เพราะกำลังเห็นเพียงนิมิตของสิ่งที่เกิดดับ
ถ้าเราค่อยๆ ประจักษ์แจ้งความจริงเช่นนี้จนปัญญาคมกล้าขึ้นเรื่อยๆ จึงจะหมดการยึดถือว่าเป็นตัวตนของตน ทุกข์ก็จะลดน้อยลงจนถึงดับสนิทเป็นสมุจเฉท
เหมือนเช่น เราดูละครหรือหนังทางทีวีดิจิตอล ภาพที่ปรากฏบนจอทีวี ก็เป็นเพียงการเกิดดับสลับกันของสีที่ถูกสร้างบนจออย่างรวดเร็วแสนเร็วสุดประมาณ กลายเป็นตัวละคร บุคคล เรื่องราว ทำให้เราหัวเราะ สนุกสนาน ร้องไห้ ซึ้ง โกรธจนถึงขนาดอยากจะเอาทุเรียนไปปาหน้าตัวละคร ฯลฯ
เพราะเราหลงเข้าใจว่า เรื่องราวบนจอทีวี มีตัวตน มีบุคคล จึงเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความจริง
แต่เมื่อรู้ความจริงว่า ไม่มีอะไรเลย เป็นเพียงสิ่งที่เกิดดับๆๆๆๆๆ "สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนย่อมดับไปเป็นธรรมดา" ก็หมดอุปาทานความยึดมั่น เลิกอินไปละครหรือหนังที่ปรากฏในทีวี เพราะเพียงแค่ปิดทีวี ภาพทั้งหมดก็หายไป
ในชีวิตจริง ก็เช่นกัน ถ้าเราเข้าใจจนประจักษ์แจ้งความจริงเช่นนี้ ว่าสิ่งที่เห็น ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏเพียงชั่วขณะอันแสนสั้น แล้วดับไปทันที แต่เพราะการเกิดต่อโดยสันตติ คือสืบต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วแสนประมาณ จึงทำให้เห็นเป็นรูปพรรณสัณฐานของคน สัตว์ สิ่งของ ที่ในพระไตรปิฎก เรียกว่านิมิต และอนุพยัญชนะ เท่านั้น แต่แท้จริง ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล มีแต่เพียงรูปธรรมและนามธรรมที่กำลังเกิดดับเพราะเหตุปัจจัย
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=238&items=1
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
[๒๓๘] ปธาน ๔ อย่าง
๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง]
๒. ปหานปธาน [เพียรละ]
๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ]
๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้
อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์
ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมโสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม
ในโสตินทรีย์ ฯ
ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม
ในฆานินทรีย์ ฯ
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน
ชิวหินทรีย์ ฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม-
*อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึง
ความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ
รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน
ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความ
สำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังวรปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย
บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้
ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ
ไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย
บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหาน-
*ปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย
ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ
อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความสงัด อาศัย
ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ-
*สัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อัน
น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย
ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ-
*สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ
อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด
อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คือ
อัฏฐิกสัญญา ปุฬุวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา
ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ฯ
_______________________________
คำอธิบายที่ลึกซึ้งของนิมิตและอนุพยัญชนะแบบในคลิปนี้ ในปัจจุบัน ไม่มีที่ไหนสอนให้เข้าใจแบบนี้แล้ว มีแต่สอนเรื่องนิมิตที่ไปนั่งหลับตาเห็นเท่านั้น แต่นิมิตในชีวิตจริงที่สอนตามพระไตรปิฎกเช่นนี้ ไม่มีที่ไหนสอนเช่นนี้แล้ว หรือถ้าใครมี ก็รบกวนช่วยกรุณาลงคลิปให้ด้วยครับ จะขอบพระคุณยิ่ง
ถ้ารูป เช่น สีที่ปรากฏทางตา มีอายุเท่ากับการเกิดดับของจิต 17 ขณะ แล้วจะมีคน สัตว์ บุคคล สิ่งของ ได้อย่างไร
ถ้าเราค่อยๆ ประจักษ์แจ้งความจริงเช่นนี้จนปัญญาคมกล้าขึ้นเรื่อยๆ จึงจะหมดการยึดถือว่าเป็นตัวตนของตน ทุกข์ก็จะลดน้อยลงจนถึงดับสนิทเป็นสมุจเฉท
เหมือนเช่น เราดูละครหรือหนังทางทีวีดิจิตอล ภาพที่ปรากฏบนจอทีวี ก็เป็นเพียงการเกิดดับสลับกันของสีที่ถูกสร้างบนจออย่างรวดเร็วแสนเร็วสุดประมาณ กลายเป็นตัวละคร บุคคล เรื่องราว ทำให้เราหัวเราะ สนุกสนาน ร้องไห้ ซึ้ง โกรธจนถึงขนาดอยากจะเอาทุเรียนไปปาหน้าตัวละคร ฯลฯ
เพราะเราหลงเข้าใจว่า เรื่องราวบนจอทีวี มีตัวตน มีบุคคล จึงเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความจริง
แต่เมื่อรู้ความจริงว่า ไม่มีอะไรเลย เป็นเพียงสิ่งที่เกิดดับๆๆๆๆๆ "สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนย่อมดับไปเป็นธรรมดา" ก็หมดอุปาทานความยึดมั่น เลิกอินไปละครหรือหนังที่ปรากฏในทีวี เพราะเพียงแค่ปิดทีวี ภาพทั้งหมดก็หายไป
ในชีวิตจริง ก็เช่นกัน ถ้าเราเข้าใจจนประจักษ์แจ้งความจริงเช่นนี้ ว่าสิ่งที่เห็น ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏเพียงชั่วขณะอันแสนสั้น แล้วดับไปทันที แต่เพราะการเกิดต่อโดยสันตติ คือสืบต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วแสนประมาณ จึงทำให้เห็นเป็นรูปพรรณสัณฐานของคน สัตว์ สิ่งของ ที่ในพระไตรปิฎก เรียกว่านิมิต และอนุพยัญชนะ เท่านั้น แต่แท้จริง ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล มีแต่เพียงรูปธรรมและนามธรรมที่กำลังเกิดดับเพราะเหตุปัจจัย
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=238&items=1
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
[๒๓๘] ปธาน ๔ อย่าง
๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง]
๒. ปหานปธาน [เพียรละ]
๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ]
๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้
อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์
ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมโสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม
ในโสตินทรีย์ ฯ
ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม
ในฆานินทรีย์ ฯ
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน
ชิวหินทรีย์ ฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม-
*อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึง
ความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ
รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน
ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความ
สำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังวรปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย
บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ย่อมไม่รับไว้
ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ
ไม่มี ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย
บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหาน-
*ปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย
ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ
อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความสงัด อาศัย
ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ-
*สัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อัน
น้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัย
ความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญปีติ-
*สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ
อันน้อมไปเพื่อความสละลง ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด
อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว คือ
อัฏฐิกสัญญา ปุฬุวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา
ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ฯ
_______________________________
คำอธิบายที่ลึกซึ้งของนิมิตและอนุพยัญชนะแบบในคลิปนี้ ในปัจจุบัน ไม่มีที่ไหนสอนให้เข้าใจแบบนี้แล้ว มีแต่สอนเรื่องนิมิตที่ไปนั่งหลับตาเห็นเท่านั้น แต่นิมิตในชีวิตจริงที่สอนตามพระไตรปิฎกเช่นนี้ ไม่มีที่ไหนสอนเช่นนี้แล้ว หรือถ้าใครมี ก็รบกวนช่วยกรุณาลงคลิปให้ด้วยครับ จะขอบพระคุณยิ่ง