น้ำเปล่า 4 ประเภทที่ไม่ควรดื่ม เสี่ยงกลืนแบคทีเรีย-สารพิษเข้าสู่ร่างกาย
นักโภชนาการ เตือน น้ำเปล่า 4 ประเภทที่ไม่ควรดื่ม เสี่ยงกลืนแบคทีเรีย-สารพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของร่างกายมนุษย์ ทั้งในส่วนช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย รักษาความยืดหยุ่นของผิวหนัง และขับของเสียออกจากร่างกาย อย่างไรก็ตาม นักโภชนาการ ได้เตือนว่าในชีวิตประจำวันมีน้ำ 4 ประเภทที่ไม่ควรดื่มเด็ดขาด เพราะหากดื่มเข้าไปอาจจะกลืนแบคทีเรียและสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
นักโภชนาการ หวง ผิ่นซวน ได้โพสต์ข้อความในแฟนเพจ Facebook ของเธอ โดยเป็นการให้ข้อมูลด้านสุขภาพว่า "ทุกคนทราบดีว่าในสภาพอากาศร้อน ต้องดื่มน้ำอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการลมแดดหรือภาวะขาดน้ำ แต่ทุกคนเคยสังเกตไหมว่าน้ำที่ดื่มนั้น "ปลอดภัยจริงหรือไม่?" เธอจึงได้ยกตัวอย่าง น้ำ 4 ประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงในการดื่ม เพื่อไม่ให้แบคทีเรียและสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
1. น้ำตามธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีบำบัด
บางคนคิดว่าน้ำจากแหล่งธรรมชาติหรือภูเขาเป็นน้ำที่สะอาด จึงดื่มโดยตรง แต่ในความเป็นจริง น้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่ผ่านการบำบัดนั้นอาจมีการปนเปื้อนสูง ดื่มแล้วอาจได้รับแบคทีเรียและปรสิตเข้าไปในร่างกายได้
2. น้ำดื่มบรรจุขวดที่สัมผัสกับอุณหภูมิสูงหรือแสงแดด
โดยขวดพลาสติกทั่วไปอาจปล่อยสารอันตรายหลังจากสัมผัสกับอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน แม้ว่าจะวางในรถที่ไม่มีแสงแดดส่องโดยตรงก็ตาม แต่หากอุณหภูมิในรถสูงมาก เช่นในฤดูร้อนที่อาจเกิน 70 องศาเซลเซียส ก็สามารถทำให้ขวดปล่อยสารอันตรายออกมาหรือเกิดการเสียรูปทรงได้ จึงไม่แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าจากในลักษณะนี้
3. อมน้ำไว้ในปากนานเกินไป
ในปากของมนุษย์มีแบคทีเรียจำนวนมาก เมื่อสัมผัสกับน้ำ แบคทีเรียจะเริ่มขยายตัวในน้ำ หากทิ้งไว้นานแบคทีเรียจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น ควรดื่มโดยทันที
4. น้ำต้มที่ทิ้งเอาไว้นานหลายวัน
หลายคนคิดว่าเมื่อน้ำเดือดแล้วจะเก็บไว้ได้ตลอด แต่นี่เป็นความเข้าใจผิด หากภาชนะที่ใส่น้ำไม่สะอาด หรือไม่ได้ปิดฝาไว้ น้ำที่เก็บไว้นานอาจมีการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์
นอกจากนี้ หวง ผิ่นซวน ยังแนะนำว่า หลังออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายจะสูญเสียอิเล็กโทรไลต์หลายชนิด หากดื่มน้ำในปริมาณมากหลังออกกำลังกายและไม่ได้รับอิเล็กโทรไลต์เพียงพอ อาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ตะคริว และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนั้นควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมหลังออกกำลังกาย หรือน้ำเกลือแร่เพื่อเติมเต็มอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
อ้างอิงข้อมูล : ettoday.net
จากบทความนี้ เราว่า น้ำที่ตั้งตากแดดหน้าร้านสะดวกซื้อ หรือขวดน้ำที่ทิ้งไว้ในรถ เลี่ยงได้ ก็ควรเลี่ยงจะบริโภคค่ะ ข้อ 4 ก็เหมือนกัน บางคนคิดว่าต้มน้ำแล้วเก็บน้ำต้มใส่ขวดไว้ดื่ม ถ้าภาชนะไม่สะอาด ไม่ได้ปิดฝา หรือเก็บไว้หลายวัน ก็เสี่ยงกับเชื้อโรคนะคะ
น้ำเปล่า 4 ประเภทที่ไม่ควรดื่ม
นักโภชนาการ เตือน น้ำเปล่า 4 ประเภทที่ไม่ควรดื่ม เสี่ยงกลืนแบคทีเรีย-สารพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของร่างกายมนุษย์ ทั้งในส่วนช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย รักษาความยืดหยุ่นของผิวหนัง และขับของเสียออกจากร่างกาย อย่างไรก็ตาม นักโภชนาการ ได้เตือนว่าในชีวิตประจำวันมีน้ำ 4 ประเภทที่ไม่ควรดื่มเด็ดขาด เพราะหากดื่มเข้าไปอาจจะกลืนแบคทีเรียและสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
นักโภชนาการ หวง ผิ่นซวน ได้โพสต์ข้อความในแฟนเพจ Facebook ของเธอ โดยเป็นการให้ข้อมูลด้านสุขภาพว่า "ทุกคนทราบดีว่าในสภาพอากาศร้อน ต้องดื่มน้ำอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการลมแดดหรือภาวะขาดน้ำ แต่ทุกคนเคยสังเกตไหมว่าน้ำที่ดื่มนั้น "ปลอดภัยจริงหรือไม่?" เธอจึงได้ยกตัวอย่าง น้ำ 4 ประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงในการดื่ม เพื่อไม่ให้แบคทีเรียและสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
1. น้ำตามธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีบำบัด
บางคนคิดว่าน้ำจากแหล่งธรรมชาติหรือภูเขาเป็นน้ำที่สะอาด จึงดื่มโดยตรง แต่ในความเป็นจริง น้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่ผ่านการบำบัดนั้นอาจมีการปนเปื้อนสูง ดื่มแล้วอาจได้รับแบคทีเรียและปรสิตเข้าไปในร่างกายได้
2. น้ำดื่มบรรจุขวดที่สัมผัสกับอุณหภูมิสูงหรือแสงแดด
โดยขวดพลาสติกทั่วไปอาจปล่อยสารอันตรายหลังจากสัมผัสกับอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน แม้ว่าจะวางในรถที่ไม่มีแสงแดดส่องโดยตรงก็ตาม แต่หากอุณหภูมิในรถสูงมาก เช่นในฤดูร้อนที่อาจเกิน 70 องศาเซลเซียส ก็สามารถทำให้ขวดปล่อยสารอันตรายออกมาหรือเกิดการเสียรูปทรงได้ จึงไม่แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าจากในลักษณะนี้
3. อมน้ำไว้ในปากนานเกินไป
ในปากของมนุษย์มีแบคทีเรียจำนวนมาก เมื่อสัมผัสกับน้ำ แบคทีเรียจะเริ่มขยายตัวในน้ำ หากทิ้งไว้นานแบคทีเรียจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น ควรดื่มโดยทันที
4. น้ำต้มที่ทิ้งเอาไว้นานหลายวัน
หลายคนคิดว่าเมื่อน้ำเดือดแล้วจะเก็บไว้ได้ตลอด แต่นี่เป็นความเข้าใจผิด หากภาชนะที่ใส่น้ำไม่สะอาด หรือไม่ได้ปิดฝาไว้ น้ำที่เก็บไว้นานอาจมีการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์
นอกจากนี้ หวง ผิ่นซวน ยังแนะนำว่า หลังออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายจะสูญเสียอิเล็กโทรไลต์หลายชนิด หากดื่มน้ำในปริมาณมากหลังออกกำลังกายและไม่ได้รับอิเล็กโทรไลต์เพียงพอ อาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ตะคริว และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนั้นควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมหลังออกกำลังกาย หรือน้ำเกลือแร่เพื่อเติมเต็มอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
อ้างอิงข้อมูล : ettoday.net
จากบทความนี้ เราว่า น้ำที่ตั้งตากแดดหน้าร้านสะดวกซื้อ หรือขวดน้ำที่ทิ้งไว้ในรถ เลี่ยงได้ ก็ควรเลี่ยงจะบริโภคค่ะ ข้อ 4 ก็เหมือนกัน บางคนคิดว่าต้มน้ำแล้วเก็บน้ำต้มใส่ขวดไว้ดื่ม ถ้าภาชนะไม่สะอาด ไม่ได้ปิดฝา หรือเก็บไว้หลายวัน ก็เสี่ยงกับเชื้อโรคนะคะ