'
อังคณา-คนทำงานปกป้องสิทธิ' ร้อง รมว.ยุติธรรม กรณีถูกกอ.รมน.คุกคาม คาดตามจากงานครบ 20 ปีทนายสมชาย
https://prachatai.com/journal/2024/03/108484
'อังคณา' พร้อมเจ้าหน้าที่ PI บุกกระทรวงยุติธรรม ยื่นหนังสือต่อ รมว.ยธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย หลังถูก คุกคาม สอดแนมโดยเจ้าหน้าที่คาดว่ามาจาก กอ.รมน ในการจัดงานวันครบรอบ 20 ปีที่ทนายสมชาย นีละไพจิตร ถูกบังคับให้สูญหาย ระบุขัดต่อกฎหมายทั้งการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล และขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี พร้อมเรียกร้องให้คุ้มครองสวัดิภาพของครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย ยุติการคุกคามด้วยการสอดแนม และการทำให้เกิดความหวาดกลัวต่อนักปกป้องสิทธิฯ โดยหน่วยงานของรัฐโดยทันที และขอให้มีการสืบสวนสอบสวนโดยพลันถึงผู้มีคำสั่งให้ทำการสอดแนม
18 ม.ค.2567 องค์กร Protection International รายงานว่า ที่กระทรวงยุติธรรมวันนี้ (18 มี.ค.67)
อังคณา นีละไพจิตร ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภรรยาของทนายสมชาย นีละไพจิตร นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกบังคับให้สูญหาย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากองค์กร PI เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
อังคณาระบุว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 มี.ค. ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 20 ปีที่ทนาย
สมชาย นีละไพจิตร ถูกบังคับให้สูญหาย ในการนี้ ครอบครัว
สมชาย รวมถึงครอบครัวผู้ถูกบังคบสูญหายในประเทศไทย และองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร ได้ร่วมกันจัดงานรำลึก 20 ปีการบังคับสูญหาย
สมชาย นีละไพจิตร “
ใช้อำนาจให้เกิดความยุติธรรมแทนการบังคับสูญหาย: 20 ปีทนายและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน สมชาย นีละไพจิตร” โดยงานรำลึกได้จัดขึ้นในวันที่ 11 มี.ค. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และในวันที่ 12 มี.ค. ที่ห้องประชุม Social Innovation Hub สถาบันวิจัยสังคม อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนั้นในโอกาสนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติยังได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องประเทศไทยต้องเปิดเผยที่อยู่และชะตากรรม
สมชาย นีละไพจิตร ให้มีการสอบสวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้น และนำผู้กระทำผิดที่ทำให้
สมชายสูญหายมารับผิดทางอาญา ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภรรยาทนาย
สมชาย นีละไพจิตร กล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า เนื่องจากการจัดงานรำลึกเป็นส่วนหนึ่งของการเยียวยาทางจิตใจ เป็นการรักษาความทรงจำ (memorization) ของเหยื่อ และเป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้มีอำนาจตระหนักถึงความร้ายแรงของการบังคับสูญหาย และความทุกข์ทรมานทางจิตใจที่ครอบครัวในฐานะผู้เสียหายต้องเผชิญ ทั้งนี้ ในการจัดกิจกรรมในวันที่ 11 และ 12 มี.ค. ดังกล่าว ได้มีครอบครัวผู้สูญหาย ประชาชนทั่วไป นิสิตนักศึกษา สื่อมวลชน รวมถึงผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเปิดเผย
อังคณาระบุเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ดีในการจัดงานรำลึกในวันที่ 12 มี.ค. ปรากฎชายหญิงสองคนสวมหมวกอำพรางใบหน้า ไม่ลงทะเบียนการเข้าร่วมงาน และได้มีการถ่ายภาพตน และ
ปรานม สมวงศ์ ผู้แทนจากองค์กร Protection International Thailand โดยมีผู้สังเกตว่าภายหลังการถ่ายภาพ ชายสวมหมวกได้ตัดต่อภาพของดิฉันและส่งต่อไปยังผู้อื่น เมื่อทราบดิฉันจึงได้เข้าไปสอบถามชายหญิงดังกล่าวจึงทราบว่าทั้งสองเข้าร่วมงานโดยไม่ลงทะเบียน ดิฉันจึงสอบถามต่อว่ามาจากหน่วยงานใด และได้รับคำตอบว่ามาจาก กอ.รมน. มีหน้าที่มาหาข่าว และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ซึ่งกระทำเป็นปกปกติ
อังคณา กล่าวว่า ตนได้ขอดูภาพที่ชายคนดังกล่าวบันทึกไว้ในโทรศัพท์ จึงเห็นว่ามีการถ่ายภาพของตนและคุณ
ปรานม สมวงศ์ รวมถึงญาติที่เข้าร่วมงานในวันดังกล่าวจริง ตนเห็นว่าการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นการไม่เคารพ ไม่ให้เกียรติแก่ครอบครัวเหยื่อ อีกทั้งยังเป็นการคุกคาม สอดแนมโดยหน่วยงานของรัฐ เพื่อทำให้เหยื่อเกิดความหวาดกลัว และความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเรียกร้องความยุติธรรมให้ผู้ถูกบังคับสูญหาย ทั้งนี้ การสอดแนม การพรางตัวของเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายทั้งการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล และขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี และกำลังจะเข้าเป็นภาคี คืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (ICPPED) ซึ่งให้ความสำคัญในการคุ้มครองเหยื่อและครอบครัว อีกทั้งยังรับรองสิทธิที่จะทราบความจริง และการได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
อังคณากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ตนจึงมีหนังสือฉบับนี้มายังท่านในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหาย ตามมาตรา 32 ที่ระบุว่า “
ให้หน่วยงานที่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนในคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ รายงานให้ผู้เสียหายทราบถึงผลความคืบหน้าของคดีอย่างต่อเนื่องและให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจติดตามผล ความคืบหน้าของคดีและดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพภาพและความปลอดภัย ชดเชย เยียวยา และฟื้นฟูความ เสียหายทางร่างกายและจิตใจ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมาย และสนับสนุน ช่วยเหลือด้านการดำเนินคดี โดยการมีส่วนร่วมจากผู้เสียหาย” รวมถึง มาตรา 19(3) คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจในการ “
กำหนดนโยบายและมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาด้านร่างกายและจิตใจแก่ผู้เสียหาย อย่างครอบคลุม โดยคำนึงถึงการทำให้กลับสู่สภาพเดิมเท่าที่จะเป็นไปได้” ทั้งนี้ สิทธิในการทราบความจริง (right to truth) ความยุติธรรม (right to justice) และการรักษาความทรงจำ (memorization) ถือเป็นการสิทธิของครอบครัว โดยรัฐมีหน้าที่รับประกันในสิทธิดังกล่าว
“
ดิฉันในฐานะครอบครัวสมชาย นีละไพจิตร จึงมีหนังสือฉบับนี้มายังท่านเพื่อโปรดดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการคุ้มครองสวัดิภาพของครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย ยุติการคุกคามด้วยการสอดแนม และการทำให้เกิดความหวาดกลัวโดยหน่วยงานของรัฐโดยทันที ขอให้มีการสืบสวนสอบสวนโดยพลันถึงผู้มีคำสั่งให้ทำการสอดแนม ทั้งนี้หน่วยงานต่าง ๆ ควรให้ความเคารพครอบครัวในการรำลึกผู้ถูกบังคับสูญหาย การเรียกร้องให้รัฐเปิดเผยความจริง และการให้ความยุติธรรมให้แก่บรรดาผู้ถูกบังคับสูญหาย โดยการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม และชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยคำนึงถึงการทำให้กลับสู่สภาพเดิม” ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภรรยาทนายสมชาย กล่าว
ขณะที่
ปรานม สมวงศ์ จาก Protection International กล่าวว่า กอ.รมน. มักเป็นหน่วยงานที่ส่งคนมาคุกคามในลักษณะดังกล่าวนี้กับนักปกป้องสิทธิฯ ไม่ใช่เฉพาะกรณีนี้เท่านั้น มาแบบไม่แนะนำตัว ไม่เปิดเผย เป็นภาระของนักปกป้องสิทธิณ ต้องไปหาว่าเป็นใคร ลักษณะการแอบถ่ายและเฝ้าติดตามแบบไม่เปิดเผยตัวแบบนี้ และเป็นที่มีพฤติกรรมข่มขู่คุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและญาติที่เป็นเหยื่อของการบับคับสูญหายแบบนี้มาตลอด ที่เรามาในวันนี้เราอยากทราบว่ากระทรวงยุติธรรมจะมีมาตรการอย่างไรในการคุ้มครองผู้เสียหายและนักปกป้องสิทธิ เพราะที่ผ่านมาเมื่อมีการคุกคามด้วยการถ่ายรูปเจาะ จะมีการคุกคามเพิ่มเติมตามมาทีหลังด้วยตามไปหานักปกป้องสิทธิที่บ้าน การข่มขู่ ครอบครัว องค์กรรวมถึงการฟ้องร้องดำเนินคดี
ในวันดังกล่าวมีครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหายเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากจึงไม่ควรมีการคุกคามในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเลย หากเจ้าหน้าที่รัฐจะมาสังเกตุการณ์ก็ต้องลงทะเบียนล่วงหน้าใส่เครื่องแบบให้เรียบร้อยและมาแนำนำตัวเพื่อให้ญาติสามารถประเมินความปลอดภัยได้เพราะขนาดคุณอังคณายังถูกคุกคามในลักษณะดังกล่าวแล้วนักปกป้องสิทธิคนอื่นก็คงถูกคุกคามไม่ต่างกันไม่อยากให้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปรกติ นอกจากนี้ กสม.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องคุ้มครองนักปกป้องสิทธิ ก็ได้พูดในเวทีเสวนาในวันนั้นว่าทำงานกับกอ.รมน. จึงอยากให้กระทรวงยุติธรรมประสานกับกสม.เรื่องท่าทีในการทำงานของกสม.ด้วย และอยากให้ประสานกับกอ.รมน.ให้ยุติพฤติกรรมการคุกคามที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ใดที่มีการเคลื่อนไหวของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
“ปกรณ์วุฒิ”ฝ่ายค้านลงชื่ออภิปรายงบฯเพียบทีเด็ด”วิโรจน์-โรม”
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_691777/
“ปกรณ์วุฒิ”รับฝ่ายค้านลงชื่ออภิปรายงบฯวาระ2,3เพียบ ทีเด็ด “วิโรจน์-โรม”พบหลายกระทรวงมีโครงการไม่คุ้มค่า ไม่เหมาะสม
นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระ 2 และ วาระ 3 ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคมนี้ว่า หากย้อนกลับไปดูการพิจารณางบประมาณของพรรคก้าวไกลในสมัยที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นคณะกรรมาธิการงบประมาณ พบว่า บางโครงการไม่ถูกต้อง ต้องมีการปรับลดงบประมาณ แต่ไม่สามารถตัดลดได้สำเร็จ ก็จะนำความผิดปกติของโครงการเหล่านั้น มาอภิปรายในวาระ2 เพื่อขอให้สภาพิจารณาตัดลด ซึ่งการพิจารณาในวาระที่2 พยายามเจาะจงเป็นรายกระทรวง และรายโครงการ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการอภิปราย โดยนาย
ปรกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ขณะนี้มี สส.ฝ่ายค้าน ลงชื่ออภิปรายค่อนข้างมาก และคาดว่าจะมีเพิ่มอีก
ส่วนมีกระทรวงใดที่มีโครงการถูกตรวจสอบมากที่สุด นาย
ปกรณ์วุฒิกล่าวว่า หากพูดถึงเรื่องความไม่คุ้มค่า ในแต่ละกระทรวงมีทุกโครงการ ที่มองว่าไม่คุ้มค่า ไม่เหมาะสม และหากพูดถึงกระทรวงที่ไม่โปร่งใส ต้องพูดตามตรงว่าทุกปี คือกระทรวงกลาโหมก็จะมีปัญหาในเรื่องนี้ เนื่องจากมีเอกสารลับเยอะ และทุกครั้งได้มีการขอเอกสารลับคืน เท่าที่ทราบ กระทรวงกลาโหมมีหลายโครงการที่ไม่คุ้มค่า หากให้เลือก ในความไม่โปร่งใส ไม่คุ้มค่า เช่น การจัดซื้อที่แพงกว่าท้องตลาดทั่วไป
สำหรับการอภิปรายงบประมาณในวาระที่2-3 ครั้งนี้จะกระทบการอภิปรายงบประมาณในปีถัดไปหรือไม่ นาย
ปกรณ์วุฒิ เชื่อว่า จะเป็นเช่นนั้น ซึ่งการอภิปรายงบครั้งนี้ ยังเป็นดาวเด่น เช่น นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และนาย
รังสิมันต์ โรม อยู่หรือไม่นั้น ต้องบอกว่า นาย
รังสิมันต์ยังไม่เคยอภิปรายงบประมาณเลย ซึ่งการอภิปรายงบประมาณมี สส.อีก 1 ชุด ที่ชอบอภิปรายเรื่องตัวเลข และ สส.ที่ลงชื่ออภิปรายจำนวนมากนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกรรมาธิการงบประมาณ
ดังนั้น จึงขอฝากไปถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยตนคิดว่า งบ 68 เป็นปีงบที่นายกฯ และรัฐบาลจะมีอำนาจเต็ม เวลาที่จะจัดทำค่อนข้างนานพอสมควร เพราะงบปี 68 เป็นของจริงแล้ว ที่เราควรจะต้องเห็นการเปลี่ยนแปลง อย่างที่พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลพูดเอาไว้ก่อนการเลือกตั้งว่าประเทศเปลี่ยนทันที ตอนนี้ผ่านมา 7 เดือนแล้ว ที่มีการจัดตั้งรัฐบาล โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ดีที่สุดว่า ประเทศเปลี่ยนจริง คือ วิธีการใช้งบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน
JJNY : ร้องถูกกอ.รมน.คุกคาม│ลงชื่ออภิปรายงบฯเพียบทีเด็ด│ผู้รับเหมาเงินเริ่มชอร์ต│เลขาฯ ยูเอ็นตกใจการโจมตีทางอากาศเมียนมา
https://prachatai.com/journal/2024/03/108484
'อังคณา' พร้อมเจ้าหน้าที่ PI บุกกระทรวงยุติธรรม ยื่นหนังสือต่อ รมว.ยธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย หลังถูก คุกคาม สอดแนมโดยเจ้าหน้าที่คาดว่ามาจาก กอ.รมน ในการจัดงานวันครบรอบ 20 ปีที่ทนายสมชาย นีละไพจิตร ถูกบังคับให้สูญหาย ระบุขัดต่อกฎหมายทั้งการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล และขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี พร้อมเรียกร้องให้คุ้มครองสวัดิภาพของครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย ยุติการคุกคามด้วยการสอดแนม และการทำให้เกิดความหวาดกลัวต่อนักปกป้องสิทธิฯ โดยหน่วยงานของรัฐโดยทันที และขอให้มีการสืบสวนสอบสวนโดยพลันถึงผู้มีคำสั่งให้ทำการสอดแนม
18 ม.ค.2567 องค์กร Protection International รายงานว่า ที่กระทรวงยุติธรรมวันนี้ (18 มี.ค.67) อังคณา นีละไพจิตร ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภรรยาของทนายสมชาย นีละไพจิตร นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกบังคับให้สูญหาย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากองค์กร PI เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
อังคณาระบุว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 มี.ค. ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 20 ปีที่ทนายสมชาย นีละไพจิตร ถูกบังคับให้สูญหาย ในการนี้ ครอบครัวสมชาย รวมถึงครอบครัวผู้ถูกบังคบสูญหายในประเทศไทย และองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร ได้ร่วมกันจัดงานรำลึก 20 ปีการบังคับสูญหายสมชาย นีละไพจิตร “ใช้อำนาจให้เกิดความยุติธรรมแทนการบังคับสูญหาย: 20 ปีทนายและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน สมชาย นีละไพจิตร” โดยงานรำลึกได้จัดขึ้นในวันที่ 11 มี.ค. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และในวันที่ 12 มี.ค. ที่ห้องประชุม Social Innovation Hub สถาบันวิจัยสังคม อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนั้นในโอกาสนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติยังได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องประเทศไทยต้องเปิดเผยที่อยู่และชะตากรรม สมชาย นีละไพจิตร ให้มีการสอบสวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้น และนำผู้กระทำผิดที่ทำให้สมชายสูญหายมารับผิดทางอาญา ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภรรยาทนายสมชาย นีละไพจิตร กล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า เนื่องจากการจัดงานรำลึกเป็นส่วนหนึ่งของการเยียวยาทางจิตใจ เป็นการรักษาความทรงจำ (memorization) ของเหยื่อ และเป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้มีอำนาจตระหนักถึงความร้ายแรงของการบังคับสูญหาย และความทุกข์ทรมานทางจิตใจที่ครอบครัวในฐานะผู้เสียหายต้องเผชิญ ทั้งนี้ ในการจัดกิจกรรมในวันที่ 11 และ 12 มี.ค. ดังกล่าว ได้มีครอบครัวผู้สูญหาย ประชาชนทั่วไป นิสิตนักศึกษา สื่อมวลชน รวมถึงผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเปิดเผย
อังคณาระบุเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ดีในการจัดงานรำลึกในวันที่ 12 มี.ค. ปรากฎชายหญิงสองคนสวมหมวกอำพรางใบหน้า ไม่ลงทะเบียนการเข้าร่วมงาน และได้มีการถ่ายภาพตน และปรานม สมวงศ์ ผู้แทนจากองค์กร Protection International Thailand โดยมีผู้สังเกตว่าภายหลังการถ่ายภาพ ชายสวมหมวกได้ตัดต่อภาพของดิฉันและส่งต่อไปยังผู้อื่น เมื่อทราบดิฉันจึงได้เข้าไปสอบถามชายหญิงดังกล่าวจึงทราบว่าทั้งสองเข้าร่วมงานโดยไม่ลงทะเบียน ดิฉันจึงสอบถามต่อว่ามาจากหน่วยงานใด และได้รับคำตอบว่ามาจาก กอ.รมน. มีหน้าที่มาหาข่าว และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ซึ่งกระทำเป็นปกปกติ
อังคณา กล่าวว่า ตนได้ขอดูภาพที่ชายคนดังกล่าวบันทึกไว้ในโทรศัพท์ จึงเห็นว่ามีการถ่ายภาพของตนและคุณปรานม สมวงศ์ รวมถึงญาติที่เข้าร่วมงานในวันดังกล่าวจริง ตนเห็นว่าการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นการไม่เคารพ ไม่ให้เกียรติแก่ครอบครัวเหยื่อ อีกทั้งยังเป็นการคุกคาม สอดแนมโดยหน่วยงานของรัฐ เพื่อทำให้เหยื่อเกิดความหวาดกลัว และความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเรียกร้องความยุติธรรมให้ผู้ถูกบังคับสูญหาย ทั้งนี้ การสอดแนม การพรางตัวของเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายทั้งการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล และขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี และกำลังจะเข้าเป็นภาคี คืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (ICPPED) ซึ่งให้ความสำคัญในการคุ้มครองเหยื่อและครอบครัว อีกทั้งยังรับรองสิทธิที่จะทราบความจริง และการได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
อังคณากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ตนจึงมีหนังสือฉบับนี้มายังท่านในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหาย ตามมาตรา 32 ที่ระบุว่า “ให้หน่วยงานที่มีอำนาจสืบสวนสอบสวนในคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ รายงานให้ผู้เสียหายทราบถึงผลความคืบหน้าของคดีอย่างต่อเนื่องและให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจติดตามผล ความคืบหน้าของคดีและดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพภาพและความปลอดภัย ชดเชย เยียวยา และฟื้นฟูความ เสียหายทางร่างกายและจิตใจ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมาย และสนับสนุน ช่วยเหลือด้านการดำเนินคดี โดยการมีส่วนร่วมจากผู้เสียหาย” รวมถึง มาตรา 19(3) คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจในการ “กำหนดนโยบายและมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาด้านร่างกายและจิตใจแก่ผู้เสียหาย อย่างครอบคลุม โดยคำนึงถึงการทำให้กลับสู่สภาพเดิมเท่าที่จะเป็นไปได้” ทั้งนี้ สิทธิในการทราบความจริง (right to truth) ความยุติธรรม (right to justice) และการรักษาความทรงจำ (memorization) ถือเป็นการสิทธิของครอบครัว โดยรัฐมีหน้าที่รับประกันในสิทธิดังกล่าว
“ดิฉันในฐานะครอบครัวสมชาย นีละไพจิตร จึงมีหนังสือฉบับนี้มายังท่านเพื่อโปรดดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการคุ้มครองสวัดิภาพของครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย ยุติการคุกคามด้วยการสอดแนม และการทำให้เกิดความหวาดกลัวโดยหน่วยงานของรัฐโดยทันที ขอให้มีการสืบสวนสอบสวนโดยพลันถึงผู้มีคำสั่งให้ทำการสอดแนม ทั้งนี้หน่วยงานต่าง ๆ ควรให้ความเคารพครอบครัวในการรำลึกผู้ถูกบังคับสูญหาย การเรียกร้องให้รัฐเปิดเผยความจริง และการให้ความยุติธรรมให้แก่บรรดาผู้ถูกบังคับสูญหาย โดยการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม และชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยคำนึงถึงการทำให้กลับสู่สภาพเดิม” ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภรรยาทนายสมชาย กล่าว
ขณะที่ปรานม สมวงศ์ จาก Protection International กล่าวว่า กอ.รมน. มักเป็นหน่วยงานที่ส่งคนมาคุกคามในลักษณะดังกล่าวนี้กับนักปกป้องสิทธิฯ ไม่ใช่เฉพาะกรณีนี้เท่านั้น มาแบบไม่แนะนำตัว ไม่เปิดเผย เป็นภาระของนักปกป้องสิทธิณ ต้องไปหาว่าเป็นใคร ลักษณะการแอบถ่ายและเฝ้าติดตามแบบไม่เปิดเผยตัวแบบนี้ และเป็นที่มีพฤติกรรมข่มขู่คุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและญาติที่เป็นเหยื่อของการบับคับสูญหายแบบนี้มาตลอด ที่เรามาในวันนี้เราอยากทราบว่ากระทรวงยุติธรรมจะมีมาตรการอย่างไรในการคุ้มครองผู้เสียหายและนักปกป้องสิทธิ เพราะที่ผ่านมาเมื่อมีการคุกคามด้วยการถ่ายรูปเจาะ จะมีการคุกคามเพิ่มเติมตามมาทีหลังด้วยตามไปหานักปกป้องสิทธิที่บ้าน การข่มขู่ ครอบครัว องค์กรรวมถึงการฟ้องร้องดำเนินคดี
ในวันดังกล่าวมีครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหายเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากจึงไม่ควรมีการคุกคามในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเลย หากเจ้าหน้าที่รัฐจะมาสังเกตุการณ์ก็ต้องลงทะเบียนล่วงหน้าใส่เครื่องแบบให้เรียบร้อยและมาแนำนำตัวเพื่อให้ญาติสามารถประเมินความปลอดภัยได้เพราะขนาดคุณอังคณายังถูกคุกคามในลักษณะดังกล่าวแล้วนักปกป้องสิทธิคนอื่นก็คงถูกคุกคามไม่ต่างกันไม่อยากให้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปรกติ นอกจากนี้ กสม.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องคุ้มครองนักปกป้องสิทธิ ก็ได้พูดในเวทีเสวนาในวันนั้นว่าทำงานกับกอ.รมน. จึงอยากให้กระทรวงยุติธรรมประสานกับกสม.เรื่องท่าทีในการทำงานของกสม.ด้วย และอยากให้ประสานกับกอ.รมน.ให้ยุติพฤติกรรมการคุกคามที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ใดที่มีการเคลื่อนไหวของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
“ปกรณ์วุฒิ”ฝ่ายค้านลงชื่ออภิปรายงบฯเพียบทีเด็ด”วิโรจน์-โรม”
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_691777/
“ปกรณ์วุฒิ”รับฝ่ายค้านลงชื่ออภิปรายงบฯวาระ2,3เพียบ ทีเด็ด “วิโรจน์-โรม”พบหลายกระทรวงมีโครงการไม่คุ้มค่า ไม่เหมาะสม
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระ 2 และ วาระ 3 ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคมนี้ว่า หากย้อนกลับไปดูการพิจารณางบประมาณของพรรคก้าวไกลในสมัยที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นคณะกรรมาธิการงบประมาณ พบว่า บางโครงการไม่ถูกต้อง ต้องมีการปรับลดงบประมาณ แต่ไม่สามารถตัดลดได้สำเร็จ ก็จะนำความผิดปกติของโครงการเหล่านั้น มาอภิปรายในวาระ2 เพื่อขอให้สภาพิจารณาตัดลด ซึ่งการพิจารณาในวาระที่2 พยายามเจาะจงเป็นรายกระทรวง และรายโครงการ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการอภิปราย โดยนายปรกรณ์วุฒิ กล่าวว่า ขณะนี้มี สส.ฝ่ายค้าน ลงชื่ออภิปรายค่อนข้างมาก และคาดว่าจะมีเพิ่มอีก
ส่วนมีกระทรวงใดที่มีโครงการถูกตรวจสอบมากที่สุด นายปกรณ์วุฒิกล่าวว่า หากพูดถึงเรื่องความไม่คุ้มค่า ในแต่ละกระทรวงมีทุกโครงการ ที่มองว่าไม่คุ้มค่า ไม่เหมาะสม และหากพูดถึงกระทรวงที่ไม่โปร่งใส ต้องพูดตามตรงว่าทุกปี คือกระทรวงกลาโหมก็จะมีปัญหาในเรื่องนี้ เนื่องจากมีเอกสารลับเยอะ และทุกครั้งได้มีการขอเอกสารลับคืน เท่าที่ทราบ กระทรวงกลาโหมมีหลายโครงการที่ไม่คุ้มค่า หากให้เลือก ในความไม่โปร่งใส ไม่คุ้มค่า เช่น การจัดซื้อที่แพงกว่าท้องตลาดทั่วไป
สำหรับการอภิปรายงบประมาณในวาระที่2-3 ครั้งนี้จะกระทบการอภิปรายงบประมาณในปีถัดไปหรือไม่ นายปกรณ์วุฒิ เชื่อว่า จะเป็นเช่นนั้น ซึ่งการอภิปรายงบครั้งนี้ ยังเป็นดาวเด่น เช่น นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร และนายรังสิมันต์ โรม อยู่หรือไม่นั้น ต้องบอกว่า นายรังสิมันต์ยังไม่เคยอภิปรายงบประมาณเลย ซึ่งการอภิปรายงบประมาณมี สส.อีก 1 ชุด ที่ชอบอภิปรายเรื่องตัวเลข และ สส.ที่ลงชื่ออภิปรายจำนวนมากนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกรรมาธิการงบประมาณ
ดังนั้น จึงขอฝากไปถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยตนคิดว่า งบ 68 เป็นปีงบที่นายกฯ และรัฐบาลจะมีอำนาจเต็ม เวลาที่จะจัดทำค่อนข้างนานพอสมควร เพราะงบปี 68 เป็นของจริงแล้ว ที่เราควรจะต้องเห็นการเปลี่ยนแปลง อย่างที่พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลพูดเอาไว้ก่อนการเลือกตั้งว่าประเทศเปลี่ยนทันที ตอนนี้ผ่านมา 7 เดือนแล้ว ที่มีการจัดตั้งรัฐบาล โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ดีที่สุดว่า ประเทศเปลี่ยนจริง คือ วิธีการใช้งบประมาณที่มาจากภาษีประชาชน