมาทบทวน ว่ากระบวนการยุติธรรมของเราสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการประกันตัว ผมคิดว่าไม่ควรมีใครที่จะต้องมาอดอาหารเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมอีกแล้ว มันไม่ควรจะมีใครมาเสียชีวิตแบบนี้อีกแล้ว ผมได้แต่หวังว่าสังคมไทยของเราจะรู้สึกมากพอ ผมว่าเราต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงตรงนี้” นายรังสิมันต์กล่าว
นายรังสิมันต์กล่าวต่อว่า คิดว่าทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ฝ่ายค้าน ผู้พิพากษา ควรจะต้องหันมาแก้เรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มองไปยังกระบวนการยุติธรรม ตกต่ำอย่างถึงที่สุด
“ผมว่าวันนี้เราต้องการความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ต้องการให้กระบวนการยุติธรรมดีขึ้น เป็นที่พึ่งพาของประชาชนได้จริงๆ เป็นสิ่งที่ผมอยากเห็น แต่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าสิทธิการประกันตัวไม่มี”
“ผมอยากให้ผู้พิพากษาทุกคน โดยเฉพาะผู้พิพากษาที่รู้สึกถึงสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง ผู้พิพากษาที่มีคุณธรรมจริยธรรมในใจได้รู้สึกว่า ต้องเปลี่ยนอะไรได้แล้ว” นายรังสิมันต์ชี้
เมื่อถามต่อว่า แต่คนจำนวนหนึ่งมองว่าในปัจจุบัน การเมืองยังไม่เปลี่ยนไป ยังมีคนเสียชีวิตจากการเรียกร้อง และมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย?
นายรังสิมันต์กล่าวว่า ตนยอมรับว่า ถ้ามองการเมืองตอนนี้ก็ไม่ค่อยมีความหวัง เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันให้การเมืองดีขึ้น
“ผมเองยังมองหาความเป็นไปได้ในการนิรโทษกรรม ผมเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ ที่กำลังศึกษาเรื่องการนิรโทษกรรม แต่วันนี้เราต้องยอมรับว่าตั้งแต่ที่มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาจนถึงวันนี้ สถานการณ์เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก จากเหตุการณ์วันนี้เกิดขึ้น ผมคิดว่าเราต้องกลับมาทบทวน คงไม่ใช่แค่ในกรรมาธิการ จริงๆมันไม่จำเป็นต้องรอกรรมาธิการด้วยซ้ำเพราะเต็มที่ก็แค่ส่งต่อรายงาน
แต่การที่จะเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นการกระทำที่สามารถทำได้ทันที แล้วผมคิดว่าถ้ามีการเสนอเรื่องนี้ เชื่อว่าในบทบาทของพวกเราฝ่ายค้าน พร้อมที่จะสนับสนุนกลไกต่างๆ ที่เป็นหนทางในการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นให้ได้” นายรังสิมันต์กล่าว
นายรังสิมันต์กล่าวอีกว่า ตนอยากเห็นสิ่งนี้เช่นเดียวกัน เพียงแต่การจะเริ่มขึ้นได้ในสภาผู้แทนราษฎร อาศัยฝ่ายค้านอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องยอมรับว่ากลไกของฝั่งรัฐบาล สำคัญที่สุด
เมื่อถามว่า เรื่องนิรโทษกรรมประชาชน ดูเป็นเรื่องอีกยาวไกล กว่ากฎหมายจะผ่านออกมาได้ ในขณะที่เวลานี้ยังมีคนที่อยู่ในเรือนจำ และอดอาหารประท้วงอยู่ มองว่ามีอะไรเร่งด่วนที่สามารถทำได้ทันที?
นายรังสิมันต์กล่าวว่า วันนี้เรามีกฎหมายเรื่องการประกันตัว แต่แน่นอนว่า กลไกของกระบวนการยุติธรรม สำคัญอย่างมากที่จะทำให้เกิดการประกันตัว
“อย่างน้อยที่สุด ผมคิดว่าถ้ามีการให้ประกันตัวในระยะเวลาที่จำเป็นในการพิจารณาเรื่องการในการนิรโทษกรรม ก็จะมีเวลาเพียงพอ สุดท้ายผมคิดว่าพื้นฐานที่สุดคือมีสิทธิในการสู้คดีอย่างเต็มที่ก่อน กลไกถัดมาคือการนิรโทษกรรม ที่ผมคิดว่าเป็นไปได้” นายรังสิมันต์กล่าว และว่า
ส่วนที่เหลือจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านกฎหมายอื่นอย่างไรเป็นเรื่องที่เราต้องหาฉันทามติให้เจอในสังคม แต่แน่นอนว่า โดยจุดยืนของตน สนับสนุนเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก มันไม่ใช่เรื่องที่จะรุนแรงถึงขั้นต้องดำเนินคดีกันด้วยข้อหาที่หนักอย่างที่เราเห็นกันอยู่
นายรังสิมันต์กล่าวอีกว่า ทั้งหมดทั้งมวล ตนคิดว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สังคมในระยะยาวต้องคุยและคิดกันต่อไป ทั้งฝ่ายค้านรัฐบาล รวมถึงภาคประชาสังคม หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น
“หวังว่าจะเป็นกรณีสุดท้าย มันเพียงพอแล้วที่จะพิสูจน์ว่ากระบวนการยุติธรรมของเรามีปัญหา เพียงพอแล้วที่จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกฝ่ายมาคุย มาคิดร่วมกันในการหาทางออก อย่าให้มีรายที่ 2 ที่ 3 อีกเลย” นายรังสิมันต์เผย
เมื่อถามว่า มองว่าเหตุการณ์นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่?
นายรังสิมันต์กล่าวว่า ตนคงไม่ทำนาย แต่หวังว่าจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อหาทางออก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคงต้องถามตัวเอง ว่ามันสมควรหรือไม่ที่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ถ้าไม่ควร คิดว่าเราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำอะไรสักอย่างเพื่อความเปลี่ยนแปลง