ปัจจุบันภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ทุกคนให้ความสำคัญ เพราะนับวันอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร เดิมมีฤดูร้อนเป็นหลักอยู่แล้ว
เมื่อมีภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทำให้สภาพอากาศของประเทศร้อนจัดเพิ่มขึ้น
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ ร้อนนี้ระวัง...โรคลมแดด
โรคลมแดด โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะมีการรักษาความสมดุลของอุณหภูมิระหว่างความร้อนจากร่างกายและสภาพแวดล้อม
โดยอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 36 ถึง 37.5 องศาเซลเซียสตลอดทั้งวัน
ทั้งนี้การระบายเหงื่อถือเป็นกลไกสำคัญในการลดความร้อนที่มากเกินไป
โรคลมแดดเกิดจากความล้มเหลวในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
โรคลมแดดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก
โรคลมแดดประเภทนี้เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป
พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังซึ่งทำให้ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและการขาดน้ำได้
โรคลมแดดประเภทนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับคนในทุกๆ วัย โดยเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด
หรือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
2) โรคลมแดดที่เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก เช่น การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป มักเกิดขึ้นกับคนอายุน้อย
นักกีฬา และทหารเกณฑ์ที่ฝึกหนักในอากาศร้อนจัดและสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง
ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากความร้อน
มีภาวะบวมจากความร้อน ในส่วนของเท้ากับข้อเท้า แต่ถ้าเราลดอุณหภูมิและหลีกเลี่ยงความร้อนได้
อาการเหล่านี้ก็จะยุบลง หรือบางทีจะหายไปเอง เป็นผื่นที่เกิดจากความร้อน หรือผื่นแดด มีลักษณะเป็นผื่นแดง คัน
มีตุ่มแดงๆขึ้นตามร่างกาย ในลักษณะคล้ายการเป็นผด ซึ่งแก้ด้วยการใส่เสื้อผ้าที่บางเบาเพื่อคลายความร้อน
ตะคริวแดด คือเมื่อความร้อนสูงขึ้นก็จะเกิดการเป็นตะคริว โดยเฉพาะบริเวณน่อง
ซึ่งปกติจะเจอในกลุ่มคนที่ออกกำลังกาย แต่คนไข้ที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็สามารถเป็นได้เช่นกัน
เป็นผลมาจากการสูญเสียเกลือแร่ แก้ด้วยการทานน้ำเกลือแร่ชดเชยในกรณีที่อาการไม่เยอะ แต่ถ้าอาการหนักขึ้น ควรพบแพทย์
เพลียแดด จะเริ่มมีอาการเยอะขึ้น มีการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เวียนหัว ท้องเสีย อาจมีการหน้ามืด ใจสั่น
ความดันโลหิตสูง แก้ได้โดยทานน้ำเกลือแร่ ลมแดด เป็นภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายเกิน 40 องศา
ร่วมกับอาการทางระบบประสาท โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก เช่น ซึม สับสน หรือบางทีอาจจะถึงขั้นชักและหมดสติได้
การป้องกัน
เมื่อรู้ตัวว่าต้องอยู่ในที่อุณหภูมิสูง ควรสวมใส่เสื้อผ้า ระบายลมได้ง่าย หรือ ป้องกันแสงแดด
เช่น เสื้อที่มี UV Cut เพื่อช่วยในการตัดแสงแดด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เป็นส่วนประกอบ เพราะเพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และเกลือแร่มากขึ้น
ป้องกันตัวเองจากแสงแดด ด้วยการทาครีมกันแดด และ อุปกรณ์ป้องกันแสง
จิบน้ำเป็นระยะ หากร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อเหงื่อออกจะขับออกได้ปกติตามกลไกธรรมชาติ
การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน จึงดีต่อสุขภาพ และช่วยป้องกันการเป็นลมอีกด้วย
ในที่อากาศร้อนและถ่ายเทไม่สะดวก ควรเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือออกแรงหนัก ๆ
อย่าทำงานที่ใช้กำลังมาก ในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน ควรเลือกทำงานหนักตอนเช้าหรือตอนเย็น เมื่ออุณหภูมิเย็นลง
จะได้ช่วยรักษาความร้อนสะสมในร่างกายให้ปกติ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีแดดจัด และนั่งในรถยนต์ที่จอดไว้กลางแดด
เพราะแม้เปิดกระจกทิ้งไว้หรือจอดรถยนต์ในที่ร่ม อุณหภูมิในรถยนต์ก็สามารถร้อนจัดขึ้นอย่างรวดเร็ว
การรักษาโรคลมแดด
แพทย์จะทำการลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยเพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดต่อสมองและอวัยวะสําคัญ
การแช่น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิและลดความเสี่ยงที่อวัยวะจะได้รับความเสียหายหรือเสียชีวิต
เทคนิคการระบายความร้อนลดอุณหภูมิ ด้วยการพ่นละอองน้ำเย็นลงบนร่างกายขณะที่เป่าลมจากพัดลม
เพื่อทำให้เกิดการระเหยที่เร็วขึ้นและทำให้ผิวเย็นลง
การใช้ผ้าห่อน้ำแข็งห่มตัวและประคบน้ำแข็งลงบนคอ หลัง รักแร้ และขาหนีบ
แพทย์อาจให้รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้ผู้ป่วยหยุดสั่นจากการลดอุณหภูมิร่างกายโดยวิธีข้างต้น
เพราะการที่ร่างกายสั่นจะทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้การรักษาที่ทำไปแล้วนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร
การรักษาตัวเองที่บ้าน
หากเป็นลมแดด ควรโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน ควรโทรติดต่อเบอร์ฉุกเฉิน 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลและกู้ภัย
ระหว่างรอความช่วยเหลือนั้น ผู้ป่วยไม่ควรดื่มน้ำ
หากเริ่มมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายตัวจากอากาศร้อน ซึ่งยังไม่นับเป็นภาวะฉุกเฉิน
ควรพยายามลดอุณหภูมิของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากกว่าเดิม
ลดอุณหภูมิของร่างกายด้วยการเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด ฉีดน้ำเย็นรดตัว ร่วมกับใช้พัดหรือพัดลม
อาบน้ำฝักบัวหรือแช่น้ำเย็น หากอยู่กลางแจ้งอาจแช่ตัวในลําธารหรือแม่น้ำ
นั่งในที่ร่ม หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้างสรรพสินค้า
ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มผสมเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือและน้ำที่สูญเสียไป
หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัดเพราะอาจทําให้ปวดท้อง และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ซึ่งจะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=Hep27Va8KSw
https://www.youtube.com/watch?v=Wh2k4d7OzNc
ร้อนนี้ระวัง..โรคลมแดด
สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร เดิมมีฤดูร้อนเป็นหลักอยู่แล้ว
เมื่อมีภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทำให้สภาพอากาศของประเทศร้อนจัดเพิ่มขึ้น
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ ร้อนนี้ระวัง...โรคลมแดด
โรคลมแดด โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะมีการรักษาความสมดุลของอุณหภูมิระหว่างความร้อนจากร่างกายและสภาพแวดล้อม
โดยอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 36 ถึง 37.5 องศาเซลเซียสตลอดทั้งวัน
ทั้งนี้การระบายเหงื่อถือเป็นกลไกสำคัญในการลดความร้อนที่มากเกินไป
โรคลมแดดเกิดจากความล้มเหลวในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
โรคลมแดดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก
โรคลมแดดประเภทนี้เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป
พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังซึ่งทำให้ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและการขาดน้ำได้
โรคลมแดดประเภทนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับคนในทุกๆ วัย โดยเกิดจากยารักษาโรคบางชนิด
หรือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
2) โรคลมแดดที่เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก เช่น การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป มักเกิดขึ้นกับคนอายุน้อย
นักกีฬา และทหารเกณฑ์ที่ฝึกหนักในอากาศร้อนจัดและสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง
ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากความร้อน
มีภาวะบวมจากความร้อน ในส่วนของเท้ากับข้อเท้า แต่ถ้าเราลดอุณหภูมิและหลีกเลี่ยงความร้อนได้
อาการเหล่านี้ก็จะยุบลง หรือบางทีจะหายไปเอง เป็นผื่นที่เกิดจากความร้อน หรือผื่นแดด มีลักษณะเป็นผื่นแดง คัน
มีตุ่มแดงๆขึ้นตามร่างกาย ในลักษณะคล้ายการเป็นผด ซึ่งแก้ด้วยการใส่เสื้อผ้าที่บางเบาเพื่อคลายความร้อน
ตะคริวแดด คือเมื่อความร้อนสูงขึ้นก็จะเกิดการเป็นตะคริว โดยเฉพาะบริเวณน่อง
ซึ่งปกติจะเจอในกลุ่มคนที่ออกกำลังกาย แต่คนไข้ที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็สามารถเป็นได้เช่นกัน
เป็นผลมาจากการสูญเสียเกลือแร่ แก้ด้วยการทานน้ำเกลือแร่ชดเชยในกรณีที่อาการไม่เยอะ แต่ถ้าอาการหนักขึ้น ควรพบแพทย์
เพลียแดด จะเริ่มมีอาการเยอะขึ้น มีการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เวียนหัว ท้องเสีย อาจมีการหน้ามืด ใจสั่น
ความดันโลหิตสูง แก้ได้โดยทานน้ำเกลือแร่ ลมแดด เป็นภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายเกิน 40 องศา
ร่วมกับอาการทางระบบประสาท โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก เช่น ซึม สับสน หรือบางทีอาจจะถึงขั้นชักและหมดสติได้
การป้องกัน
เมื่อรู้ตัวว่าต้องอยู่ในที่อุณหภูมิสูง ควรสวมใส่เสื้อผ้า ระบายลมได้ง่าย หรือ ป้องกันแสงแดด
เช่น เสื้อที่มี UV Cut เพื่อช่วยในการตัดแสงแดด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เป็นส่วนประกอบ เพราะเพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และเกลือแร่มากขึ้น
ป้องกันตัวเองจากแสงแดด ด้วยการทาครีมกันแดด และ อุปกรณ์ป้องกันแสง
จิบน้ำเป็นระยะ หากร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อเหงื่อออกจะขับออกได้ปกติตามกลไกธรรมชาติ
การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน จึงดีต่อสุขภาพ และช่วยป้องกันการเป็นลมอีกด้วย
ในที่อากาศร้อนและถ่ายเทไม่สะดวก ควรเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือออกแรงหนัก ๆ
อย่าทำงานที่ใช้กำลังมาก ในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน ควรเลือกทำงานหนักตอนเช้าหรือตอนเย็น เมื่ออุณหภูมิเย็นลง
จะได้ช่วยรักษาความร้อนสะสมในร่างกายให้ปกติ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีแดดจัด และนั่งในรถยนต์ที่จอดไว้กลางแดด
เพราะแม้เปิดกระจกทิ้งไว้หรือจอดรถยนต์ในที่ร่ม อุณหภูมิในรถยนต์ก็สามารถร้อนจัดขึ้นอย่างรวดเร็ว
การรักษาโรคลมแดด
แพทย์จะทำการลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยเพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดต่อสมองและอวัยวะสําคัญ
การแช่น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิและลดความเสี่ยงที่อวัยวะจะได้รับความเสียหายหรือเสียชีวิต
เทคนิคการระบายความร้อนลดอุณหภูมิ ด้วยการพ่นละอองน้ำเย็นลงบนร่างกายขณะที่เป่าลมจากพัดลม
เพื่อทำให้เกิดการระเหยที่เร็วขึ้นและทำให้ผิวเย็นลง
การใช้ผ้าห่อน้ำแข็งห่มตัวและประคบน้ำแข็งลงบนคอ หลัง รักแร้ และขาหนีบ
แพทย์อาจให้รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้ผู้ป่วยหยุดสั่นจากการลดอุณหภูมิร่างกายโดยวิธีข้างต้น
เพราะการที่ร่างกายสั่นจะทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้การรักษาที่ทำไปแล้วนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร
การรักษาตัวเองที่บ้าน
หากเป็นลมแดด ควรโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน ควรโทรติดต่อเบอร์ฉุกเฉิน 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลและกู้ภัย
ระหว่างรอความช่วยเหลือนั้น ผู้ป่วยไม่ควรดื่มน้ำ
หากเริ่มมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายตัวจากอากาศร้อน ซึ่งยังไม่นับเป็นภาวะฉุกเฉิน
ควรพยายามลดอุณหภูมิของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากกว่าเดิม
ลดอุณหภูมิของร่างกายด้วยการเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด ฉีดน้ำเย็นรดตัว ร่วมกับใช้พัดหรือพัดลม
อาบน้ำฝักบัวหรือแช่น้ำเย็น หากอยู่กลางแจ้งอาจแช่ตัวในลําธารหรือแม่น้ำ
นั่งในที่ร่ม หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้างสรรพสินค้า
ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มผสมเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือและน้ำที่สูญเสียไป
หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัดเพราะอาจทําให้ปวดท้อง และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ซึ่งจะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=Hep27Va8KSw
https://www.youtube.com/watch?v=Wh2k4d7OzNc