JJNY : 'ปชน.'ห่วง เข้าไม่ถึงเงินทุน│'บุ้ง'ความตายของยุติธรรม?│จม.เปิดผนึกอดีตพนง.แบงก์ชาติ│ชี้ภาวะโลกร้อนทำสเปนอ่วม

'ปชน.' ระดมพลฟื้นฟูเชียงราย ห่วง ชาวบ้านเข้าไม่ถึงเงินทุน ต้องกู้เงินนอกระบบฟื้นกิจการ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4878160

‘ปชน.’ ระดมพลฟื้นฟูเชียงราย พบชาวบ้าน เข้าไม่ถึงเงินทุน ต้องกู้เงินนอกระบบฟื้นฟูกิจการ ดอกเบี้ยโหด 20%ต่อเดือน
 
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ จ.เชียงราย ส.ส.และคณะทำงานจังหวัดพรรคประชาชน ร่วมกับกลุ่มประชาชนอาสา เข้าทำความสะอาด เก็บกวาดดินโคลน และฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
 
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประชาชนอาสา กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินการของทางรัฐบาลว่า ต้องขอขอบคุณหน่วยงานและภาคประชาสังคมทุกภาคส่วนที่มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูและคืนพื้นที่ โดยเฉพาะถนนหนทางและโครงสร้างพื้นฐานให้กลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ภายในเวลาที่รัฐบาลกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนอาคารบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนยังมีกลุ่มที่ตกหล่นไม่ได้รับการช่วยเหลือฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนหลังน้ำลดอยู่ จึงเป็นการเข้าช่วยเหลือโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคประชาสังคมและภาคเอกชนต่อไป
 
โดยในวันนี้ศูนย์ประชาชนอาสาได้ลงพื้นที่ไปฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนที่ อ.เมือง และ อ.แม่สาย ส่วนในวันพรุ่งนี้จะมีการสนธิกำลังกับมูลนิธิกระจกเงาเพื่อช่วยเหลือบ้านเรือนประชาชนโดยการขนย้ายดินโคลนที่ติดค้างจำนวนมากออกมาให้สำเร็จ
 
ในส่วนของมาตรการเยียวยาประชาชน นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและรับฟังเสียงสะท้อนจากพี่น้องประชาชนชาวเชียงราย พบว่าส่วนใหญ่ได้รับเงินเยียวยาค่าล้างบ้านจากทางรัฐบาล 9,000 บาทเรียบร้อยแล้ว แต่ยังติดปัญหาการฟื้นฟูซ่อมแซมอาคารสถานที่และกิจการธุรกิจการค้า ที่อาจต้องใช้เงินทุนในการซ่อมแซม สั่งซื้อวัตถุดิบ และเสริมสภาพคล่องในการจ่ายต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเงินในส่วนนี้อาจมีตั้งแต่ขั้นต่ำ 10,000 บาทสำหรับร้านก๋วยเตี๋ยว ไปจนถึงหลักแสนหลักล้านบาทในบางธุรกิจ ทำให้หลายกิจการยังไม่สามารถกลับมาเปิดทำการได้ปกติ ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวม แม้ว่าจะเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของการท่องเที่ยวภาคเหนือแล้วก็ตาม
 
แม้ว่าภาครัฐจะประกาศว่ามีมาตรการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือ Soft Loan ผ่านธนาคารออมสิน แต่กลับพบว่าประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวบ้านที่ประกอบอาชีพขายของ ขายกับข้าว ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดย่อม ไม่รู้วิธีการหรือเข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในระบบสถาบันการเงิน ทำให้ต้องไปกู้ยืมเงินจากนอกระบบซึ่งมีต้นทุนค่าดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 20 ต่อเดือน
 
จากการทราบข้อมูลในส่วนนี้ ที่ได้จากการลงพื้นที่หน้างาน พวกเรายังมีทีมสำรวจเดินพูดคุยเก็บข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม และจะจัดทำข้อเสนอไปยังสถาบันการเงินของรัฐและรัฐบาล ให้มีมาตรการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อไม่ให้พี่น้องประชาชนเผชิญวิกฤตซ้ำซ้อน นั่นคือวิกฤตน้ำท่วมและหนี้สิน จนกลายเป็นสุภาษิตใหม่ว่า น้ำลดหนี้ผุด” นายณัฐพงษ์กล่าว



'บุ้ง เนติพร' ความตายของกระบวนการยุติธรรม?
https://prachatai.com/journal/2024/11/111250

บุ้ง เนติพร เสน่ห์สังคม ถูกฟ้อง ม.112 จากการร่วมสังเกตการณ์การทำโพลเกี่ยวกับขบวนเสด็จ และได้ประกันตัวด้วยเงื่อนไขที่คลุมเครือ จากนั้นก็ถูกถอนประกันจากการกระทำต่างกรรมต่างวาระ ซึ่งนักกฎหมายวิจารณ์ว่าเป็นการลงโทษซ้ำซ้อน เหล่านี้คือสิ่งที่ 'บุ้ง เนติพร' หรือ 'บุ้ง ทะลุวัง' ต้องพบตลอดการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมจากการทำกิจกรรมเรียกร้องทางการเมือง เพื่อเป้าหมายในการปฏิรูปสถาบันฯ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และยุติการดำเนินคดีผู้เห็นต่าง
 
ผ่านมาแล้วเกือบครึ่งปีที่บุ้งเสียชีวิตหลังจากอดอาหารเป็นเวลานาน จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อ 14 พ.ค. 2567  ทว่าความชัดเจนเกี่ยวกับรายละเอียดการเสียชีวิตยังคงล่าช้าและไม่กระจ่าง ทำให้คำถามพุ่งตรงสู่มาตรฐานการดูแลของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ รวมถึงกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด
 
ประชาไทชวนรับชมสารคดี 'บุ้ง เนติพร' ความตายของกระบวนการยุติธรรม? เพื่อย้อนพินิจความผิดปกติในการดำเนินคดี ม.112 ต่อนักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่เคลื่อนไหวด้วยสไตล์ที่สังคมไทยอาจไม่คุ้นชิน และต้องสูญหายไประหว่างเส้นทางการต่อสู้
 
#บุ้งทะลุวัง #บุ้งเนติพร #ทะลุวัง #ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


จดหมายเปิดผนึกอดีตพนง.แบงก์ชาติ ค้านการเมืองเข้าแทรกแซง
https://www.dailynews.co.th/news/4033064/

จดหมายเปิดผนึกอดีตพนง.แบงก์ชาติ ค้านการเมืองเข้าแทรกแซง

จดหมายเปิดผนึกจากอดีตพนักงาน ธนาคารแห่งประเทศไทยจรรยาบรรณที่พึงมีสำหรับตำแหน่งประธานและกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
อดีตพนักงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย” แสดงความห่วงใย ระบุว่า 
 
ตามที่คณะกรรมการสรรหาฯ จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาคัดเลือกประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยอีก 2 ท่าน ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ท่ามกลางเสียงเรียกร้องจากคณะศิษย์หลวงตามหาบัว กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ซึ่งรวมถึงอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึง 4 ท่าน ให้คณะกรรมการสรรหาฯ ได้พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความสุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส มีธรรมาภิบาล และไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองเข้าดำรงตำแหน่ง เพื่อให้ ธปท. สามารถดำเนินพันธกิจของธนาคารกลางตามที่กำหนดไว้ นั้น
 
พวกเราในฐานะอดีตพนักงาน ธปท. ขอเรียนยืนยันว่า คณะกรรมการ ธปท. มีความสำคัญอย่างยิ่งในการวางกรอบ และกำหนดนโยบายของ ธปท. โดย ธปท. ถือเป็นหน่วยงานของรัฐในรูปแบบองค์กรที่ต้องปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง เพื่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเงินที่มีเสถียรภาพต่อเนื่องในระยะยาว และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง
 
แม้ว่าคณะกรรมการ ธปท. จะไม่มีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการเงิน และนโยบายรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงินโดยตรง แต่ พ.ร.บ. ธปท. ได้ระบุอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ให้พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน คณะกรรมการระบบการชำระเงิน และแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในตำแหน่งตั้งแต่ผู้ช่วยผู้ว่าการฯ ขึ้นไป และที่สำคัญคือ มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และกำกับดูแลการบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศ
 
ด้วยบทบาทหน้าที่ของประธานและกรรมการ ธปท. ข้างต้น บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งต้องไม่เพียงแต่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด แต่ต้องปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณขั้นสูงสุดที่เป็นข้อบังคับ ธปท. ว่าด้วยจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของกรรมการในคณะกรรมการ ธปท. พ.ศ. 2553 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในข้อ 4.5 ที่ไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ข้อ 4.7 พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม เป็นกลางทางการเมือง และไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และ ข้อ 4.11 พึงเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงตน รักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของ ธปท.

พวกเราจึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสรรหาฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ใช้วิจารณญาณพิจารณาด้วยความรอบคอบ รอบด้าน และโปร่งใส อย่างเป็นอิสระในการสรรหาประธาน ธปท. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการ ธปท. เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประวัติและพฤติกรรมที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณ

ที่ระบุไว้ เป็นที่ประจักษ์ในสังคมและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 80 ปีของการก่อตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย คณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องใช้ความพยายาม และความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างสูง เพื่อรักษาอธิปไตยและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของไทยไว้ โดยป้องกันไม่ให้มีการแทรกแซงทางการเมือง

ผู้ว่าการเล้ง ศรีสมวงศ์ ผู้ว่าการคนแรกที่ทำงานเต็มเวลาที่ ธปท. ได้กล่าวในการเข้าร่วมประชุมกรรมการธนาคารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2490 ว่า “ในฐานะที่ ธปท. เป็นนายธนาคารกลาง ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและจะดำเนินการอย่างอิสระ ตลอดจนทำหน้าที่ในการเหนี่ยวรั้งรัฐบาลในกิจการที่ธนาคารเห็นว่าจะเกิดความเสียหายแก่ประเทศเป็นส่วนรวม……”

นอกจากนี้ยังเปิดเผยรายชื่ออดีตพนักงานแบงก์ชาติ ซึ่งรวมถึงอดีตผู้บริหาร ระดับรองผู้ว่าการ 4 คน ผู้ช่วยผู้ว่าการขึ้นไป 12 ท่าน ดังนี้

อดีตรองผู้ว่าการ แบงก์ชาติ

1. ทองอุไร ลิ้มปิติ
2. รณดล นุ่มนนท์
3. ฤชุกร สิริโยธิน
4. วชิรา อารมย์ดี

อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการ แบงก์ชาติ
1. กฤช ฟลอเล็ต
2. จันทวรรณ สุจริตกุล
3. นพมาศ มโนลีหกุล
4. นวอร เดชสุวรรณ
5. ผุสดี หมู่พยัคฆ์
6. เพิ่มสุข สุทธินุ่น
7. ศิริชัย สาครรัตนกุล
8. สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา
9. สุภาวดี ปุณศรี
10. เสาวณี สุวรรณชีพ
11. อมรา ศรีพยัคฆ์
12. อรุณศรี ติวะกุล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่