JJNY : 5in1 เบญจา จี้รัฐบาล│โรมชงเคส‘บุ้ง’หารือ│“สส.กาย”จี้อุดหนุนงบฯ กยศ.│สูญเสียบุ้ง ลอกคราบไทย│โลกร้อนจากฝีมือมนุษย์

เบญจา จี้รัฐบาลชัดเจนแนวทางปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ชี้ทำแบบเดิมไม่ต่างจากยุค ประยุทธ์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4577173

เบญจา จี้รัฐบาลชัดเจนแนวทางปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ชี้ทำแบบเดิมไม่ต่างจากยุค ประยุทธ์
 
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม น.ส.เบญจา แสงจันทร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง ทะลุวัง ซึ่งมีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวเยาวชนที่เหลือซึ่งถูกดำเนินคดีอยู่ว่า เราต้องยืนยันก่อนว่าหากเป็นไปตามหลักการ กระบวนการในการประกันตัวควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้กระทำความผิด ยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่
 
น.ส.เบญจากล่าวต่อว่า ย้ำว่านี่ต้องเป็นหลักไม่ใช่ข้อยกเว้น แม้เรื่องอื่นอาจจะเป็นข้อยกเว้น แต่เรื่องสิทธิของการประกันตัวผู้ต้องขังต้องไม่ใช่ข้อยกเว้น ยิ่งเป็นผู้ต้องขังทางการเมือง ผู้ต้องขังทางความคิดยิ่งต้องได้รับการปฏิบัติที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน และยิ่งเป็นคดีทางความคิดยิ่งไม่มีความรุนแรงทางร่างกายกับผู้เสียหายใดๆ ซึ่งพรรค ก.ก.ก็ยืนยันหลักการนี้มาตลอด
 
เมื่อถามว่า ในทางกฎหมายควรต้องมีการพูดถึงเรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างจริงจังหรือไม่ น.ส.เบญจากล่าวว่า ตนคิดว่าวันนี้เรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม คนในสังคมคงไม่มีใครปฏิเสธแล้วว่าต้องเดินหน้าในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และหากพูดกันตามหลักความจริงฝ่ายค้านคงดำเนินการในการแก้ไขกฎหมายต่างๆ หรือผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการคืนความยุติธรรมให้ประชาชน รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิการประกันตัวที่เราต้องผลักดันกันต่อไปเช่นกัน
 
น.ส.เบญจากล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ชั้นตำรวจ  อัยการ ศาล และราชทัณฑ์ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พรรค ก.ก.พิจารณาร่วมกันอยู่แล้วว่าต้องดำเนินการ เพราะพูดอย่างเดียวจะไม่เห็นภาพ แต่การแก้ไขในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติเราต้องทำร่วมกันด้วย
 
สิ่งเร่งด่วนที่เราคิดว่าต้องทำคือ ทางรัฐบาลที่เคยหาเสียงเรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม วันนี้เป็นรัฐบาลแล้วเอาให้ชัดเลย ทำก็ทำเลย โดยที่  ส.ส.ของพรรครัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาลคนใดคนหนึ่งไม่ต้องออกมาเรียกร้องผ่านสื่อมวลชนหรือสื่อโซเชียลใดๆ พวกคุณสามารถดำเนินการได้เลยในฐานะรัฐบาล วันนี้เห็นนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความคิดเห็นในฐานะนายกรัฐมนตรีว่าแสดงความเสียใจ แล้วจะทำอะไรต่อ 1 2 3 4 เป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรดำเนินการ และต้องเอาให้ชัดว่าวันนี้แนวทางของรัฐบาลเป็นอย่างไร หากยังมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น” น.ส.เบญจากล่าว
 
น.ส.เบญจากล่าวอีกว่า ผู้ต้องขังทางความคิดยังต้องติดคุก และยังไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว แสดงว่ายังดำเนินนโยบายเช่นเดียวกับรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในอดีตที่ผ่านมา แต่อาจจะอยากทำให้เห็นชัดและปรับเปลี่ยนนโยบาย และนโยบายที่พรรคเพื่อไทย (พท.) เคยหาเสียงเอาไว้สามารถปฏิบัติได้จริง ก็สามารถทำได้เลย ณ วันนี้ นี่จึงเป็นสิ่งที่พรรค ก.ก.อาจจะเรียกร้องกับฝ่ายบริหารด้วย ย้ำว่าทางฝ่ายรัฐบาลไม่ต้องออกมาเรียกร้องอะไรผ่านสื่อแล้ว แต่สามารถทำได้เลยในฐานะของฝ่ายบริหาร และต้องทำให้ชัดว่านโยบายของรัฐบาลนี้ที่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลแล้วไม่สนับสนุนแนวทางและวิธีการตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา
 
ในวันที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้านก็เรียกร้องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเช่นนี้กับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ฉะนั้น วันนี้ทำให้ชัดว่าไม่ได้สนับสนุนนโยบายเช่นนั้น วันนี้เป็นรัฐบาลแล้วทำให้เห็นว่ารัฐบาลนี้จะไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ แล้วดำเนินการตามนโยบายที่คุณหาเสียงไว้ด้วย” น.ส.เบญจากล่าว
 
เมื่อถามว่า มองว่ารัฐบาลชุดนี้ยังไม่ได้ดำเนินการอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมใช่หรือไม่ น.ส.เบญจากล่าวว่า หากจะบอกว่าทั้งหมดเลยก็คงไม่ใช่ เพราะอย่างน้อยพรรค พท.ก็เสนอตั้งญัตติการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับกฎหมายการนิรโทษกรรม เพราะการเสนอเรื่องนิรโทษกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของหนทางที่จะพูดคุยกัน และลดความขัดแย้งในสังคมได้
 
จริงๆ เราอยากเห็นพรรคเพื่อไทยทำมากกว่านั้น นั่นคือการเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเลย แต่ก็อย่างที่บอกว่าหากเราจะลดความขัดแย้งและสามารถพูดคุยกันได้ก็คงต้องใช้กระบวนการการพูดคุยกันผ่านกรรมาธิการก่อน และสรุปผลออกมา แล้วค่อยหาทางออกว่าเราจะเดินหน้าต่อกันอย่างไร นี่เป็นส่วนหนึ่งในการที่จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งคิดว่าอย่างน้อยพรรคเพื่อไทยก็พยายามอยู่ แต่ก็อยากเห็นความจริงใจและความพยายามที่มากกว่านี้” น.ส.เบญจากล่าว
 
เมื่อถามว่า จากเรื่องนี้มองว่าให้บทเรียนอะไรบ้างหรือไม่ น.ส.เบญจากล่าวว่า แน่นอนว่าเราไม่สามารถเรียกร้องชีวิตของคนคนหนึ่งที่สูญเสียไปได้ แต่ ณ
วันนี้เรายังมีนักต่อสู้ทางความคิดอีก 40 กว่าคนที่ถูกคุมขัง และไม่ได้ความเป็นธรรมอยู่ บางคนยังอดอาหารเพื่อเรียกร้องต่อกระบวนการยุติธรรม อีกหนึ่งที่รัฐบาลสามารถทำได้เลย คือการอาจจะตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งอาจจะไม่ต้องใช้เวลายาวนานมากเพราะมีข้อมูลอยู่แล้ว สมัยที่เป็นฝ่ายค้านด้วยกันเราก็ทำงานด้วยกันและรู้ปัญหาของกระบวนการทางกฎหมาย ปัญหาเรื่องการไม่ให้สิทธิการประกันตัวเหล่านี้
 
น.ส.เบญจากล่าวด้วยว่า ฝ่ายบริหารไม่จำเป็นต้องไปสั่งการเพราะแต่ละฝ่ายก็มีอำนาจที่เป็นอิสระต่อกันอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยควรต้องพูดคุยและหารือกันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับกระบวนการยุติธรรมในประเทศในเวลานี้เป็นไปตามกระบวนการนิติรัฐนิติธรรมหรือไม่ เรื่องนี้ฝ่ายบริหารสามารถเปิดพื้นที่เพื่อพูดคุยกันได้ ฝ่ายบริหารอาจจะปฏิเสธเรื่องนี้ไม่ได้เพราะฝ่ายนิติบัญญัติยังสามารถที่จะใช้กลไกของกรรมาธิการในการเรียกหน่วยงานต่างๆ มาให้ ข้อมูลได้
 
น.ส.เบญจา กล่าวต่อว่า ฉะนั้น ฝ่ายบริหารที่มีอำนาจอยู่แล้วสามารถพูดคุยเรื่องนี้กัน เช่น กระทรวงยุติธรรมก็สามารถที่จะเชิญหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาอย่างกรมราชทัณฑ์ โรงพยาบาลราชทัณฑ์ มาให้ข้อมูลว่ากระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานี้เป็นไปตามหลักกฏหมายสากล กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายทั่วไปหรือไม่
 
น.ส.เบญจากล่าวต่อว่า การที่ไม่ให้สิทธิการประกันตัวนักต่อสู้ทางความคิด แต่เรากลับเห็นกระบวนการเหล่านี้ถูกใช้อย่างสองมาตรฐาน ซึ่งจริงๆ ก็มีหลายคนเปรียบเทียบไปแล้วว่ากับใครคนหนึ่งใช้อีกมาตรฐาน ในการดำเนินการ ขณะที่นักต่อสู้ทางความคิดกับใช้อีกมาตรฐานหนึ่งซึ่งไม่มีหลักการอะไรเลย ในการตัดสินครั้งนี้ ฉะนั้น จึงคิดว่ามาตรฐานต่ำสุดที่เราทำได้ คือฝ่ายบริหารต้องเชิญหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการร่วมรับฟัง พูดคุยกัน
 
บทเรียนสำหรับเรื่องนี้คือ วันที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล และสามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้ตั้งแต่เร็ววัน วันนี้จะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น และจะสามารถเดินหน้าพูดคุยกันได้มากกว่านี้ แต่เมื่อยิ่งเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นก็ยิ่งทำให้ความขัดแย้งในการประทะความคิดรุนแรงมากขึ้น” น.ส.เบญจากล่าว
 


โรม ชงเคส‘บุ้ง ทะลุวัง’ หารือในกมธ.นิรโทษพรุ่งนี้ หวังได้คำตอบชัด รวมคดี112ด้วย 
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8233974

โรม จ่อชงกรณี ‘บุ้ง ทะลุวัง’ หารือ ในกมธ.นิรโทษ พรุ่งนี้ หวังได้คำตอบชัดนิรโทษกรรมรวมคดี ม.112 พร้อมมองกลไกรัฐ ช่วยชะลอคดี
 
เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2567 นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ว่า ในการประชุมกรรมาธิการวันที่ 16 พ.ค. ตนจะเสนอให้พิจารณากรณีเกี่ยวเนื่องกับ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 ซึ่งเสียชีวิตระหว่างคุมขัง ในประเด็นการนิรโทษกรรม
 
เพื่อไม่ให้ผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง ซึ่งมีคดีผิดมาตรา 112 ต้องเสียชีวิตอีก เชื่อว่านอกจากตนแล้วจะมีกรรมาธิการคนอื่นๆ เช่น น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์  สส.กทม. พรรคก้าวไกล ที่ร่วมเสนอประเด็นและพูดคุย เพราะขณะนี้มีสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ดังนั้น กรรมาธิการควรพูดคุยเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
 
นายรังสิมันต์ กล่าวยอมรับว่า การพิจารณาของกรรมาธิการยังไม่ชัดเจนว่าผลการพิจารณานั้นจะรวมคดีผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วยหรือไม่ ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลเสนอว่าไม่ควรตั้งต้นที่ประเภทของคดี แต่ควรพิจารณาจากแรงจูงใจทางการเมืองที่เป็นต้นเหตุสำคัญ
 
แต่หากกรรมาธิการตั้งต้นที่ประเภทคดีแล้ว ควรพิจารณาให้ครบคดี ไม่ควรมีคดีใดตกหล่นจากการได้รับการนิรโทษกรรม เพราะในบางกรณีพบว่าการแจ้งข้อหานั้นกระบวนการกล่าวโทษมีปัญหาและใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง
 
นายรังสิมันต์ กล่าวด้วยว่า ในการนิรโทษกรรมนั้นตนมองไปไกลกว่ากรรมาธิการ เนื่องจากบุคคลที่เป็นกรรมาธิการนิรโทษกรรม หลายคนเป็นผู้อาวุโสที่มีบทบาทต่อรัฐบาล ดังนั้น ควรพิจารณาในคดีต่างๆ ที่ไม่ได้ประกันตัวให้ได้รับการประกันตัวเพื่อได้ใช้สิทธิต่อสู้คดี และไม่ให้เกิดกรณีของน.ส.เนติพรซ้ำรอยอีก นอกจากนั้นคือมาตรการที่ทำได้โดยรัฐบาล ผ่านกลไกของการชะลอคดีที่มีเงื่อนไขตรงกับการนิรโทษกรรม ทั้งนี้ ควรได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรม
 
ในประเด็นการชะลอคดีนั้น อาจทำได้หลายทาง แต่ในช่องทางของกรรมาธิการจำเป็นต้องให้เกิดข้อสรุป ซึ่งกรรมาธิการต้องหารืออีกครั้งถึงปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ยอมรับว่ายังมองไม่เห็นทิศทางว่าควรจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อเรามีกรณีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่คือกรณีของบุ้ง ควรคุยกันให้เกิดความชัดเจน” นายรังสิมันต์ กล่าว
 
เมื่อถามว่าการเสียชีวิตของน.ส.เนติพร ให้บทเรียนอะไรบ้าง นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่า เป็นมิติทางสังคม เพราะไม่ควรมีใครเสียชีวิตจากความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม สิ่งที่เกิดขึ้นและกลายเป็นประเด็นคือ สิทธิการประกันตัว ที่ไม่ควรมีเงื่อนไขถอนประกันจากการกระทำผิดซ้ำ เพราะคดีความที่เกิดขึ้นยังไม่ถูกพิพากษาว่าผิด

ดังนั้น กลไกการต่อสู้คดีประชาชนควรมีสิทธิที่เป็นสิทธิพื้นฐาน ในการได้รับประกันตัวเพื่อได้รับคำปรึกษาการต่อสู้อย่างกว้างขวางนอกเรือนจำ กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ผ่านการปรับปรุงกติกาของกระบวนการยุติธรรม ศาล และอัยการ รวมถึงหากต้องการสร้างมาตรฐานที่ชัดเจน สามารถทำได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ



“สส.กาย” จี้รัฐอุดหนุนงบฯ ให้ กยศ. หลังส่อวิกฤติไร้เงินให้นักเรียนกู้แล้ว
https://www.thairath.co.th/news/politic/2785819

“ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์” เผย วิกฤติ กยศ. ถังแตก ถูกเบี้ยวหนี้อื้อซ่า ถ้างบฯ ไม่มาในปี 69 อาจไม่มีเงินให้นักเรียน นักศึกษารุ่นต่อไปได้กู้ยืม ชี้เป็นเรื่องน่าวิตก ถ้ากองทุนฯ ไม่มีเงินหมุนเวียน
 
วันที่ 15 พ.ค. 2567 เมื่อเวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กทม. พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภา แถลงผลการพิจารณา กมธ. เรื่องวิกฤติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ว่า หากกองทุนฯ ไม่ได้รับงบสนับสนุนภายในปี 2569 กยศ.อาจไม่มีเงินให้นักเรียน นักศึกษารุ่นต่อไปได้กู้ยืมอีกต่อไป ขณะนี้ จากการที่ทางกองทุนฯ มีการปรับเกณฑ์ ลดเบี้ยปรับ ลดดอกเบี้ย ปรับกระบวนการติดตามทวงหนี้ ทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้กว่า 97,110 ล้านบาท ในที่ประชุม กมธ.ฯ ได้สอบถาม กยศ. ท
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่