พิธา แจงสื่อเยอรมัน ปม บุ้ง ทะลุวัง ย้ำจุดยืน ม.112 กังวลยุบพรรคเป็นวงจรอุบาทว์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4581392
พิธา แจงสื่อเยอรมัน ปม บุ้ง ทะลุวัง ย้ำจุดยืน ม.112 กังวลยุบพรรคเป็นวงจรอุบาทว์
นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ให้สัมภาษณ์ ด็อยท์เชอเว็ลเลอ (DW หรือ Deutsche Welle) สื่อเยอรมัน ที่ตั้งประเด็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของ น.ส.
เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ “
บุ้ง” นักกิจกรรมทางการเมืองกลุ่มทะลุวัง ซึ่งเสียชีวิตจากการอดอาหารประท้วงในระหว่างถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจากการถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112
เริ่มจากที่พิธีกรถามนาย
พิธาว่า มีความคิดเห็นอย่างไรกับการเสียชีวิตของ น.ส
.เนติพร และคิดว่าใครควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของเธอ
นาย
พิธากล่าวว่า มันเป็นการสูญเสียที่น่าเศร้าสำหรับประเทศไทยที่กลุ่มเยาวชนนักเคลื่อนไหวอย่าง น.ส.
เนติพรที่เรียกร้องหลักนิติธรรม (the rule of law) แทนที่หลักนิติวิธี (the rule by law) การจับกุมคุมขังก่อนการพิจารณาคดีและสิทธิในการประกันตัวของผู้ที่ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ นี่เป็น 3 สิ่งสำคัญที่ น.ส.เนติพรต่อสู้
ซึ่งแน่นอนว่าการปฏิรูปมาตรา 112 ยังอยู่ในจุดเริ่มต้น แต่เธอถูกปฏิเสธสิทธิในการประกันตัว นั่นทำให้มีคนรุ่นใหม่หลายคนที่ถูกจับกุมก่อนจะมีการพิจารณา อดอาหารประท้วง ซึ่ง น.ส.
เนติพรไม่ใช่คนแรก
ตนรู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดภายในสำหรับครอบครัวที่เธอต้องฟันฝ่าไปด้วยวิธีนี้ ซึ่งน่าจะมีวิธีการเจรจาเพื่อไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตเกิดขึ้น
เมื่อพิธีกรถามว่า น.ส.
เนติพร ควรถูกคุมขังหรือไม่ จากการไปสอบถามความเห็นเกี่ยวกับสถาบัน นายพิธากล่าวว่า ในประเทศไทยกฎหมายไม่อนุญาตให้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสถาบัน แต่อารมณ์ความรู้สึกของยุคสมัยอาจเปลี่ยนไป เราในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติ พยายามจะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้มีความเหมาะสมในการปกป้องประมุขแห่งรัฐและปกป้องสิทธิเสรีภาพในการพูด เพื่อให้มั่นใจว่ากฎหมายมีความเหมาะสมเมื่อพูดถึงการละเมิดเสรีภาพ แม้ว่ามันจะผิด เธอก็มีสิทธิที่จะได้รับการประกันตัว ซึ่งเป็นการสันนิษฐานว่าเธอยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ที่เธอจะต้องผ่านการพิจารณาคดีก่อน ที่จะตัดสินความถูกผิด แต่ น.ส.เนติพรกลับไม่ได้แม้กระทั่งสิทธิประกัน นั่นทำให้เธออดอาหารประท้วง
พิธีกรถามถึงการแก้ไขมาตรา 112 ที่เป็นหนึ่งในการรณรงค์หาเสียงของนายพิธาและพรรคก้าวไกลว่า ยังมีจุดยืนเหมือนเดิมที่จะให้มีการแก้ไขมาตรา 112 หรือไม่
นาย
พิธากล่าวว่า ยังคงเป็นประเด็นว่าจะรักษาประเทศไทยให้คงอยู่ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างไร นอกเหนือจากการปฏิรูปแล้ว ยังเป็นทางสายกลางระหว่างขั้วความคิดเห็นหรืออารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ว่าบทบาทของกฎหมายและสถาบันในศตวรรษ 21 ควรเป็นอย่างไร เราในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติ เราไม่ต้องการเห็นการแบ่งขั้วความคิดเห็นนอกรัฐสภา แต่ต้องการเห็นทางร่วมกัน
พิธีกรถามย้ำในจุดยืนนาย
พิธาว่า ยังต้องการให้มีการแก้ไขมาตรา 112 หรือไม่ นาย
พิธากล่าวตอบรับว่า ครับ แต่เป็นไปภายใต้ขอบเขตที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
ต่อประเด็นคำถามว่าพรรคก้าวไกลชนะเลือกตั้งที่ผ่านมา ได้ที่นั่งมากที่สุด แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้ หากผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากประชาชนอย่างนาย
พิธาในการแก้ไขกฎหมาย แต่ไม่สามารถทำได้ แล้วจะแก้ได้อย่างไร นาย
พิธากล่าวว่า ผมคิดว่าสิ่งเดียวที่ทำได้คือทำสิ่งเดียวกัน และอธิบายกับฝ่ายที่ต่อต้านว่าเรามีเจตนาดีต่อสถาบัน และในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เราต้องการให้กษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง และเราไม่ต้องการให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองใช้กฎหมายมาตรา 112 ในการทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ซึ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลา ต้องใช้การอธิบาย และหวังว่านั่นคือสิ่งที่เราทำในคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนนี้
พิธีกรได้ถามนาย
พิธาถึงความเป็นไปได้ที่พรรคก้าวไกลจะถูกยุบและเขาจะถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต ซึ่งนาย
พิธาตอบว่า เมื่อดูจากอดีตแล้ว นี่ถือเป็นวงจรอุบาทว์ครั้งที่ 5 ในรอบ 20 ปีที่มีเรื่องราวเช่นนี้ สถิติในอดีตไม่ได้เข้าข้างผมเลย แต่ผมจะพยายามให้ถึงที่สุดและเชื่อมั่นเอาไว้ มันก็ยังมีโอกาสที่พรรคก้าวไกลจะถูกยุบเหมือนพรรคอนาคตใหม่ แต่เราก็จะพยายามต่อสู้และชี้แจงว่านี่ไม่ได้กระทบแค่ผมหรือพรรคเพียงอย่างเดียวแต่ยังกระทบต่อความเป็นประชาธิปไตยของไทยโดยรวมอีกด้วย
นาย
พิธาชี้แจงต่อคำถามของพิธีกรว่า เขาให้คำมั่นสัญญากับประชาชนไว้เกินจริงหรือไม่ ที่จะขจัดอิทธิพลของกองทัพ และปฏิรูปกฎหมาย ม.112 ว่าตนไม่คิดว่าได้ให้คำมั่นสัญญาไว้เกินจริง สิ่งที่ผมอยากจะทำคือปฏิรูปประเทศไทยในขณะที่ยังรักษาสถาบันกษัตริย์เอาไว้ เราอยากที่จะเอาทหารออกจากการเมือง ลดการผูกขาด และกระจายอำนาจ มันเป็นวิธีที่เรียบง่ายในการขึ้นสู่อำนาจในระบอบประชาธิปไตย ผมชนะการเลือกตั้งและตั้งรัฐบาลผสมแต่ก็ถูกสมาชิกวุฒิสภาขัดขวาง
ต่อคำถามของพิธีกรว่านายพิธาได้ตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคเพื่อไทยที่ได้ที่ 2 ในการเลือกตั้ง แต่เป็นพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งอาจพูดได้ว่าเพื่อไทยไม่ได้รับอาณัติจากประชาชนเหมือนกับที่คุณมี นั่นทำให้รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไม่มีความชอบธรรมใช่หรือไม่
นาย
พิธาตอบว่า ผมคิดว่าจะเกิดวิกฤตไม่ชอบธรรมขึ้นอยู่กับว่าคุณทำผลงานได้ดีหรือไม่ดี มันมีความคาดหวังในตัวรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาหลังรัฐบาลทหาร ให้นำความเปลี่ยนแปลง ปฏิรูป และปรับเปลี่ยนโครงสร้าง แต่ 7 เดือนผ่านไปกลับไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเลย
พิธีกรถามว่านาย
พิธาคิดว่าตนถูกขโมยผลการเลือกตั้งนี้ไปจากคุณหรือไม่ ซึ่งนาย
พิธาตอบว่า มันเป็นไปตามที่คาด มันเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์สถานการณ์ว่าต่อให้คุณชนะก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะขึ้นเป็นรัฐบาลได้ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญที่ถูกร่างขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ดังนั้นผมรู้เรื่องนี้อยู่แล้วก่อนการเลือกตั้ง แต่ผมพยายามทุกวิถีทางตามหลักจริยธรรมเพื่อพยายามรักษาความซื่อสัตย์ทางการเมืองให้มากที่สุด และผมเลือกเดินบนเส้นทางนี้เพื่อผันตัวเป็นฝ่ายค้านของรัฐบาล
ต่อคำถามว่าตอนนี้รัฐบาลชุดเดิมกำลังพูดถึงการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายพิธาคิดว่ารัฐบาลมีความจริงใจหรือไม่ในการพูดถึงเรื่องอยากทำประชามติ ซึ่งนายพิธาให้ความเห็นว่าก็ต้องรอดูกันต่อไป ตนหวังว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจ เพราะหลายอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในไทยตอนนี้ก็เป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว คุณจะมีประชามติ 2 หรือ 3 ครั้งก็ได้แต่สำคัญอยู่ที่คำถามในการทำประชามติเป็นอย่างไร ซึ่งอาจฟังดูง่ายแต่แท้จริงแล้วในรายละเอียดมีความซับซ้อนและอาจเกิดปัญหาได้ เราก็ต้องดูกันต่อไป แต่ในฐานะฝ่ายค้านแล้วเราต้องทำให้แน่ใจว่ารัฐบาลจะทำตามที่รับปากไว้
พิธีกรของรายการได้ย้อนว่าวันที่ 22 พฤษภาคมของปีนี้จะเป็นการครบรอบ 10 ปีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาก่อรัฐประหาร นายพิธามีความคิดเห็นอย่างไรกับช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยในประเทศมีความก้าวหน้าต่อไปหรือไม่ เพราะหลังจากนั้นก็มีการเลือกตั้งหลายครั้งตามมา
นาย
พิธาให้ความเห็นว่ามันเป็นทศวรรษที่สูญหาย ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเรียกประเทศไทยว่า ระบอบเผด็จการที่มีการแข่งขัน ที่กลุ่มอำนาจเบื้องหลังอนุญาตให้มีการจัดเลือกตั้งบ้างนานๆ ครั้ง และถึงแม้ว่าผลการเลือกตั้งจะไม่เป็นตามต้องการ แต่จะมีกลไกอิสระของการปกครองแบบเผด็จการที่มีส่วนน้อยเพียง 1% จะหยุดไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง การต่อต้านความเปลี่ยนแปลงยังคงมีอยู่ตลอดในหลายรูปแบบ แต่พวกเขาก็ฉลาดขึ้นมากตอนนี้ ในอดีตคุณอาจพบเห็นการทำรัฐประหารของทหารเพื่อหยุดความเปลี่ยนแปลง หรือคุณอาจเห็นการทำสงครามและความรุนแรงบนท้องถนน แต่ปัจจุบันคุณจะเห็นการทำรัฐประหารทางตุลาการ คุณอาจเห็นนิติสงคราม การต่อสู้ในชั้นศาล มันเกี่ยวกับความสามัคคีของฝ่ายประชาธิปไตยทั่วเอเชียและทั่วโลกในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการที่มีการแข่งขันที่เกิดขึ้นไปทั่ว
สำหรับคำถามสุดท้ายว่านาย
พิธารู้สึกเจ็บปวดหรือไม่ที่ชนะการเลือกตั้งแต่ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี นาย
พิธาตอบว่า “
ผมคิดว่าเวลาของผมจะมาถึง นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อนะ ท้ายที่สุดแล้วเวลาของผมจะมาถึงและผมก็รอได้ ผมต้องยึดถือความซื่อสัตย์ทางการเมือง มิเช่นนั้นคงนอนไม่หลับ นั่นคือสาเหตุที่ผมเลือกเดินเส้นทางนั้นและผมไม่เสียดายเลย“
‘กัณวีร์’ จี้รัฐบาลไทยถอนตัว สมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น ถ้าชี้แจงการเสียชีวิตของ’บุ้ง’ไม่ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4581717
‘กัณวีร์’ จี้รัฐบาลไทยถอนตัวจากการสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ถ้ายังไม่สามารถชี้แจงการเสียชีวิตของ’บุ้ง-เนติพร’ได้ ทำให้ไทยตกอยู่ในสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
วันที่ 17 พ.ค.67 นาย
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.
เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง ขณะการถูกคุมขังและรักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา กำลังถูกจับตาจากหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในกระบวนการยุติธรรม และสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ผ่านมา 3 วันแล้ว กระทรวงยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อการเสียชีวิตของ น.ส.
เนติพร ให้สิ้นข้อสงสัย ทั้งสาเหตุการเสียชีวิต และขั้นตอนการช่วยชีวิต จนถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
“
สิ่งที่ควรพูดและย้ำให้มากในเวลานี้คือการถามหาความรับผิดชอบต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้ต้องขัง ความรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของผู้ถูกคุมขังในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ที่ยังมีข้อสงสัยต่อขั้นตอนการช่วยชีวิต ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ และมีอุปกรณ์เพียงพอหรือไม่ ทำไมใช้เวลานานเกือบ 3 ชั่วโมงในการเดินทางไปถึง รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ต้องชี้แจงกับประชาชน”
นาย
กัณวีร์ เรียกร้องไปยัง พ.ต.อ.
ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ต้องสร้างความโปร่งใสให้กับประชาชน ว่ามีมาตรฐานการปฏิบัติกับผู้ถูกคุมขังที่เป็นผู้ป่วยที่อดอาหารมา 110 วัน ได้ถูกหลักมาตรฐานและไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
“
คนตายทั้งคน ไม่ว่าเขาจะถุกคุมขังด้วยคดีใด ก็ไม่ควรต้องมาเสียชีวิต หากได้รับการดูแลรักษาอย่างดี และ บุ้ง ก็ยังไม่ใช่นักโทษเด็ดขาด เธอยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ยังไม่มีคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุผลอะไร ที่จะทำให้เธอต้องมาตายก่อนจะได้รับความยุติธรรม ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องรีบดำเนินการแยกนักโทษเด็ดขาด (คดีที่ศาลตัดสินแล้ว) และผู้ที่รอการพิจารณาคดี ออกจากกันโดยเร็ว เนื่องจากการดูแลและอิสรภาพของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมาก“
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่าหากรัฐบาลยังชี้แจงเรื่องนี้ไม่ได้ ก็ยิ่งตอกย้ำในข้อเรียกร้องของ น.ส.
เนติพร ว่าไทย ไม่ควรได้เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ไม่มีสิทธิที่จะไปสมัครเสนอตัว หรือขอคะแนนจากประเทศต่างๆ เพราะไทยไม่มีคุณสมบัติใดๆ เลย
“
ถ้ายังชี้แจงเรื่องนี้ไม่ได้ ถอนตัวไปเถอะครับ อย่าดันทุรังที่จะเสนอตัว สมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาติ ให้ต่างชาติเขาหัวเราะเยาะเถอะครับ อย่างที่ผมเคยให้ความเห็นไปหลายครั้งว่า ไทยยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นกรณีการขังลืมชาวอุยกูร์ในห้องกัก ตม.10 ปี กรณีชาวโรฮีนจาและคดีทางการเมือง ที่ถูกจับตาอยู่แล้ว”
JJNY : 5in1 พิธาแจงสื่อเยอรมัน│‘กัณวีร์’จี้รบ.ถอนตัว│แม่ค้าครวญผักสดแพง-ขายกำไรน้อย│โวยปลูกกัญชาเจ๊ง│ปะการังโลกฟอกขาว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4581392
พิธา แจงสื่อเยอรมัน ปม บุ้ง ทะลุวัง ย้ำจุดยืน ม.112 กังวลยุบพรรคเป็นวงจรอุบาทว์
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ให้สัมภาษณ์ ด็อยท์เชอเว็ลเลอ (DW หรือ Deutsche Welle) สื่อเยอรมัน ที่ตั้งประเด็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ “บุ้ง” นักกิจกรรมทางการเมืองกลุ่มทะลุวัง ซึ่งเสียชีวิตจากการอดอาหารประท้วงในระหว่างถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจากการถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112
เริ่มจากที่พิธีกรถามนายพิธาว่า มีความคิดเห็นอย่างไรกับการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร และคิดว่าใครควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของเธอ
นายพิธากล่าวว่า มันเป็นการสูญเสียที่น่าเศร้าสำหรับประเทศไทยที่กลุ่มเยาวชนนักเคลื่อนไหวอย่าง น.ส.เนติพรที่เรียกร้องหลักนิติธรรม (the rule of law) แทนที่หลักนิติวิธี (the rule by law) การจับกุมคุมขังก่อนการพิจารณาคดีและสิทธิในการประกันตัวของผู้ที่ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ นี่เป็น 3 สิ่งสำคัญที่ น.ส.เนติพรต่อสู้
ซึ่งแน่นอนว่าการปฏิรูปมาตรา 112 ยังอยู่ในจุดเริ่มต้น แต่เธอถูกปฏิเสธสิทธิในการประกันตัว นั่นทำให้มีคนรุ่นใหม่หลายคนที่ถูกจับกุมก่อนจะมีการพิจารณา อดอาหารประท้วง ซึ่ง น.ส.เนติพรไม่ใช่คนแรก
ตนรู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดภายในสำหรับครอบครัวที่เธอต้องฟันฝ่าไปด้วยวิธีนี้ ซึ่งน่าจะมีวิธีการเจรจาเพื่อไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตเกิดขึ้น
เมื่อพิธีกรถามว่า น.ส.เนติพร ควรถูกคุมขังหรือไม่ จากการไปสอบถามความเห็นเกี่ยวกับสถาบัน นายพิธากล่าวว่า ในประเทศไทยกฎหมายไม่อนุญาตให้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสถาบัน แต่อารมณ์ความรู้สึกของยุคสมัยอาจเปลี่ยนไป เราในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติ พยายามจะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้มีความเหมาะสมในการปกป้องประมุขแห่งรัฐและปกป้องสิทธิเสรีภาพในการพูด เพื่อให้มั่นใจว่ากฎหมายมีความเหมาะสมเมื่อพูดถึงการละเมิดเสรีภาพ แม้ว่ามันจะผิด เธอก็มีสิทธิที่จะได้รับการประกันตัว ซึ่งเป็นการสันนิษฐานว่าเธอยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ที่เธอจะต้องผ่านการพิจารณาคดีก่อน ที่จะตัดสินความถูกผิด แต่ น.ส.เนติพรกลับไม่ได้แม้กระทั่งสิทธิประกัน นั่นทำให้เธออดอาหารประท้วง
พิธีกรถามถึงการแก้ไขมาตรา 112 ที่เป็นหนึ่งในการรณรงค์หาเสียงของนายพิธาและพรรคก้าวไกลว่า ยังมีจุดยืนเหมือนเดิมที่จะให้มีการแก้ไขมาตรา 112 หรือไม่
นายพิธากล่าวว่า ยังคงเป็นประเด็นว่าจะรักษาประเทศไทยให้คงอยู่ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างไร นอกเหนือจากการปฏิรูปแล้ว ยังเป็นทางสายกลางระหว่างขั้วความคิดเห็นหรืออารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ว่าบทบาทของกฎหมายและสถาบันในศตวรรษ 21 ควรเป็นอย่างไร เราในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติ เราไม่ต้องการเห็นการแบ่งขั้วความคิดเห็นนอกรัฐสภา แต่ต้องการเห็นทางร่วมกัน
พิธีกรถามย้ำในจุดยืนนายพิธาว่า ยังต้องการให้มีการแก้ไขมาตรา 112 หรือไม่ นายพิธากล่าวตอบรับว่า ครับ แต่เป็นไปภายใต้ขอบเขตที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
ต่อประเด็นคำถามว่าพรรคก้าวไกลชนะเลือกตั้งที่ผ่านมา ได้ที่นั่งมากที่สุด แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้ หากผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากประชาชนอย่างนายพิธาในการแก้ไขกฎหมาย แต่ไม่สามารถทำได้ แล้วจะแก้ได้อย่างไร นายพิธากล่าวว่า ผมคิดว่าสิ่งเดียวที่ทำได้คือทำสิ่งเดียวกัน และอธิบายกับฝ่ายที่ต่อต้านว่าเรามีเจตนาดีต่อสถาบัน และในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เราต้องการให้กษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง และเราไม่ต้องการให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองใช้กฎหมายมาตรา 112 ในการทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ซึ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลา ต้องใช้การอธิบาย และหวังว่านั่นคือสิ่งที่เราทำในคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนนี้
พิธีกรได้ถามนายพิธาถึงความเป็นไปได้ที่พรรคก้าวไกลจะถูกยุบและเขาจะถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต ซึ่งนายพิธาตอบว่า เมื่อดูจากอดีตแล้ว นี่ถือเป็นวงจรอุบาทว์ครั้งที่ 5 ในรอบ 20 ปีที่มีเรื่องราวเช่นนี้ สถิติในอดีตไม่ได้เข้าข้างผมเลย แต่ผมจะพยายามให้ถึงที่สุดและเชื่อมั่นเอาไว้ มันก็ยังมีโอกาสที่พรรคก้าวไกลจะถูกยุบเหมือนพรรคอนาคตใหม่ แต่เราก็จะพยายามต่อสู้และชี้แจงว่านี่ไม่ได้กระทบแค่ผมหรือพรรคเพียงอย่างเดียวแต่ยังกระทบต่อความเป็นประชาธิปไตยของไทยโดยรวมอีกด้วย
นายพิธาชี้แจงต่อคำถามของพิธีกรว่า เขาให้คำมั่นสัญญากับประชาชนไว้เกินจริงหรือไม่ ที่จะขจัดอิทธิพลของกองทัพ และปฏิรูปกฎหมาย ม.112 ว่าตนไม่คิดว่าได้ให้คำมั่นสัญญาไว้เกินจริง สิ่งที่ผมอยากจะทำคือปฏิรูปประเทศไทยในขณะที่ยังรักษาสถาบันกษัตริย์เอาไว้ เราอยากที่จะเอาทหารออกจากการเมือง ลดการผูกขาด และกระจายอำนาจ มันเป็นวิธีที่เรียบง่ายในการขึ้นสู่อำนาจในระบอบประชาธิปไตย ผมชนะการเลือกตั้งและตั้งรัฐบาลผสมแต่ก็ถูกสมาชิกวุฒิสภาขัดขวาง
ต่อคำถามของพิธีกรว่านายพิธาได้ตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคเพื่อไทยที่ได้ที่ 2 ในการเลือกตั้ง แต่เป็นพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งอาจพูดได้ว่าเพื่อไทยไม่ได้รับอาณัติจากประชาชนเหมือนกับที่คุณมี นั่นทำให้รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไม่มีความชอบธรรมใช่หรือไม่
นายพิธาตอบว่า ผมคิดว่าจะเกิดวิกฤตไม่ชอบธรรมขึ้นอยู่กับว่าคุณทำผลงานได้ดีหรือไม่ดี มันมีความคาดหวังในตัวรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาหลังรัฐบาลทหาร ให้นำความเปลี่ยนแปลง ปฏิรูป และปรับเปลี่ยนโครงสร้าง แต่ 7 เดือนผ่านไปกลับไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเลย
พิธีกรถามว่านายพิธาคิดว่าตนถูกขโมยผลการเลือกตั้งนี้ไปจากคุณหรือไม่ ซึ่งนายพิธาตอบว่า มันเป็นไปตามที่คาด มันเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์สถานการณ์ว่าต่อให้คุณชนะก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะขึ้นเป็นรัฐบาลได้ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญที่ถูกร่างขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ดังนั้นผมรู้เรื่องนี้อยู่แล้วก่อนการเลือกตั้ง แต่ผมพยายามทุกวิถีทางตามหลักจริยธรรมเพื่อพยายามรักษาความซื่อสัตย์ทางการเมืองให้มากที่สุด และผมเลือกเดินบนเส้นทางนี้เพื่อผันตัวเป็นฝ่ายค้านของรัฐบาล
ต่อคำถามว่าตอนนี้รัฐบาลชุดเดิมกำลังพูดถึงการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายพิธาคิดว่ารัฐบาลมีความจริงใจหรือไม่ในการพูดถึงเรื่องอยากทำประชามติ ซึ่งนายพิธาให้ความเห็นว่าก็ต้องรอดูกันต่อไป ตนหวังว่ารัฐบาลจะมีความจริงใจ เพราะหลายอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในไทยตอนนี้ก็เป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว คุณจะมีประชามติ 2 หรือ 3 ครั้งก็ได้แต่สำคัญอยู่ที่คำถามในการทำประชามติเป็นอย่างไร ซึ่งอาจฟังดูง่ายแต่แท้จริงแล้วในรายละเอียดมีความซับซ้อนและอาจเกิดปัญหาได้ เราก็ต้องดูกันต่อไป แต่ในฐานะฝ่ายค้านแล้วเราต้องทำให้แน่ใจว่ารัฐบาลจะทำตามที่รับปากไว้
พิธีกรของรายการได้ย้อนว่าวันที่ 22 พฤษภาคมของปีนี้จะเป็นการครบรอบ 10 ปีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาก่อรัฐประหาร นายพิธามีความคิดเห็นอย่างไรกับช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยในประเทศมีความก้าวหน้าต่อไปหรือไม่ เพราะหลังจากนั้นก็มีการเลือกตั้งหลายครั้งตามมา
นายพิธาให้ความเห็นว่ามันเป็นทศวรรษที่สูญหาย ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเรียกประเทศไทยว่า ระบอบเผด็จการที่มีการแข่งขัน ที่กลุ่มอำนาจเบื้องหลังอนุญาตให้มีการจัดเลือกตั้งบ้างนานๆ ครั้ง และถึงแม้ว่าผลการเลือกตั้งจะไม่เป็นตามต้องการ แต่จะมีกลไกอิสระของการปกครองแบบเผด็จการที่มีส่วนน้อยเพียง 1% จะหยุดไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง การต่อต้านความเปลี่ยนแปลงยังคงมีอยู่ตลอดในหลายรูปแบบ แต่พวกเขาก็ฉลาดขึ้นมากตอนนี้ ในอดีตคุณอาจพบเห็นการทำรัฐประหารของทหารเพื่อหยุดความเปลี่ยนแปลง หรือคุณอาจเห็นการทำสงครามและความรุนแรงบนท้องถนน แต่ปัจจุบันคุณจะเห็นการทำรัฐประหารทางตุลาการ คุณอาจเห็นนิติสงคราม การต่อสู้ในชั้นศาล มันเกี่ยวกับความสามัคคีของฝ่ายประชาธิปไตยทั่วเอเชียและทั่วโลกในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการที่มีการแข่งขันที่เกิดขึ้นไปทั่ว
สำหรับคำถามสุดท้ายว่านายพิธารู้สึกเจ็บปวดหรือไม่ที่ชนะการเลือกตั้งแต่ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี นายพิธาตอบว่า “ผมคิดว่าเวลาของผมจะมาถึง นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อนะ ท้ายที่สุดแล้วเวลาของผมจะมาถึงและผมก็รอได้ ผมต้องยึดถือความซื่อสัตย์ทางการเมือง มิเช่นนั้นคงนอนไม่หลับ นั่นคือสาเหตุที่ผมเลือกเดินเส้นทางนั้นและผมไม่เสียดายเลย“
‘กัณวีร์’ จี้รัฐบาลไทยถอนตัว สมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น ถ้าชี้แจงการเสียชีวิตของ’บุ้ง’ไม่ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4581717
‘กัณวีร์’ จี้รัฐบาลไทยถอนตัวจากการสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ถ้ายังไม่สามารถชี้แจงการเสียชีวิตของ’บุ้ง-เนติพร’ได้ ทำให้ไทยตกอยู่ในสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
วันที่ 17 พ.ค.67 นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง ขณะการถูกคุมขังและรักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา กำลังถูกจับตาจากหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในกระบวนการยุติธรรม และสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ผ่านมา 3 วันแล้ว กระทรวงยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร ให้สิ้นข้อสงสัย ทั้งสาเหตุการเสียชีวิต และขั้นตอนการช่วยชีวิต จนถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
“สิ่งที่ควรพูดและย้ำให้มากในเวลานี้คือการถามหาความรับผิดชอบต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้ต้องขัง ความรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของผู้ถูกคุมขังในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ที่ยังมีข้อสงสัยต่อขั้นตอนการช่วยชีวิต ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ และมีอุปกรณ์เพียงพอหรือไม่ ทำไมใช้เวลานานเกือบ 3 ชั่วโมงในการเดินทางไปถึง รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ต้องชี้แจงกับประชาชน”
นายกัณวีร์ เรียกร้องไปยัง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ต้องสร้างความโปร่งใสให้กับประชาชน ว่ามีมาตรฐานการปฏิบัติกับผู้ถูกคุมขังที่เป็นผู้ป่วยที่อดอาหารมา 110 วัน ได้ถูกหลักมาตรฐานและไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
“คนตายทั้งคน ไม่ว่าเขาจะถุกคุมขังด้วยคดีใด ก็ไม่ควรต้องมาเสียชีวิต หากได้รับการดูแลรักษาอย่างดี และ บุ้ง ก็ยังไม่ใช่นักโทษเด็ดขาด เธอยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ยังไม่มีคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุผลอะไร ที่จะทำให้เธอต้องมาตายก่อนจะได้รับความยุติธรรม ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องรีบดำเนินการแยกนักโทษเด็ดขาด (คดีที่ศาลตัดสินแล้ว) และผู้ที่รอการพิจารณาคดี ออกจากกันโดยเร็ว เนื่องจากการดูแลและอิสรภาพของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมาก“
นายกัณวีร์ กล่าวว่าหากรัฐบาลยังชี้แจงเรื่องนี้ไม่ได้ ก็ยิ่งตอกย้ำในข้อเรียกร้องของ น.ส.เนติพร ว่าไทย ไม่ควรได้เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ไม่มีสิทธิที่จะไปสมัครเสนอตัว หรือขอคะแนนจากประเทศต่างๆ เพราะไทยไม่มีคุณสมบัติใดๆ เลย
“ถ้ายังชี้แจงเรื่องนี้ไม่ได้ ถอนตัวไปเถอะครับ อย่าดันทุรังที่จะเสนอตัว สมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาติ ให้ต่างชาติเขาหัวเราะเยาะเถอะครับ อย่างที่ผมเคยให้ความเห็นไปหลายครั้งว่า ไทยยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นกรณีการขังลืมชาวอุยกูร์ในห้องกัก ตม.10 ปี กรณีชาวโรฮีนจาและคดีทางการเมือง ที่ถูกจับตาอยู่แล้ว”