‘โรม’ ซัดรบ.พอใจผลคดีตากใบ หลัง ‘ปลัดอดีตจำเลย’ โผล่ทำงาน แย้มต้องดูข้อกม. เอาผิดจริยธรรมได้หรือไม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870805
‘โรม’ ซัดรบ.พอใจผลคดีตากใบ หลัง ‘ปลัดอดีตจำเลย’ โผล่ทำงาน แย้มต้องดูข้อกม.จะเอาผิดจริยธรรมได้หรือไม่ เหน็บ ‘ทักษิณ’ คำขอโทษ 18 ปีช้าไป
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่รัฐสภา นาย
รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีปลัดอำเภอท่าอุเทน จ.นครพนม ซึ่งเป็นอดีตจำเลยในคดีตากใบ กลับมาปฏิบัติหน้าที่ทันทีหลังจากคดีหมดอายุความ ว่า ตนก็คงรู้สึกไม่ต่างจากหลายๆ คน ว่าเอาเข้าจริงแล้ว รัฐบาลได้มีความพยายามอย่างจริงจังทุกทางที่จะเป็นไปได้ ในการตามหาตัวจำเลยในคดีตากใบมากน้อยเพียงใด และเมื่อเห็นแบบนี้แล้วก็รู้สึกว่ารัฐบาลอาจจะไม่ได้พยายามอะไรเลย การที่คดีตากใบจบแบบนี้ อาจจะเป็นความพึงพอใจของรัฐบาลแล้วที่คดีจบได้เสียที ซึ่งไม่ได้จบแบบมีความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสีย แต่จบแบบสุดท้าย ไม่มีใครสามารถดำเนินการทางกฎหมาย กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและพรรคการเมืองก่อนหน้านั้น ที่เป็นต้นสายให้พรรคเพื่อไทยได้อีกต่อไป รวมถึงผู้นำทางจิตวิญญาณ ก็คงไม่สามารถเอาผิดทางกฎหมายได้เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้ตนเชื่อว่าเป็นความสบายใจของรัฐบาล
นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า นอกจากกรณีปลัดอำเภอคนนี้แล้ว ยังมีพฤติการณ์ของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึงพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีเอง มีหลายอย่างที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้โดยตรง ไม่สามารถเชื่อว่ารัฐบาลมีความตั้งใจและเพียรพยายามอย่างเต็มที่ในการคลี่คลายปมนี้ ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็นวิกฤติอีกครั้งหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่น่าเกิดขึ้นเลยจริงๆ ตนคิดว่าเป็นความน่าเสียดายและความผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัย ที่คดีตากใบจบลงอย่างที่เราไม่สามารถนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียชีวิตจำนวนมากมาดำเนินการได้
เมื่อถามว่าสามารถเอาผิดจริยธรรมกับปลัดอำเภอคนดังกล่าวได้หรือไม่ นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าเอาผิดอย่างไรต่อ ตนเชื่อว่าผู้ที่นำคดีตากใบขึ้นสู่ศาล และพวกเราพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ติดตามเรื่องนี้ คงจะพยายามดูว่ามีมาตรการใดที่จะเป็นไปได้ แต่มองว่าปมใหญ่คือการใช้กระบวนการของศาลในการคลี่คลาย เพราะคดีตากใบไม่ใช่แค่การลงโทษ แต่เป็นการบอกว่าใครบ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยการใช้กระบวนการยุติธรรมของเราในการวินิจฉัย เป็นการสร้างความรับผิดรับชอบในสิ่งที่ตนเองตัดสินใจใช้อำนาจหน้าที่จนทำให้เกิดความสูญเสีย
เมื่อถามว่านาย
ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ควรออกมารับผิดชอบด้วยหรือไม่ นาย
รังสิมันต์ ระบุว่า ตอนนี้นายทักษิณไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาล ตนคงไม่สามารถบอกได้ว่านายทักษิณควรทำหรือไม่ควรทำอะไร แต่บอกได้ว่าที่ผ่านมา คำขอโทษมาช้า 18 ปี จึงอาจทำให้ความรู้สึกของประชาชนที่มองรัฐบาลชุดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ที่เขามองว่าถูกครอบครองโดยนายทักษิณ
“
คำขอโทษ ถ้าขอโทษอย่างทันท่วงที น้ำหนักมันจะเยอะ แต่พอมันช้าไป น้ำหนักของคำขอโทษก็หายไปเยอะ และนี่เป็นผลลัพธ์ของอดีตนายกฯทักษิณได้ทำ จนมาถึงรัฐบาลนี้ และสิ่งที่คนอยากเห็นไม่ใช่แค่คำขอโทษอย่างเดียว แต่คือการกระทำที่แสดงถึงความจริงใจ ซึ่งแทบไม่มี ผมมองว่าสิ่งที่ผิดพลาดของรัฐบาลนี้ คือการปล่อยให้นายภูมิธรรมออกมาพูดหลายอย่างที่ทำให้สถานการณ์แย่ลง นายกฯควรมอบหมายงานที่เหมาะสม เพราะนายภูมิธรรมได้พิสูจน์แล้วว่า ท่านไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะมาจัดการเรื่องละเอียดอ่อน อย่างเรื่องความมั่นคง” นาย
รังสิมันต์ กล่าว
นาย
รังสิมันต์ ยังมองว่าหลังจากกรณีนายอำเภอคนนี้ ก็ยังมีกรณีอื่นอีก ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลก็จะยิ่งน้อยลง คำถามสำคัญคือจะต้องติดลบอีกขนาดไหน เมื่อไหร่เราจะถึงจุดสูงสุดของจุดต่ำสุด พร้อมย้ำว่าความเชื่อมั่นของรัฐบาลตอนนี้ดิ่งเหว
เมื่อถามว่าหลังจากคดีหมดอายุความแล้ว มีโอกาสที่จะนำตัวอดีตผู้ต้องหาในคดี มาให้ปากคำเพื่อรื้อฟื้นความจริงหรือไม่ นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องคุยกัน แต่ข้อเท็จจริงหลายอย่างก็ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลย เพราะมีรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจัดทำโดยคณะทำงานหลายส่วน รวมถึงส่วนที่นายทักษิณเป็นผู้ตั้งขึ้นมาด้วยซ้ำ ดังนั้นในเรื่องของความจริงก็ส่วนหนึ่ง แต่สุดท้ายจะไปใกล้ถึงการหาตัวผู้รับผิดชอบหรือไม่ ส่วนตัวมองว่าการใช้กลไกศาลเป็นช่องทางที่ดีที่สุด เพราะมีการเสาะหาความจริงและตัดสิน แต่เมื่อทำอย่างนั้นไม่ได้ก็ต้องรอดูว่ามีมาตรการอื่นๆ ที่ดีกว่าที่ผ่านมาหรือไม่
โรม จวก ภูมิธรรม มีโอกาสแก้ขัดแย้งการเมืองแต่ไม่ทำ ปมไม่หนุน นิรโทษม.112
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870803
‘โรม’ เย้ย ถ้าเป็น ‘บิ๊กอ้วน’ คงรับตัวเองไม่ได้ เหตุมีโอกาส แต่ไม่ตัดสินใจแก้ปมขัดแย้งการเมือง หลังเจ้าตัวประกาศ ‘เพื่อไทย’ ไม่หนุนนิรโทษกรรมคดี ม.112 ย้ำประเทศต้องการโอกาสรวมความผิดทุกคดี สะกิด นักการเมืองหลายคนมีที่ยืนวันนี้ เพราะได้รับนิรโทษ เตือน รัฐบาลระวังสร้างบาดแผลให้ตัวเองและสังคม
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่รัฐสภา นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนาย
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่เห็นชอบกับการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 โดยระบุว่า พรรคเพื่อไทยเคยสัญญาว่าจะคลี่คลายปัญหาของคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการเมือง จึงไม่ควรมองว่านิรโทษกรรมคดีใดบ้าง แต่ควรมองหลักการว่าหากเราต้องการคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ว่าจะโดนด้วยข้อหาอะไร ก็ควรได้รับการนิรโทษกรรม
นาย
รังสิมันต์ กล่าวว่า การดำเนินคดีการเมืองโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องยอมรับว่า บางครั้งก็ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง หรือ เพราะสถานการณ์ที่บีบคั้นทำให้ผู้ชุมนุมพูดเกินเลยไป จึงต้องดูเจตนา แต่คำถามที่ต้องคิดคือ ประเทศเราได้อะไรจากการดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ส่วนตัวมองว่าการนิรโทษกรรมสามารถทำได้ และรัฐบาลนี้ก็ถูกคาดหวังว่า ครั้งหนึ่งรัฐบาลเองก็ถูกจดจำในประวัติศาสตร์ว่าอยู่เคียงข้างประชาชน ต่อสู้เพื่อคนตัวเล็กตัวน้อย ต่อสู้กับชนชั้นนำ หรือผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ในสังคม ทำไมวันนี้เปลี่ยนไปขนาดนั้น
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อไปว่า แม้กระทั่ง นายภูมิธรรมเอง แน่นอนตนเองทราบดีว่าคนเดือนตุลาฯ ก็มีอุดมการณ์ที่หลากหลาย สิ่งที่เคยต่อสู้ในวันนั้นอาจจบลงไปแล้ว แต่คุณมองสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ การชุมนุมปี 2563 การต่อสู้ของภาคประชาชน ไม่เห็นตัวเองในนั้นบ้างเลยหรือ
“
ถ้าสมมติว่าผมเป็นคนแบบคุณอ้วน ภูมิธรรม ผมคงรับตัวเองไม่ได้นะ อะไรทำให้การตัดสินใจของท่านในการคลี่คลายความขัดแย้ง ทั้งที่ตัวเองมีโอกาสแล้ว ความจริงคุณภูมิธรรมเคยเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งในสังคม เคยถูกกล่าวหา วันนี้บ้านเมืองของเราต้องการโอกาสที่ 2 เราต้องการการนิรโทษกรรม” รังสิมันต์กล่าว
รังสิมันต์กล่าวอีกว่า หลายคนที่มาเป็นนักการเมืองในวันนี้ ไม่สามารถมาเป็นได้ หากไม่ได้รับการนิรโทษกรรมก็ไม่สามารถมายืนตรงนี้ได้ ตนอยากให้เรามองเห็นประโยชน์ว่า นี่คือโอกาสทีประเทศไทยจะได้เริ่มต้นกันใหม่ เชื่อว่านิรโทษกรรมเป็นวิธีการที่น่าจะพอคุยกันได้ และละมุนละม่อมที่สุด จะตั้งเงื่อนไขก็ตั้งกันว่าอะไรคือความเหมาะสม และการนิรโทษกรรมก็ไม่ใช่การยกเลิกกฎหมาย ไม่ใช่การแก้ไข มาตรา 112 และกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยออกมา ก็ไม่ได้รวมไปถึงการนิรโทษกรรม ดังนั้น รัฐบาลสามารถทำได้ และคิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสังคมวันนี้
เมื่อถามว่า นายภูมิธรรมอาจจะได้รับใบสั่งมาหรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า ไม่อยากไปสรุปว่ามีใบสั่งหรือไม่มี แต่อยากให้มองว่า นี่คือโอกาสที่สังคมไทยจะได้กลับมาเริ่มต้นกันใหม่ วันนี้ท่านได้อยู่ในอำนาจแล้ว อย่าปล่อยให้โอกาสนี้หลุดลอยไป มันจะเป็นบาดแผลครั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่เฉพาะของสังคมไทย แต่จะเป็นบาดแผลของตัวท่านเองด้วย
‘ปกรณ์วุฒิ’ ชวนจับตาโหวตร่างขนส่งทางราง 30 ต.ค. หนุน วิปรัฐบาล กลับมติ เอาร่าง ครม.เป็นร่างหลัก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870947
‘ปกรณ์วุฒิ’ ชวนจับตาโหวตร่างขนส่งทางราง 30 ต.ค. ชม ’วิปรัฐบาล‘ กลับมติเอาร่าง ครม.เป็นร่างหลัก ติงร่าง ‘เพื่อไทย’ แอบยัดไส้เอื้อประโยชน์เอกชน
เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 29 ตุลาคม ที่รัฐสภา นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 30 ตุลาคม ว่า สัปดาห์นี้มีประชุมสภาผู้แทนราษฎรแค่หนึ่งวัน เนื่องจากกำลังจะปิดสมัยประชุม ซึ่งจะมีการพิจารณากฎหมายในหลายฉบับแต่ที่อยากให้จับตาดูคือร่างพระราชบัญญัติ
(พ.ร.บ.) การขนส่งทางราง (ฉบับที่…) พ.ศ…. ที่อาจใช้เวลาเล็กน้อย เพราะอภิปรายจบตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วแล้ว แต่วันนั้นประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดประชุมไปก่อน โดยในวันที่ 30 ตุลาคมจะเป็นการลงมติก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)
นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สำคัญคือการที่จะต้องเลือกว่าร่างใดจะเป็นร่างหลัก เนื่องจากครั้งที่แล้วมีมติวิปรัฐบาลว่าจะใช้ร่างของพรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นร่างหลัก แต่เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการกลับมติของวิปรัฐบาลเปลี่ยนมาใช้ร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นร่างหลัก ซึ่งครั้งที่แล้วตนก็แปลกใจว่าทำไมจึงจะใช้ร่างของพรรค พท. เป็นร่างหลัก แต่เมื่อนาย
สุรเชษฐ์ ปวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคปชน. ไปดูรายละเอียดของเนื้อหา กลับพบว่ามีการตัดทอนเนื้อหาในหลายมาตราและมีการยัดไส้ในหลายมาตรา ซึ่งเนื้อหาที่มีการเปลี่ยนแปลงมีการเอื้อให้เอกชนที่เป็นคู่สัมปทานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นลดการคุ้มครอง ของผู้โดยสารที่ใช้บริการขนส่งทางราง โดยให้เอกชนไม่ต้องชดเชยในกรณีที่อาจจะล่าช้าหรือยกเลิกเที่ยวรถ นอกจากนี้ ยังลดอำนาจของรัฐในการตรวจสอบคู่สัมปทานของรัฐ เปิดช่องให้เอกชน ถือกรรมสิทธิ์ของรางได้ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นที่จะต้องเป็นของรัฐ
“
มีหลายส่วนที่ทำให้ชวนสงสัยว่าใครกันแน่ยัดร่างนี้มาใส่มือพรรคเพื่อไทย และพรรคเพื่อไทยกล้าเสนอในนามพรรคตัวเอง รวมถึงกล้าเสนอในวิปรัฐบาลให้ร่างนี้เป็นร่างหลักเพื่อเอื้อกับเอกชนในอนาคต แล้วลดการคุ้มครองและผลประโยชน์ของประชาชน แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม มีการกลับมติให้ร่างของ ครม.เป็นร่างหลัก” นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าว
นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม หลายครั้งในสภาฯ เรามีการพูดถึงประสิทธิภาพในการพิจารณากฎหมาย ร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางรางของพรรค ปชน. ที่เสนอโดยนาย
สุรเชษฐ์นั้น ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ชุดที่แล้ว ซึ่ง กมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว และยื่นเข้าสู่สภาฯ แต่มีการยุบสภาก่อน ดังนั้น หากมีการเริ่มจากร่างที่มีการทำงานและการพูดคุยของผู้แทนประชาชนแล้ว และถ้าเริ่มจากร่างของพรรค ปชน. ตนเชื่อว่าการทำงานจะรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม เพราะเป็นร่างที่ผ่านการพูดคุยกันมาหลายขั้นตอน
“
ขณะที่ร่างของ ครม.ไม่มีอะไรเลย มีเพียงการนำร่างของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยื่นกลับเข้ามา ซึ่งก็ไม่เข้าใจเช่นกันเวลาที่เราพูดว่าการพิจารณากฎหมายต้องมีความรอบคอบ แล้วความรอบคอบของรัฐบาลหมายถึงอะไร แต่ของเรา เราได้นำร่างที่ผ่านการทำงานกันมาอย่างหนัก ผ่านการประนีประนอมกันมาหลายฝ่าย หากไม่กลัวเสียหน้าและอยากให้สภามีประสิทธิภาพ ก็อยากให้โหวตให้ร่างของพรรคประชาชนเป็นร่างหลัก” นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าว
JJNY : ‘โรม’ซัดรบ.พอใจผลคดีตากใบ│โรมจวกภูมิธรรม มีโอกาสแต่ไม่ทำ│‘ปกรณ์วุฒิ’ชวนจับตาร่างราง│ปกรณ์วุฒิบอกไม่เสียกำลังใจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870805
‘โรม’ ซัดรบ.พอใจผลคดีตากใบ หลัง ‘ปลัดอดีตจำเลย’ โผล่ทำงาน แย้มต้องดูข้อกม.จะเอาผิดจริยธรรมได้หรือไม่ เหน็บ ‘ทักษิณ’ คำขอโทษ 18 ปีช้าไป
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีปลัดอำเภอท่าอุเทน จ.นครพนม ซึ่งเป็นอดีตจำเลยในคดีตากใบ กลับมาปฏิบัติหน้าที่ทันทีหลังจากคดีหมดอายุความ ว่า ตนก็คงรู้สึกไม่ต่างจากหลายๆ คน ว่าเอาเข้าจริงแล้ว รัฐบาลได้มีความพยายามอย่างจริงจังทุกทางที่จะเป็นไปได้ ในการตามหาตัวจำเลยในคดีตากใบมากน้อยเพียงใด และเมื่อเห็นแบบนี้แล้วก็รู้สึกว่ารัฐบาลอาจจะไม่ได้พยายามอะไรเลย การที่คดีตากใบจบแบบนี้ อาจจะเป็นความพึงพอใจของรัฐบาลแล้วที่คดีจบได้เสียที ซึ่งไม่ได้จบแบบมีความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสีย แต่จบแบบสุดท้าย ไม่มีใครสามารถดำเนินการทางกฎหมาย กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและพรรคการเมืองก่อนหน้านั้น ที่เป็นต้นสายให้พรรคเพื่อไทยได้อีกต่อไป รวมถึงผู้นำทางจิตวิญญาณ ก็คงไม่สามารถเอาผิดทางกฎหมายได้เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้ตนเชื่อว่าเป็นความสบายใจของรัฐบาล
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า นอกจากกรณีปลัดอำเภอคนนี้แล้ว ยังมีพฤติการณ์ของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึงพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีเอง มีหลายอย่างที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้โดยตรง ไม่สามารถเชื่อว่ารัฐบาลมีความตั้งใจและเพียรพยายามอย่างเต็มที่ในการคลี่คลายปมนี้ ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็นวิกฤติอีกครั้งหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่น่าเกิดขึ้นเลยจริงๆ ตนคิดว่าเป็นความน่าเสียดายและความผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัย ที่คดีตากใบจบลงอย่างที่เราไม่สามารถนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียชีวิตจำนวนมากมาดำเนินการได้
เมื่อถามว่าสามารถเอาผิดจริยธรรมกับปลัดอำเภอคนดังกล่าวได้หรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าเอาผิดอย่างไรต่อ ตนเชื่อว่าผู้ที่นำคดีตากใบขึ้นสู่ศาล และพวกเราพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ติดตามเรื่องนี้ คงจะพยายามดูว่ามีมาตรการใดที่จะเป็นไปได้ แต่มองว่าปมใหญ่คือการใช้กระบวนการของศาลในการคลี่คลาย เพราะคดีตากใบไม่ใช่แค่การลงโทษ แต่เป็นการบอกว่าใครบ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยการใช้กระบวนการยุติธรรมของเราในการวินิจฉัย เป็นการสร้างความรับผิดรับชอบในสิ่งที่ตนเองตัดสินใจใช้อำนาจหน้าที่จนทำให้เกิดความสูญเสีย
เมื่อถามว่านายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ควรออกมารับผิดชอบด้วยหรือไม่ นายรังสิมันต์ ระบุว่า ตอนนี้นายทักษิณไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาล ตนคงไม่สามารถบอกได้ว่านายทักษิณควรทำหรือไม่ควรทำอะไร แต่บอกได้ว่าที่ผ่านมา คำขอโทษมาช้า 18 ปี จึงอาจทำให้ความรู้สึกของประชาชนที่มองรัฐบาลชุดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ที่เขามองว่าถูกครอบครองโดยนายทักษิณ
“คำขอโทษ ถ้าขอโทษอย่างทันท่วงที น้ำหนักมันจะเยอะ แต่พอมันช้าไป น้ำหนักของคำขอโทษก็หายไปเยอะ และนี่เป็นผลลัพธ์ของอดีตนายกฯทักษิณได้ทำ จนมาถึงรัฐบาลนี้ และสิ่งที่คนอยากเห็นไม่ใช่แค่คำขอโทษอย่างเดียว แต่คือการกระทำที่แสดงถึงความจริงใจ ซึ่งแทบไม่มี ผมมองว่าสิ่งที่ผิดพลาดของรัฐบาลนี้ คือการปล่อยให้นายภูมิธรรมออกมาพูดหลายอย่างที่ทำให้สถานการณ์แย่ลง นายกฯควรมอบหมายงานที่เหมาะสม เพราะนายภูมิธรรมได้พิสูจน์แล้วว่า ท่านไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะมาจัดการเรื่องละเอียดอ่อน อย่างเรื่องความมั่นคง” นายรังสิมันต์ กล่าว
นายรังสิมันต์ ยังมองว่าหลังจากกรณีนายอำเภอคนนี้ ก็ยังมีกรณีอื่นอีก ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลก็จะยิ่งน้อยลง คำถามสำคัญคือจะต้องติดลบอีกขนาดไหน เมื่อไหร่เราจะถึงจุดสูงสุดของจุดต่ำสุด พร้อมย้ำว่าความเชื่อมั่นของรัฐบาลตอนนี้ดิ่งเหว
เมื่อถามว่าหลังจากคดีหมดอายุความแล้ว มีโอกาสที่จะนำตัวอดีตผู้ต้องหาในคดี มาให้ปากคำเพื่อรื้อฟื้นความจริงหรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องคุยกัน แต่ข้อเท็จจริงหลายอย่างก็ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้เลย เพราะมีรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจัดทำโดยคณะทำงานหลายส่วน รวมถึงส่วนที่นายทักษิณเป็นผู้ตั้งขึ้นมาด้วยซ้ำ ดังนั้นในเรื่องของความจริงก็ส่วนหนึ่ง แต่สุดท้ายจะไปใกล้ถึงการหาตัวผู้รับผิดชอบหรือไม่ ส่วนตัวมองว่าการใช้กลไกศาลเป็นช่องทางที่ดีที่สุด เพราะมีการเสาะหาความจริงและตัดสิน แต่เมื่อทำอย่างนั้นไม่ได้ก็ต้องรอดูว่ามีมาตรการอื่นๆ ที่ดีกว่าที่ผ่านมาหรือไม่
โรม จวก ภูมิธรรม มีโอกาสแก้ขัดแย้งการเมืองแต่ไม่ทำ ปมไม่หนุน นิรโทษม.112
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870803
‘โรม’ เย้ย ถ้าเป็น ‘บิ๊กอ้วน’ คงรับตัวเองไม่ได้ เหตุมีโอกาส แต่ไม่ตัดสินใจแก้ปมขัดแย้งการเมือง หลังเจ้าตัวประกาศ ‘เพื่อไทย’ ไม่หนุนนิรโทษกรรมคดี ม.112 ย้ำประเทศต้องการโอกาสรวมความผิดทุกคดี สะกิด นักการเมืองหลายคนมีที่ยืนวันนี้ เพราะได้รับนิรโทษ เตือน รัฐบาลระวังสร้างบาดแผลให้ตัวเองและสังคม
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่เห็นชอบกับการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 โดยระบุว่า พรรคเพื่อไทยเคยสัญญาว่าจะคลี่คลายปัญหาของคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการเมือง จึงไม่ควรมองว่านิรโทษกรรมคดีใดบ้าง แต่ควรมองหลักการว่าหากเราต้องการคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ว่าจะโดนด้วยข้อหาอะไร ก็ควรได้รับการนิรโทษกรรม
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า การดำเนินคดีการเมืองโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องยอมรับว่า บางครั้งก็ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง หรือ เพราะสถานการณ์ที่บีบคั้นทำให้ผู้ชุมนุมพูดเกินเลยไป จึงต้องดูเจตนา แต่คำถามที่ต้องคิดคือ ประเทศเราได้อะไรจากการดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ส่วนตัวมองว่าการนิรโทษกรรมสามารถทำได้ และรัฐบาลนี้ก็ถูกคาดหวังว่า ครั้งหนึ่งรัฐบาลเองก็ถูกจดจำในประวัติศาสตร์ว่าอยู่เคียงข้างประชาชน ต่อสู้เพื่อคนตัวเล็กตัวน้อย ต่อสู้กับชนชั้นนำ หรือผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ในสังคม ทำไมวันนี้เปลี่ยนไปขนาดนั้น
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อไปว่า แม้กระทั่ง นายภูมิธรรมเอง แน่นอนตนเองทราบดีว่าคนเดือนตุลาฯ ก็มีอุดมการณ์ที่หลากหลาย สิ่งที่เคยต่อสู้ในวันนั้นอาจจบลงไปแล้ว แต่คุณมองสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ การชุมนุมปี 2563 การต่อสู้ของภาคประชาชน ไม่เห็นตัวเองในนั้นบ้างเลยหรือ
“ถ้าสมมติว่าผมเป็นคนแบบคุณอ้วน ภูมิธรรม ผมคงรับตัวเองไม่ได้นะ อะไรทำให้การตัดสินใจของท่านในการคลี่คลายความขัดแย้ง ทั้งที่ตัวเองมีโอกาสแล้ว ความจริงคุณภูมิธรรมเคยเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งในสังคม เคยถูกกล่าวหา วันนี้บ้านเมืองของเราต้องการโอกาสที่ 2 เราต้องการการนิรโทษกรรม” รังสิมันต์กล่าว
รังสิมันต์กล่าวอีกว่า หลายคนที่มาเป็นนักการเมืองในวันนี้ ไม่สามารถมาเป็นได้ หากไม่ได้รับการนิรโทษกรรมก็ไม่สามารถมายืนตรงนี้ได้ ตนอยากให้เรามองเห็นประโยชน์ว่า นี่คือโอกาสทีประเทศไทยจะได้เริ่มต้นกันใหม่ เชื่อว่านิรโทษกรรมเป็นวิธีการที่น่าจะพอคุยกันได้ และละมุนละม่อมที่สุด จะตั้งเงื่อนไขก็ตั้งกันว่าอะไรคือความเหมาะสม และการนิรโทษกรรมก็ไม่ใช่การยกเลิกกฎหมาย ไม่ใช่การแก้ไข มาตรา 112 และกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยออกมา ก็ไม่ได้รวมไปถึงการนิรโทษกรรม ดังนั้น รัฐบาลสามารถทำได้ และคิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสังคมวันนี้
เมื่อถามว่า นายภูมิธรรมอาจจะได้รับใบสั่งมาหรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า ไม่อยากไปสรุปว่ามีใบสั่งหรือไม่มี แต่อยากให้มองว่า นี่คือโอกาสที่สังคมไทยจะได้กลับมาเริ่มต้นกันใหม่ วันนี้ท่านได้อยู่ในอำนาจแล้ว อย่าปล่อยให้โอกาสนี้หลุดลอยไป มันจะเป็นบาดแผลครั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่เฉพาะของสังคมไทย แต่จะเป็นบาดแผลของตัวท่านเองด้วย
‘ปกรณ์วุฒิ’ ชวนจับตาโหวตร่างขนส่งทางราง 30 ต.ค. หนุน วิปรัฐบาล กลับมติ เอาร่าง ครม.เป็นร่างหลัก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4870947
‘ปกรณ์วุฒิ’ ชวนจับตาโหวตร่างขนส่งทางราง 30 ต.ค. ชม ’วิปรัฐบาล‘ กลับมติเอาร่าง ครม.เป็นร่างหลัก ติงร่าง ‘เพื่อไทย’ แอบยัดไส้เอื้อประโยชน์เอกชน
เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 29 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมความพร้อมประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 30 ตุลาคม ว่า สัปดาห์นี้มีประชุมสภาผู้แทนราษฎรแค่หนึ่งวัน เนื่องจากกำลังจะปิดสมัยประชุม ซึ่งจะมีการพิจารณากฎหมายในหลายฉบับแต่ที่อยากให้จับตาดูคือร่างพระราชบัญญัติ
(พ.ร.บ.) การขนส่งทางราง (ฉบับที่…) พ.ศ…. ที่อาจใช้เวลาเล็กน้อย เพราะอภิปรายจบตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วแล้ว แต่วันนั้นประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดประชุมไปก่อน โดยในวันที่ 30 ตุลาคมจะเป็นการลงมติก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)
นายปกรณ์วุฒิ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สำคัญคือการที่จะต้องเลือกว่าร่างใดจะเป็นร่างหลัก เนื่องจากครั้งที่แล้วมีมติวิปรัฐบาลว่าจะใช้ร่างของพรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นร่างหลัก แต่เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการกลับมติของวิปรัฐบาลเปลี่ยนมาใช้ร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นร่างหลัก ซึ่งครั้งที่แล้วตนก็แปลกใจว่าทำไมจึงจะใช้ร่างของพรรค พท. เป็นร่างหลัก แต่เมื่อนายสุรเชษฐ์ ปวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคปชน. ไปดูรายละเอียดของเนื้อหา กลับพบว่ามีการตัดทอนเนื้อหาในหลายมาตราและมีการยัดไส้ในหลายมาตรา ซึ่งเนื้อหาที่มีการเปลี่ยนแปลงมีการเอื้อให้เอกชนที่เป็นคู่สัมปทานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นลดการคุ้มครอง ของผู้โดยสารที่ใช้บริการขนส่งทางราง โดยให้เอกชนไม่ต้องชดเชยในกรณีที่อาจจะล่าช้าหรือยกเลิกเที่ยวรถ นอกจากนี้ ยังลดอำนาจของรัฐในการตรวจสอบคู่สัมปทานของรัฐ เปิดช่องให้เอกชน ถือกรรมสิทธิ์ของรางได้ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นที่จะต้องเป็นของรัฐ
“มีหลายส่วนที่ทำให้ชวนสงสัยว่าใครกันแน่ยัดร่างนี้มาใส่มือพรรคเพื่อไทย และพรรคเพื่อไทยกล้าเสนอในนามพรรคตัวเอง รวมถึงกล้าเสนอในวิปรัฐบาลให้ร่างนี้เป็นร่างหลักเพื่อเอื้อกับเอกชนในอนาคต แล้วลดการคุ้มครองและผลประโยชน์ของประชาชน แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม มีการกลับมติให้ร่างของ ครม.เป็นร่างหลัก” นายปกรณ์วุฒิ กล่าว
นายปกรณ์วุฒิ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม หลายครั้งในสภาฯ เรามีการพูดถึงประสิทธิภาพในการพิจารณากฎหมาย ร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางรางของพรรค ปชน. ที่เสนอโดยนายสุรเชษฐ์นั้น ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ชุดที่แล้ว ซึ่ง กมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว และยื่นเข้าสู่สภาฯ แต่มีการยุบสภาก่อน ดังนั้น หากมีการเริ่มจากร่างที่มีการทำงานและการพูดคุยของผู้แทนประชาชนแล้ว และถ้าเริ่มจากร่างของพรรค ปชน. ตนเชื่อว่าการทำงานจะรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม เพราะเป็นร่างที่ผ่านการพูดคุยกันมาหลายขั้นตอน
“ขณะที่ร่างของ ครม.ไม่มีอะไรเลย มีเพียงการนำร่างของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยื่นกลับเข้ามา ซึ่งก็ไม่เข้าใจเช่นกันเวลาที่เราพูดว่าการพิจารณากฎหมายต้องมีความรอบคอบ แล้วความรอบคอบของรัฐบาลหมายถึงอะไร แต่ของเรา เราได้นำร่างที่ผ่านการทำงานกันมาอย่างหนัก ผ่านการประนีประนอมกันมาหลายฝ่าย หากไม่กลัวเสียหน้าและอยากให้สภามีประสิทธิภาพ ก็อยากให้โหวตให้ร่างของพรรคประชาชนเป็นร่างหลัก” นายปกรณ์วุฒิ กล่าว