ดื่มน้ำหลังตื่นนอนช่วยสุขภาพดี แต่อย่าดื่มแบบนี้เด็ดขาด!!

การดื่มน้ำตอนท้องว่างหลังตื่นนอนตอนเช้า เปรียบเสมือนเป็น "ยาชูกำลัง" ที่จะช่วยให้สุขภาพร่างกายสดชื่นสดใส แต่อย่าดื่มแบบนี้เด็ดขาด เพราะจะกลับกลายเป็น "ยาพิษ" ทำร้ายร่างกายแทน

การดื่มน้ำในขณะท้องว่างตอนเช้าหลังตื่นนอน มีประโยชน์ต่อสุขภาพและความงามมากมาย อย่างไรก็ตาม ต้องดื่มน้ำอย่างถูกวิธี หากดื่มผิดวิธี จะกลับกลายเป็น “ยาพิษ” ทำร้ายร่างกายแทน

ทำไมควรดื่มน้ำในตอนเช้าขณะท้องว่าง?
การดื่มน้ำในตอนเช้าขณะท้องว่าง ถือเป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นวันใหม่ เป็นหนึ่งในเคล็ดลับของการมีอายุยืนยาว นำมาซึ่งประโยชน์มากมาย อาทิ
ชดเชยการสูญเสียน้ำหลังจากนอนหลับมานาน
ทำให้ร่างกายบริสุทธิ์ ดีต่อตับและไต เสริมการขับถ่ายและล้างพิษ
เสริมการเผาผลาญ เร่งการเผาผลาญพลังงาน
ทำความสะอาดกระเพาะ รักษาอาการท้องผูก ช่วยให้การย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดีต่อหัวใจ โดยเฉพาะการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และความดันโลหิตคงที่
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รักษาสภาวะสมดุลของร่างกาย
ดีต่อกระดูกและข้อ
ปรับปรุงสุขภาพสมอง ลดความเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือด
ดีต่ออารมณ์
รองรับการลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนัก
บำรุงผิว ผม และเล็บให้สวยงาม
น้ำที่เหมาะสมในการดื่มตอนเช้าหลังตื่นนอน คือ “น้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้อง”

3 ข้อผิดพลาดในการดื่มน้ำตอนเช้าขณะท้องว่าง ที่จะส่งผลร้ายต่อร่างกาย แทนที่จะเป็นผลดี

ดื่มน้ำที่เย็นเกินไปหรือร้อนเกินไป
หลายคนคิดว่าการดื่มน้ำเย็นในตอนเช้า จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น ตาสว่าง แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้ช่วยอะไร แถมยังส่งผลเสีย การดื่มน้ำที่เย็นเกินไป อาจทำให้หลอดเลือดในกระเพาะอาหารและลำไส้หดตัว ทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรงต่อระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการปวดท้องหรือท้องเสียได้
ส่วนการดื่มน้ำร้อนเกินไปก็อันตรายไม่แพ้กัน ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) การดื่มน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 65 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดแผลไหม้ได้ง่าย หลอดอาหารเสียหาย เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร นอกจากนั้น การดื่มน้ำที่ร้อนเกินไป ไม่เป็นผลดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน

เติมน้ำตาลและสารเติมแต่งลงในน้ำ
น้ำที่เราดื่มในตอนเช้าขณะท้องว่าง ควรเป็น “น้ำกรอง” แต่หลายคนชอบดื่มน้ำอัดลม หรือเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง เกลือ มะนาว… ลงในน้ำตามความต้องการ
ในตอนเช้าที่เพิ่งตื่นนอน ร่างกายโดยเฉพาะกระเพาะอาหารมีความอ่อนไหวอย่างมาก เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอย่าง “น้ำอัดลม” อาจทำให้เกิดความผันผวนของน้ำตาลในเลือด และความผันผวนของกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งไม่ดีต่อการย่อยอาหาร เพิ่มความรู้สึกเหนื่อยล้า สำหรับผู้ที่มีกรดในกระเพาะสูง “น้ำมะนาว” อาจทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง ทำให้เกิดกรดไหลย้อนและปวดท้องได้
ส่วนการเลือกดื่ม “น้ำเกลือ” ถึงแม้จะเป็นน้ำเกลือเจือจาง แต่จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และทำให้อิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุล ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม ขณะที่การดื่ม “น้ำผึ้ง” ไม่ดีต่อน้ำตาลในเลือดและตับอ่อน การดื่ม “ชา” หรือ “กาแฟ” ในขณะท้องว่าง ไม่ดีต่อกระเพาะอาหาร ตับ และไต

การดื่มน้ำเร็วเกินไปหรือมากเกินไป
นิสัยการดื่มน้ำมากเกินไป หรือเร็วเกินไปในตอนเช้า เพื่อ “เติมน้ำ” เข้าสู่ร่างกายหลังตื่นนอน อาจเป็นอันตรายได้ เมื่อคุณดื่มน้ำปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ ร่างกายจะมีปัญหาในการปรับสมดุลอิเล็กโทรไลต์ นำไปสู่ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อการทำงานของหัวใจและไต
นอกจากนี้การดื่มน้ำเร็วเกินไป ยังเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการไม่สบายได้ง่าย นอกจากนี้ยังไม่ดีต่อการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดความผันผวนของความดันโลหิตอย่างมาก ช่วงที่ท้องว่าง การดื่มน้ำมากเกินไปอาจทำให้ระบบย่อยอาหารไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้รู้สึกอิ่มท้อง และรับประทานอาหารเช้าได้น้อยเกินไป

เคล็ดลับในการดื่มน้ำตอนเช้าขณะท้องว่าง :
ควรดื่ม “น้ำกรอง” หรือ “น้ำต้มสุก” ที่เย็นแล้ว ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพและความงามคือ การดื่ม “น้ำอุ่นเล็กน้อย” อุณหภูมิระหว่าง 25-40 องศาเซลเซียส อย่าดื่มมากเกินไป ประมาณ 200-300 มล. ก็เพียงพอแล้ว ตอนดื่มน้ำ ให้อยู่ในท่าที่สบาย ค่อย ๆ จิบทีละนิด อย่ารีบเร่งจนเกินไป.
ที่มาและภาพ : Soha, Freepik... 

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4258582/

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่