จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ใครควบคุมจิตนี้ได้ ย่อมพ้นจากบ่วงมาร

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระสังฆรักขิตเถระ ดังนี้)
             [๓๗] คนเหล่าใดสำรวมจิต ที่เที่ยวไปไกล๑- เที่ยวไปดวงเดียว-ไม่มีรูปร่าง๓- อาศัยอยู่ในถ้ำ๔-คนเหล่านั้นจักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร๕-

(“จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ใครควบคุมจิตนี้ได้ ย่อมพ้นจากบ่วงมาร”)

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้อีกว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลิงเที่ยวไปในป่า ในไพร จับกิ่งไม้ ... บุคคลก้าวไปด้วยจิตใด ก็ถอยกลับด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ”


คั ม ภี ร์ อ ภิ ธั ม มั ต ถ สั ง ค ห ะ
พระนิพนธ์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) กรุงเทพมหานคร

“จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปกติจิตก็มีดวงเดียว จิตจะเป็นต่างๆ ก็เพราะมีเจตสิก แปลว่ามีธรรมที่มีในใจ

มีเจตสิกอย่างไร จิตก็เป็นอย่างนั้นเจตสิกเป็นสิ่งที่ผสมอยู่ในจิต เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ น้ำโดยปกติก็เป็นอย่างเดียวแต่เมื่อใส่สีลงไปในน้ำจึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้

ฉะนั้น พระอภิรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวงก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง ยกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นดวงเดียวท่านั้น แจกออกไปเป็นอย่างไรมิได้

แต่ว่าทั้งจิตและเจตสิกก็อาศัยอยู่กับรูป รูปที่อาศัยของจิตและเจตสิก จะเทียบก็เหมือนอย่างว่าน้ำที่อาศัยอยู่ในขวดน้ำ ถ้าหากว่ารูปตกทำลาย จิตก็สิ้นที่อาศัยเหมือนอย่างว่าขวดน้ำแตก น้ำก็หมดที่อาศัย และนิพพานนั้นก็เป็นธรรมที่สุดในเมื่อจิตได้ปฏิบัติจิตสูงขึ้นโดยลำดับ”
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่