ต้นเหตุแห่งความหลง คือ หลงว่าจิตเป็น วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ 5

ต้นเหตุแห่งความหลง คือ การอ่านตำราไม่ยอมปฏิบัติให้รู้เห็นจิตจริงๆ จึงไปหลงว่าจิต คือ วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ 5 หลงว่าจิต คือ ขันธ์ 5 ทั้งๆที่ สมเด็จญาณ สมเด็จพระสังฆราชและท่านเจ้าพระคุณ ป.ปยุตโต ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฏกระดับประเทศ กล่าวชัดเจนว่า

วิญญาณขันธ์ คือ อาการรู้ของจิตที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส ผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่จิต เป็นเพียงอาการหรือกริยาของจิต หรือทางภาษาพระวัดป่า เรียกว่า ตัวรู้หรือผู้รู้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ทางสายวัดป่าสอนให้เมื่อเจอผู้รู้ หรือตัวรู้ หรือ วิญญาณขันธ์ ให้ทำลายผู้รู้นี่ทิ้งซะ เพื่อความหลุดพ้นแห่งจิต

กล่าว คือ เมื่อจิตปล่อยรู้เพียงตัวเดียว สังโยชน์สิบจะไม่มีปัญหาอีกต่อไป เมื่อปล่อยรู้ได้ ก็ละสังโยชน์ได้ทั้งหมด ผู้รู้นี่แหละ คือ อวิชชา กิเลสตัวใหญ่ ฉะนั้นต้องปล่อยรู้ คือ ปล่อยอวิชชานั่นเอง

สำหรับผู้ที่ข้ามโครตภูญาณได้ คือ ผู้ที่ตื่นรู้ พบความจริงว่า ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และวัฏสงสารนี้เป็นสิ่งสมมุติ เป็นสิ่งจำลองที่สร้างขึ้นจากธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  และยังมีธาตุที่ 5 คือ ธาตุรู้หรือจิต ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย

ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดจากการปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตที่มีอวิชชาทั้งสิ้น แท้จริงมีแต่ความว่างไร้สมมุติบัญญัติและจิตผ่องใส เป็นประภัสสรจะต้องแยกจิตออกจากขันธ์ 5 ให้ได้จะข้ามโครตได้ต้องปฏิบัติจนถึงจุดนี้เท่านั้น

ลุงหวีด บัวเผื่อน ฆราวาสผู้บรรลุธรรม กล่าวไว้ว่า
“จิตเป็นของถาวร
ที่ไม่รู้จักดับจักสูญจักสิ้น....เป็นอมตะ
เมื่อเราไม่พบจิต ก็คือ
ความหลงที่เราจะต้องเวียนเกิดเวียนตายอีก
ไม่มีประมาณ แต่เมื่อเราพบจิต
ภพทั้งหลายมันสั้นลงแล้ว”


สัสสตทิฏฐิ พระพุทธเจ้า ท่านหมายถึง ยึดเอาขันธ์ 5 เที่ยงไม่สูญ ไม่ได้พูดถึง จิต ที่เป็นธาตุรู้ เฉกเช่น ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ความว่าง เป็นธาตุพื้นฐานที่ไม่เกิด ไม่สูญ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค


๙. สัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกเที่ยง
             [๒๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง”
             ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
             “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
             เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
             เมื่อมีสัญญา ...
             เมื่อมีสังขาร ...

เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
             ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
             “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
             “ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
             “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
             “ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง’'
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
             “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
             “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
             “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
             “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
             “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
             “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่