กมธ.สันติภาพฯ มีมติเรียก ภูมิธรรม-เลขาฯสมช. ถกคดีตากใบ หวั่นกระทบเจรจาสันติภาพ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4850708
กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ มีมติเรียก “ภูมิธรรม-เลขาฯสมช.-แม่ทัพภาคที่4” หารือแนวทางปมตากใบถ้าหมดอายุความจริง กันผู้ฉวยโอกาสก่อวุ่นในใต้ “ช่อ” ชี้“พิศาล”จากเพื่อไทยไม่มีผลต่อคดี ยืนยันรับเงินเยียวยาไม่ใช่คดีอาญาจบ พร้อมเทียบคดีคนเสื้อแดงปี53 ถ้าญาติรับเงินก็จบด้วย
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 17 ตุลาคม ที่รัฐสภา นางสาว
พรรณิการ์ วานิช โฆษกกรรมาธิการวิสามัญสันติภาพชายแดนใต้ แถลงถึงมติของกมธ.ว่า ทราบกันดีว่าอีก 8 วันจะหมดอายุความคดีตากใบ และยังไม่สามารถติดตามผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดในคดีมาได้แม้แต่คนเดียว ทางกมธ.ประชุมมีความเห็นตรงกันว่าคดีนี้ จะเป็นหมุดหมายสำคัญโดยเฉพาะหากคดีหมดอายุความลงในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ ในขณะที่ยังไม่สามารถนำจำเลยในคดีมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คดีก็จะไม่ดำเนินต่อไปได้ มีหลายส่วนที่ให้ความกังวลทั้งส.ส.ในพื้นที่ที่ถูกคนพื้นที่สอบถามจับได้ไหม หรือฝ่ายเจรจาสันติภาพเองก็กังวล ซึ่งตนเพิ่งไปพบกับผู้อำนวยความสะดวกทางการเจรจาทางฝั่งมาเลเซีย โดยเขาก็ยืนยันว่าทางฝั่งประเทศโอไอซี องค์การความร่วมมือทางอิสลาม ให้ความสำคัญและจับตามอง และทุกคนทราบดีว่าคดีความกำลังจะหมดอายุวันที่ 25 ตุลาคมนี้ และมีแนวโน้มว่าจะหมดอายุความจริงๆ โดยไม่สามารถนำตัวผู้ถูกกล่าวหาเข้าสู่กระบวนการได้
ด้วยข้อกังวลนี้ทาง กมธ.จึงได้มีมติเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องคดีนี้มาหารือในวันที่ 24 ตุลาคมนี้ ทั้ง นาย
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม นาย
ฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) และ พล.ท.
ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 เพื่อหารือว่าหากคดีหมดอายุความจริง เราจะมีวิธีการรับมือสถานการณ์อย่างไร ทั้งในแง่การประคับประคองการเจรจาสันติภาพ ที่จะเริ่มมาครั้งใหม่ในสมัยรัฐบาลของนาย
เศรษฐา ทวีสิน และการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือจะมีการฉกฉวยเอาคดีนี้ไปเป็นข้ออ้างในการก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่
เมื่อถามถึงเรียกร้องที่พล.อ.
พิศาล วัฒนวงษ์คีรี ลาออกจากพรรคเพื่อไทยแต่ยังเป็นจำเลยคดีนี้อยู่ นางสาว
พรรณิการ์ กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวว่าเรื่องนี้มีความชัดเจนอยู่แล้วว่า สถานะความเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่เป็นนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องใดใดกับการดำเนินคดีทั้งสิ้น การลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคดีนี้ ดังนั้นการที่พล.อ.
พิศาลลาออกจากเพื่อไทย แต่ความเป็นจำเลยคดียังคงอยู่ อย่างไรก็ตามไม่อยากให้โฟกัสไปแค่จำเลยเพียงคนเดียว เพราะคดีนี้มีจำเลยถึง 1 คนที่เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือนระดับสูงทั้งสิ้น เป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ขณะนี้จะต้องแสดงเจตจำนงทางการเมืองที่มากพอในการนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้
ทั้งนี้หากการที่จะไม่สามารถนำตัวจำเลยมาดำเนินการได้สักคนตนเชื่อว่าจะกระทบอย่างมากต่อการเจรจาสันติภาพ จะถูกมองว่ารัฐบาลนี้มีความมุ่งมั่น หรือมีเจตจำนงทางการเมืองหรือไม่ ในทางต่อการเจรจาที่ได้เริ่มมาในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา จึงมองว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของรัฐบาลนี้ว่า 8 วันนี้รัฐบาลจะมีเจตจำนงทางการเมืองในการตามตัวจำเลย ซึ่งมี 2 คนที่อยู่ในต่างประเทศ กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นจะมีความพยายามเจรจากับผู้นำระเทศหรือไม่ และส่วนจำเลยที่อยู่ในไทยมีกระบวนการอื่นๆนอกเหนือจากกระบวนการข้าราชการปกติหรือไม่ ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามว่าหลายคนมีการได้รับการเยียวยาไปแล้ว คดีควรยุติหรือไม่ นางสาว
พรรณิการ์ กล่าวว่า ถามกลับว่าถ้ามีการจ่ายเงินเยียวยาไปแล้ว จึงไม่สามารถดำเนินคดีอาญาต่อได้ แล้วการที่มีการรับเงินเยียวยาของพี่น้องเสื้อแดงที่เสียชีวิตไปในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 และการที่มีการเรียกร้องให้ฟื้นคดีอาญามาแล้ว นำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม นั่นจะเป็นเรื่องหลอกลวงหรือไม่ เพราะเป็นกรณีเดียวกัน การที่เยียวยาไปในรัฐบาลนางสาว
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเรื่องดีตนขอชื่นชม เพราะเป็นการแสดงความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น แต่การรับเงินเยียวยานั้น ไม่ได้แปลว่ากระบวนการทางอาญาสิ้นสุดลง แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะให้ญาติผู้เสียชีวิตรับเงินเยียวยาแล้วเซ็นยินยอมว่าจะไม่มีการดำเนินการทางอาญาอีก ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าผิดหลักการสากลอย่างมาก เพราะตนยืนยันว่าคดีตากใบไม่มีญาติคนไหนรับเงินเยียวยาแล้วเซ็นยินยอมกับเรื่องดังกล่าว การจ่ายเงินเยียวยาเพียงอย่างเดียวไม่ได้นำมาซึ่งความปรองดองสมานฉันท์แท้จริง และไม่ได้หว่าความว่ารับเงินแล้วจบ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องกลับมาตั้งคำถามถึงการสลายการชุมนุมเสื้อแดงว่ารับเงินไปแล้วก็ต้องจบ.
ชัยธวัช หวัง รายงานนิรโทษกรรม ได้เสนอวันนี้ ชี้ มีข้อเสนอตรงกลาง คดี ม.112 ไม่มีเหตุผลต้องโหวตคว่ำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4850814
‘ชัยธวัช’ หวัง กมธ. นิรโทษกรรม ได้เสนอรายงานวันนี้ ชี้ หากชะลอไปอีกสังคมจะตกผลึกช้า ยัน มีข้อเสนอตรงกลาง รวมคดี ม.112 แบบมีเงื่อนไข เข้าใจความเห็นทุกฝ่าย มองไม่มีเหตุผลให้สภาต้องโหวตคว่ำ
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 17 ตุลาคม ที่รัฐสภา นาย
ชัยธวัช ตุลาธน อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า หวังว่าวันนี้กมธ.จะได้มีโอกาสนำเสนอรายงานผลการศึกษาต่อที่ประชุมสภา เพราะได้เตรียมพร้อมรอไว้แล้ว หวังว่าจะไม่มีวาระอะไรมาแทรก เมื่อวานนี้ (16 ต.ค.) ตนได้รับการยืนยันจากคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ว่าวันนี้จะมีการนำเสนอรายงานของ กมธ.แน่นอน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ ส.ส. ทุกฝ่ายจะได้รับฟังข้อเสนอที่เป็นความคิดเห็นจากทุกฝ่ายจริงๆ ไม่ใช่แค่ของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า ที่ผ่านมาเคยมีการเลื่อนพิจารณารายงานดังกล่าวมาแล้วถึง 2 ครั้ง เพื่อให้พรรคการเมืองต่างๆ พูดคุยกันให้ตกผลึกก่อน แต่เท่าที่ทราบในฝั่งพรรคฝ่ายค้านไม่ได้มีการนัดพูดคุยกันกับฝ่ายรัฐบาล แต่ฝ่ายรัฐบาลเองจะมีการพูดคุยอย่างไรก็ไม่ทราบ แต่ขอยืนยันอีกครั้งว่าการตกผลึกเรื่องนี้ควรจะเกิดขึ้นภายหลังจากฟังรายงานฉบับนี้ ในทางกลับกัน หากชะลอหรือเลื่อนการนำเสนอรายงานออกไปอีก ก็จะทำให้การตกผลึกของสังคมในเรื่องนี้ช้าออกไป
ส่วนในที่ประชุมจะต้องมีการลงมติหรือไม่หากมีความเห็นต่าง นาย
ชัยธวัช ระบุว่า รายงานของ กมธ.ไม่ได้มีบทสรุป แต่เป็นข้อเสนอที่รวมความเห็นจากทุกฝ่ายไว้ด้วยกันโดยที่ไม่ได้ตัดให้เหลือเพียงแนวทางใดแนวทางหนึ่ง และคาดหวังหลังเสนอรายงานแล้ว จะเป็นการฟังความเห็นของ ส.ส. และยังเป็นการได้รับฟังความเห็นของสังคม เพื่อให้เกิดการตกผลึก ก่อนนำไปสู่การนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของแต่ละพรรคการเมืองที่มีวาระเตรียมเสนอต่อที่ประชุมสภาฯ ไว้แล้ว
“
ผมยังหวังว่าสภาฯ น่าจะเห็นชอบกับรายงาน รวมถึงข้อสังเกตในการคลี่คลายความขัดแย้งเฉพาะหน้า ระหว่างที่ยังไม่มี พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งความจริงไม่มีเหตุที่จะต้องลงมติไม่เห็นชอบ เพราะไม่ใช่ข้อเสนอที่มีแนวความคิดเดียว แต่เป็นรายงานที่เป็นข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบายมากกว่า” นาย
ชัยธวัชกล่าว
ส่วรกรณีที่บางพรรคการเมืองที่มีจุดยืนชัดเจนว่า จะไม่สนับสนุนการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 นาย
ชัยธวัช ระบุว่า ในรายงานฉบับนี้ก็มีก็มีข้อเสนอที่ไม่นิรโทษกรรม มาตรา 112 ด้วย และมีการประเมินทั้งข้อดีข้อเสีย รวมถึงมีพื้นที่ตรงกลางอย่างมีนิรโทษกรรมมาตรา 112 แบบมีเงื่อนไข เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง ซึ่งสุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับการเสนอร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ของแต่ละฝ่ายอยู่ดี
นาย
ชัยธวัช กล่าวย้ำว่า หลังจากสภาได้พิจารณารายงานฉบับนี้แล้ว ยังมีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม รออยู่อีก 4 ฉบับ คือฉบับของอดีตพรรคก้าวไกล ฉบับที่พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคครูไทยเพื่อประชาชน เสนอร่วมกัน ฉบับของพรรครวมไทยสร้างชาติ และฉบับของภาคประชาชน ส่วนตัวในฐานะกมธ. เห็นและเข้าใจความกังวลของพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึงฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วยบ้างในบางคดี จึงนำมาสู่ข้อเสนอทางเลือกที่ 3 ให้มีพื้นที่ตรงกลาง ให้มีกลไกพิจารณาการนิรโทษกรรมเป็นรายคดีไป
“
ผมเองเห็นว่าข้อเสนอนี้น่าจะเป็นข้อเสนอที่ดี ในแง่ที่เข้าใจทั้งสองฝ่าย ดังนั้น กลไกในการพิจารณาแบบมีเงื่อนไข น่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้สร้างความเชื่อใจซึ่งกันและกันได้มากขึ้น รวมถึงมีเงื่อนไขที่ทำให้ยอมรับกันได้ ส่วนตัวจึงมองว่าเป็นข้อเสนอที่ดีในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน” นาย
ชัยธวัชกล่าว
องค์กรแรงงานระดับโลกระบุบริษัทผลิตรถบัสไฟฟ้าในไทยละเมิดสิทธิแรงงาน
https://prachatai.com/journal/2024/10/111079
สหภาพแรงงาน IndustriALL Global Union เรียกร้องรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์แทรกแซง หลังพบการละเมิดสิทธิแรงงานที่โรงงานผลิตรถบัสไฟฟ้าในไทยภายใต้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสวิตเซอร์แลนด์ตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
19 ต.ค. 2567 สหภาพแรงงาน IndustriALL Global Union เรียกร้องให้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนที่บริษัท Absolute Assembly ในประเทศไทย หลังจากที่สถานการณ์ด้านสิทธิแรงงานยังคงเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง
IndustriALL Global Union ระบุว่า บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด (Absolute Assembly) ในกรุงเทพฯ ซึ่งผลิตรถบัสไฟฟ้าภายใต้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสวิตเซอร์แลนด์ตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิแรงงานหลายประการ รวมถึง:
1. ปฏิเสธการเจรจาต่อรองร่วมกับสหภาพแรงงาน EMUT
2. แทรกแซงกิจการภายในของสหภาพแรงงาน
3. เลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงาน 2 คน
แม้ว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีภายใต้กระทรวงแรงงาน จะมีคำสั่งให้บริษัทรับผู้นำสหภาพแรงงานกลับเข้าทำงาน แต่บริษัทก็ยังคงไม่ปฏิบัติตาม จนในที่สุดแรงงานจำต้องยอมรับข้อตกลงเนื่องจากปัญหาทางการเงิน
อัตเล่ เฮอเย่ (Atle Høie) เลขาธิการ IndustriALL กล่าวว่า "
Absolute Assembly กำลังทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายสหภาพแรงงาน พวกเขาปฏิเสธที่จะยอมรับสหภาพแรงงานและไม่สนใจข้อเรียกร้องอันชอบธรรมของคนทำงานเกี่ยวกับค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ และโบนัส"
IndustriALL เรียกร้องให้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์และมูลนิธิ Klik ซึ่งบริหารโครงการนี้ เข้าแทรกแซงโดยทันทีและรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิสหภาพแรงงานอย่างร้ายแรงนี้
ภายใต้ข้อตกลงปารีส สวิตเซอร์แลนด์ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 50% เทียบกับระดับปี 2533 ภายในปี 2573 โดยตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซถึง 12.5% ผ่านการสนับสนุนทางการเงินให้กับกิจกรรมลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับหลักการ Just Transition ซึ่งหมายถึงการสร้างงานที่มีคุณค่าและมีสภาพการทำงานที่เป็นธรรม
ที่มา :
Thai employer continues to violate workers’ rights under Swiss programme (IndustriALL Global Union, 11 October 2024)
JJNY : กมธ.มีมติเรียก ภูมิธรรม-เลขาฯสมช.│ชัยธวัชชี้มีข้อเสนอตรงกลาง│ไทยละเมิดสิทธิแรงงาน│ฝีมือมนุษย์ วัฏจักรน้ำเสียสมดุล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4850708
กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ มีมติเรียก “ภูมิธรรม-เลขาฯสมช.-แม่ทัพภาคที่4” หารือแนวทางปมตากใบถ้าหมดอายุความจริง กันผู้ฉวยโอกาสก่อวุ่นในใต้ “ช่อ” ชี้“พิศาล”จากเพื่อไทยไม่มีผลต่อคดี ยืนยันรับเงินเยียวยาไม่ใช่คดีอาญาจบ พร้อมเทียบคดีคนเสื้อแดงปี53 ถ้าญาติรับเงินก็จบด้วย
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 17 ตุลาคม ที่รัฐสภา นางสาวพรรณิการ์ วานิช โฆษกกรรมาธิการวิสามัญสันติภาพชายแดนใต้ แถลงถึงมติของกมธ.ว่า ทราบกันดีว่าอีก 8 วันจะหมดอายุความคดีตากใบ และยังไม่สามารถติดตามผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดในคดีมาได้แม้แต่คนเดียว ทางกมธ.ประชุมมีความเห็นตรงกันว่าคดีนี้ จะเป็นหมุดหมายสำคัญโดยเฉพาะหากคดีหมดอายุความลงในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ ในขณะที่ยังไม่สามารถนำจำเลยในคดีมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คดีก็จะไม่ดำเนินต่อไปได้ มีหลายส่วนที่ให้ความกังวลทั้งส.ส.ในพื้นที่ที่ถูกคนพื้นที่สอบถามจับได้ไหม หรือฝ่ายเจรจาสันติภาพเองก็กังวล ซึ่งตนเพิ่งไปพบกับผู้อำนวยความสะดวกทางการเจรจาทางฝั่งมาเลเซีย โดยเขาก็ยืนยันว่าทางฝั่งประเทศโอไอซี องค์การความร่วมมือทางอิสลาม ให้ความสำคัญและจับตามอง และทุกคนทราบดีว่าคดีความกำลังจะหมดอายุวันที่ 25 ตุลาคมนี้ และมีแนวโน้มว่าจะหมดอายุความจริงๆ โดยไม่สามารถนำตัวผู้ถูกกล่าวหาเข้าสู่กระบวนการได้
ด้วยข้อกังวลนี้ทาง กมธ.จึงได้มีมติเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องคดีนี้มาหารือในวันที่ 24 ตุลาคมนี้ ทั้ง นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม นายฉัตรชัย บางชวด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) และ พล.ท.ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 เพื่อหารือว่าหากคดีหมดอายุความจริง เราจะมีวิธีการรับมือสถานการณ์อย่างไร ทั้งในแง่การประคับประคองการเจรจาสันติภาพ ที่จะเริ่มมาครั้งใหม่ในสมัยรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน และการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือจะมีการฉกฉวยเอาคดีนี้ไปเป็นข้ออ้างในการก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่
เมื่อถามถึงเรียกร้องที่พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี ลาออกจากพรรคเพื่อไทยแต่ยังเป็นจำเลยคดีนี้อยู่ นางสาวพรรณิการ์ กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวว่าเรื่องนี้มีความชัดเจนอยู่แล้วว่า สถานะความเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่เป็นนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องใดใดกับการดำเนินคดีทั้งสิ้น การลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคดีนี้ ดังนั้นการที่พล.อ.พิศาลลาออกจากเพื่อไทย แต่ความเป็นจำเลยคดียังคงอยู่ อย่างไรก็ตามไม่อยากให้โฟกัสไปแค่จำเลยเพียงคนเดียว เพราะคดีนี้มีจำเลยถึง 1 คนที่เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือนระดับสูงทั้งสิ้น เป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ขณะนี้จะต้องแสดงเจตจำนงทางการเมืองที่มากพอในการนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้
ทั้งนี้หากการที่จะไม่สามารถนำตัวจำเลยมาดำเนินการได้สักคนตนเชื่อว่าจะกระทบอย่างมากต่อการเจรจาสันติภาพ จะถูกมองว่ารัฐบาลนี้มีความมุ่งมั่น หรือมีเจตจำนงทางการเมืองหรือไม่ ในทางต่อการเจรจาที่ได้เริ่มมาในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา จึงมองว่าเป็นโอกาสสุดท้ายของรัฐบาลนี้ว่า 8 วันนี้รัฐบาลจะมีเจตจำนงทางการเมืองในการตามตัวจำเลย ซึ่งมี 2 คนที่อยู่ในต่างประเทศ กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นจะมีความพยายามเจรจากับผู้นำระเทศหรือไม่ และส่วนจำเลยที่อยู่ในไทยมีกระบวนการอื่นๆนอกเหนือจากกระบวนการข้าราชการปกติหรือไม่ ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามว่าหลายคนมีการได้รับการเยียวยาไปแล้ว คดีควรยุติหรือไม่ นางสาวพรรณิการ์ กล่าวว่า ถามกลับว่าถ้ามีการจ่ายเงินเยียวยาไปแล้ว จึงไม่สามารถดำเนินคดีอาญาต่อได้ แล้วการที่มีการรับเงินเยียวยาของพี่น้องเสื้อแดงที่เสียชีวิตไปในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 และการที่มีการเรียกร้องให้ฟื้นคดีอาญามาแล้ว นำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม นั่นจะเป็นเรื่องหลอกลวงหรือไม่ เพราะเป็นกรณีเดียวกัน การที่เยียวยาไปในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเรื่องดีตนขอชื่นชม เพราะเป็นการแสดงความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น แต่การรับเงินเยียวยานั้น ไม่ได้แปลว่ากระบวนการทางอาญาสิ้นสุดลง แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะให้ญาติผู้เสียชีวิตรับเงินเยียวยาแล้วเซ็นยินยอมว่าจะไม่มีการดำเนินการทางอาญาอีก ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าผิดหลักการสากลอย่างมาก เพราะตนยืนยันว่าคดีตากใบไม่มีญาติคนไหนรับเงินเยียวยาแล้วเซ็นยินยอมกับเรื่องดังกล่าว การจ่ายเงินเยียวยาเพียงอย่างเดียวไม่ได้นำมาซึ่งความปรองดองสมานฉันท์แท้จริง และไม่ได้หว่าความว่ารับเงินแล้วจบ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องกลับมาตั้งคำถามถึงการสลายการชุมนุมเสื้อแดงว่ารับเงินไปแล้วก็ต้องจบ.
ชัยธวัช หวัง รายงานนิรโทษกรรม ได้เสนอวันนี้ ชี้ มีข้อเสนอตรงกลาง คดี ม.112 ไม่มีเหตุผลต้องโหวตคว่ำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4850814
‘ชัยธวัช’ หวัง กมธ. นิรโทษกรรม ได้เสนอรายงานวันนี้ ชี้ หากชะลอไปอีกสังคมจะตกผลึกช้า ยัน มีข้อเสนอตรงกลาง รวมคดี ม.112 แบบมีเงื่อนไข เข้าใจความเห็นทุกฝ่าย มองไม่มีเหตุผลให้สภาต้องโหวตคว่ำ
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 17 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า หวังว่าวันนี้กมธ.จะได้มีโอกาสนำเสนอรายงานผลการศึกษาต่อที่ประชุมสภา เพราะได้เตรียมพร้อมรอไว้แล้ว หวังว่าจะไม่มีวาระอะไรมาแทรก เมื่อวานนี้ (16 ต.ค.) ตนได้รับการยืนยันจากคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ว่าวันนี้จะมีการนำเสนอรายงานของ กมธ.แน่นอน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ ส.ส. ทุกฝ่ายจะได้รับฟังข้อเสนอที่เป็นความคิดเห็นจากทุกฝ่ายจริงๆ ไม่ใช่แค่ของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
นายชัยธวัช กล่าวว่า ที่ผ่านมาเคยมีการเลื่อนพิจารณารายงานดังกล่าวมาแล้วถึง 2 ครั้ง เพื่อให้พรรคการเมืองต่างๆ พูดคุยกันให้ตกผลึกก่อน แต่เท่าที่ทราบในฝั่งพรรคฝ่ายค้านไม่ได้มีการนัดพูดคุยกันกับฝ่ายรัฐบาล แต่ฝ่ายรัฐบาลเองจะมีการพูดคุยอย่างไรก็ไม่ทราบ แต่ขอยืนยันอีกครั้งว่าการตกผลึกเรื่องนี้ควรจะเกิดขึ้นภายหลังจากฟังรายงานฉบับนี้ ในทางกลับกัน หากชะลอหรือเลื่อนการนำเสนอรายงานออกไปอีก ก็จะทำให้การตกผลึกของสังคมในเรื่องนี้ช้าออกไป
ส่วนในที่ประชุมจะต้องมีการลงมติหรือไม่หากมีความเห็นต่าง นายชัยธวัช ระบุว่า รายงานของ กมธ.ไม่ได้มีบทสรุป แต่เป็นข้อเสนอที่รวมความเห็นจากทุกฝ่ายไว้ด้วยกันโดยที่ไม่ได้ตัดให้เหลือเพียงแนวทางใดแนวทางหนึ่ง และคาดหวังหลังเสนอรายงานแล้ว จะเป็นการฟังความเห็นของ ส.ส. และยังเป็นการได้รับฟังความเห็นของสังคม เพื่อให้เกิดการตกผลึก ก่อนนำไปสู่การนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของแต่ละพรรคการเมืองที่มีวาระเตรียมเสนอต่อที่ประชุมสภาฯ ไว้แล้ว
“ผมยังหวังว่าสภาฯ น่าจะเห็นชอบกับรายงาน รวมถึงข้อสังเกตในการคลี่คลายความขัดแย้งเฉพาะหน้า ระหว่างที่ยังไม่มี พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งความจริงไม่มีเหตุที่จะต้องลงมติไม่เห็นชอบ เพราะไม่ใช่ข้อเสนอที่มีแนวความคิดเดียว แต่เป็นรายงานที่เป็นข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบายมากกว่า” นายชัยธวัชกล่าว
ส่วรกรณีที่บางพรรคการเมืองที่มีจุดยืนชัดเจนว่า จะไม่สนับสนุนการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 นายชัยธวัช ระบุว่า ในรายงานฉบับนี้ก็มีก็มีข้อเสนอที่ไม่นิรโทษกรรม มาตรา 112 ด้วย และมีการประเมินทั้งข้อดีข้อเสีย รวมถึงมีพื้นที่ตรงกลางอย่างมีนิรโทษกรรมมาตรา 112 แบบมีเงื่อนไข เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง ซึ่งสุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับการเสนอร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ของแต่ละฝ่ายอยู่ดี
นายชัยธวัช กล่าวย้ำว่า หลังจากสภาได้พิจารณารายงานฉบับนี้แล้ว ยังมีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม รออยู่อีก 4 ฉบับ คือฉบับของอดีตพรรคก้าวไกล ฉบับที่พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคครูไทยเพื่อประชาชน เสนอร่วมกัน ฉบับของพรรครวมไทยสร้างชาติ และฉบับของภาคประชาชน ส่วนตัวในฐานะกมธ. เห็นและเข้าใจความกังวลของพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึงฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วยบ้างในบางคดี จึงนำมาสู่ข้อเสนอทางเลือกที่ 3 ให้มีพื้นที่ตรงกลาง ให้มีกลไกพิจารณาการนิรโทษกรรมเป็นรายคดีไป
“ผมเองเห็นว่าข้อเสนอนี้น่าจะเป็นข้อเสนอที่ดี ในแง่ที่เข้าใจทั้งสองฝ่าย ดังนั้น กลไกในการพิจารณาแบบมีเงื่อนไข น่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้สร้างความเชื่อใจซึ่งกันและกันได้มากขึ้น รวมถึงมีเงื่อนไขที่ทำให้ยอมรับกันได้ ส่วนตัวจึงมองว่าเป็นข้อเสนอที่ดีในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน” นายชัยธวัชกล่าว
องค์กรแรงงานระดับโลกระบุบริษัทผลิตรถบัสไฟฟ้าในไทยละเมิดสิทธิแรงงาน
https://prachatai.com/journal/2024/10/111079
สหภาพแรงงาน IndustriALL Global Union เรียกร้องรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์แทรกแซง หลังพบการละเมิดสิทธิแรงงานที่โรงงานผลิตรถบัสไฟฟ้าในไทยภายใต้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสวิตเซอร์แลนด์ตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
19 ต.ค. 2567 สหภาพแรงงาน IndustriALL Global Union เรียกร้องให้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนที่บริษัท Absolute Assembly ในประเทศไทย หลังจากที่สถานการณ์ด้านสิทธิแรงงานยังคงเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง
IndustriALL Global Union ระบุว่า บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด (Absolute Assembly) ในกรุงเทพฯ ซึ่งผลิตรถบัสไฟฟ้าภายใต้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสวิตเซอร์แลนด์ตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิแรงงานหลายประการ รวมถึง:
1. ปฏิเสธการเจรจาต่อรองร่วมกับสหภาพแรงงาน EMUT
2. แทรกแซงกิจการภายในของสหภาพแรงงาน
3. เลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงาน 2 คน
แม้ว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีภายใต้กระทรวงแรงงาน จะมีคำสั่งให้บริษัทรับผู้นำสหภาพแรงงานกลับเข้าทำงาน แต่บริษัทก็ยังคงไม่ปฏิบัติตาม จนในที่สุดแรงงานจำต้องยอมรับข้อตกลงเนื่องจากปัญหาทางการเงิน
อัตเล่ เฮอเย่ (Atle Høie) เลขาธิการ IndustriALL กล่าวว่า "Absolute Assembly กำลังทำทุกวิถีทางเพื่อทำลายสหภาพแรงงาน พวกเขาปฏิเสธที่จะยอมรับสหภาพแรงงานและไม่สนใจข้อเรียกร้องอันชอบธรรมของคนทำงานเกี่ยวกับค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ และโบนัส"
IndustriALL เรียกร้องให้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์และมูลนิธิ Klik ซึ่งบริหารโครงการนี้ เข้าแทรกแซงโดยทันทีและรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิสหภาพแรงงานอย่างร้ายแรงนี้
ภายใต้ข้อตกลงปารีส สวิตเซอร์แลนด์ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 50% เทียบกับระดับปี 2533 ภายในปี 2573 โดยตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซถึง 12.5% ผ่านการสนับสนุนทางการเงินให้กับกิจกรรมลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับหลักการ Just Transition ซึ่งหมายถึงการสร้างงานที่มีคุณค่าและมีสภาพการทำงานที่เป็นธรรม
ที่มา :
Thai employer continues to violate workers’ rights under Swiss programme (IndustriALL Global Union, 11 October 2024)